“ไม่ได้ดึงเวลา” ย้อนฟังคำโฆษกสำนักนายก ทำไมต้องตั้งคณะกรรมการฯ ประเด็น รธน. ซ้ำซ้อน
อ่าน

“ไม่ได้ดึงเวลา” ย้อนฟังคำโฆษกสำนักนายก ทำไมต้องตั้งคณะกรรมการฯ ประเด็น รธน. ซ้ำซ้อน

ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามนักข่าวถามว่า เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงเลือกที่จะตั้ง “คณะกรรมการศึกษาการทำประชามติ” หลังจาก “กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” ส่งการเข้าชื่อแคมเปญ #conforall จำนวน 200,000 กว่ารายชื่อได้ตามกระบวนการแล้ว ทั้งยังเคยมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ ลักษณะเดียวกันมาแล้วบ่อยครั้งจากหลายฝ่ายในอดีต
ตรวจรายชื่อ #CONFORALL เสร็จกี่โมง? ภาคประชาชนทวงความคืบหน้า เร่งรัดกกต. ทำงานโดยเร็ว
อ่าน

ตรวจรายชื่อ #CONFORALL เสร็จกี่โมง? ภาคประชาชนทวงความคืบหน้า เร่งรัดกกต. ทำงานโดยเร็ว

14 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. ตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าในการตรวจสอบรายชื่อประชาชน 211,904 ชื่อ เสนอคำถามประชามติ #CONFORALL จากภาคประชาชนต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 
เลื่อนวาระแซงหน้าไม่ได้!  ที่ประชุมสภามีมติไม่ให้เลื่อนวาระถกคำถามประชามติแก้รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาก่อน
อ่าน

เลื่อนวาระแซงหน้าไม่ได้! ที่ประชุมสภามีมติไม่ให้เลื่อนวาระถกคำถามประชามติแก้รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาก่อน

30 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ปรึกษาหารือต่อที่ประชุมในการเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระโดยขอให้ที่ประชุมสภาพิจารณาเรื่องการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ทีม #CONFORALL ยื่นหนังสือต่อพรรคเพื่อไทยให้รับคำถามประชาชนสู่ครม.
อ่าน

ทีม #CONFORALL ยื่นหนังสือต่อพรรคเพื่อไทยให้รับคำถามประชาชนสู่ครม.

#CONFORALL นำรายชื่อเสนอคำถามประชามติของประชาชนยื่นต่อพรรคเพื่อไทย แกนนำจัดตั้งรัฐบาล ขอให้พิจารณาโดยไม่คำนึงขั้นตอนทางธุรการของกกต.
“ประชามติ” คืออะไร ทำไมประชาชนต้องมีส่วนร่วม
อ่าน

“ประชามติ” คืออะไร ทำไมประชาชนต้องมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนไม่ได้จบลงแค่ออกไปเลือกตั้ง อีกหนึ่งกลไกที่กฎหมายรับรองและกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนคือ “การออกเสียงประชามติ” ซึ่งเป็นกระบวนการให้ประชาชนได้ตัดสินใจกำหนดทิศทางด้วยตนเองเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ
เปิดจดหมายโต้แย้งกกต. ปี2566 ลงชื่อต้องออนไลน์ได้แล้ว
อ่าน

เปิดจดหมายโต้แย้งกกต. ปี2566 ลงชื่อต้องออนไลน์ได้แล้ว

ตามที่สำนักงานกกต. แจ้งปากเปล่าว่า การเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติต้องทำบนกระดาษเท่านั้น ไม่สามารถลงชื่อออนไลน์ได้แต่ต้องกรอกข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิทัลไปยื่นต่อกกต. iLaw จึงทำหนังสือโต้แย้งขอให้กกต. กลับคำวินิจฉัย เพราะปี 2566 เทคโนโลยีสามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้ ไม่เป็นภาระกับประชาชนเกินไป
กกต. เพิ่งบอก เข้าชื่อออนไลน์ไม่ได้ 4 หมื่นชื่อตกน้ำทันที ขอประชาชนเร่งระดมเซ็นในกระดาษ
อ่าน

กกต. เพิ่งบอก เข้าชื่อออนไลน์ไม่ได้ 4 หมื่นชื่อตกน้ำทันที ขอประชาชนเร่งระดมเซ็นในกระดาษ

22 สิงหาคม 2566 รองเลขธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้คำตอบตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญว่า ไม่สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าชื่อเสนอคำถามตาม พ.ร.ป.ประชามติฯ ทำให้มากกว่า 4 หมื่นชื่ออาจไม่ถูกนับ   จากข้อจำกัดดังกล่าว ประชาชนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหลือเวลาอีก 3 วัน ในการเข้าชื่อในกระดาษ ขอให้ทุกคนตามหาจุดลงชื่อจากเว็บไซต์ conforall.com ส่งรายชื่อให้ทัน และช่วยกันบอกต่อ จนกว่าเราจะได้รายชื่อแบบกระดาษทะลุ 50,000 รายชื่ออีกครั้ง
สำรวจจักรวาล สสร. พรรคไหนเคยเสนอที่มาไว้อย่างไรบ้าง
อ่าน

สำรวจจักรวาล สสร. พรรคไหนเคยเสนอที่มาไว้อย่างไรบ้าง

รูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่เคยมีการพยายามนำเสนอเข้าสู่รัฐสภามาหลังการเลือกตั้งในปี 2562 มีทั้งสิ้นสี่รูปแบบ คือ สสร.ฉบับพรรคเพื่อไทย, สสร.ฉบับที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐ, สสร.ฉบับพรรคไทยสร้างไทยที่ใช้วิธีรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญ และ สสร.ฉบับสงวนคำแปรญัตติของ ส.ส.จำนวนหนึ่ง ในช่วงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ     ข้อเสนอการตั้ง สสร. มักอยู่ที่วิธีการได้มา โดยแบ่งออกคร่าวๆ ได้สี่รูปแบบ คือ เลือกตั้งแบบมีจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งแบบมีประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งผสมกับการแต่งตั้ง และแต่งตั้งทั้งหมด ซึ่งรูปแบบทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2567 ที่กำลังมาถึง
Q&A ทุกคำถามในแคมเปญ #เขียนใหม่ทั้งฉบับเลือกตั้ง100เปอร์เซ็นต์!!!
อ่าน

Q&A ทุกคำถามในแคมเปญ #เขียนใหม่ทั้งฉบับเลือกตั้ง100เปอร์เซ็นต์!!!

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 หลังภาคประชาชนเปิดแคมเปญ “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” ชวนประชาชนเข้าชื่อเสนอทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นขั้นแรกไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน ตามกลไกของ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564  (พ.ร.บ.ประชามติ) ที่ต้องการรายชื่อของประชาชนผู้สนใจจะมีส่วนร่วมถึง 50,000 รายชื่อ ประชาชนจำนวนมากอาจจะสงสัยว่า ต้องทำอย่างไร หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง   ไอลอว์จึงขอรวมคำถามที่พบได้บ่อยรวมไปถึงข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการช่วยกันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เอาไว้ดังนี้
“เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” คำถามประชามติโดยประชาชน กระดุมเม็ดแรกสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
อ่าน

“เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” คำถามประชามติโดยประชาชน กระดุมเม็ดแรกสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

13 สิงหาคม 2566 เวลา 15.15 น. บริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยหลายองค์กรที่ผลักดันประเด็นเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ จัดเวทีแถลงการณ์เปิดแคมเปญ  “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอคำถามสำหรับการทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น