ทำไมผู้ต้องหาต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ้าไม่พิมพ์แล้วจะมีความผิดหรือไม่
อ่าน

ทำไมผู้ต้องหาต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ้าไม่พิมพ์แล้วจะมีความผิดหรือไม่

ในกระบวนการสอบสวนผู้ต้องหาในคดีอาญา ‘การพิมพ์ลายนิ้วมือ’ ของผู้ต้องหาถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่พนักงานสอบสวนจะให้ผู้ต้องหาต้องทำเป็นปกติ การปรากฎภาพผู้ต้องหาชูนิ้วสีดำไม่ใช่แค่คดีการเมืองแต่รวมถึงคดีอาญาอื่นๆ ด้วย จึงเป็นเหมือน “ภาพจำ” เวลาผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาที่สถานีตำรวจ จะต้องมีภาพ “มือดำ” กลับบ้านไป และกลายเป็นภาพจำอีกด้านหนึ่งว่า คนที่ “มือดำ” คืนคนที่ผ่านกระบวนการในฐานะผู้ต้องหาคดีอาญามาแล้ว ทางฝั่งของตำรวจก็อธิบายว่า สาเหตุที่จะต้องเก็บลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาไว้ทุกครั้งเมื่อผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าว เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่สามารถเก็บได้ง่ายท
ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หลักประกันความปลอดภัยให้กับเด็กในโรงเรียน
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หลักประกันความปลอดภัยให้กับเด็กในโรงเรียน

กลุ่มนักเรียนเลวได้จัดทำร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ เพื่อให้ประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ร่วมกันเข้าชื่อ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสามหมวด หมวดแรก สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หมวดสอง สภาพแวดล้อมและสวัสดิภาพ หมวดสาม การมีส่วนร่วมของผู้เรียน ธัญชนก คชพัชรินทร์ หรือแบม ตัวแทนจากกลุ่มนักเรียนเลวกล่าวว่า  “เราอยากสร้างกฎหมายที่ให้เด็กเป็นประธานในประโยค เพื่อบอกว่าเด็กมีสิทธิตรงนี้ สังคมต้องจัดหาให้เขา เราคาดหวังให้คนรับรู้ถึงสิทธิที่ตัวเองมีมากขึ้นและสามารถใช้กฎหมายนี้เพื่อยืนยันสิทธิของตัวเองได้”
เปิดเส้นทางพรรคเล็ก จาก ส.ส. ปัดเศษ สู่ผู้กำหนดชะตากรรมรัฐบาล
อ่าน

เปิดเส้นทางพรรคเล็ก จาก ส.ส. ปัดเศษ สู่ผู้กำหนดชะตากรรมรัฐบาล

ย้อนดูเส้นทางของพรรคเล็ก จากที่เป็นผลผลิตอันผิดเพี้ยนของระบบเลือกตั้งและสูตรคำนวณที่นั่ง จนมาอยู่ในการดูแลของ “ฤๅษี” ชื่อธรรมนัส และอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเดินเกมทางการเมืองล้มรัฐบาล
ครช. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
อ่าน

ครช. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) เข้ายื่นคำร้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ชูเกียรติ ‘Justin Thailand’: การต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงคือภารกิจร่วมของสังคม
อ่าน

ชูเกียรติ ‘Justin Thailand’: การต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงคือภารกิจร่วมของสังคม

ย่ำรุ่งวันที่ 20 กันยายน 2563 ผู้ชุมนุมที่สนามหลวงเตรียมทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร 63 ในบรรดานักกิจกรรมที่ยืนล้อมหมุดอยู่บนเวที มีชายสวมแว่นในชุดเสื้อกล้ามเอวลอยสีขาว นุ่งกางเกงวอร์มสีแดงรวมอยู่ด้วย ชายคนดังกล่าวเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ชุมนุมว่า “จัสติน” จากการที่เขามักมาร่วมชุมนุมในชุดเสื้อเอวลอยกางเกงวอร์ม แบบเดียวกับที่จัสติน บีเบอร์ ศิลปินชาวแคนาดาสวมในภาพถ่ายที่ถูกแชร์กันแพร่หลายในโลกออนไลน์  ชูเกียรติซึ่งมีชื่อเล่นจริงๆ ว่านุ๊ก เป็นชาวสมุทรปราการ เขาไม่ได้เป็นคนที่มีพื้นฐานเป็นนักกิจกรรมหรือเคยเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อนในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ปัญหาเศรษฐกิจแล
รายชื่อครบแล้ว แต่ยังลงชื่อเพิ่มได้! ร่วม #แก้รัฐธรรมนูญ ม. 272 ปิดสวิตช์ส.ว. เลือกนายกฯ
อ่าน

รายชื่อครบแล้ว แต่ยังลงชื่อเพิ่มได้! ร่วม #แก้รัฐธรรมนูญ ม. 272 ปิดสวิตช์ส.ว. เลือกนายกฯ

การล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ตัดอำนาจวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกนายกรัฐมนตรี นำโดย “คณะรณรงค์แก้ไข รธน. มาตรา 272” ได้รายชื่อประชาชนเกิน 50,000 รายชื่อ เรียบร้อยแล้วแต่ประชาชนยังสามารถลงชื่อเพิ่มได้เพื่อร่วมส่งเสียงให้รัฐสภารับฟังได้
จากพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ถึงพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คสช.ลักไก่ขยายพื้นที่ห้ามชุมนุม
อ่าน

จากพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ถึงพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คสช.ลักไก่ขยายพื้นที่ห้ามชุมนุม

  ก่อนหน้าการรัฐประหาร 2557 ไทยไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในการดูแลการชุมนุมสาธารณะ พื้นที่การชุมนุมทางการเมืองหลักอันเป็นที่จดจำได้แก่ สนามหลวง, ลานพระบรมรูปทรงม้าและทำเนียบรัฐบาล ต่อมาปี 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 (พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) และมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม 2558  กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดพื้นที่ห้ามชุมนุมเป็นครั้งแรก หากแต่ในปี 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุก
พล.อ.ประยุทธ์ เสี่ยง “แพ้โหวตในสภา” หลังก๊วนธรรมนัสย้ายค่าย
อ่าน

พล.อ.ประยุทธ์ เสี่ยง “แพ้โหวตในสภา” หลังก๊วนธรรมนัสย้ายค่าย

จากกรณีที่กรรมการบริหารพรรคพลังพลังประชารัฐ รวมทั้ง ส.ส.พรรค ทั้งหมด 78 เสียง มีมติขับ ร.อ.ธรรมนัส และพวกรวมทั้งหมด 21 คน ออกจากพรรค ผลที่จะตามมา คือ จำนวน ส.ส. ในพรรคพลังประชารัฐจะลดลงครั้งใหญ่ ถ้าหากทั้ง 21 คนยังคงสนับสนุนรัฐบาลเพียงแต่ย้ายไปอยู่พรรคใหม่ในชื่ออื่น ก็อาจกระทบต่อความอยู่รอดไม่มาก แต่ถ้าหาก 21 เสียงนี้พร้อมต่อรอง โดยการลงมติสวนรัฐบาลบ้าง เสียงฝ่ายรัฐบาลอาจจะมีสภาวะ "ปริ่มน้ำ" หรือมีเสียงสนับสนุนในสภาเกินกึ่งหนึ่งมาเพียงเล็กน้อย