ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมสภาห้ามเสนอชื่อโหวต “พิธา” ซ้ำ เหตุผู้ร้องไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิตรง
อ่าน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมสภาห้ามเสนอชื่อโหวต “พิธา” ซ้ำ เหตุผู้ร้องไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิตรง

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องกรณีสภาไม่ให้เสนอชื่อโหวตพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีซ้ำเป็นรอบที่สอง ระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิยื่นเรื่องได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการละเมิดสิทธิโดยตรงเท่านั้น
ตรวจการบ้าน 1 เดือนประธานสภา ส่องผลงานเด็ด ทำอะไรไปบ้าง?
อ่าน

ตรวจการบ้าน 1 เดือนประธานสภา ส่องผลงานเด็ด ทำอะไรไปบ้าง?

สิงหาคม 66 ครบรอบหนึ่งเดือนประธานสภา ประธานรัฐสภานัดประชุมร่วมรัฐสภาไปแล้วสี่ครั้ง สั่งงดประชุมไปหนึ่งครั้ง สามครั้งที่เหลือ ก็เกิดเหตุการณ์ที่ “ชวนสับสน” ทั้งการลงมติตีความว่าการเสนอชื่อนายกฯ ซ้ำขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ทั้งประธานรัฐสภาชิงปิดประชุมหนีทั้งที่การประชุมเพิ่งผ่านไปได้สองชั่วโมง
เพราะทำ “ผิดซ้ำผิดซ้อน” จึงเลือกนายกฯ ไม่ได้สักที
อ่าน

เพราะทำ “ผิดซ้ำผิดซ้อน” จึงเลือกนายกฯ ไม่ได้สักที

หลังผ่านเลือกตั้งมาสามเดือนศาลรัฐธรรมนูญ กำลังกลายเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ชะลอให้การตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นไม่ได้เสียที เกิดเหตุการณ์ที่มีผู้ใช้อำนาจ "ผิด" หลักการของกฎหมาย เมื่อผิดไปแล้วหนึ่งครั้ง ก็ทำให้กระบวนการต่อๆ มามีเหตุต้องอ้างอิงเพื่อยันการใช้อำนาจที่ผิดทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ
ปิดสวิตช์ สว. รวมสองครั้งที่ไม่ได้โหวต
อ่าน

ปิดสวิตช์ สว. รวมสองครั้งที่ไม่ได้โหวต

นับตั้งแต่สภาที่มาจากการเลือกตั้งเข้าทำงานในปี 2562 มีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อยกเลิกอำนาจสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่มาจากการแต่งตั้งในการเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แต่ไม่ได้ความเห็นชอบถึงหกครั้ง แต่รู้หรือไม่ว่า มีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 อีกสองครั้งที่ “ไม่ได้โหวต” เสียด้วยซ้ำในสภา
เปิดข้อบังคับฯ ประธานรัฐสภาสั่ง “พัก-เลื่อน-เลิก” ประชุมได้ตามที่ “เห็นสมควร”
อ่าน

เปิดข้อบังคับฯ ประธานรัฐสภาสั่ง “พัก-เลื่อน-เลิก” ประชุมได้ตามที่ “เห็นสมควร”

4 ส.ค. 66 ประชุมร่วมรัฐสภาล่มตั้งแต่เช้า แม้ยังไม่ได้ผลสรุปว่าจะดำเนินไปทิศทางไหนแต่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ก็สั่งเลื่อนและจบการประชุมคราวนี้ทันทีท่ามกลางความงุนงงของทุกฝ่ายโดยอาศัยอำนาจข้อบังคับประชุมรัฐสภา ข้อ 22
Fact-checking : เลือกนายกฯ เสนอชื่อเดิมกี่ครั้งก็ได้  3 ชื่อในบัญชีไม่ได้มีเพื่อบังคับหนึ่งชื่อหนึ่งครั้ง
อ่าน

Fact-checking : เลือกนายกฯ เสนอชื่อเดิมกี่ครั้งก็ได้ 3 ชื่อในบัญชีไม่ได้มีเพื่อบังคับหนึ่งชื่อหนึ่งครั้ง

เสรี สุวรรณภานนท์ อภิปรายระหว่างการพิจารณาญัตติเสนอชื่อพิธา ครั้งที่สองเป็นการเสนอญัตติซ้ำหรือไม่ โดยคำกล่าวอ้างสนับสนุนมีจุดที่ไม่ถูกต้อง “3 ชื่อบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ไม่ได้มีเพื่อบังคับพิจารณาชื่อหนึ่งคนหนึ่งครั้ง”
เลือกตั้งสองครั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 พรรคอันดับหนึ่งไม่เคยได้เป็นนายก!
อ่าน

เลือกตั้งสองครั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 พรรคอันดับหนึ่งไม่เคยได้เป็นนายก!

รัฐธรรมนูญ 2560 ได้วางกลไกสำคัญในการสืบทอดอำนาจให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ นั่นจึงกลายเป็นปราการด่านสำคัญที่มีส่วนในการขวางพรรคอันดับหนึ่งจากการเลือกตั้ง ทั้งการเลือกตั้งในปี 2562 และการเลือกตั้งในปี 2566 จากการได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
เปิดค่าตอบแทน สส.ผู้ทรงเกียรติ เงินเดือนหลักแสน ผู้ช่วยพร้อม สวัสดิการครบ
อ่าน

เปิดค่าตอบแทน สส.ผู้ทรงเกียรติ เงินเดือนหลักแสน ผู้ช่วยพร้อม สวัสดิการครบ

ในช่วงหาเสียงเหล่านักการเมืองทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มักใช้ข้อความในทำนองว่า ‘อาสารับใช้ประชาชน’ แต่อย่างไรเสีย การเข้าสภาไปทำหน้าที่ สส.ไม่ใช่งานจิตอาสา ค่าตอบแทนน้ำพักน้ำแรงของคนเหล่านี้ล้วนมาจากภาษีของประชาชนทั่วประเทศที่ฝากความหวังไว้
รัฐสภามีมติ เสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่โหวตไม่ผ่านซ้ำอีกรอบไม่ได้
อ่าน

รัฐสภามีมติ เสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่โหวตไม่ผ่านซ้ำอีกรอบไม่ได้

19 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภา 395 เสียง มีมติว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมที่เคยลงมติไปแล้วเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ต้องห้ามตามข้อบังคับข้อ 41 ส่งผลให้ในสมัยประชุมนี้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นนายกฯ ไม่ได้อีก
รวมวิวาทะว่าด้วยมาตรา 112 และสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการอภิปรายคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี
อ่าน

รวมวิวาทะว่าด้วยมาตรา 112 และสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการอภิปรายคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เสียงจากรัฐสภาไม่พอให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยคนที่ไม่โหวตทั้งหลายอ้างประเด็นการเสนอแก้ไขมาตรา112 เป็นเหตุที่ไม่โหวตให้