อ่าน

18 ข้อต้องห้าม ถ้าฝ่าฝืนให้องค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง

การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
อ่าน

เส้นทางพรรคการเมืองไม่เอาทหาร ยังไม่ง่าย! คสช. วางกลไกขวางไว้เพียบ

เส้นทางของพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่ประกาศตัวเป็นปฏิปักษ์กับ คสช. นั้นไม่ง่าย เพราะกลไกการเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้งนั้น ยังต้องเป็นไปตามกติกาในรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ รวมทั้งประกาศ และคำสั่งของ คสช. ที่ยังมีผลบังคับใช้ซึ่ง คสช. วางกลไกกับดักเอาไว้มากมาย
อ่าน

เทคนิคใหม่ ‘ยื้อเลือกตั้ง’ ให้ศาลตีความกฎหมาย ส.ว.

แม้ คสช. จะพยายามหาเทคนิคใหม่ๆ มาเลื่อนเลือกตั้งไปแล้วถึง 4 ครั้ง ไล่ตั้งแต่ แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 2557, คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์แล้วร่างใหม่, แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวตามที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกต จนมาถึงขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย ส.ส. ออกไปอีก 90 วัน และล่าสุดดูเหมือน คสช. จะพบเทคนิคใหม่ โดยให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกฎหมายลูก ส.ว.
อ่าน

เลือกตั้งมีสิทธิ์เลื่อน ถ้า สนช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กฎหมาย ส.ว.

แม้ สนช. จะลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ ไปแบบเอกฉันท์ แต่ทว่าการเลือกตั้งตามโรดแมปก็ยังไม่นิ่ง และมีเหตุให้ต้องเลื่อนหากสนช. ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมาย ส.ว. ทั้งฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมถึงหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้กฎหมาย ส.ว. มีอันต้องตกไปทั้งฉบับ ก็มีแนวโน้มที่จะต้องร่างกฎหมาย ส.ว. กันใหม่อีกครั้ง
อ่าน

กมธ.ร่วมฯ พิจารณากฎหมายลูก ส.ส. คงกติกาห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์

ประเด็นที่เป็นปัญหาใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ส.ฯ คณะกรรมาธิการร่วมสามฝ่ายที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สนช. กรธ. และประธาน กกต. มีมติร่วมกัน ในประเด็นสำคัญ คือห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์
อ่าน

เลือกตั้งเร็วสุด ก.ย. 61 ก็ยังได้ ถ้า คสช. ปลดล็อกพรรคการเมือง

การเลือกตั้งจากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างช้าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2561 อาจถูกเลื่อนออกไปอีก 90 วัน เป็นเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2562 อย่างไรก็ตามตามโรดแมป คสช. เอง ก็เลือกตั้งก็สามารถเกิดอย่างเร็วในเดือนกันยายน 2561 หรือปลายปี 2561 ช่วงไหนก็ได้ เพียงแค่คสช.ปลดล็อกพรรคการเมือง
สนช. งัดเทคนิคใหม่ ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ยืดเลือกตั้งเพิ่ม 90 วัน
อ่าน

สนช. งัดเทคนิคใหม่ ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ยืดเลือกตั้งเพิ่ม 90 วัน

ยังไม่มีความแน่นอนว่าเดือนพฤศจิกายน 2561 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยลั่นวาจาไว้หรือไม่ เพราะมีแนวโน้มว่าโรดแมปตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะถูกเลื่อนไปอีกถึง 90 วัน หรือสามเดือน หากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เหตุที่โรดแมบจะถูกขยับออกไปอีก 90 วัน เพราะคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
ในเถ้าอารมณ์ ของ “อ๊อตโต้” ผู้สื่อข่าวพ่วงผู้ต้องหาคดีแจกสติ๊กเกอร์โหวตโน
อ่าน

ในเถ้าอารมณ์ ของ “อ๊อตโต้” ผู้สื่อข่าวพ่วงผู้ต้องหาคดีแจกสติ๊กเกอร์โหวตโน

พูดคุยกับ อ๊อตโต้-ทวีศักดิ์ เกิดโภคา นักข่าวประชาไทที่ถูกดำเนินคดี พ.ร.บ.ประชามติฯ เพราะไปทำข่าวรณรงค์โหวตโน
เปิดผลสำรวจ ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ประเทศสงบ เนื้อหาร่างมีผลต่อการตัดสินใจน้อย
อ่าน

เปิดผลสำรวจ ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ประเทศสงบ เนื้อหาร่างมีผลต่อการตัดสินใจน้อย

iLaw ร่วมกับสถาบันสิทธิฯ เปิดผลการสำรวจเรื่อง เหตุผลที่คนไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พบคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดสินใจตามเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แต่คนที่เห็นชอบส่วนใหญ่เพราะอยากให้ประเทศสงบ คนที่ไม่เห็นชอบส่วนใหญ่เพราะประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม