อ่าน

ตรวจแถวพรรคการเมือง ใครเป็นพรรค ‘กองหนุน’ พล.อ.ประยุทธ์

หลังการเลือกตั้งใกล้เช้ามา สิ่งที่ทุกคนเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดคือ ใครจะเป็นผู้ท้าขิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ มีพรรคการเมืองอย่างน้อย 9 พรรค ที่เปิดตัวแสดงจุดยืนเป็นกองหนุนให้กับ พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยที่มาของผู้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกลุ่มนี้ล้วนประกอบไปด้วยบรรดาอดีตนักการเมือง กลุ่มกปปส. และกลุ่มข้าราชการ เป็นหลัก
อ่าน

4 ปี การละเมิดสิทธิภายใต้ คสช. ร้องนานาชาติจับตาการเลือกตั้งครั้งหน้า

งานถอดบทเรียนสิทธิมนุษยชนตลอด 4 ปี ภายใต้ คสช. ชี้หลักนิติธรรมล่มสลาย เผยตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีกว่า 1,138 คน สุนัย ผาสุก ย้ำ คำสัญญาของ คสช. ไร้ความหมาย เรียกร้องนานาชาติกดดัน และจับตาการเลือกตั้งครั้งหน้าให้เป็นไปโดยโปร่งใส
อ่าน

ข้อดี – ข้อเสีย ไพรมารี่โหวต ของ คสช.

ระบบไพรมารี่โหวต ถูกกำหนดให้พรรคการเมืองทุกพรรคต้องดำเนินการก่อนจะส่งตัวแทนพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นว่าที่ ส.ส. พรรคการเมืองหลายพรรคทั้งเก่าและใหม่ต่างเห็นว่าระบบไพรมารี่โหวตจะเป็นอุปสรรคในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นข้างหน้า ซึ่งข้อดีและข้อเสียของระบบไพรมารี่โหวตแบบไทยๆ มีดังนี้
อ่าน

นับถอยหลัง ‘ภารกิจหนีตาย’ ที่ คสช. เขียน พรรคการเมืองเล่น

ท่ามกลางการลงพื้นที่ (หาเสียง) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่พรรคการเมืองทั้งใหม่และเก่ายังไม่สามารถขยับตัวได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามประกาศคสช. ที่ 57/2557 และ คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ก้าวพ้น คสช. 9 เรื่องที่อาจเกิดขึ้นหลังคสช. ลงจากอำนาจ
อ่าน

ก้าวพ้น คสช. 9 เรื่องที่อาจเกิดขึ้นหลังคสช. ลงจากอำนาจ

สำหรับประเทศไทยภายใต้ คสช. ดูจะไม่มีอะไรแน่นอน แต่วันหนึ่งการเลือกตั้งย่อมเกิดขึ้นและ คสช. ก็ต้องลงจากอำนาจ เราจึงอยากชวนทุกคนมีความหวัง ลองจินตนาการเก้าเรื่องสำคัญที่อาจเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
จบแล้ว คสช.! การเลือกตั้งเปิดพื้นที่ให้คนใหม่ คนเก่าปรับตัว ประชาชนมีตัวเลือก
อ่าน

จบแล้ว คสช.! การเลือกตั้งเปิดพื้นที่ให้คนใหม่ คนเก่าปรับตัว ประชาชนมีตัวเลือก

เราเห็นพรรคการเมืองใหม่เสนอการเป็นตัวเลือกที่แตกต่างจากอดีต เราเห็นพรรคการเมืองเก่าพยายามปรับตัวให้ทันสถานการณ์ เราเห็นคนหน้าใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ การเลือกตั้งครั้งหน้าคือความหวังเราจะมีตัวเลือกและเลือกได้กว่าสี่ปีที่ผ่านมา
เลือกตั้งช้าไป ใครสั่ง …
อ่าน

เลือกตั้งช้าไป ใครสั่ง …

สนช. เห็นชอบ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ตั้งแต่ 25 ม.ค.2561 ในทันที คสช.ก็สัญญาจะเลือกตั้ง ก.พ.2562 แต่อุปสรรคที่ทำให้ต้องเลื่อนการเลือกตั้งยังคงไม่จบ เพราะร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เจอข้อท้วงติงจากผู้มีอำนาจถึงเนื้อหาว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้ร่างต้องถูกชะลอออกไปสองครั้ง และยังประกาศใช้ไม่ได้เสียที
อ่าน

18 ข้อต้องห้าม ถ้าฝ่าฝืนให้องค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง

การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
อ่าน

เส้นทางพรรคการเมืองไม่เอาทหาร ยังไม่ง่าย! คสช. วางกลไกขวางไว้เพียบ

เส้นทางของพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่ประกาศตัวเป็นปฏิปักษ์กับ คสช. นั้นไม่ง่าย เพราะกลไกการเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้งนั้น ยังต้องเป็นไปตามกติกาในรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ รวมทั้งประกาศ และคำสั่งของ คสช. ที่ยังมีผลบังคับใช้ซึ่ง คสช. วางกลไกกับดักเอาไว้มากมาย
อ่าน

เทคนิคใหม่ ‘ยื้อเลือกตั้ง’ ให้ศาลตีความกฎหมาย ส.ว.

แม้ คสช. จะพยายามหาเทคนิคใหม่ๆ มาเลื่อนเลือกตั้งไปแล้วถึง 4 ครั้ง ไล่ตั้งแต่ แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 2557, คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์แล้วร่างใหม่, แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวตามที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกต จนมาถึงขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย ส.ส. ออกไปอีก 90 วัน และล่าสุดดูเหมือน คสช. จะพบเทคนิคใหม่ โดยให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกฎหมายลูก ส.ว.