Browsing Category
มาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ)
358 posts
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี
มาแล้ว! นัดฟังคำพิพากษา ม.112 ในปี 2566
ในปี 2565 จากจำนวนคดี #มาตรา112 ในยุคปิดปากราษฎรตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา รวมอย่างน้อย 227 คน ใน 245 คดี (ข้อมูลล่าสุด วันที่ 12 มกราคม 2566) มีคดีที่มีคำพิพากษาแล้วอย่างน้อย 32 คดี และเริ่มต้นปี 2566 หลายคนอาจได้หยุดพักผ่อนก่อนเริ่มทำงานกันมาในช่วงปีใหม่ แต่สำหรับผู้ต้องหามาตรา 112 นาฬิกาแห่งคำพิพากษาของพวกเขานั้นยังคงย่ำเท้าเดินต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในปี 2566 มีดังต่อไปนี้
“ขอแค่ได้ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง” โจเซฟจากอาสาสมัครมูลนิธิสู่นักสู้คดี 112
11 ตุลาคม 2564 ระหว่างที่ศาลอาญากรุงเทพใต้กำลังพิจารณาคดีมาตรา 112 ที่เกิดจากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ชายผิวขาวหนึ่งใน 13 จำเลยซึ่งร่วมอ่านแถลงการณ์ในวันนั้น ปรินท์กระดาษรูปของทนายอานนท์ นำภา และเบนจา อะปัญ จำเลยคดีมาตรา 112 ที่ถูกคุมขังในเวลานั้น ปิดทับเสื้อยืดของตัวเองยกมือขึ้น และแถลงขอให้ศาลดูรูปของคนที่อยู่บนเสื้อของตัวเองซึ่งทั้งสองคนถูกคุมขังในเรือนจำ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถูกพิพากษาว่ามีความผิด จึงขอให้ศาลช่วยส่งเรื่องนี้ไปถึงอธิบดีศาลด้วย หลังแถลงจบชายคนดังกล่าวก็ควักมีดคัตเตอร์ขึ้นม
2022 Judgement Days Recap: ขอบเขตที่ยังไม่แน่ชัด / ยกฟ้องคดี “ฟ้องทางไกล” เพราะพยานหลักฐานอ่อน ประเด็นเด่นคำพิพากษา 112 รอบปี 65
ประเด็นเด่นของคำพิพากษาที่ออกมาในปี 2565 คือเรื่องการตีความขอบเขตความคุ้มครองของมาตรา 112 ที่ยังขาดความชัดเจน เพราะคำพิพากษาที่ออกมามีทั้งที่ศาลตีความขยายขอบเขตไปคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในอดีต และตีความไปคุ้มครองถึง “สถาบัน” ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำที่ปรากฎอยู่ในตัวบท ขณะเดียวกันก็มีคำพิพากษาที่ศาลตีความเคร่งครัด
ก้อง อุกฤษฏ์: Welcome to the “New World”
ในวัย 23 ปี อาจเป็นช่วงอายุที่ใครหลายคออกไปค้นพบโลกกว้างใบใหม่ แต่เหมือนโลกจะไม่ใจดีซักเท่าไหร่ เพราะในวัย 20 ปีเศษ ก้อง-อุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุลถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จำนวน สองคดี โดยมีที่มาจาก “การแชร์ข่าว” บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก
พรชัย : คนบนดอยที่ไม่ยอมตัดขาดจากโลกภายนอก
“พรชัย วิมลศุภวงศ์” หรือชื่อเล่นที่เขาตั้งให้ตัวเองคือ มาริโอ้ พรชัยเป็นชาวปกาเกอะญอที่ตัดสินใจเดินทางออกจากชีวิต “บนดอย” มาทำงานหากินอยู่ในเมืองหลวง แต่ต้องถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พร้อมๆ กันถึง 2 คดี
จีน่า “ปภัสร”: เมื่อระบบแสดงผลของเฟซบุ๊กเป็นเหตุคดี 112
คดีของ “ปภัสร” หรือ จีน่า เกิดขึ้นเพียงเพราะเธอคัดลอกลิงค์คลิปสาปแช่งพล.อ.ประยุทธ์มาเผยแพร่บนเฟซบุ๊กส่วนตัว แต่เนื่องจากภาพหน้าปกของกลุ่มตลาดหลวง เป็นภาพคนที่มีใบหน้าคล้ายรัชกาลที่สิบกำลังเล่นสไลเดอร์ เมื่อคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกมาเห็นโพสต์จึงนำไปแจ้งดำเนินคดี
ศาลจังหวัดกระบี่นัดฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 จากการแชร์คลิปสาปแช่งประยุทธ์ 20 ก.พ. 66
ศาลจังหวัดกระบี่นัดสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ สุรีมาศ หรือ จีน่า แม่เลี้ยงเดี่ยวซึ่งมีอาชีพเป็นนักขายประกันชีวิตบริษัทหนึ่งเป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 คดีนี้เป็นอีกหนึ่งคดีที่ผู้ริเริ่มเป็นประชาชนทั่วไป โดยเป็นประชาชนที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน จีน่าจึงไม่ต้องเดินทางไกลไปขึ้นศาลเหมือนจำเลยคดีมาตรา 112 อีกหลายคดี
มูลเหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2564 จีน่าได้คัดลอกลิงค์คลิปวิดีโอติ๊กต๊อกที่มีหญิงคนหนึ่งกำลังทำพิธี คล้ายสวดคาถาสาปแช่ง พล.อ.ประยุทธ์ จากกลุ่มเฟซบุ๊กรอยัลลิสต์มาร์เก็ต
RECAP เสวนา Never Say Never: ถกปัญหา-หาทางออก 2 ปี การกลับมาของมาตรา 112”
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 เนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี การนำ #มาตรา112 กลับมาบังคับใช้ในระลอกปี 2563 ไอลอว์ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา “Never Say Never: ถกปัญหา-หาทางออก 2 ปี การกลับมาของมาตรา 112” โดยเป็นการพูดคุยกับตัวแทนพรรคการเมืองสามพรรค ได้แก่
o พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวช หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย
o รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล
o ขัตติยา สวัสดิผล ตัวแทนพรรคเพื่อไทย
ดำเนินรายการโดย ฐาปนีย์ เอียดศรีชัย
ปิดทางสู้? ศาลไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ให้จำเลยชุมนุมปฏิรูปสถาบันฯ
คดีมาตรา 112 จำนวนหนึ่งเป็นคดีที่มีมูลเหตุมาจากการปราศรัยหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้พระราชอำนาจหรือการดำเนินการบางประการของพระมหากษัตริย์ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินและการประทับในต่างแดนหรือการใช้งบประมาณ การพิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือพิสูจน์เจตนาในการกระทำของจำเลยเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยเอกสารสำคัญ เช่น เอกสารบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเข้า – ออกประเทศ หรือเอกสารเกี่ยวกับงบประมาณของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานต่างๆ มาเป็นหลักฐานในการต่อสู้คดี จำเลยในคดีเหล่านั้นจึงร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารสำคัญที่อยู่ในควา