Browsing Category
มาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ)
358 posts
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี
ชวนดูนิทรรศการ 3 ปี 112 “ผู้ใด หมิ่นประมาท”
ในโอกาสครบรอบ 3 ปี ที่มาตรา 112 ถูกนำกลับมาบังคับใช้อย่างเข้มข้นจนส่งผลให้ในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมาผู้จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีสะสมสูงถึง 262 คน ไอลอว์ถือโอกาสประมวลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นนิทรรศการ "ผู้ใดหมิ่นประมาท"
เสวนา 3 ปี 112 ฟังเสียงจากผู้อยู่หลังม่าน ในวันที่คนและคดียังเดินหน้ารอวันพิพากษา
12 พฤศจิกายน 2566 ที่อาคาร All Rise โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) จัดงานเสวนา “3 ปี 112: คนและคดียังเดินหน้ารอวันพิพากษา”
กลุ่มราษฎรยกเลิก 112 พบ รมต.ยุติธรรม เรียกร้องสิทธิผู้ต้องขัง และนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
กลุ่มคณะราษฎรยกเลิก 112 รวมตัวกันเดินขบวนไปยังกระทรวงยุติธรรมยื่นเสนอข้อเรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองแก่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ทั้งเสนอแก้ไข – ยกเลิก ย้อนดูทางวิบากของการเสนอต่อมาตรา 112
นับตั้งแต่ปี 2548 การเมืองไทยตกอยู่ในวังวนแห่งความขัดแย้งโดยมีเหตุการณ์ทางการเมืองใหญ่ๆ เกิดขึ้นเป็นระยะ มีการรัฐประหารสองครั้งคือรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีเหตุการณ์ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมจนเกิดเหตุนองเลือดในปี 2552 และ 2553 และการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่อีกหลายต่อหลายครั้ง ในช่วงที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองมีความแหลมคม โดยเฉพาะในการชุมนุมของราษฎรปี 2563 การวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางการเมืองไม่ได้จำกัดอยู่แค่นายกรัฐมนตรี ทหารหรือนักการเมือง หากแต่ขยายไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ด้วย ทำให้ในช่วงเวลา
นัดฟังคำพิพากษา คดีม.112 เดือนพฤศจิกายน 2566
เข้าสู่ปลายปี 2566 คดีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ทยอยพิจารณาเสร็จในชั้นศาลและมีผลคำพิพากษาออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวคำพิพากษาที่หลากหลายทั้ง ยกฟ้อง ลงโทษ และรอลงอาญา ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีคดี 112 ที่กำลังจะพิพากษาอย่างน้อย 7 คดี ดังนี้
6 พฤศจิกายน เวลา 9.00 น.
สรุปคำพิพากษา ม.112 เดือนตุลาคม: จาก 15 คดี มียกฟ้องแค่สามราย
เดือนตุลาคม 2566 มีการนัดฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 มากถึง 15 คดีพบว่า มีคดีที่รอการกำหนดโทษหนึ่งคดีถือเป็นนิมิตรหมายที่น่าสนใจ ยังไม่ทราบคำพิพากษาหนึ่งคดี มีคำพิพากษาลงโทษ แต่ให้รอลงอาญาห้าคดี และมีคำพิพากษาให้ลงโทษ แต่ไม่รอลงอาญาอีกห้าคดี โดยมีสามคดีเท่านั้นที่ศาลตัดสินใจยกฟ้อง
รอการลงโทษจำคุกเบนจา 2 ปี คดี 112 กรณีอ่านแถลงการณ์แนวร่วมมธ. ฉ.2 ศาลชี้เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัว
30 ตุลาคม 2566 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดเบนจา อะปัญ อดีตนักกิจกรรมแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ที่เธอถูกกล่าวหาว่าปราศรัยและอ่านแถลงการณ์แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมฉบับที่สอง เรื่อง นายทุน-ขุนศึก-ศักดินา และการเมืองหลังระบบประยุทธ์ ระหว่างคาร์ม็อบวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โดยที่เนื้อหาบางตอนของแถลงการณ์พาดพิงและก่อให้เกิดความเสียหายกับพระมหากษัตริย์ โดยศาลพิพากษาว่าเบนจามีความผิด ให้ลงโทษจำคุกในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลา 3 ปี และในความผิดฐานร่วมการชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำคุก 1 ปี กับปรับ 12,000 บาท เนื่องจากเบนจาให้การเป็นปร
Stand Together ครั้งที่สอง : จากข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สู่วันพิพากษาคดี 112
เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลายคนที่จะต้องฟังคำพิพากษา โดยในเร็วๆ นี้จะมีอย่างน้อยสองคดีที่จะถึงเวลาพิพากษา คือคดีของ เบนจา อะปัญ ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม 2566 และสัปดาห์ถัดไป 8 พฤศจิกายน ศาลจังหวัดธัญบุรี นัดอ่านคำพิพากษาคดี 112 ของณัฐชนน ไพโรจน์
29 ตุลาคม 2566 iLaw และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน Stand Together ครั้งที่สอง ส่งใจให้ผู้ต้องหาก่อนเผชิญคำพิพากษา 112 โดยมี เบนจ