Browsing Category
กฎหมายประชาชน
129 posts
ขอเชิญร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ
ร่างกฎหมายส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศฉบับประชาชนร่างขึ้นโดยเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ด้วยการระดมความเห็นจากกลุ่มผู้หญิงภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับศึกษาแนวทางกฎหมายความเสมอภาคระหว่างเพศในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม สเปน และฟิลิปปินส์ และปรับแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2553 และเริ่มรณรงค์กับเครือข่ายต่างๆ เพื่อรวบรวมรายชื่อเสนอกฎหมายจากภาคประชาชน
พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร ให้ท้องถิ่นจัดการตนเอง
ภาคประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมกันเสนอร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ…. โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2555 เครือข่ายเชียงใหม่จัดการตนเองจัดกิจกรรม “120 วัน ก้าวผ่าน 120 ปีของการรวมศูนย์อำนาจ” ซึ่งเผยแพร่ร่างกฎหมายฉบับล่าสุดที่ผ่านการปรับปรุง โดยกำหนดระยะเวลาระดมชื่อให้เสร็จภายใน 120 วัน
ร่วมแก้ไข พ.ร.บ.ประมง กระจายอำนาจให้ชาวประมง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่ามากแล้ว แม้จะแก้ไขมาสามถึงสี่ครั้งก่อนหน้านี้ แต่ก็เพียงแก้ไขในประเด็นปลีกย่อย แต่โครงสร้างอำนาจหลักที่เป็นปัญหาสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงนั้นยังไม่เคยถูกแก้ไข สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย จึงร่างพระราชบัญญัติประมง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. … ขึ้นเพื่อเสนอโครงสร้างอำนาจแบบใหม่ที่อาจแก้ไขปัญหาที่มีมาช้านานได้
ร่วมเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับผู้ใช้แรงงานเขียนเอง
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้ด้วยความสัมพันธ์อันดี รวมถึงกำหนดวิธีการสำหรับระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ครก.ยื่น 26,968 รายชื่อแก้ไขม.112 ต่อสภา
"ชาญวิทย์" นำทีม ครก.112 เดินขบวนจากหมุดคณะราษฎรมาหน้ารัฐสภา ยื่น 26,968 รายชื่อต่อรัฐสภา เสนอแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอ 7 ประเด็นของคณะนิติราษฎร์
ใครบ้าง ไม่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
“ไม่ไปเลือกตั้ง เสนอกฎหมายได้หรือไม่” ตรวจสอบกฎหมายตัดสิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ใครอาจถูกตัดสิทธิได้บ้างและจะนับเอาวันไหนเป็นเกณฑ์
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ประชาชนเสนอกฎหมายได้สำเร็จ?
“การศึกษาคือรากฐานของชีวิต” ในชีวิตของคนเราปฎิเสธไม่ได้ว่าการศึกษานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาช่วยให้คนคนหนึ่งมีศักยภาพในการทำประโยชน์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามาดูแลเรื่องของการศึกษาให้กับประชาชน โดยเห็นได้จากการที่รัฐได้บรรจุเรื่องสิทธิในการศึกษา ไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 ดังนี้
ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจาการบริการสาธารณสุข เยียวยาในมุมมองของแพทย์
จากกรณีที่เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภค จับมือกันเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. … เมื่อกลางปี พ.ศ.2553 ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข อย่าง แพทย์ พยาบาล นำโดยแพทยสภาไม่เห็นด้วยกับหลักการในร่างดังกล่าวจึงออกมาต่อต้าน เพราะเห็นว่าผู้ให้การบริการสาธารณสุขไม่ได้รับความเป็นธรรมจากร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเกรงว่าจะเปิดช่องให้เกิดการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ให้บริการสาธารณสุขมากขึ้น และจะส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมาก