- คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
พิพัทธ์: โพสต์ภาพรัชกาลที่สิบในรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
ภาพที่เป็นเหตุแห่งคดีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่รัชกาลที่สิบที่ทรงฉายกับเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ โดยมีการตัดต่อข้อความที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ลงไปบนภาพด้วย
หลังถูกดำเนินคดีพิพัทธ์ต้องเดินทางมารายงานตัวและต่อสู้คดีที่สมุทรปราการ ศาลจังหวัดสมุทรปราการสืบพยานคดีนี้ในเดือนสิงหาคม 2565 ก่อนจะมีคำพิพากษายกฟ้องพิพัทธ์ในวันที่ 26 ตุลาคม 2565 เพราะเห็นว่าหลักฐานของโจทก์มีความน่าสงสัยว่าจะเป็นการตัดต่อภาพหรือไม่
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พิพัทธ์เป็นชาวพิษณุโลก ขณะถูกดำเนินคดีอายุ 20 ปี พิพัทธ์สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวะแห่งหนึ่งก่อนจะมาสมัครเป็นพลทหารและทำงานอยู่ที่จังหวัดลพบุรี
พิพัทธ์เคยสอบติดนายสิบทหารบกและอยู่ระหว่างรอการสัมภาษณ์แต่ก็มาได้รับหมายเรียกคดีมาตรา 112 เสียก่อน พิพัทธ์จึงตัดสินใจสละสิทธิ์นายสิบเพราะกังวลว่าจะมีปญหาหรือถูกบีบออกราชการในภายหลัง
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
หลังการสอบสวน พนักงานสอบสวนสภ.บางแก้วนำตัวพิพัทธ์ไปขออำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการฝากขังในชั้นสอบสวน ทนายความของพิพัทธ์ใช้เงิน 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์วางต่อศาลเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งศาลอนุญาต
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
บนภาพดังกล่าวมีข้อความสองข้อความเป็นลักษณะบทสนทนาระหว่างสองพระองค์ ซึ่งอุราพรเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และรัชทายาท จึงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กที่โพสต์ข้อความดังกล่าว
พิพัทธ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และแจ้งพนักงานสอบสวนว่าเขาจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นเอกสารภายใน 30 วัน หลังแจ้งข้อกล่าวหาพนักงานสอบสวนนำตัวพิพัทธ์ไปขออำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการฝากขังในชั้นสอบสวน โดยอ้างเหตุว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปก่อเหตุร้ายประการอื่น ทั้งทีพิพัทธ์ให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนด้วยดี และเดินทางมารายงานตัวด้วยตัวเอง
มีข้อน่าสังเกตด้วยว่าแม้พนักงานสอบสวนจะเอาตัวพิพัทธ์ไปฝากขัง แต่ในเอกสารบันทึกประจำวันกลับระบุว่าตำรวจได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปโดยไม่ได้ควบคุมตัว
พยานผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายจำเลยปากหนึ่งขึ้นเบิกความโดยสรุปได้ว่า หลักฐานที่ผู้กล่าวหานำมาใช้ปรักปรำจำเลยไม่มีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นเพียงภาพบันทึกหน้าจอซึ่งสามารถใช้คอมพิวเตอร์ตัดต่อเปลี่ยนแปลงได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ หลังการสืบพยานแล้วเสร็จศาลนัดพิพัทธ์ฟังคำพิพากษาในวันที่ 26 ตุลาคม 2565
คำพิพากษา
พิเคราะห์หลักฐานข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า จากการเก็บหลักฐานของผู้กล่าวหาซึ่งเป็นการบันทึกภาพหน้าจอโพสต์ที่เป็นปัญหาแห่งคดีและโปรไฟล์เฟซบุ๊กของจำเลย จากแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้กล่าวหา แล้วนำมารวมกันก่อนปรินท์ออกมาเป็นเอกสารหลักฐาน กรณีจึงไม่ใช่สิ่งที่พิมพ์ออกจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง