- คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
พรชัย : คดี 112 ฟ้องทางไกลไปบันนังสตา
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
พรชัย ชาวปกาเกอะญอจากแม่ฮ่องสอน ที่ทำงานอยู่กรุงเทพ ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่สภ.บันนังสตาด้วย จากการถ่ายคลิปวิดีโอตัวเองลงบนเฟซบุ๊ก และโพสต์ข้อความอีกสองข้อความ โดยมีวัชรินทร์ นิวัฒน์สวัสดิ์ ภาคีประชาชนปกป้องสถาบันฯ ชาวอำเภอบันนังสตาเป็นผู้ริเริ่มแจ้งความไว้ที่สภ.บันนังสตา ทำให้คดีนี้ต้องขึ้นศาลจังหวัดยะลา
พรชัยรับว่า คลิปวิดีโอเป็นของเขาจริง แต่อีกสองโพสเฟซบุ๊กเขาไม่ได้เป็นคนโพส และหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้ฟ้องคดีไม่น่าเชื่อถือ
15 ธันวาคม 2565 ศาลพิพากษา ให้มีความผิด 1 กรรมจากการโพสต์คลิปไลฟ์ ในขณะที่อีก 2 กรรมให้ยกฟ้อง เนื่องจากหลักฐานไม่ปรากฏ URL จึงไม่สามารถตรวจสอบไปยังต้นโพสต์ได้
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พรชัย หรือมาริโอ้ เป็นชาวปกาเกอะญอวัย 39 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมาทำธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่กรุงเทพได้หลายปีแล้ว พรชัยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง พรชัยมีคดีมาตรา 112 สองคดี ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดยะลา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
ตามคำฟ้องที่อัยการยื่นต่อศาลจังหวัดยะลา กล่าวหาว่าจำเลยกระทความผิดสามกรรม ดังต่อไปนี้
- วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ข้อเรียกร้องของพวกเขาคือ ให้นำเจ้าของหมานำ ‘หมา’ ทุกตัวออกจากคณะรัฐมนตรีและส.ว.250 คนก็ให้ออกไปด้วย “xxxมึงคิดให้ดีๆ ชีวิตของมึงสบายไปทั้งชาติจนมึงตายห่าลูกหลานของมึงก็ยังมีแดก วัดใจกับพวกกูคณะราษฎรมึงคิดผิดมหันต์”
- วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 แยกราชประสงค์จะเปลี่ยนชื่อเป็นราษฎรประสงค์ เป็นวันแห่งจุดเปลี่ยน พลังแห่งเสรีภาพและความเสมอภาค “มึงxxxอย่าเล่นสกปรก กูแค่ต้องการให้มึงเอาหมาของมึงลาออก ส่วนตัวมึงxxxแค่ยอมรับอยู่ภายใต้กติกา ภายใต้รัฐธรรมนูญถึงเวลาที่มึงต้องเลือกว่าจะดันทุรังใช้ความรุนแรงหรือมึงจะเข้าสู่กติตาภายใต้รัฐธรรมนูญ…”
- “ถ้ามึงมาถามกูว่ามึงไม่กลัวตายเหรอที่ฟัดกับเจ้ากูแน่กูไม่ใช่คนดีสมบูรณ์แบบแต่กูมีจรรยาบรรณในการใช้ชีวิตไม่เหมือนxxxมั่วซั่วไปทั่ว”
- “คนบางคนต้องพูดกับมันตรงๆเพราะสันดานเหี้ยๆ ที่ฝังลึกจนตัวมันเองไม่รู้ว่า เลวระยำ กูฝากถึงมึงxxx”
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ดูข้อมูลคดีที่จังหวัดเชียงใหม่ของพรชัย ได้ทาง https://database.tlhr2014.com/public/case/1785/lawsuit/569/
แหล่งอ้างอิง
คำพิพากษา
สำหรับคำพิพากษาของศาลจังหวัดยะลา ศูนย์ทนายฯ สรุปเอาไว้ดังนี้
(1) ความผิดจากการโพสต์คลิปวิดีโอ : ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือ 2 ปี
จำเลยโพสต์คลิปวิดีโอมีเนื้อหาสื่อถึงรัชกาลที่ 10 ที่วางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เห็นว่าเป็นการดูหมิ่น จาบจ้วง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท แต่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพนั้น เห็นว่าพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญนั้นดำรงอยู่ในฐานะอันล่วงละเมิดมิได้ ทรงอยู่เหนือการติชมทั้งปวง
(2-3) โพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 2 ข้อความ : ยกฟ้อง ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
นายวัชรินทร์ นิวัฒน์สวัสดิ์ เบิกความว่าเป็นสมาชิกกลุ่มพิทักษ์สถาบันฯ โดยมีเพื่อนเป็นผู้ส่งภาพมาให้ จึงไม่ปรากฏ URL ที่มาของข้อความในเอกสารที่นำมาแจ้งความ และพนักงานสอบสวนเบิกความว่าไม่แน่ใจว่าภาพถูกต้องตามต้นโพสต์หรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้
ประกอบกับจำเลยมีพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความว่า ภาพตามเอกสารพยานโจทก์ดังกล่าว เป็นการถ่ายมาจากหน้าจอโทรศัพท์และภาพมีความผิดปกติ คือมีเส้นขีดสีแดง ซึ่งน่าจะมีการทำเพิ่มเติมผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ อีกภาพหนึ่งก็เป็นการนำ 2 ภาพมารวมกัน และมีการลบภาพบางส่วนออก แสดงว่าไม่ใช่ภาพต้นฉบับ ซึ่งหากถ่ายภาพจากคอมพิวเตอร์ จะปรากฏลิงค์ URL และสามารถถูกแก้ไขด้วยโปรแกรมคอมคอมพิวเตอร์ ต่างๆ ทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังเบิกความว่าภาพมีความผิดปกติ อาจผ่านการตัดต่อมา
พยานหลักฐานโจทก์จึงยังมีพิรุธสงสัยว่ามีโพสต์ดังกล่าวอยู่ในเฟซบุ๊กจริงหรือไม่ ทั้งนี้พยานโจทก์ยังไม่อาจนำสืบได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความทั้งสอง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย