- คดีสำคัญ
- คดีชุมนุม, ฐานข้อมูลคดี
สนท.ชุมนุม #saveวันเฉลิม
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
การชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังในวันที่ 4 มิถุนายน 2564 มีรายงานกรณีที่วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ นักเคลื่อนไหวชาวไทยที่ลี้ภัยในกัมพูชาถูกอุ้มตัวขึ้นรถตู้โดยบุคคลไม่ทราบฝ่าย
กิจกรรมช่วงแรก มีการอ่านรายชื่อผู้สูญหาย และสลับการปราศรัย กิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เศษ ผู้จัดจึงเชิญชวนผู้ร่วมงานวางดอกไม้เพื่อรำลึกถึงผู้ลี้ภัยและผู้สูญหาย ผู้ชุมนุมยังร่วมกันตะโกนข้อคตวาม “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” และ “เซฟวันเฉลิม”
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
“ทวงความเป็นธรรมให้วันเฉลิมและผู้ลี้ภัยทุกคน #save วันเฉลิม, วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ คือผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนล่าสุดที่ถูกอุ้มหายไปเมื่อวานนี้ เขาไม่ใช่ผู้ลี้ภัยคนแรกที่ตกเป็นเหยื่อการอุ้มหายและยังมีผู้ลี้ภัยอีกหลายคนที่ต้องใช้ชีวิตภายใต้ชะตากรรมที่ไม่แน่นอน
ผู้ลี้ภัยทุกคนเป็นคนไทยและมีสิทธิ์ได้รับความเป็นธรรมเหมือนทุกคน เราจึงขอเชิญชวนทุกคนออกมาทวงความเป็นธรรมให้วันเฉลิมและผู้ลี้ภัยทุกคน วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 เวลา 17.00-18.00 น. ณ skywalk หอศิลป์
โปรดเตรียมดอกไม้เพื่อร่วมทวงความเป็นธรรมให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองทุกคน (มีมาตรการความปลอดภัยรองรับภายใต้โรคระบาดโควิด 19) #SUT #สนท”
กิจกรรมที่จำเลยกับพวกร่วมกันจัดมีประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงมีนักข่าว สื่อมวลชน ร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก ในลักษณะมั่วสุมประชุมกันและมีโอกาสสัมผัสติดต่อกันได้ง่าย อันเป็นการจัดกิจกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พฤติการณ์การจับกุม
กรณีปนัสยา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ อ้างอิงรายงานจากทวิตเตอร์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า รายงานว่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 พนักงานสอบสวนสน.ปทุมวัน เข้าพบปนัสยาที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระรามเก้าระหว่าง
กรณีจุฑาทิพย์ และพริษฐ์ ไม่มีการจับกุมจับ
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
“ทวงความเป็นธรรมให้วันเฉลิมและผู้ลี้ภัยทุกคน #save วันเฉลิม, วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ คือผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนล่าสุดที่ถูกอุ้มหายไปเมื่อวานนี้ เขาไม่ใช่ผู้ลี้ภัยคนแรกที่ตกเป็นเหยื่อการอุ้มหายและยังมีผู้ลี้ภัยอีกหลายคนที่ต้องใช้ชีวิตภายใต้ชะตากรรมที่ไม่แน่นอน
ผู้ลี้ภัยทุกคนเป็นคนไทยและมีสิทธิ์ได้รับความเป็นธรรมเหมือนทุกคน เราจึงขอเชิญชวนทุกคนออกมาทวงความเป็นธรรมให้วันเฉลิมและผู้ลี้ภัยทุกคน
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 เวลา 17.00-18.00 น. ณ skywalk หอศิลป์
โปรดเตรียมดอกไม้เพื่อร่วมทวงความเป็นธรรมให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองทุกคน (มีมาตรการความปลอดภัยรองรับภายใต้โรคระบาดโควิด 19) #SUT #สนท”
นอกจากจะมีการปราศรัยและการอ่านชื่อผู้ที่ถูกอุ้มหายด้วยเหตุทางการเมืองแล้ว ผู้จัดการชุมนุมยังนำรูปภาพของคนที่เคยถูกอุอมหายมาถือและเชิญชวนคนร่วมชุมนุมให้วางดอกไม้ที่รูปของบุคคลเหล่านั้นด้วย รวมทั้งมีการนั่งชันเข่าแสดงสัญลักษณ์คล้ายการชุมนุม Black Live Matter ด้วย ในวันเกิดเหตุการชุมนุมยุติลงด้วยความเรียบร้อยโดยไม่มีบุคคลใดถูกจับกุมตัว
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า จุฑาทิพย์ และพริษฐ์ ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจาก สน.ปทุมวัน จากการร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 โดยหมายเรียกผู้ต้องหาซึ่งระบุชื่อของปนัสยาเป็นผู้ต้องหาคนที่หนึ่ง ระบุข้อกล่าวหาว่า
ผู้ต้องหาทั้งสามร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย” ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หมายเรียกดังกล่าวระบุให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนในวันที่ 30 มิถุนายน 2563
สถานที่จัดการการชุมนุมมีอากาศถ่ายเท ไม่มีความแออัด ไม่ใช่พฤติการณ์ที่เป็นการยุยง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และกิจกรรมก็มีมาตรการให้ผู้เข้าร่วมสวมใส่หน้ากากอนามัย
ศาลไม่ได้วางมาตรการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ แต่ระหว่างที่ทนายของพริษฐ์กำลังนั่งกรอกเอกสารคดีอยู่ที่โต๊ะนอกอาคารศาล ตำรวจศาลนายหนึ่งเดินมาแจ้งกับทนายของพริษฐ์และตัวของพริษฐ์ว่า ศาลจะพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณา 6 หากทนายความและพริษฐ์พร้อมแล้วให้ขึ้นไปที่ห้องได้เลย
สำหรับเพื่อนของพริษฐ์ที่มาศาลด้วยสองคน สามารถขึ้นไปรอบนอาคารศาลซึ่งติดแอร์ได้แต่ให้นั่งรออยู่นอกห้องเนื่องจากศาลอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด19 จึงต้องจำกัดจำนวนคนที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี ในห้องพิจารณาคดีจึงมีเพียงอัยการ พริษฐ์ และทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสองคน