- คดีมาตรา112, คดีมาตรา116, ฐานข้อมูลคดี
การชุมนุมหน้าสภ.ภูเขียว
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
เบื้องต้นจตุภัทร์ให้การปฏิเสธแต่ต่อมากลับคำให้การเป็นรับสารภาพ เขาถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน เขาพ้นโทษในเดือนพฤษภาคม 2562 รวมเวลารับโทษจำคุก 2 ปี 5 เดือน กับ 7 วัน ระหว่างที่จตุภัทร์อยู่ในเรือนจำเขาได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจูในเดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งครอบครัวของเขาต้องไปรับรางวัลแทนเพราะจตุภัทร์อยู่ในเรือนจำ
ภาณุพงศ์ จาดนอก เป็นชาวจังหวัดระยอง ถูกดำเนินคดีครั้งแรกจากกรณีที่เขาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ชูป้ายในจังหวัดระยองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ระหว่างที่พล.อ.ประยุทธ์ ลงพื้นที่จังหวัดระยองหลังเกิดกรณีทหารเรืออียิปต์ที่ติดเชื้อโควิด19 เข้าไปเที่ยวในพื้นที่
หลังถูกดำเนินคดีภาณุพงศ์เริ่มเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองระดับประเทศบ่อยครั้งขึ่้นโดยเข้าร่วมปราศรัยในการชุมนุมครั้งสำคัญตลอดปี 2563 หลายครั้ง เช่น การชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม 2563 การชุมนุมธรรมศษสตร์จะไม่ทนในเดือนสิงหาคม 2564 และการชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร โดยประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในประเด็นที่ภาณุพงศ์มักหยิบยกมาปราศรัยจนเป็นเหตุให้เขาถูกดำเนินคดีมาตรา 112 หลายคดี
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
จตุภัทร์กับอรรถพลเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในวันที่ 11 มิถุนายน 2564 ส่วนภาณุพงศ์ในวันที่ 11 มิถุนายนยังไม่ได้เข้ารายงานตัวเนื่องจากยังไม่ได้รับหมายเรียกและเขาเพิ่งได้รับการประกันตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 จึงต้องกักตัวเพื่อดูอาการตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด19 โดยภาณุพงศ์เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาระหว่างถูกคุมขังในคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร จนถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ภาพ cover จาก เพจ UNME of Anarchy
แหล่งอ้างอิง
29 มกราคม 2564
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าหลังกลุ่มราษฎรนำโดยจตุภัทร์ประกาศจัดค่ายราษฎรออนทัวร์ในพื้นที่อำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยและประกาศให้เยาวชนหรือนักเรียนที่สนใจร่วมทำกิจกรรม ปรากฎว่ามีนักเรียนในพื้นที่อำเภอภูเขียวอย่างน้อยสี่คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามคุกคาม นอกจากการติดตามโดยตำรวจแล้วครูของนักเรียนบางส่วนก็ไปพบลูกศิษย์เพื่อพูดคุยให้ถอนตัวจากกิจกรรมราษฎรออนทัวร์
1 กุมภาพันธ์ 2564
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานผ่านเฟซบุ๊กว่า นักกิจกรรมกลุ่มราษฎรจัดการชุมนุมที่หน้าโรงเรียนภูเขียวในเวลาประมาณ 8.00 น. เพื่อประท้วงกรณีที่ครูนำข้อมูลส่วนตัวเขานักเรียนที่ลงชื่อร่วมกิจกรรมราษฎรออนทัวร์ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจนนำไปสู่การติดตามคุกคามนักเรียน
หลังชุมนุมที่หน้าโรงเรียนภูเขียวจนถึงเวลาประมาณ 10.00 น.ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปที่หน้าสภ.ภูเขียวโดยไปถึงในเวลาประมาณ 10.30 จากนั้นผู้ชุมนุมจัดพื้นที่การชุมนุมที่หน้าสภ.ภูเขียวในลักษณะของการตั้งแคมป์ จตุภัทร์ชี้แจงจุดประสงค์การชุมนุมที่หน้าสภ.ภูเขียวว่าเขาต้องการเรียกร้องให้ตำรวจออกมาขอโทษที่ไปติดตามคุกคามนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมจนหลายคนถอนตัวจากกิจกรรมเพราะความหวาดกลัว จากนั้นในเวลาประมาณ 16.50 น.ผู้ชุมนุมนำป้ายข้อความ "ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" ไปผูกไว้กับอาคารสภ.ภูเขียว
ป้ายปฏิรูปสถายบันฯและป้ายเขียนข้อความอื่นๆถูกแขวนไว้กระทั่งประมาณ 23.30 น. ของวันเดียวกันจึงถูกตำรวจปลดและยึดไปซึ่งเวลานั้นการชุมนุมยุติแล้วและผู้ชุมนุมแยกย้ายกันพักแรมหน้าสภ.ภูเขียว
10 กุมภาพันธ์ 2564
เฟซบุ๊กเพจไผ่ ดาวดิน โพสต์ภาพหมายเรียกสภ.ภูเขียว ที่เรียกจตุภัทร์พร้อมทั้งบุคคลอื่นรวม 11 คน เข้ารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาจากกรณีจัดการชุมนุมที่หน้าสภ.ภูเขียวโดยครั้งนั้นยังไม่มีชื่อของอรรถพลและภาณุพงษ์และพนักงานสอบสวนยังไม่ต้องข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับจตุภัทร์
11 มิถุนายน 2564
มติชนออนไลน์รายงานว่า จตุภัทร์และอรรถพลเดินทางไปที่สภ.ภูเขียวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 จากกรณีจัดการชุมนุมและปราศรัยที่หน้าสภ.ภูเขียวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ต้องหาทั้งสองให้การปฏิเสธและได้รับการปล่อยตัวกลับ ส่วนภาณุพงศ์ผู้ต้องหาในคดีอีกคนหนึ่งยังไม่เข้ารายงานตัว เนื่องจากเขายังไม่ได้รับหมายเรียก และเขายังอยู่ระหว่างการกักตัวตามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ภาณุพงศ์ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อขณะถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีมาตรา 112 จากการร่วมชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เขาถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 และพักรักษาตัวภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่นั่นกระทั่งได้รับประกันตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2564
6 กรกฎาคม 2564
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ภาณุพงศ์เข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแล้ว ก่อนเริ่มกระบวนการภาณุพงศ์พยายามสอบถามเรื่องหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนเนื่องจากตัวเขาไม่ได้รับ พนักงานสอบสวนนำสำเนาหมายเรียกมาให้เข้าดูรวมสามฉบับแต่หมายเรียกเหล่านั้นไม่มีหลักฐานตอบกลับจากทางสภ.บ้านฉางซึ่งเป็นเจ้าของท้องที่ตามภูมิลำเนาของภาณุพงศ์มายืนยันว่าดำเนินการส่งหมายให้ภาณุพงศ์แล้วหรือไม่อย่างไร
มีเนื้อหาตอนหนึ่งของการปราศรัยของภาณุพงศ์ที่เป็นเหตุแห่งคดี ภาณุพงศ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์และการศึกษาไทยว่า มีการสอนให้เด็กนักเรียนให้เทิดทูนกษัตริย์ที่… (คำวิจารณ์) ถือเป็นการหลอกลวง
พนักงานสอบสวนระบุว่า คําพูดดังกล่าวเมื่อผู้คนทั่วไปและประชาชนได้ฟังแล้วจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในสถาบันกษัตริย์ และรู้สึกไม่เทิดทูน อีกทั้งเป็นการดูหมิ่นที่ระบุชัดเจนโดยมีการเอ่ยพระนามของพระมหากษัตริย์ออกมาด้วย พนักงานสอบสวนแจ้งด้วยว่าได้มีการเชิญนักวิชาการมาให้ปากคำแล้ว
หลังการสอบสวนภาณุพงศ์ได้รับการปล่อยตัวกลับเนื่องจากมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเองไม่มีพฤติการณ์หลบหนี