- คดีชุมนุม, คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
การชุมนุม 24 มีนาคม 2564 #เพราะประเทศนึ้เป็นของราษฎร
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
ในวันที่ 30 กันยายน 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องภัสราวลีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยต้องวางหลักทรัพย์ 200000 บาทเป็นหลักประกัน
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง หรือไบรท์ แกนนำเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี ที่จัดกิจกรรม “รวมพลคนนนทบุรีไล่เผด็จการ” อยู่หลายครั้ง ปี 2554-2556 ชินวัตร เริ่มจัดรายการวิทยุชุมชนคนเสื้อแดง และเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาชน (กวป.) ที่จัดการชุมนุมคู่ขนานกับกลุ่ม กปปส.
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
ในเวลา 16.55 น. ผู้ชุมนุมทยอยลงไปยืนบนผิวจราจรถนนราชดำริ บริเวณแยกราชประสงค์ ผู้กำกับสน.ลุมพินีได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับความมั่นคง แต่ผู้ชุมนุมก็ไม่ยุติการชุมนุม
จากนั้นผู้ต้องหาทั้งสิบเอ็ดคนในคดีนี้สลับกันขึ้นกล่าวปราศรัย และประกาศยุติการชุมนุมในเวลาประมาณ 21.05 น.ในวันเกิดเหตุไม่มีเหตุรุนแรงและไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานและรองทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดในข้อหาฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง
โดยในวันเกิดเหตุวราวุธกับเพื่อนๆในกลุ่มส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตการณ์เนื่องจากทราบว่าภัสราวลีจะขึ้นปราศรัยและอาจมีการพาดพึงสถาบันพระมหากษัตริย์ จากนั้นในเวลา 19.30 ถึง 21.00 น. ภัสราวลีได้กล่าวปราศรัยโดยได้พูดในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์สามประเด็น
สอง มีการแทรกแซงอยู่เบื้องหลังกลุ่มก้อนการเมือง ย่อมนำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชน เป็นการใส่ความว่าพระมหากษัตริย์ทรงแทรกแซงทางการเมือง
กล่าวหาพระมหากษัตริย์ว่าทรงแทรกแซงการเมืองและนำสมบัติชาติไปเป็นสมบัติส่วนพระองคฺ์ ทำให้เกิดความเสียหายและอาจทำให้เกิดความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
คำฟ้องของภัสราวลีในส่วนของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สรุปได้ว่า
อันเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลปัจจุบันเสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างร้ายแรง
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
การปราศรัยเริ่มขึ้นหลังเวลา 17.00 น. และดำเนินเรื่อยไปจนยุติในเวลาประมาณ 20.50 น. เบญจาจากแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมอ่านแถลงการณ์ก่อนประกาศยุติการชุมนุมด้วยความเรียบร้อย
พนักงานสอบสวนได้ออกเลขคดีเรียบร้อยแล้ว และจะขยายผลไปยังกลุ่มบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการชุมนุม เช่น รถเครื่องเสียง กลุ่มการ์ด กลุ่มผู้ร่วมชุมนุม นอกจากนี้ดำเนินคดีกลุ่มผู้กระทำผิดอื่น เช่น ผู้ที่ถือป้ายที่มีข้อความผิดกฎหมาย ตามความผิด ม.112 ส่วนสื่อที่มีการถ่ายทอดสดเผยแพร่ภาพและเสียง ต้องดูว่าถ้ามีเจตนาทำผิดกฎหมายจะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเช่นกัน
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ เบญจา อะปัญ และอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ กับกลุ่มคนที่ขึ้นปราศรัยอื่นๆร วมสิบคน ส่วนการแจ้งข้อหาอื่นต้องถอดเทปคำปราศรัยและวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าจะเข้าข่ายความผิดใดบ้าง
โดยในวันที่ 25 มีนาคม 2564 มีผู้มาแจ้งความดำเนินคดี ภัสราวลี ในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามกฎหมายอาญา ม.112 ซึ่งพนักงานสอบสวนจะนำไปรวมกับสำนวนคดีการชุมนุมเพิ่มเติม
ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธและแจ้งว่าจะให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง พนักงานสอบสวนนัดให้ผู้ต้องหาส่งคำให้การภายในวันที่ 23 เมษายน 2564 และนัดให้ผู้ต้องหามารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 27 เมษายน 2564 แต่ผู้ต้องหาทุกคนไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัด
เจตนารมณ์ของการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมโรคระบาด ไม่ใช่ใช้ห้ามการชุมนุมทางการเมือง เสรีภาพการชุมนุมและเสรีภาพการแสดงออกได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) การชุมนุมที่เกิดขึ้นเป็นไปโดยสงบและแยกย้ายกันกลับตามเวลา ไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวาย หรือความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง
การดำเนินคดีนี้เป็นการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPP) เพื่อให้ผู้ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองมีภาระทางคดีความเท่านั้น