- คดีสำคัญ
- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
ณัฏฐธิดา: มาตรา 112 จากการส่งไลน์
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
24 กรกฎาคม 2560 ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพฯ ตำรวจได้เข้าควบคุมตัวณัฏฐธิดา หรือแหวน ผู้ต้องหาคดีวางระเบิดศาลอาญา ในทันทีหลังจากที่เธอถูกปล่อยตัวชั่วคราวในคดีดังกล่าว ก่อนจะนำตัวไปที่กองปรามปรามฯ โดยตำรวจแจ้งต่อเธอว่า เธอถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา จากการแชร์ข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในแอพลลิเคชั่นไลน์
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือแหวน เคยเป็นพยาบาลอาสา และเป็นพยานปากสำคัญในคดีผู้เสียชีวิตหกศพภายในวัดปทุมวนารามจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในปี 2553
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
ที่กองบังคับการปราบปราม กรุงเทพฯ พันเอก (ยศในขณะนั้น) วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าคณะทำงานด้านกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แจ้งความดำเนินคดีกับณัฏฐธิดา มีวังปลาในข้อหาจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติด้วยถ้อยคำอันมิบังควร และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยกล่าวหาว่า วันที่ 8 มีนาคม 2558 ณัฏฐธิดาได้ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์ว่า “ใครก่อความรุนแรง…ไม่ดีเลย แน่จริงต้องเอาไปชั้น 16 xxxโน่น” ลงในกลุ่มแชทชื่อ “DPN & เพื่อนเม้า”
พฤติการณ์การจับกุม
24 กรกฎาคม 2560 ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนจับกุม นำโดย พ.ต.ท.วิญญู แจ่มใส เข้าอายัดตัวณัฏฐธิดา ตามคำขออายัดตัวของพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราปราม หลังจากที่เธอถูกปล่อยตัวชั่วคราวในคดีวางระเบิดศาลอาญา ซึ่งเธอถูกควบคุมตัวต่อไปยังกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม กรุงเทพฯ โดยวิญญัติ ชาติมนตรี ผู้เป็นทนายความและตัวณัฏธิดาเองได้ยืนยันว่าตนเป็นบุคคลตามหมายจับจริง
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เมเนเจอร์ออนไลน์รายงานว่า ณัฏฐฐิดา มีวังปลา หรือแหวน ให้การต่อศาลในการไต่สวนการเสียชีวิตหกศพที่วัดปทุมวนารามว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เธอตะโกนบอกให้ทั้งสามคนหมอบลง ตอนนั้นไม่มีใครสามารถเข้าไปช่วยได้เนื่องจากมีการยิงลงมาจากทหารบนรางรถไฟฟ้าตลอด เธอเห็นเห็นทหารบนรางรถไฟฟ้าด้วย 5 นาย โดยใส่ชุดลายพราง สวมหมวกด้านหลังหมวกติดสติกเกอร์สีชมพู และทหารบนรางรถไฟฟ้ามีการประทับปืนเล็งลงมาที่วัด และสุดท้ายทั้งสามคนเสียชีวิต
แหล่งอ้างอิง
11 มีนาคม 2558
วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความเปิดเผยว่า ทหารได้ควบคุมตัวณัฏฐธิดาไปจากบ้านพักย่านแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่มีหมายจับและหมายค้น ต่อมาเธอถูกดำเนินคดีร่วมกับผู้ต้องหาอื่นอีกหลายคนต่อศาลทหารกรุงเทพ ในข้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่คนร้ายปาระเบิดใส่อาคารศาลอาญา และถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
18 มีนาคม 2558
พันเอก (ยศในขณะนั้น) วิจารณ์ จดแดง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและมนุษยชน กอ.รมน. แจ้งความดำเนินคดีกับณัฏฐธิดา ข้อหา จาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติด้วยถ้อยคำอันมิบังควร และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกล่าวหาว่า วันที่ 8 มีนาคม 2558 ณัฏฐธิดา โดยกล่าวหาว่า วันที่ 8 มีนาคม 2558 ณัฏฐธิดาได้ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์ว่า “ใครก่อความรุนแรง…ไม่ดีเลย แน่จริงต้องเอาไปชั้น 16 หิริราดโน่น” ลงในกลุ่มแชทชื่อ “DPN & เพื่อนเม้า”
24 กรกฎาคม 2560
หลังจากที่ณัฏฐธิดาถูกปล่อยตัวชั่วคราวในคดีร่วมกันวางระเบิดศาลอาญาออกมาจากทัณฑสถานหญิงกลาง ตำรวจได้ควบคุมตัวณัฏฐธิดาในทันที โดยระบุว่า ณัฏฐธิดาเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพ ข้อหาจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติด้วยถ้อยคำอันมิบังควร และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
4 พฤษภาคม 2561
นัดสืบพยานโจทก์
ไม่มีข้อมูลเนื่องจากศาลสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ
13 กรกฎาคม 2561
นัดสืบพยานโจทก์
ไม่มีข้อมูลเนื่องจากศาลสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ
20 กรกฎาคม 2561
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานโจทก์คดี 112 ของณัฏฐธิดา หรือแหวน พยานปากสำคัญในคดีผู้เสียชีวิตหกศพที่ถูกสังหารระหว่างการชุมนุมทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมปี 2553 ในวัดปทุมวนาราม
ตั้งแต่เวลา 8.00 น. มีกลุ่มประชาชนราว 30 คนมารอให้กำลังใจณัฏฐธิดา แต่เจ้าหน้าที่ขอให้รอบริเวณหน้าอาคารศาลทหารกรุงเทพเท่านั้น เวลา 8.30 น. ณัฏฐธิดาถูกควบคุมตัวมาที่ศาลทหารกรุงเทพและถูกนำตัวขึ้นอาคารศาลในทันที การสืบพยานโจทก์ในวันนี้เป็นพยานคู่ปากพล.ต.วิจารณ์ จดแตงและพล.ต.ต.สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ โดยศาลสั่งพิจารณาคดีนี้เป็นการลับตลอดทั้งกระบวนการ
ภายหลังเราได้รับบันทึกคำให้การในการพิจารณาคดี โดยระบุว่ามีการเบิกความของพยานทั้งหมด 2 ปาก
วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายจำเลยกล่าวหลังการพิจารณาคดีว่า วันนี้เป็นการสืบพยานโจทก์สองปาก คือ พลตรีวิจารณ์ จดแตงและพลตำรวจตรีสุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ซึ่งเป็นพยานคู่ต้องสืบให้เสร็จในนัดเดียวกัน จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน สืบตั้งแต่เช้าเสร็จในเวลาประมาณ 14.00 น. โดยไม่มีการพักรับประทานอาหารกลางวัน วิญญัติให้ความเห็นด้วยว่าคดีนี้ไม่มีประจักษ์พยาน ทั้งเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการกล่าวหามีเพียงกระดาษพิมพ์ภาพบทสนทนาที่ระบุว่า มาจากแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ของณัฏฐธิดา โดยไม่มีการตรวจสอบหรือเปรียบเทียบข้อมูลในโทรศัพท์ว่า ถูกต้องและเหมือนหรือต่างกับข้อความในเอกสารหลักฐานแต่อย่างใด
นอกจากนี้หากดูตามคำฟ้องจะระบุว่าข้อความซึ่งเป็นปัญหาในคดีถูกโพสต์วันที่ 8 มีนาคม 2558 และต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2561 ณัฏฐธิดาก็ถูกควบคุมตัวซึ่งเธอได้มอบรหัสผ่านไลน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จึงอ้างว่า ตรวจสอบพบข้อความที่เป็นเหตุในคดีนี้และใช้กระดาษพิมพ์ข้อความใบเดียวกันกล่าวหาณัฏฐธิดา
วิญญัติกล่าวต่อว่า ในช่วงเช้าวันนี้ทีมทนายจำเลยยื่นหลักทรัพย์ 900,000 บาทขอประกันตัวณัฏฐธิดา แต่ศาลทหารกรุงเทพยกคำร้องขอประกันตัวโดยพิเคราะห์ว่า ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทีมทนายความวางแผนจะยื่นขอประกันตัวอีกครั้งในนัดสืบพยานโจทก์นัดหน้าวันที่ 4 กันยายน 2561
สำหรับเรื่องการระดมเงินประกันตัวณัฏฐธิดาจำนวน 900,000 บาท วิญญัติเปิดเผยว่าทีมทนายใช้เวลาระดมเงินประมาณ 80 วัน โดยเงินที่บริจาคเข้ามาเป็นเงินหลักร้อยและหลักพันทยอยเข้ามาก่อนที่จะเริ่มระดมได้เร็วขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนครบในวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ส่วนสภาพร่างกายและจิตใจของณัฏฐธิดา เธอมีอาการป่วยเป็นกรวยไตและทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมทั้งมีอาการเครียด แต่เมื่อทนายความแจ้งว่า มีเงินประกันครบแล้ว ณัฏฐธิดาดูมีกำลังใจที่ดีขึ้น
4 กันยายน 2561
ศาลทหารมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว ‘แหวน ณัฏฐธิดา’ หลังทนายความ ยื่นขอประกันตัวณัฏฐธิดาเป็นครั้งที่สองด้วยหลักทรัพย์ 900,000 บาท แบ่งเป็น
หนึ่ง คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือคดี 112 ตุลาการศาลทหารพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้โจทก์คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวก็ตาม เห็นว่าหลักประกันที่ผู้ขอประกันนำมายื่นต่อศาลเชื่อถือได้ จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว จะไม่หลบหนีจึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล ตีราคาประกัน 400,000 บาท
สอง คดีถูกกล่าวหาว่าวางระเบิดศาลอาญา ตุลาการศาลทหารพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้โจทก์คัดค้านว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี แต่ศาลได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยตามสัญญาประกัน ฉบับลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 จำเลยได้มาศาลตามกำหนดนัดและไม่ได้หลบหนี ประกอบกับหลักประกันน่าเชื่อถือ จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามจำเลยที่ 3 ออกนอกราชอาณาจักร ตีราคาประกัน 500,000 บาท