- คดีชุมนุม, คดีอื่นๆ, ฐานข้อมูลคดี
การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
4 มีนาคม 2561 สิรวิชญ์ หรือ "จ่านิว" ประกาศจัดกิจกรรมชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ที่ชายหาดพัทยา โดยมีคนเข้าร่วมราว 100-200 คน ต่อมาผู้ต้องหา 7 คน ได้รับหมายเรียกและเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน ถูกตั้งข้อหาฐานเป็นผู้จัดการชุมนุมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และชุมนุมเกิน 5 คน ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.
31 กรกฎาคม 2562 ศาลแขวงพัทยา ลงโทษปรับสิรวิชญ์, วันเฉลิม, และศศวัชร์คนละ 4,000 บาท แต่คำให้การและทางนำสืบเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษปรับเหลือคนละ 3,000 บาท จำเลยอื่นยกฟ้อง
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ลงวันที่ 12 มีนาคม 2461 ระบุว่า ผู้ต้องหากับพวกในคดีนี้เป็นแกนนำ แจ้งทางสื่อโซเชียลออนไลน์ รวมทั้งสื่ออินเทอร์เน็ตต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมในที่สาธารณะ ในวันที่ 4 มีนาคม 2461 ที่ลานตรงข้ามห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยาบีช ถ.เลียบชายหาด หมู่ 9 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ขณะที่คำฟ้องของอัยการซึ่งฟ้องคดีต่อศาลแขวงพัทยาภายหลังจากที่คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ถูกยกเลิกพอสรุปได้ว่า
และไม่ได้แจ้งการชุมนุมสาธารณะพร้อมขอผ่อนผันกำหนดเวลาดังกล่าวต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จากนั้นจำเลยทั้งสิบสองกับพวกได้ร่วมกันชุมนุมโดยจำเลยที่หนึ่งได้ปราศรัยทางการเมือง และกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาล และ คสช. เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงให้ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. ทุกฉบับ จัดให้มีการถือป้ายและแสดงสัญลักษณ์ จึงเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
เวลาประมาณ 17.30 น. สิรวิชญ์ เริ่มกิจกรรมกล่าวปราศรัย บริเวณชายหาด หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา ถ.เลียบชายหาด โดยมีผู้มาร่วมกิจกรรมทั้งที่เดินทางมาจากกรุงเทพจำนวนหนึ่ง และที่เป็นประชาชนในพื้นที่อีกจำนวนหนึ่ง รวมแล้วมีคนเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 100-200 คน ตลอดกิจกรรมสิรวิชญ์ เป็นผู้ปราศรัยคนเดียว โดยใช้เครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก
เนื้อหาของการปราศรัยเน้นการโจมตีความพยายามสืบทอดอำนาจของ คสช. และการเลื่อนกำหนดการการเลือกตั้งออกไปจากที่เคยสัญญาไว้ก่อนหน้านี้
26 มิถุนายน 2561
นัดฟังคำสั่งอัยการ
นัดฟังคำสั่งอัยการ
จำเลยทั้งสิบสองให้การปฏิเสธตั้งแต่ชั้นสอบสวน และขอต่อสู้คดีในชั้นศาลเช่นกัน ศาลแขวงพัทยาจึงนัดตรวจพยานหลักฐานคดีนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 และอนุญาตปล่อยตัวจำเลยทั้งสิบสองระหว่างการพิจารณา โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว
11 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานโจทก์
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่า ก่อนเริ่มสืบพยานผู้พิพากษาแนะนำให้จำเลยทั้งหมดรับสารภาพ เพราะคดีมีเพียงโทษปรับ และสถานการณ์การเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่จำเลยทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมชุมนุม ไม่ใช้ผู้จัดการชุมนุมที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ
อัยการนำ พ.ต.อ.อภิชัย กรอบเพ็ชร พยานโจทก์ปากที่ 1 ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่ง ผกก.สภ.เมืองพัทยา เข้าเบิกความต่อศาลในฐานะผู้กล่าวหา
พ.ต.อ.อภิชัย ให้การว่า ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2561 สืบทราบว่ามีสื่อออนไลน์นัดหมายชุมนุมสาธารณะ จึงสั่งให้ชุดสืบสวนติดตามสื่อสังคมออนไลน์ และตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุจนถึงวันที่เกิดเหตุ คือ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยาบีช
การชุมนุมในวันที่ 4 มีนาคม 2561 เริ่มเวลาประมาณ 17.00 น. สถานที่ชุมนุมอยู่ห่างจาก สภ.เมืองพัทยา ประมาณ 100 เมตร จึงเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วยตนเอง พบผู้ชุมนุมประมาณ 30 คน โดยมีสิรวิชญ์ปราศรัยอยู่บนเวทีผ่านเครื่องขยายเสียงบนพื้นที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต้องขออนุญาตหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่จัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งกรณีนี้คือ สภ.เมืองพัทยา
พยานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีการแจ้งการชุมนุมดังกล่าว รวมถึงไม่มีการขอผ่อนผันกับทางกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี จึงทำหนังสือแจ้งให้ยุติการชุมนุมเนื่องจากไม่มีการขออนุญาตชุมนุม ผู้ชุมนุมชุมนุมต่ออีกประมาณ 1 ชั่วโมงจึงเลิกการชุมนุม
หลังจากนั้น พ.ต.อ.อภิชัย สั่งให้เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนนำบันทึกภาพและเสียงการชุมนุมมาตรวจสอบว่ามีบุคคลใดร่วมชุมนุมบ้าง ทราบชื่อคือจำเลยทั้ง 12 คน จึงเข้ากล่าวโทษและให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
อย่างไรก็ตาม อดีต ผกก.สภ.เมืองพัทยา ตอบคำถามค้านทนายความว่า จำ URL เว็บไซต์ และบัญชีอีเมล์ของ สภ.เมืองพัทยา ไม่ได้ ขณะที่การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังเมืองพัทยาใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ขณะที่กองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจาก สภ.เมืองพัทยา ออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร นอกจากนี้ พยานยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้โพสต์เชิญชวนให้มาชุมนุม และขณะแจ้งให้ยุติการชุมนุม มีสิรวิชญ์เข้ามาเจรจาเพียงคนเดียว
จากนั้น รักษาการผู้อำนาวยการส่วนผังเมือง สำนักการช่าง เมืองพัทยา เข้าเบิกความยืนยันว่าพื้นที่การชุมนุมเป็นพื้นที่สาธารณะ มีไว้ให้ประชาชนใช้ร่วมกัน จากการตรวจสอบพื้นที่ไม่พบว่ามีสิ่งใดเสียหาย
พ.ต.ต.สุวิทย์ พยานโจทก์ปากที่ 2 อดีต สว.สภ.เมืองพัทยา ผู้ดูแลงานธุรการและหนังสือโต้ตอบของ สภ.เมืองพัทยา
พ.ต.ต.สุวิทย์ ให้การว่า พ.ต.อ.อภิชัย ผกก.สภ.เมืองพัทยา สั่งการให้พยานไปตรวจสอบหนังสือว่ามีการขออนุญาตชุมนุมหรือไม่ ทั้งทางโทรสารและอีเมล์ พบว่า การชุมนุมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 ไม่ได้แจ้งการชุมนุมไว้ทั้งก่อนและหลังการชุมนุม อย่างไรก็ตาม พ.ต.ต.สุวิทย์ ตอบคำถามค้านทนายความจำเลยว่า ในบัญชีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เมืองพัทยา และบุคคลที่อาศัยในเมืองพัทยา ไม่มีใครทราบบัญชีอีเมล์ของ สภ.เมืองพัทยา
จากนั้น อัยการนำ พ.ต.ท.ธีรศักดิ์ พยานโจทก์ปากที่ 3 อดีต สว.สส.สภ.เมืองพัทยา เข้าให้การว่า ก่อนเกิดเหตุได้รับมอบหมายให้สอดส่องติดตามเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีผู้มาชุมนุม พบการประกาศเชิญชวนทางสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มที่มีสิรวิชญ์เป็นแกนนำ
จากการติดตามของ พ.ต.ท.ธีรศักดิ์ พบว่า สิรวิชญ์เข้ามาในพื้นที่วันที่ 4 มีนาคม 2561 เวลาประมาณ 11.00 น. พร้อมพวกรวม 3 คน และนำเครื่องขยายเสียงติดตัวมาด้วย วันนั้นพยานแต่งกายนอกเครื่องแบบ ประมาณ 17.00 น. สิรวิชญ์ใช้เครื่องขยายเสียงยืนพูดบนที่นั่งเล่นริมชายหาด เนื้อหาการปราศรัยคือไม่ให้รัฐบาลเลื่อนจัดการเลือกตั้ง โดยจำเลยคนอื่นไม่ได้ร่วมพูดด้วย เพียงแต่ชูป้ายและร่วมถ่ายภาพเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนตอบคำถามค้านทนายความว่า ไม่ทราบว่าเฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนเป็นของใคร เพราะไม่ได้ตรวจสอบ แต่ไม่ได้มีชื่อตรงกับจำเลยในคดีนี้ ในคดีคนอยากเลือกตั้งอื่นๆ จำเลยบางส่วนถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ชุมนุม จำเลยสวมเสื้อแตกต่างกัน ไม่มีสัญลักษณ์ใดเหมือนกันเป็นพิเศษ รวมถึงเดินมาต่างเวลา ส่วน น.ส.อารีย์ พยานรู้จักมาก่อน และเป็นผู้ให้จำเลยไปถามผู้ชุมนุมว่าหลังเลิกการชุมนุมจะไปรับประทานอาหารที่ไหนต่อ ระหว่างการชุมนุม ไม่มีโฆษกปราศรัยเชิญชวนให้คนเข้ามาร่วมการชุมนุม สิรวิชญ์ปราศรัยเพียงคนเดียวเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดปรึกษาใคร
นอกจากนี้ พยานยังยอมรับว่าในการชุมนุมมีทั้งแกนนำและมวลชนผู้เข้าร่วม โดยพฤติกรรมของแกนนำมักจะปรากฏตัวบนเวที ขณะที่มวลชนจะชูป้าย ปรบมือ หรือชู 3 นิ้ว เป็นต้น
12 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลแขวงพัทยาสืบพยานต่อเป็นวันที่สอง อัยการนำ พ.ต.ท.ออมสิน พยานโจทก์ปากที่ 4 พนักงานสอบสวนในคดีเข้าให้การ
พ.ต.ท.ออมสิน ให้การว่า รับแจ้งความจาก พ.ต.อ.อภิชัย ในข้อหาชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จากนั้นจึงสอบสวนพยานในคดีนี้และไปตรวจสถานที่เกิดเหตุว่าเป็นพื้นที่สาธารณะหรือไม่ จากนั้นจึงออกหมายเรียกจำเลยมาสอบปากคำและแจ้งข้อกล่าวหาในฐานะผู้ต้องหา
โดยอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ให้การเพิ่มเติมภายหลังว่าไม่ได้มาร่วมชุมนุมแต่มาพักผ่อนที่เกาะล้าน ภายหลังรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้วมีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสิบสองฐานชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12
พนักงานสอบสวนตอบคำถามค้านทนายความว่า บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาไม่ระบุพฤติกรรมว่าจำเลยทั้งสิบสองแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร การตรวจที่เกิดเหตุไม่พบความเสียหาย พยานไม่ได้ตรวจสอบว่าใครเป็นผู้โพสต์เชิญชวนให้มาชุมนุม เมื่อทราบหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสิบสอง พยานไม่ได้ตรวจสอบต่อว่าจำเลยติดต่อกันมาก่อนหรือไม่
เกี่ยวกับการแจ้งการชุมนุม พ.ต.ท.ออมสิน ตอบคำถามของทนายความจำเลยว่า สภ.เมืองพัทยา มีแต่บัญชีเฟซบุ๊กแต่ไม่มีเว็บไซต์ สามารถแจ้งการชุมนุมได้ทางโทรสาร อีเมล์ หรือมาแจ้งด้วยตนเอง ตัวพยานเองก็ไม่ทราบอีเมล์ที่ใช้ติดต่อ สภ.เมืองพัทยา และผู้ที่จะมีความผิดตามมาตรา 10 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต้องเป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุม
อย่างไรก็ตาม ทาง สภ.เมืองพัทยา ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการชุมนุม และได้จัดการอำนวยความสะดวกตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ
นัดสืบพยานจำเลย
ช่วงบ่าย เป็นการสืบพยานของฝ่ายจำเลยบ้าง เป็นจำเลยที่ 1 ขึ้นเบิกความเอง สิรวิชญ์ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เขาเคยชุมนุมมาแล้ว 4 ครั้ง เพื่อเรียกร้องไม่ให้เลื่อนจัดการเลือกตั้ง และแจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาโดยตลอด กระทั่งวันที่ 3 มีนาคม 2561 ได้ค้นหาช่องทางติดต่อ สภ.เมืองพัทยา เพื่อแจ้งการชุมนุม เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องติดต่อ ผกก. โดยตรง และได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้
เมื่อติดต่อ ผกก.สภ.เมืองพัทยา เพื่อขออีเมล์สำหรับแจ้งการชุมนุม ผกก. แจ้งว่าจำไม่ได้และให้จำเลยเดินทางมาแจ้งการชุมนุมด้วยตนเอง จำเลยพยายามค้นหาช่องทางแจ้งการชุมนุมของ สภ.เมืองพัทยา ต่อแต่ไม่พบ จึงถือว่าได้แจ้งทางวาจาต่อ ผกก. ไว้แล้ว ส่วนช่องทางโทรสาร ที่บ้านของจำเลไม่มีอุปกรณ์ส่ง และปัจจุบันหาร้านส่งได้ยาก ส่วนที่ไม่ได้ขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุม
ในวันเกิดเหตุ สิรวิชญ์เดินทางมาพร้อมศศวัชร์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย เพราะต้องการให้เพื่อนติดตามมาด้วยเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ไม่ได้นัดหมายกับใครและเป็นผู้ปราศรัยเพียงคนเดียว เมื่อได้รับแจ้งให้ยุติการชุมนุม ก็เลิกการชุมนุมหลังจากนั้นไม่นาน
สิรวิชญ์ตอบคำถามค้านของอัยการว่า ไม่ได้เดินทางมาจากจำเลยคนอื่นนอกจากศศวัชร์ ส่วนที่ภาพกับวันเฉลิม เป็นการพบกันในห้างสรรพสินค้าโดยบังเอิญ และรู้จักกันผ่านสื่อ เฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนไม่ใช่ของจำเลยแต่เป็นของกลุ่มที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของจำเลย
ก่อนมาชุมนุม จำเลยไม่ทราบว่า สภ.เมืองพัทยา อยู่ที่ใด และหากแจ้งการชุมนุมได้โดยสะดวกก็จะแจ้งทุกครั้ง ก่อนหน้านี้เคยโทรศัพท์แจ้งการชุมนุมต่อ ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา และได้รับอนุญาตให้ชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 โดย ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา แจ้งว่าแม้การแจ้งการชุมนุมจะไม่สมบูรณ์แต่สามารถอนุโลมให้ได้ และไม่ถูกดำเนินคดี ส่วนจำเลยคนอื่นๆ บางคนเคยไปร่วมชุมนุมแต่ไม่เคยถูกดำเนินคดีในฐานะแกนนำ
13 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานจำเลย
สืบพยานจำเลยอีกปาก เป็นจำเลยที่ 4 อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ เข้าให้การต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุตั้งใจพาภรรยาไปพักผ่อนที่เกาะล้าน โดยจองที่พักตั้งแต่ 16 ก.พ. 2561 ก่อนทราบว่าจะมีการชุมนุม และเดินทางด้วยรถประจำทางลงที่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยาบีช เห็นประชาชนชุมนุมห่างออกไปประมาณ 30 เมตร จึงเดินเข้าไปถ่ายรูปและถ่ายทอดสดการชุมนุมผ่านทางเฟซบุ๊กประมาณ 10 นาที จากนั้นจึงเดินทางไปที่ท่าเรือแหลมบาลีฮายก่อนที่การชุมนุมจะยุติ
อนุรักษ์ตอบคำถามค้านของอัยการว่า ระหว่างชุมนุมไม่มีการเชิญชวนคนให้เข้าร่วม หรือแจกจ่ายสิ่งของ มีเพียงการปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กเท่านั้น เขาไม่ทราบว่าเฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนเป็นของใคร ส่วนภรรยามาด้วยกันและยืนอยู่ใกล้จำเลยแต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีด้วย และเขายังถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งอีกหลายคดี แต่อยู่ในฐานะผู้ชุมนุม ไม่ใช่แกนนำผู้จัดการชุมนุม
หลังสืบพยานเสร็จสิ้นศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 31 กรกฎาคม 2562
31 กรกฎาคม 2562
ในห้องพิจารณาคดีที่ 3 จำเลยทั้ง 12 ราย ต่างทะยอยกันมาที่ห้องจนแน่นขนัด ก่อนศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษาในราว 9.45 น. สรุปความได้ว่า ศาลจะลงโทษเฉพาะจำเลย 3 คนคือ สิรวิชญ์ , วันเฉลิม, ศศวัชร์ เพราะมีพฤติการณ์เป็นผู้จัดการชุมนุม ทั้งการปราศรัย การยกลำโพงมาตั้ง รวมถึงมีการนัดแนะมาเจอกันที่เซนทรัล เฟซติวัล บีช พัทยา ส่วนจำเลยคนอื่นๆ ศาลยกฟ้องเพราะเพียงแต่มาร่วมชูป้าย ถ่ายรูป ไม่ได้มีลักษณะเป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุม
ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลที่ปรับจำเลยทั้ง 3 คน เพิ่มเติมว่า แม้การแจ้งการชุมนุมกฎหมายจะไม่ได้บัญญัติโดยตรงว่า ต้องไปแจ้งที่ไหน ในสถานีตำรวจเลยหรือแค่ในโทรศัพท์ แต่การกระทำของจำเลยทั้ง 3 ที่ไม่แจ้งการชุมนุมนั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอยากให้แจ้งชุมนุมนั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะมาชุมนุม แต่การชุมนุมก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และวันชุมนุมดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดเหตุอาชญากรรมรุนแรงอะไร จึงพิพากษาปรับ จำเลยทั้ง 3 คนคนละ 4,000 บาท และเนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ต่อศาลจึงลดโทษปรับคงเหลือ 3,000 บาท
27 กันยายน 2562
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ โดยระบุเหตุผลว่า
จำเลยคนอื่นๆในคดีที่ศาลชั้นตนยกฟ้อง ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสามคนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษด้วย โดยจำเลยที่เหลือมีพฤติการณ์ ถือป้ายซึ่งจัดเตรียมมา ลักษณะป้ายและความหมายของป้ายเป็นอย่างเดียวกัน และเหมือนๆ กัน เพื่อสนับสนุนการปราศรัยของสิรวิชญ์
เป็นการกระทำในลักษณะการแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการชุมนุมและการปราศรัย มีคนสนใจชุมนุมและฟังมาก ถือเป็นตัวการร่วมกับจำเลยสาม จึงขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยทั้งหมดด้วย
30 ตุลาคม 2562
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนวันเฉลิมและศศวัชร์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม
กุมภาพันธ์ 2563
ทนายจำเลยให้ข้อมูลว่าทีมทนายยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว โดยสามารถสรุปคำอุทธรณ์ของฝ่ายจำเลยได้ว่า
จำเลยที่สองและ 12 อุทธรณ์ว่า ไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันชัดเจนได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมวางแผนรู้เห็นและมีพฤติการณ์เป็นผู้จัดหรือประสงค์จะจัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ รวมถึงเป็นผู้เชิญชวนหรือนัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 และที่ 12 เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม
การที่จำเลยที่สองและ 12 ช่วยเหลือจำเลยที่หนึ่งในการขนย้ายลำโพงไปยังจุดชุมนุมยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองมีความสนิทสนมกันเหมือนเพื่อนสนิท และหลักฐานภาพถ่ายขณะขนย้ายลำโพงไม่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ว่าจำเลยที่สองมีความสนิทสนมกับจำเลยที่หนึ่งและที่ 12 อีกทั้งไม่เป็นภาพที่มีพฤติการณ์ว่าเป็นการประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่แต่อย่างใด
คำเบิกความของพ.ต.ท.ธีรศักดิ์ ศรีแสงได้ความส่วนหนึ่งว่าจำเลยที่สองถึงที่ 12 ไม่ได้มีการปราศรัยบนเวที แต่มีการชูป้ายสนับสนุน จำเลยที่หนึ่งกับที่สองและที่ 12 ไม่ได้มีการใส่เสื้อที่มีสัญลักษณ์เดียวกัน รวมทั้งไม่มีสัญลักษณ์อื่นใดเป็นพิเศษที่แสดงว่าเหมือนกัน และก่อนปราศรัยไม่พบว่าจำเลยทั้งสิบสองได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการ รวมถึงขณะอยู่ในห้างจำเลยที่หนึ่งที่สองและที่ 12 ก็ไม่ได้นั่งพูดคุยหรือประชุมกัน
จำเลยที่หนึ่งเบิกความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่หนึ่งชวนจำเลยที่ 12 ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกัน ให้เดินทางมาเป็นเพื่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ทำร้ายร่างกาย และข่มขู่ไม่ให้ไปทำกิจกรรม หลังจากนั้นการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องมีการชวนเพื่อนไปด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย สำหรับการชุมนุมครั้งนี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตย จำเลยที่หนึ่งเป็นแกนนำคนเดียว ปราศรัยคนเดียว ไม่มีบุคคลอื่นร่วมปราศรัย ไม่ได้ร่วมจัดการวางแผนกับบุคคลใด ไม่ได้ประชุมหรือจัดการชุมนุมกับจำเลยที่สองถึงที่ 12 ในคดีนี้
จำเลยที่หนึ่งเบิกความอีกว่า จำเลยที่สองไม่ได้เดินทางมาพร้อมกับเขา แต่มาพบกันโดยบังเอิญเนื่องจากจำเลยที่สองรู้จักจำเลยที่หนึ่งจากทางสื่อ และจึงเข้ามาทักทาย
จำเลยที่สองและที่ 12 ขอเรียนต่อศาลว่า โจทก์มีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสองว่าเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 หรือไม่
จากการที่พยานโจทก์เบิกความแล้วมีเพียงพยานหลักฐานจากพฤติการณ์ในวันเกิดเหตุ ไม่พบว่ามีการเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่สองมีการนัดหมายกับจำเลยที่หนึ่ง
อีกทั้งจำเลยที่หนึ่งก็เบิกความชัดเจนว่า จำเลยที่หนึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงเบิกความถึงเหตุแห่งการชวนจำเลยที่ 12 เดินทางมาพร้อมกับตัวเองในวันเกิดเหตุด้วย
เอกสารภาพถ่ายขณะอยู่ในห้างก็ไม่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของจำเลยที่หนึ่งที่สองและที่ 12 แต่อย่างใด
รวมถึงการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยกรณีจำเลยที่สามถึงที่ 11 ได้ความว่า ลำพังเพียงการที่จำเลยดังกล่าวถือป้ายสนับสนุนการปราศรัยของจำเลยที่หนึ่งโดยไม่ได้ร่วมขึ้นเวทีปราศรัยด้วยนั้น พยานหลักฐานดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 เป็นผู้จัดการชุมนุม ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่สองและที่ 12 ไม่ได้มีการขึ้นเวทีปราศรัย พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้เช่นกันจำเลยที่สองและที่ 12 เป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม
พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งหมดไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยที่สองและที่ 12 เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ มีพฤติการณ์เป็น “ผู้ร่วมจัดการชุมนุมสาธารณะ” ตามนิยาม “ผู้จัดการชุมนุม” ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าการจัดการชุมนุมดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ขอให้ศาลอุทธรณ์โปรดพิพากษา กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้จำเลยที่สองและที่ 12 พ้นข้อหาไป
13 พฤษภาคม 2563
นัดฟังคำพิพากษา
การศาลเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 23 มิถุนายน 2563 เนื่องจากวันนัดเดิมอยู่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19
23 มิถุนายน 2563
นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดารณี หนึ่งในจำเลยเสียชีวิตก่อนถึงวันพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงต้องจัดทำคำพิพากษาใหม่