- คดีชุมนุม, คดีอื่นๆ, ฐานข้อมูลคดี
การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนิน #RDN50 (คดีผู้ร่วมชุมนุม)
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/58 เรื่องห้ามชุมนุมการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยบรรยายพฤติการณ์ว่าเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บริเวณร้านแมคโดนัลด์ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผู้ต้องหาได้เข้าร่วมกิจกรรม “รวมตัวกัน รวมพลคนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช.” มีผู้ชุมนุมประมาณ 400 คน ในการชุมนุมผู้เข้าร่วมได้มีการแสดงสัญลักษณ์ต่างด้วย
พฤติการณ์การจับกุม
ผู้ต้องหาในคดีนี้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเองจึงไม่มีการจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
27 มกราคม 2561
บีบีซีไทยรายงานว่า ระหว่างการชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง รังสิมันต์ หนึ่งในผู้ร่วมการชุมนุมที่ลานสกายวอล์กบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ ประกาศในที่ชุมนุมว่า ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00 น. ทางกลุ่มจะจัดการชุมนุมอีกครั้งที่ถนนราชดำเนิน หากคสช.ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องสี่ข้อ 1. คสช. ไม่ประกาศให้มีการเลือกตั้งภายในปีนี้ 2. ไม่มีการยกเลิกการแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป ต่อแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนที่ใช้ชื่อว่า People Go network จำนวน 8 คน หลังจัดกิจกรรม "We walk เดินมิตรภาพ" 3. ไม่มีการยกเลิกข้อหากระทำการผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ต่อ ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 4. ไม่มีการดำเนินการปลด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ผู้ครอบครอง "นาฬิกาเพื่อน" ออกจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)
10 กุมภาพันธ์ 2561
ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า กลุ่มคนอยากเลือกตั้งทยอยมารวมตัวกันที่ถนนราชดำเนินใกล้อนุสาวรีย์ตั้งแต่เวลาประมาณ 14.30 น. ตามที่ทางกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยนัดจัดกิจกรรม "หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ" สำหรับการเตรียมการรับมือของเจ้าหน้าที่ มีการนำกระถางดอกไม้ขึ้นไปวางเรียงบนลานอนุสาวรีย์จนเต็มพื้นที่ รวมทั้งมีการกั้นรั้วอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถจัดกิจกรรมบนตัวอนุสาวรีย์ได้ นอกจากนี้ก็มีการตั้งจุดคัดกรองตรวจอาวุธประมาณสิบจุดบนถนนเส้รที่มุ่งหน้าเข้าสู่อนุสาวรีย์
รายงานของข่าวสดระบุด้วยว่าทางผู้จัดการชุมนุมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะจัดกิจกรรมระหว่างเวลา 16.00 น. – 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุด้วยว่าหากรังสิมันต์ สิรวิชญ์ และ อานนท์ สามผู้ต้องหาคดี #MBK39 ที่ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ออกหมายจับเนื่องจากไม่เข้าพบพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันตามนัดในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 มาปรากฎตัวในที่ชุมนุมวันนี้ก็จะทำการจับกุม
ไทยรัฐออนไลน์รายงานในเวลาต่อมาว่า ระหว่างการรังสิมันต์ สิรวิชญ์ และอานนท์ ได้เดินทางมาร่วมการชุมนุมและร่วมปราศรัยบนเวทีด้วย ในเวลาประมาณ 21.00 น. รังสิมันต์ สิรวิชญ์และอานนท์ประกาศกับผู้มาร่วมกิจกรรมว่า ขอให้ยุติการทำกิจกรรมและแยกย้ายกันในเวลาประมาณ 21.00 น. ตามเวลาที่แจ้งการชุมนุมไว้เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่นำมาเป็นเหตุในการดำเนินคดี ส่วนทั้งสามจะมอบตัวตามหมายจับคดี #MBK39 ของศาลแขวงปทุมวัน
ว๊อยซ์ทีวีออนไลน์รายงานเกี่ยวกับการควบคุมตัวสามผู้ต้องหาคดี #MBK39 ทั้งสามคนว่า พ.ต.อ.ต่อเกียรติ พรหมบุตร ผู้กำกับสน.สำราญราฎร์ เป็นผู้รับตัวผู้ต้องหาทั้งสามไปทำบันทึกการจับกุม ที่สน.สำราญราษฎร์ ก่อนจะส่งตัวไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สน.ปทุมวัน เจ้าของท้องที่เกิดเหตุคดี #MBK39
ในเวลาประมาณ 22.00 น. รังสิมันต์ สิรวิชญ์ และอานนท์ ถูกนำตัวมาถึงสน.ปทุมวัน โดยก่อนที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมตัวทั้งสามมาถึงสน.ปทุมวันได้มีกลุ่มประชาชนไปรอที่หน้าสน.ปทุมวันแล้วเพื่อให้กำลังใจทั้งสามและเรียกร้องให้เจ้าหน้าทีปล่อยตัว ผู้ต้องหาทั้งสามถูกควบคุมตัวที่สน.ปทุมวันจนถึงเวลาประมาณ 1.30 น. จึงได้รับการประกันตัวด้วยวงเงินคนละ 100,000 บาท นอกจากทั้งสามคนแล้วที่สน.ปทุมวันยังมีผู้ต้องหาคดี #MBK39 อีกคนหนึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ด้วยคือเอกชัยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจากบ้านมาที่ สน.ปทุมวันตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว
สิรวิชญ์ อานนท์ เอกชัยได้รับการปล่อยตัวจากสน.ปทุมวันในช่วงเวลาประมาณ 1.30 น. ส่วนรังสิมันต์ แม้จะได้รับการประกันตัวจากสน.ปทุมวันแต่ก็ถูกอายัดตัวไปที่จังหวัดขอนแก่นทันที เนื่องจากเขาเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลทหารขอนแก่นในคดีพูดเพื่อเสรีภาพในทันทีโดยมีเพื่อนของรังสิมันต์หนึ่งคนติดตามรังสิมันต์ไปที่จังหวัดขอนแก่นด้วย
13 กุมภาพันธ์ 2561
ข่าวสดออนไลน์รายงานว่าพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ต้องหารวมหกคนที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำในการจัดการชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
16 กุมภาพันธ์ 2561
ว๊อยซ์ทีวีออนไลน์รายงานว่า มีการเปิดเผยชื่อประชาชนอีก 43 คน ที่ถูกคสช.ร้องทุกข์กล่าวโทษในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
8 มีนาคม 2561
คมข่าวออนไลน์รายงานว่า พนักงานสอบสวนนัดผู้ต้องหาที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นผู้ร่วมชุมนุมทั้ง 43 คนเข้ารายงานตัว โดยเจ้าหน้าที่สน.นางเลิ้งมีการเตรียมความพร้อมด้วยการปิดประตูรั้วสน.และอนุญาตให้เพียงผู้ต้องหา ทนายความและญาติของผู้ต้องหาเข้าไปในพื้นที่สน. มีรายงานด้วยว่าพันธ์ศักดิ์ จำเลยคดีพลเมืองรุกเดินที่ไม่ได้ร่วมการชุมนุมครั้งนี้แต่ถูกออกหมายเรียกได้เดินเท้าออกจากบ้านที่บางบัวทองเพื่อมารายงานตัวตั้งแต่เช้าโดยคาดว่าน่าจะมาถึงที่สน.นางเลิ้งในเวลาประมาณ 16.00 น.
เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในนัดนี้ผู้ต้องหาที่ไปรายงานตัวเพียงแต่รับทราบข้อกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการนำตัวไปฝากขังและไม่ต้องขอประกันตัวในชั้นสอบสวน สำหรับกรณีของพันธ์ศักดิ์ เมื่อเขาเดินทางมาถึงสน.นางเลิ้งเจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่าเขาไม่มีรายชื่อเป็นผู้ต้องหาคดีนี้ ทำให้จำนวนผู้ถุกตั้งข้อกล่าวหาคดีนี้ลดเหลือ 42 คน
27 มีนาคม 2561
ว๊อยซ์ทีวีออนไลน์รายงานว่า อัยการศาลแขวงดุสิตเลื่อนการออกคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีออกไปเป็นวันที่ 5 เมษายน 2561
ขณะที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานด้วยว่าผู้ต้องหาคดีนี้ได้มอบอำนาจให้ทนายของศูนย์ทนายฯยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดขอให้สั่งไม่ฟ้องคดีนี้เนื่องจากเหตุแห่งคดีเกิดจากการชุมนุมสงบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ไทยเป็นภาคี ทั้งการฟ้องคดีนี้ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน
5 เมษายน 2561
ในเวลาประมาณ 9.00 น. ผู้ต้องหา 41 คนเดินทางมาที่่ศาลแขวงดุสิตเพื่อฟังคำสั่งคดีของอัยการโดยมีผู้ต้องหาที่ไม่มาฟังคำสั่งคดีเพียงคนเดียวคือโชติศักดิ์แต่
ในส่วนของคำสั่งคดี อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีนี้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพื่อให้ศาลสอบคำให้การทีละคน ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ที่ห้องพิจารณาคดี 407 ศาลเริ่มการพิจารณาคดีนี้ในเวลาประมาณ 9.30 น. คดี จำเลยในคดีนี้ส่วนหนึ่งได้แถลงขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังซึ่งศาลอนุญาตจึงไม่ได้มาศาลในนัดนี้ อย่างไรก็ตามมีจำเลยสามคนที่ไม่ได้แถลงขออนุญาตให้ศาลสืบพยานลับหลังและไม่ได้มาศาลในวันนี้ ศาลจึงสอบถามทนายจำเลยว่าจำเลยอยู่ที่ใด หลังการประสานงานกับจำเลยทนายแถลงต่อศาลว่าจำเลยมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถมาศาลได้ขอให้เลื่อนการพิจารณาคดีนัดนี้ออกไปก่อน
อัยการแถลงว่าโชติศักดิ์ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีนี้ได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมถึงอัยการสูงสุดก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าคำสั่งของอัยการสูงสุดว่าจะอนุญาตให้ฟ้องผู้ต้องหาคนดังกล่าวจะออกมาช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงขอให้ศาลเลื่อนนัดการพิจารณาคดีนัดนี้ออกไปก่อนเนื่องจากพยานหลักฐานในคดีของโชติศักดิ์เป็นชุดเดียวกับพยานหลักฐานคดีนี้และมีจำนวนมาก หากพิจารณาคดีของโชติศักดิ์แยกกับคดีนี้จะทำให้เกิดความซับซ้อนจึงสมควรรอให้มีการพิจารณาคดีพร้อมกัน ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณานัดนี้ออกไปก่อนและนัดพร้อมคดีอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561
20 พฤศจิกายน 2561
นัดตรวจพยานหลักฐาน
12 กุมภาพันธ์ 2562
นัดฟังคำสั่งศาล
ศาลเริ่มการพิจารณาคดีนี้ในเวลาประมาณ 10.00 น. มีจำเลยมาฟังการพิจารณาเพียงสองคนเพราะคดีนี้ศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้
เนื่องจากในเดือนธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 22/2561 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ศาลจึงสั่งให้ออกหมายเรียกให้จำเลยทั้งหมดมาฟังคำพิพากษาในวันที่ 3 พฤษภาคม 2562
3 พฤษภาคม 2562
จำเลยเกือบทั้งหมดทยอยมาถึงศาลตั้งแต่ก่อนเวลา 9.00 น. แต่เนื่องจากมีจำเลยบางส่วนมาถึงศาลช้าและอัยการเจ้าของสำนวนติดพิจารณาคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้ากองทัพบก (คดีของผู้ร่วมชุมนุม) อยู่ที่อีกห้องพิจารณาคดีหนึ่งจึงทำให้กระบวนพิจารณาคดีนี้ล่าช้าออกไป
นอกจากจำเลยทั้ง 41 คนแล้ว วันนี้ยังมีจำเลยคดีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำในการจัดการชุมนุมบางส่วน เช่น ณัฏฐา หรือโบว์ สิรวิชญ์หรือนิว และรังสิมันต์ มาร่วมสังเกตการณ์ และให้กำลังใจ
ในส่วนของฎีกาเรื่องกฎหมายใหม่ออกมายกเลิกกฎหมายเดิมในคดีข้อหาอื่นๆ ก็ไม่อาจล้อมาใช้กับคดีนี้ได้โดยอัตโนมัตเพราะข้อกฎหมายที่ใช้เป็นฐานฟ้องคดีแต่ละคดีอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ขณะที่แนวปฏิบัติในกระบวนการของแต่ละศาลก็แตกต่างกันไป เมื่อศาลชี้แจงประเด็นนี้ก็มีจำเลยบางส่วนขอศาลลุกขึ้นแถลงแล้วตั้งคำถามว่าหากวิธีปฏิบัติของแต่ละศาลแตกต่างกันแล้วกฎหมายเป็นกฎหมายเดียวกันหรือไม่
นัดสืบพยานโจทก์
นัดสืบพยานโจทก์