- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
ชาญวิทย์: แจกใบปลิวที่ท่าน้ำนนท์
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
ศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาว่าชาญวิทย์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ลงโทษจำคุก 6 ปี โดยไม่ลดโทษทั้งที่ชาญวิทย์ให้การรับสารภาพ
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ชาญวิทย์เป็นชาวควนขนุน จ.พัทลุง โดยกำเนิด เข้าศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2516 แต่เรียนไม่จบ เพราะเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการนักศึกษาในยุคนั้น ชาญวิทย์เคยถูกจองจำเป็นเวลา 7 เดือน หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เมื่อได้รับการปล่อยตัว ชาญวิทย์ก็เข้าป่าตามนักศึกษาที่หนีการปราบปราม และในช่วงเหตุการณ์พฤษภา 2535 ชาญวิทย์ก็เคยถูกควบคุมตัวที่เรือนจำคลองเปรมเป็นเวลา 3 วัน
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
ชาญวิทย์ ถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 บริเวณปากซอยกิ่งแก้ว (ซอย 2) บางพลี ก่อนหน้านั้น นรภัทร หรือบาส บอกให้ชาญวิทย์ว่า ให้มารับเอกสารที่ซอยดังกล่าว ทราบภายหลังว่า บาสถูกทหารจับไปก่อนหน้านั้นแล้วและทหารบังคับให้บาสโทรมานัดชาญวิทย์ เพื่อทำการจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
โดยศาลขึ้นพิจารณาความ ราว 10.00 น. โดยก่อนสืบพยาน ศาลถามคำให้การชาญวิทย์ ชาญวิทย์ให้การปฏิเสธในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่รับในข้อเท็จจริงว่าทำเอกสารใบปลิว ขึ้นมาจริง โดยทำเอง คิดเอง พิมพ์เอง ตามหลักวิชาที่ได้เรียนมา และแจกจ่ายเอง
จากผู้บังคับบัญชาให้ไปหาข่าว การกระทำผิดกฎหมายในสถานที่ปราศัย และเจอชาญวิทย์แจกใบปลิวได้รับแจก 1 ชุด สักครู่มีประชาชนที่ได้รับแจกพูดกันว่า ข้อความมีการหมิ่นฯ
จึงได้ลองอ่านเอกสารที่ได้รับแจก ก่อนจะพบว่าข้อความในเอกสารมีลักษณะการหมิ่นจริง จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ จึงสั่งให้ติดตามตัวชาญวิทย์และจับกุม
จากนั้นทนายจำเลย ถามค้านถึง การปราศัยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 ของอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย มีปราศัยโจมตีศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ พยานตอบว่าไม่มี
และเบิกความถึง พยานอยู่ในที่เกิดเหตุตลอดเวลา ไม่ได้เป็นคนจับกุมชาญวิทย์ แต่อยู่ในชุดจับกุมด้วย ขณะจับกุมชาญวิทย์ให้ความร่วมมือดี ไม่มีขัดขืน
พยานปากที่ 2 พ.ต.ท.ประภาส เบิกความถึงเอกสารที่ตรวจยึดมา จากจำเลย เช่น หนังสือ "ตีตนเสมอในหลวง",กรณีสวรรคต 2489 ของสุพจน์ ด่านตระกูล
สืบพยานโจทก์ปากที่สาม พ.ต.ท.ปิยะพงษ์ พนักงานสอบสวน
พยานปากที่ 3 พ.ต.ท. ปิยะพงษ์ เบิกความว่า ตนได้รับแจ้งว่ามีผู้กระทำความผิด หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จึงให้มีการสอบสวนและสืบพยาน 2 ปาก โดยจากการสอบถามจำเลย พบว่าเบื้องต้น จำเลยยอบรับว่าทำขึ้นมาจริง
แต่ให้การปฏิเสธโดยบอกว่า ข้อความนั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย และอิงจากเรื่องโหราศาสตร์
ทนายถามค้าน ในประเด็นเรื่อง สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งปรากฎในเอกสารที่จำเลยทำขึ้น ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 112 หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ได้ตามเรื่องนี้
เสร็จสิ้นการสืบพยานโจทก์ ทั้ง 3 ปาก ศาลนัดสืบพยานจำเลยต่อในวันที่ 16 กันยายน 2558
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชาญวิทย์เป็นพยานปากแรก เบิกความว่า เอกสารตามที่ถูกฟ้องนั้น ตนได้กระทำเอกสารนี้ขึ้นมาจริง ส่วนเนื้อหาจะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จริงหรือไม่นั้น คงเป็นประเด็นทางกฎหมายต้องชี้ขาดอีกที
ปี 2539 เคลื่อนไหวกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และจากวิกฤติการณ์ปี 2540 จึงมาเคลื่อนไหวที่ศูนย์สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ
ทนายได้ถามแทรก ถึงเรื่อง พอรัฐประหาร 2549 คิดอย่างไร จึงแจกใบปลิว ชาญวิทย์เล่าต่อว่า ที่ทำเอกสารขึ้นมีสาเหตุจากกรณีการปฏิรูปทั้งระบบของประเทศตามรัฐธรรมนูญ 2540 ในแนวทางระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ กับประชาธิปไตยไทย
อัยการถามค้านว่า ชาญวิทย์เคยเข้ารักษาอาการทางจิตหรือไม่
ชาญวิทย์ตอบว่า เคยเข้ารักษาอาการทางจิต เรื่องความเครียด ที่ โรงพยาบาลประสาทจังหวัดเชียงใหม่ เลยต้องลาพักการศึกษา กินยาอยู่ประมาณ 2-3 เดือน และเข้ารักษาตัวต่อ
ที่โรงพยาบาลประสาท จังหวัดสงขลา ตนศึกษาความรู้หลายด้านจึงเกิดความเครียด แต่ขณะนั้นก็เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้ อาการมาหายขาดจากระหว่างที่ติดคุกอยู่ 1 ปี ช่วงปี 2519 และมีอาการปกติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการประเมินสถานการณ์การเมืองขณะเปลี่ยนผ่าน ตนคิดว่าต้องการให้มีระบอบราชาธิปไตยภายใต้ประชาธิปไตย และการจัดการสถานะองค์พระประมุขให้เหมาะสม ตนต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ มีความมั่นคงขึ้น ส่วนเอกสารชิ้นนี้จะเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ อยู่ที่ศาลจะวินิจฉัย
ช่วงบ่ายพยานจำเลยปากที่ 2 รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมาเบิกความในประเด็นเรื่องกฎหมาย
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ว่า กฎหมายนี้เริ่มใช้ใน สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็แทบไม่ได้ใช้เลย และเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 รัฐธรรมนูญให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด ห้ามประชาชนหมิ่นสถาบันฯ และระยะแรกมีการลงโทษเล็กน้อยให้เข็ดหลาบ กระทั่งเมื่อ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา มีการแก้อัตราโทษให้สูงขึ้นกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยบริบทมาจาก
สมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร มีการใช้กฎหมายนี้ป้องกันสถาบันจากภัยคอมมิวนิสต์ โดยเนื้อหากฎหมายคุ้มครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หลังเบิกความเสร็จ อัยการไม่ได้ถามค้าน จึงเสร็จสิ้นการสืบพยานจำเลย ทั้ง 2 ปาก ศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 1 ธันวาคม 2558 เวลา 9.00 น.
ศาลขึ้นบังลังก์เวลาประมาณ 10.15 น. หลังจากพิจารณาคดีอื่นๆ เสร็จแล้ว จึงเริ่มอ่านคำพิพากษาคดีนี้ มีใจความว่า ชาญวิทย์ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแจกใบปลิว 1 ชุด
ทั้งนี้ในชั้นสืบพยาน ชาญวิทย์เคยให้การไว้ว่าเป็นผู้แจกจ่ายเอกสารดังกล่าวจริง แต่ไม่เห็นว่าเนื้อหาในเอกสารมีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และยังขอให้ศาลพิจารณาประเด็นที่ว่า องค์รัชทายาทที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ความคุ้มครองนั้น ครอบคลุมถึงพระองค์ใดบ้าง
ศาลเห็นว่า แม้ในใบปลิวจะมีข้อความดูหมิ่นหลายบุคคล แต่เป็นข้อความที่กล่าวในเอกสารฉบับเดียวกัน ดังนั้นถือเป็นการกระทำกรรมเดียว ทำให้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คุ้มครองไปถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้วยหรือไม่ จึงพิพากษาว่าชาญวิทย์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โทษจำคุก 6 ปี
โดยบรรยากาศการพิจารณาคดีในวันนี้ มีผู้สังเกตการณ์จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน พี่ชายของชาญวิทย์ และเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวัง เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี และขอจดคำพิพากษากลับไปด้วย
หลังฟังคำพิพากษาเสร็จ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำตัวชาญวิทย์ขึ้นรถกลับเรือนจำพิเศษกรุงเทพทันที