- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
จ่าประสิทธิ์
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.สุรินทร์ ถูก กอ.รมน.แจ้งข้อกล่าวหาว่าปราศรัยเข้าข่ายผิดตามมาตรา 112 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 หลังการรัฐประหาร จ่าประสิทธิ์ถูกเรียกรายงานตัวและถูกคุมขังเรื่อยมา ต่อมาจ่าประสิทธิขอกลับคำให้การ จากให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจ่าประสิทธ์์ เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ
25 มีนาคม 2559 จ่าประสิทธิ์ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ รวมจ่าประสิทธิ์ถูกจำคุก 1 ปี 10 เดือน 1 วัน
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
จ.ส.ต. ประสิทธิ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำ นปช. จังหวัดสมุทรสาคร หรือที่เรียกกันในนาม ‘จ่าประสิทธิ์
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
วันที่ 7 พฤษภาคม 2557 จ.ส.ต. ประสิทธิ์ (จ่าประสิทธิ์) ขึ้นปราศรัยที่ห้างอิมพีเรียลลาดพร้าว และมีข้อความบางช่วงบางตอนที่อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 โดย กอ.รมน. ได้แจ้งความไว้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2557
พฤติการณ์การจับกุม
ภายหลังการรัฐประหารได้มีคำสั่งเรียกให้จ่าประสิทธิ์เข้ารายงานตัว และจ่าประสิทธิ์ได้เข้ารายงานตัวต่อทหารในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 จนกระทั่งวันที่ 29 พฤษภาคม ทหารได้คุมตัวจ่าประสิทธิ์มาที่สน.โชคชัย เพื่อส่งตัวผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 912/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
นัดพร้อม
ที่ห้องพิจารณาคดี 906 ศาลอาญารัชดา ศาลนัดพร้อมสอบคำให้การ คดีที่จ่าประสิทธิ์ถูกกล่าวหาว่า ปราศรัยโดยมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ
วันนี้มีผู้สังเกตการณ์ประมาณ 20 คน ซึ่งมีทั้งภรรยา ญาติ และผู้สื่อข่าว นอกจากนี้ ในเวลาต่อมา เจ๋ง ดอกจิก จำเลยในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นฎีกาเดินทางมาให้กำลังใจด้วย
ศาลขึ้นบัลลังก์ในเวลาประมาณ 9.50 น. ศาลถามว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ จ่าประสิทธิให้การปฏิเสธ ศาลจึงให้ทั้งโจทก์และจำเลยส่งบัญชีพยานหลักฐาน
เบื้องต้นโจทก์ต้องการสืบพยาน 19 ปาก แต่ศาลเห็นว่าพยานบางปากไม่มีความจำเป็นต้องสืบ จึงขอให้ตัดพยานและให้จำเลยรับรองคำให้การในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยแถลงไม่ติดใจ โจทก์จึงไม่คัดค้านเรื่องการตัดพยานแต่ขอส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมซึ่งศาลอนุญาต พยานโจทก์ที่ต้องสืบเหลือทั้งสิ้น 13ปาก ศาลให้เวลาสืบสามนัด
ทนายจำเลยแจ้งต่อศาลว่าต้องการสืบพยานทั้งสิ้นสิบปากแต่ในวันนี้สามารถยื่นบัญชีพยานได้เพียงสี่ปาก โดยพยานปากที่เป็นเจ้าหน้าที่จากราชบัณฑิตฯยังไม่สามารถระบุชื่อได้ ศาลจึงสั่งให้ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ติดใจสืบพยานแล้ว ศาลให้เวลาฝ่ายจำเลยสืบพยานสองนัด
ศาลแจ้งคู่ความด้วยว่าหากไม่มีเหตุสุดวิสัยจะไม่เพิ่มวันสืบพยานให้ สำหรับวันนัดสืบพยาน ศาลให้คู่ความไปตกลงกันเองที่ศูนย์นัดความและให้มีนัดตรวจความพร้อมภายในเวลาสามเดือนก่อนการสืบพยานด้วย
ในเวลาต่อมา ทนายจำเลยแจ้งว่า ได้นัดวันสืบพยานกับฝ่ายโจทก์แล้ว วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 จะเป็นนัดตรวจความพร้อม การสืบพยานโจทก์ จะมีขึ้นในวันที่ 20, 24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ส่วนการสืบพยานจำเลย จะมีขึ้นในวันที่ 26และ 27 กุมภาพันธ์
3 ธันวาคม 2557
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญา
แหล่งอ้างอิง
29 พฤษภาคม 2557
ช่วงบ่าย จ่าประสิทธิ์ถูกนำตัวไปฝากขังครั้งแรกต่อศาลอาญา โดยขอฝากขังจำนวน 12 วันตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคมถึงวันที่ 9 มิถุนายนและได้ระบุในคำร้องขอคัดค้านการประกันตัวด้วย ศาลอนุญาตให้ฝากขัง
ภายหลังนางนิภาพร เมืองมูล ภรรยาของจ่าประสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพร้อมหลักทรัพย์เงินสด500,000 บาท แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่าจำเลยจะหลบหนีและกลัวว่าจำเลยจะไปข่มขู่พยาน จ่าประสิทธิ์จึงถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
6 สิงหาคม 2557
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นครั้งที่ สอง โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 600,000 บาท พร้อมกันนั้นก็ได้ขอไต่สวนประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวด้วย
ในคำร้องทนายจำเลยขอไต่สวนในสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่งให้นักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยสองคนมาเป็นพยานยืนยันว่าจำเลยจะไม่หลบหนี อีกประเด็นหนึ่งขอไต่สวนแพทย์เนื่องจากจำเลยป่วยเป็นโรคลมชัก
ศาลไม่อนุญาตให้ไต่สวนนักการเมืองในประเด็นที่จำเลยจะไม่หลบหนีแต่ให้ไต่สวนในประเด็นที่จำเลยป่วยเป็นโรคลมชัก หากอาการกำเริบ แล้วไม่ได้รับการรักษาทันเวลาจะมีโอกาสเสียชีวิต โดยมีแพทย์จากโรงพยาบาลราชฑัณฑ์และจำเลยอ้างตนเป็นพยานให้ตัวเอง ศาลนัดไต่สวนในเดือนกันยายน
กันยายน 2557
นัดไต่สวนประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
จ่าประสิทธิเบิกความเป็นพยานให้ตนเอง ยืนยันว่าป่วยเป็นโรคลมชักจริง นอกจากตนเองก็มีบุคคลในครอบครัวอีกหลายคนเป็นโรคนี้เช่นกัน โดยได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
แพทย์จากโรงพยาบาลราชฑัณฑ์เบิกความว่าตนเองเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระดูก จึงไม่สามารถวินิจฉัยอาการของจำเลยได้ แต่ในความเห็นส่วนตัว ไม่เชื่อว่าจำเลยเป็นโรคลมชักแต่เชื่อว่าอาการของจำเลยน่าจะเกิดจากความเครียด
นอกจากการไต่สวนพยานสองปากแล้ว ทนายจำเลยยังยื่นเอกสารทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสามแห่ง ซึ่งให้ข้อมูลตรงกันว่า หากผู้ป่วยโรคลมชักไม่ได้รับการรักษาทันเวลาอาจเสียชีวิต
หลังการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งในภายหลัง ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันนัดพร้อม
ในวันนัด ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยให้เหตุผลว่า เชื่อว่าอาการป่วยของจำเลยไม่มีอันตรายถึงชีวิต แพทย์ของราชทัณฑ์สามารถทำการรักษาได้ จึงให้ยกคำร้อง
29 กันยายน 2557
นัดพร้อม
จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลให้คู่ความไปตกลงวันนัดสืบพยานกันเอง (ดูรายละเอียดกระบวนพิจารณาที่บันทึกสังเกตการณ์คดี)
หลังนัดวันกับพนักงานอัยการ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้งเป็นครั้งที่สาม แต่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องในวันเดียวกันโดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
ตุลาคม 2557
ต้นเดือนตุลาคม ทนายจำเลยอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยครั้งที่สาม โดยให้เหตุผลว่า แพทย์ผู้มาให้ความเห็นเรื่องอาการป่วยของจำเลยไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในอาการป่วยของจำเลยแต่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกระดูก คำเบิกความจึงเป็นความเห็นแต่ไม่ใช่คำวินิจฉัยที่ศาลจะรับฟังเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำสั่งในวันที่ 8 ตุลาคม ที่ศาลอาญารัชดา
ทนายจำเลยแจ้งว่า ในช่วงบ่าย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกอุทธรณ์คำร้อง คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น กรณีไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวจ่าประสิทธิ
ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลในการยกคำร้องว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีความสำคัญ ที่จำเลยอ้างว่ามีปัญหาสุขภาพนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโรงพยาบาลของราชทัณฑ์สามารถที่จะให้การรักษาพยาบาลได้ ทั้งศาลชั้นต้นก็เคยวินิจฉัยไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพราะกลัวจำเลยหลบหนี ซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย ให้ยกคำร้อง