- คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, คดีมาตรา112, คดีมาตรา116, ฐานข้อมูลคดี
โจ กอร์ดอน (ผู้แปลหนังสือกษัตริย์ไม่เคยยิ้ม)
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
โจ ก. ชาวไทยสัญชาติอเมริกัน ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า บาทเดียว และเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า สิน แซ่จิ้ว โดยในบล็อกของเขาใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles เขียนโดย Paul Handley นักข่าวอิสระซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ในคำฟ้องระบุว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการแปลหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทยด้วย นายโจไม่สู้คดี ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
นางอลิซาเบธ แพรตต์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าร่วมฟังคำพิพากษา ณ ศาลอาญา ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวต่อการพิจารณาคดีที่มีคำตัดสินให้ลงโทษนายเลอพงษ์ 2 ปี 6 เดือนว่า ไม่ว่าจะอย่างไรมันก็ยังเป็นโทษที่หนักมากสำหรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
อ.สาวตรี สุขศรี นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีนี้ว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการพิสูจน์ชัดว่า หนังสือ The King Never Smiles มีเนื้อหาส่วนใดที่ผิดมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ทั้งนี้ การประกาศหนังสือต้องห้ามเป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ซึ่งต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย แต่เล่มนี้ยังไม่เคยมีการประกาศตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ มีแต่คำสั่งตำรวจลอย ๆ เท่านั้น
6 ธันวาคม 2554 ดารัค พาราดิโซ โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ไทยรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีความเคารพอย่างสูงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทั่วโลกและมองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์"
นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ยังลงข่าวดังกล่าว โดยพาดหัวว่า "ศาลไทยไม่มาตรฐานสหรัฐจี้ไทยเปิดเสรีภาพแสดงความเห็น"
จากข่าวข้างต้น ทำให้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม เผยแพร่จดหมายข่าวระบุ กรณีหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ซึ่งลงข่าวพาดหัวว่า "ศาลไทยไม่มีมาตรฐาน สหรัฐจี้ไทยเปิดเสรีภาพแสดงความเห็น" โดยรายละเอียดเนื้อข่าวเป็นคำสัมภาษณ์นางดารัค พาดิโซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการดำเนินคดีและการตัดสินคดีในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยว่า ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยระบุว่าการนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมและความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม
จากการนำเสนอข่าวดังกล่าว ศาลยุติธรรมเตรียมทำหนังสือชี้แจงหลักกฎหมายและการดำเนินคดีของศาลยุติธรรมต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และทำหนังสือถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ และสำนักข่าวอื่นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งออกมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงข้อเท็จจริงต่อไป
แหล่งอ้างอิง
สหรัฐฯเรียกร้องรัฐบาลไทยรับรอง “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”, ผู้จัดการออนไลน์, วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ (อ้างอิงเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕)
ศาลไทยไม่มาตรฐานสหรัฐจี้ไทยเปิดเสรีภาพแสดงความเห็น, หนังสือพิมพ์โลกวันนี้, วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ (อ้างอิงเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕)
รายงาน: เปิดคำฟ้อง-บรรยากาศวันพิพากษา ‘โจ กอร์ดอน’ , ประชาไท, วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ (อ้างอิงเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕)
'โจ กอร์ดอน' ได้รับการอภัยโทษแล้ว ปล่อยตัวจากเรือนจำคืนวานนี้, ประชาไท, วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (อ้างอิงเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕)
กรมสอบสวนคดีพิเศษยังให้เหตุผลเพิ่มเติมเพื่อขอคัดค้านการประกันตัวเอาไว้ว่า พนักงานสอบสวนได้ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) ของนายเลอพงษ์ไว้ ซึ่งการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์จะต้องกระทำต่อหน้านายเลอพงษ์ จึงขอให้ศาลอนุญาตให้นำตัวนายเลอพงษ์มาควบคุมที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติม
นอกจากนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษยังอ้างเหตุผลของการคัดค้านการให้ประกันตัวว่า คดีดังกล่าวเป็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท