- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
สนธิและเฉลียว
อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559
ผู้ต้องหา
นายสนธิ ลิ้มทองกุล
สถานะคดี
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
คดีเริ่มในปี
ไม่มีข้อมูล
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
นายวุฒิชัย นาถนิธิภูมิ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด
นายสนธิ ลิ้มทองกุล จำเลยที่หนึ่ง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนพาดพิงบทบาทความรับผิดชอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ตามคำฟ้องระบุว่า นายสนธิทราบว่าพระมหากษัตริย์ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกาไม่ว่าด้วยเหตุใด แต่นายสนธิยังคง "กล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกินเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์" เกี่ยวกับความรับผิดชอบดังกล่าว
นายเฉลียว คงตุก บรรณาธิการหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก จำเลยที่สอง ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานะผู้โฆษณา เรียบเรียงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์กล่าววาจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึกฉบับวันที่ 24 มี.ค.49
ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ก่อนเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินทางคณะรัฐมนตรี ( ครม.) โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ทรงลงพระปรมาภิไธย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.48 ซึ่งต่อมาวันที่ 23 มี.ค.49 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และนายเฉลียว คงตุก เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คมชัดลึก (ในขณะนั้น)
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
อ้างอิงจากฐานข้อมูลศาลอาญา:
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2549 จำเลยที่ 1 ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า พระมหากษัตริย์ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ได้บังอาจกล่าววาจาดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยโดยการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วยถ้อยคำว่า “ถ้านายกไม่ลาออก อย่างที่ผมพูดไง กฤษฎีกาที่นายกรับสนองพระบรมราชโองการ ศาลปกครองบอกแล้วว่าผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ แล้วตัวเองไม่ยอมลาออกจะให้ในหลวงออกเหรอ มันต้องมีคนรับผิดชอบใช่ไหม ถ้าทักษิณยังหน้าด้านบอกว่าตัวเองไม่รับผิดชอบ แสดงว่าต้องการให้ในหลวงรับผิดชอบใช่ไหม” และกล่าวด้วยถ้อยคำอีกว่า “แน่นอน แน่นอน ก็คือเอ็งส่งรับร่างกฤษฎีกาให้ในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธย ในหลวงก็ลงให้ เมื่อลงให้แล้ว ถ้าผิดพลาดเอ็งก็ต้องรับผิดชอบซิ ถ้าเอ็งไม่ยอมรับผิดชอบ เอ็งก็ต้องบอกประชาชนหรือให้ในหลวงลาออก” ซึ่งถ้อยคำดังกล่าว เป็นการกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบ และเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 โดยมิบังควร เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาท และเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียงแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย อีกทั้งถ้อยคำดังกล่าวยังทำให้ประชาชนสับสนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุแห่งการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่ด้วย อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ผู้โฆษณา ได้ร่วมกันเรียบเรียงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์กล่าววาจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ดังกล่าวในฟ้อง ข้อ 2 ก. แล้วนำมาพิมพ์โฆษณาเป็นลายลักษณ์อักษรลงในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับที่ 1621 ปีที่ 5 ประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2549 ในหน้า 18 ด้วยข้อความว่า “เอ็งส่งกฎหมายให้ในหลวงลงพระปรมาภิไธย พอพระองค์ท่านลงมาแล้วเกิดความผิดพลาด นายกฯต้องลาออก แสดงความรับผิดชอบ ถ้าไม่ยอมลาออก ต้องบอกประชาชนทั้งประเทศว่าให้ในหลวงลาออก” ซึ่งข้อความดังกล่าว เป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบ และเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 โดยมิบังควร เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาท และเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียงแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย อีกทั้งข้อความดังกล่าวยังทำให้ประชาชนสับสนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุแห่งการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ครั้นตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้น ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2549 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก และเป็นผู้จัดทำ ตรวจแก้ และควบคุมบทประพันธ์และข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ได้บังอาจนำหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับดังกล่าวที่มีข้อความดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ดังกล่าวข้างต้น ออกเผยแพร่ โฆษณา โดยการนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏข้อความดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ที่จำเลยที่ 2 พิมพ์โฆษณาตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 2 เหตุตามฟ้องข้อ 2 ข. เกิดที่แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเกี่ยวพันกัน เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สั่งฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 112 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 48 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1
ด้านข้อมูลจากคมชัดลึก (อ้างใน SANOOK http://news.sanook.com/politic/politic_37091.php ) ระบุว่า วันที่ 19 ต.ค. 49 เวลา 10.00 น. นายวุฒิชัย นาถนิธิภูมิ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 58 ปี อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายเฉลียว คงตุก อายุ 45 ปี บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 และคำสั่งคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค.2519 ข้อ 1
คำฟ้องบรรยายความผิดสรุปว่า ก่อนเหตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินทางคณะรัฐมนตรี ( ครม.) โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ทรงลงพระปรมาภิไธย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.48 ซึ่งต่อมาวันที่ 23 มี.ค.49 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
โดยวันเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าพระมหากษัตริย์ ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกานั้น ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ แล้วจำเลยที่ 1 บังอาจให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่เป็นการกล่าววาจาด้วยถ้อยคำจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. โดยการให้สัมภาษณ์นั้นมี พนักงานหลายคนของ นสพ.คม ชัด ลึก ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ได้ร่วมกันเรียบเรียงข้อความที่ จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ แล้วนำมาตีพิมพ์ใน นสพ. คม ชัด ลึก วันที่ 24 มี.ค.49 หน้าที่ 18 โดยจำเลย ทั้งสองเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน วันที่ 17 เม.ย. และ 28 เม.ย.49 ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ทั้งนี้ศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำหมายเลข 3845/2549 ศาลสอบคำให้การจำเลยแล้ว ทั้งสอง ยืน กรานปฏิเสธ ศาลจึงนัดแถลงเปิดคดี วันที่ 27 พ.ย. 49 ต่อมานายสนธิ ยื่นหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงิน 200,000 บาท เพื่อประกันตัว ขณะที่นายเฉลียว ใช้ตำแหน่ง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ยื่นประกันตัวออกไป
พฤติการณ์การจับกุม
ไม่มีข้อมูล
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
ไม่มีข้อมูล
หมายเลขคดีดำ
อ.3845/2549
ศาล
ไม่มีข้อมูล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
วันที่ 19 ต.ค. 49 นายสนธิ ยื่นหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงิน 200,000 บาท เพื่อประกันตัว ขณะที่นายเฉลียว ใช้ตำแหน่ง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ยื่นประกันตัวออกไป
วันที่ 27 พ.ย.49 ซึ่งเป็นวันนัดแถลงเปิดคดี โจทก์ได้ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษา
ไม่มีข้อมูล