- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
รัชพิณ จ.
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
รัชพิณ จ.ไม่ลุกขึ้นยืนเพื่อถวายความเคารพขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนภาพยนตร์ฉายที่โรงภาพยนต์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน ยกเท้าทั้งสองข้างพาดเก้าอี้ไปทางจอภาพยนต์ และตะโกนคำหยาบคายออกมา ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง แต่เนื่องจากจำเลยมีอาการบกพร่องทางจิต จึงให้รอการลงอาญาไว้ 2 ปี
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2551 เวลากลางวัน ขณะที่โรงภาพยนต์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี จำเลยไม่ลุกขึ้นยืนเพื่อถวายความเคารพ และได้ยกเท้าทั้งสองข้างพาดเก้าอี้ไปทางจอภาพยนต์ เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีจบและได้ตะโกนคำหยาบคายออกมา
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
วันที่ 19 ตุลาคม 2552 ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เห็นควรลดให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน
พิเคราะห์จากรายงานการสืบเสาะและพินิจแล้ว เห็นว่ามีแพทย์จากโรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลตรัง ซึ่งเป็นจิตแพทย์ผู้รักษาอาการทางจิตของจำเลยมาให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นผู้ป่วยทางจิตเภทมีอาการวิตกกังวล หวาดระแวงกลัว ว่าจะมีคนมาทำร้าย เป็นโรคจิตอารมณ์แปรปรวนโดยมีอาการมาตั้งแต่ประมาณเดือนเมษายน 2547 ประกอบกับแพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์ แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ได้ให้ความเห็นไว้ส่วนหนึ่งว่า สาเหตุของอาการกำเริบทางจิตสภาพแวดล้อมไม่ใช่ตัวกระตุ้นที่จะทำให้จำเลยเกิดอาการทางจิต แต่กลับเป็นตัวของจำเลยที่จะเป็นตัวกระตุ้นอาการกำเริบทางจริง โดยจำเลยคิดเอง โรงภาพยนตร์หรือการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ใช่สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการทางจิต แต่เกิดจากอาการป่วยของจำเลยซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรงภาพยนตร์และเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยจะเป็นสถานที่ใดก็ได้ ซึ่งเกิดจากจำเลยไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นสถานที่ใด เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่อาจยืนยันได้ว่าขณะกระทำผิดจำเลยมีอาการป่วยทางจิตแต่ก็ชี้ให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีอาการบกพร่องทางจิตอยู่บ้าง ซึ่งศาลสามารถนำมาประกอบดุลพินิจในการรอการลงโทษได้และจากคำให้การของจำเลยต่อพนักงานคุมประพฤติก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะมีพฤติกรรมใด ที่จะแสดงความไม่จงรักภักดีอีก ดังนั้นเมื่อศาลได้คำนึงถึงประวัติ สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิต ของจำเลยแล้ว เห็นสมควรให้รอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติให้จำเลยไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานได้สอบถามแนะนำช่วยเหลือตามที่เห็นควร และให้จำเลยไปรีบการบำบัดรักษาความบกพร่องทางจิตใจ ณ สถานพยาบาลของรัฐ เป็นระยะเวลา 1 ปี ตามระยะเวลาที่แพทย์ผู้ทำการรักษาเห็นสมควร โดยกำหนดให้จำเลยนำผลการรักษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติเป็นระยะ