- คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
บุญยืน: หมอดูไข่ไก่
อัปเดตล่าสุด: 04/06/2564
ผู้ต้องหา
บุญยืน ป.
สถานะคดี
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
คดีเริ่มในปี
2551
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด
ระหว่างปราศรัยที่สนามหลวง บุญยืน ป.ละเมิดกฎหมายอาญามาตรา112 ด้วยการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นรัชทายาท เธอถูกตัดสินจำคุก 12 ปี แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษในเวลาต่อมา
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
บุญยืน เป็นหมอดูไข่ไก่ และเป็นผู้นำปราศรัยประจำสนามหลวง เริ่มออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างจริงจังหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และได้รับฉายาว่า "นางพญาอินทรีย์" เคยสังกัดกลุ่ม “พิราบขาว” จากนั้นก็ร่วมสังกัดกลุ่มประชาธิปไตยพาประเทศไทยก้าวหน้าซึ่งก่อตั้งโดยพลพรรคสนามหลวง ปกติบุญยืนมักปราศรัยโจมตีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และมุ่งต่อต้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นหลัก โดยชุมนุมเป็นกลุ่มย่อยๆ บนเวทีที่ตั้งกันเองบริเวณสนามหลวง หรือไม่ก็บนเวที "เสียงประชาชน" เธอมักเป็นแถวหน้าในการชุมนุม เดินขบวน ต่อต้านรัฐประหาร พันธมิตรฯ และ คมช. ทุกๆ ครั้งที่มีการชุมนุม
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
6 สิงหาคม 2551
บุญยืน ป. ปราศรัยบนเวทีประชาชนที่สนามหลวงพร้อมกับกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นรัชทายาทผ่านเครื่องกระจายเสียง เป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 112
พฤติการณ์การจับกุม
15 สิงหาคม 2551
พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐ์ผล ผกก.สน.ชนะสงคราม เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เพื่อรายงานคดีหมิ่นองค์รัชทายาท ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 จำเลยขึ้นปราศรัยที่เวทีท้องสนามหลวง โดยในบางช่วงบางตอนมีการพาดพิงถึงองค์รัชทายาท จึงถือเป็นการละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 คดีดังกล่าว มี พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รองผกก.สส.สน.ชนะสงคราม เป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ต่อมาในช่วงเย็น พ.ต.ท.สุเมธ เดินทางไปศาลอาญา เพื่อขออนุมัติหมายจับจำเลยตามประมวลกฎหมาย อาญา ม.112 ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับในวันเดียวกัน จำเลยซึ่งรับทราบว่ามีการออกหมายจับ ได้เดินทางเข้ามอบตัวที่สน.ชนะสงคราม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
ไม่มีข้อมูล
หมายเลขคดีดำ
อ.4326/2551
ศาล
ไม่มีข้อมูล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล
แหล่งอ้างอิง
ฐานข้อมูลศาลอาญา (เข้าถึงล่าสุดวันที่ 3 ตุลาคม 2556)
15 สิงหาคม 2551
ตำรวจออกหมายจับบุญยืน ป. โดยจำเลยเข้ามอบตัวและให้การรับสารภาพ บุญยืน ป. ถูกฝากขังจนครบกำหนด 84 วันโดยไม่ให้ประกันตัวและถูกดำเนินคดีตามกระบวนการของศาล
6 พฤศจิกายน 2551
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 12 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จึงลงโทษจำคุก 6 ปี
22 ธันวาคม 2551
จำเลยยื่นอุทธรณ์ผ่านเรือนจำ โดยขอลดหย่อนโทษ หรือขอให้ศาลพิจารณารอลงอาญาและให้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
12 กันยายน 2552
ศาลได้มีคำสั่งลดโทษจำคุกเหลือ 2 ปี มีกำหนดพ้นโทษในวันที่ 15 สิงหาคม 2553 อย่างไรก็ตาม จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษในเดือนพฤษภาคม 2553 รวมระยะเวลาที่บุญยืนถูกจองจำ หนึ่งปี เก้าเดือน
คำพิพากษา
ไม่มีข้อมูล