- คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, คดีมาตรา112, ฐานข้อมูลคดี
นพวรรณ: เบนโตะ
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
นพวรรณถูกจับในเดือนมกราคม 2552 ถูกกล่าวหาว่าพิมพ์และเผยแพร่ข้อความดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระราชินี และองค์รัชทายาท ในเว็บบอร์ดประชาไทโดยใช้นามแฝงว่า “bento" คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความ ลำพังแค่หมายเลข IP Address ยังไม่พอยืนยันได้ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์เชื่อในพยานโจทก์ว่า ไอพีแอดเดรส เป็นพยานหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้ทราบผู้ใช้งาน ซึ่งตรงกับข้อมูลของจำเลย
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
นพวรรณ ต.จบการศึกษาสูงสุดจากคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ขณะเกิดเหตุมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารของบริษัทผลิต/จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
นพวรรณถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้พิมพ์และเผยแพร่ข้อความดูหมิ่น หมิ่นประมาท ใส่ความสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารบนเว็บบอร์ดประชาไท ในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับการขึ้นเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยใช้นามแฝงว่า “bento” เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 8 นาฬิกา 46 นาที 28 วินาที
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดประชาไทนั้น มีหัวข้อว่า "ความจริงวันนี้โดยบัฟฟาโล่บอย"
พฤติการณ์การจับกุม
วันที่ 16 มกราคม 2552
พ.ต.ท.บุญเลิศ กัลยาณมิตร พนักงานสอบสวน นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบประมาณ 10 นาย ไปยังบริษัท มาสเตอร์พาร์ท จำกัด อันเป็นที่ตั้งของโรงงานและที่อยู่ของจำเลยและครอบครัว เพื่อจับกุมจำเลย ทั้งนี้การเข้าจับกุมไม่ได้มีนักข่าวไปด้วย
ในวันที่เข้าจับกุมยึดของกลางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจำนวน หนึ่งเครื่อง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คจำนวน หนึ่ง เครื่อง แฟลชไดรฟ์จำนวน สอง อันพร้อมยึดเอกสารซึ่งพิมพ์ออกมาจากเว็บไซต์ปรากฏข้อความประชาไท มีเนื้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทในคดีนี้จำนวนหนึ่งฉบับ ของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวนเป็นเวลากว่าสิบวันนับจากถูกจับกุมที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้โจทก์นำสืบวิธีการแสวงหาพยานหลักฐาน ดังนี้
คดีนี้ปรากฏข้อความหมิ่นประมาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช อยู่ในเว็บไซต์ประชาไท เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ประชาไท พบว่าข้อความดังกล่าวโพสต์ผ่านไอพีแอดเดรสชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นไอพีแดเดรสที่มาจากจากผู้ให้บริการ คือ บริษัท จัสมินอินเตอร์เน็ต หรือ เจไอเน็ต เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบต้องมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Dial-up) และพบว่าในวันและเวลาเกิดเหตุ มี Username ชื่อ UICFMPC เชื่อมต่อระบบตั้งแต่เวลา 8.08 น. ถึง 16.04 น. โดยใช้ไอพีแอดเดรสดังกล่าว ชื่อผู้ใช้ดังกล่าวนั้นเป็นชื่อที่มีการสมัครสมาชิกไว้กับบริษัทจัสมินอินเทอร์เน็ตด้วยชื่อ นางนพวรรณ ตั้งอุดมสุข (จำเลย) และลงรายละเอียดเบอร์โทรศัพท์ลูกค้าไว้เป็นหมายเลข 03484xxxx
เจ้าพนักงานจึงตรวจข้อมูลของผู้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวกับทางบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด พบว่าผู้ขออนุญาตใช้หมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวคือบริษัทมาสเตอร์พาสต์ จำกัด เจ้าพนักงานจึงไปตรวจค้นสถานที่ดังกล่าว พบคอมพิวเตอร์พกพาอยู่ในห้องนอนจำเลย 1 เครื่องกำลังเปิดใช้งานและเปิดใช้อินเทอร์เน็ต ขณะนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์ปรากฏหน้าเว็บไซต์ประชาไท เมื่อส่งของกลางทั้งหมดไปพิสูจน์พบว่ามีข้อมูลการเข้าใจเว็บไซต์ประชาไทอยู่ แต่ไม่พบข้อมูลที่บันทึกว่ามีการโพสข้อความตามฟ้องในวันและเวลาเกิดเหตุ
คดีนี้จำเลยมีข้อต่อสู้ ปฏิเสธข้อกล่าวหา ดังนี้
จำเลยให้การปฏิเสธ จำเลยนำสืบว่า สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงงานของบริษัท โดยมีที่พักอาศัยที่จำเลยพักอยู่กับครอบครัว และมีส่วนประกอบกิจการมีพนักงานของโรงงานประมาณ 50-70 คน ภายในโรงงานมีคอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยบริษัทขออนุญาตใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์ 4 หมายเลขและติดตั้งอินเทอร์เน็ตของบริษัทจัสมิน สายโทรศัพท์ทั้ง 4 เลขหมายสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ชื่อ Username และ Password สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นใช้ชื่อของบริษัทส่วน Password นั้นบิดาของจำเลยเป็นคนตั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถจดจำชื่อ Username และ Password ได้ ใครก็สามารถมาใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ไอพีแอดเดรสสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้ที่มีความเชียวชาญ การระบุตัวด้วยไอพี แอดเดรสไม่มีความแน่นอน การปลอมหรือแสดงให้เห็นว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้ไอพี แอดเดรสนั้นสามารถทำได้ สามวิธี คือ 1.มีคนอื่นมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน 2. มีคนอื่นเอา Username กับ Password ไปใช้เชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์หมายเลขอื่น 3.ใช้โปรแกรมเพื่อเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส
จำเลยเรียนจบบัญชี มีหน้าที่ทำเงินเดือน ในวันที่ 15 ตุลาคม 51 (วันที่เกิดการกระทำความผิด) จำเลยมีหน้าที่จัดทำเงินเดือนของพนักงานบริษัทซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและต้องทำให้เสร็จในวันนั้น จำเลยจึงไม่อาจเป็นผู้โพสต์ข้อความได้ จำเลยสนใจแต่เรื่องสวยงาม ไปเที่ยวเมืองนอก ใช้สินค้ามียี่ห้อ ไม่สนใจการเมือง ไม่เคยร่วมชุมนุมทางการเมือง ทั้งครอบครัวของจำเลยมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงไม่มีทางเป็นผู้โพสต์ข้อความตามฟ้อง
นอกจากนี้ คดีนี้ยังถูกใช้อ้างอิงเป็นกระทงที่ 10 ในการฟ้องจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ตามความผิดมาตรา 15 พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 30 เมษายน 2555
คดีนี้ข้อความที่ถูกกล่าวอ้างว่าผิดต่อกฎหมายนั้นปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดของประชาไท แต่ในคำฟ้องและคำพิพากษาใช้คำเรียกว่า เว็บไซต์ หลังจากคดีนี้ และหลังจากที่จีรนุช ถูกดำเนินคดี ประชาไทจึงตัดสินใจปิดบริการเว็บบอร์ดในเดือนกรกฎาคม ปี 2553
แหล่งอ้างอิง
อุทธรณ์พิพากษากลับ จำคุก 5 ปี “นพวรรณ” โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง. Manager Online. 2 ตุลาคม 2556 (อ้างอิงเมื่อ 2 ตุลาคม 2556)
ให้ประกันตัว 'เบนโตะ' หลังศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคดี 112 สั่งจำคุก 5 ปี, เว็บไซต์ประชาไท, 2 ตุลาคม 2556 (อ้างอิงเมื่อ 2 ตุลาคม 2556)
16 มกราคม 2552
เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมนางสาวนพวรรณและยึดของกลางเป็นคอมพิวเตอร์และแฟลชไดรฟ์รวมสี่รายการ ณ สถานที่ทำงาน บริษัทมาสเตอร์พาร์ท จำกัด จากนั้นจึงนำตัวนางสาวนพวรรณไปยังกองปราบปราม และควบคุมตัวในห้องขังเป็นเวลา 1 คืน
17 มกราคม 2552
กองปราบปรามนำโดยพ.ต.ท.บุญเลิศ กัลยาณมิตร นำตัวนพวรรณไปศาลอาญา ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เป็นเหตุให้นพวรรณถูกควบคุมตัวในทัณฑสถานหญิงกลางเป็นเวลาประมาณสิบวัน
หลังยื่นขอประกันตัวต่อศาลชั้นต้นสองครั้ง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธทั้งสองครั้ง จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
10 เมษายน 2552
สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนพวรรณฐานกระทำความผิดตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(1)(3)(5), ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 และ 112
18 มีนาคม 2553
เริ่มต้นสืบพยาน
11 พฤศจิกายน 2553
สิ้นสุดการสืบพยาน
31 มกราคม 2554
นัดฟังคำพิพากษา
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นเพียงว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหรือไม่เท่านั้น โดยโจทก์อาศัยเพียงหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) และข้อมูลการเชื่อมต่อโทรศัพท์มาเป็นหลักฐาน แต่ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความจริง
จากหลักฐานบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์ เห็นได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกือบทั้งวันในวันเกิดเหตุ แต่ข้อความตามฟ้องน่าจะใช้เวลาในการโพสต์ไม่มากนัก ประกอบกับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปตรวจสอบสถานที่ ซึ่งเป็นโรงงาน พบคอมพิวเตอร์หลายเครื่องอยู่ในสภาพที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง แต่ไม่ปรากฏชัดว่าคอมพิวเตอร์เครื่องไหนที่ใช้โพสต์หรือส่งข้อความเอกสารดังกล่าว และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ dial up พนักงานหลายคนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ username และ password ของจำเลย ทั้งเมื่อพิจารณาของกลางที่ยึดมาจากจำเลย ก็ไม่พบการเขียนข้อความตามฟ้อง ซึ่งขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นที่เกิดเหตุ จำเลยไม่อยู่ในฐานะที่จะทราบได้ล่วงหน้า จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถลบข้อมูลการเข้าสู่เว็บไซต์ประชาไทได้
นอกจากนี้ ยังได้ความจากพยานจำเลยซึ่งเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ว่า การใช้ไอพีแอดเดรสเป็นเครื่องมือระบุตัวผู้ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีความไม่แน่นอน เพราะการปลอมแปลงไอพีแอดเดรสสามารถทำได้โดยง่าย หากบุคคลใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ และมีโปรแกรมที่เอื้ออำนวย ก็สามารถปลอมแปลงไอพีแอดเดรสได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้อื่นปลอมแปลงหมายเลขไอพีแอดเดรสในการโพสต์ข้อความตามฟ้องลงในเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งอาจจะตรงกับหมายเลขไอพีแอดเดรสซึ่งจำเลยกำลังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในขณะเดียวกันนั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำาความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
พิพากษายกฟ้อง
30 มีนาคม 2554
อัยการยื่นอุทธรณ์
ต่อมาเวลาประมาณ 17.20 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยประกันตัว ด้วยหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมูลค่าหนึ่งล้านบาท
คำพิพากษา
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นเพียงว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหรือไม่เท่านั้น โดยโจทก์อาศัยเพียงหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) และข้อมูลการเชื่อมต่อโทรศัพท์มาเป็นหลักฐาน แต่ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความจริง
จากหลักฐานบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์ เห็นได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกือบทั้งวันในวันเกิดเหตุ แต่ข้อความตามฟ้องน่าจะใช้เวลาในการโพสต์ไม่มากนัก ประกอบกับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปตรวจสอบสถานที่ ซึ่งเป็นโรงงาน พบคอมพิวเตอร์หลายเครื่องอยู่ในสภาพที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง แต่ไม่ปรากฏชัดว่าคอมพิวเตอร์เครื่องไหนที่ใช้โพสต์หรือส่งข้อความเอกสารดังกล่าว และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ dial up พนักงานหลายคนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ username และ password ของจำเลย ทั้งเมื่อพิจารณาของกลางที่ยึดมาจากจำเลย ก็ไม่พบการเขียนข้อความตามฟ้อง ซึ่งขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นที่เกิดเหตุ จำเลยไม่อยู่ในฐานะที่จะทราบได้ล่วงหน้า จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถลบข้อมูลการเข้าสู่เว็บไซต์ประชาไทได้
นอกจากนี้ ยังได้ความจากพยานจำเลยซึ่งเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ว่า การใช้ไอพีแอดเดรสเป็นเครื่องมือระบุตัวผู้ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีความไม่แน่นอน เพราะการปลอมแปลงไอพีแอดเดรสสามารถทำได้โดยง่าย หากบุคคลใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ และมีโปรแกรมที่เอื้ออำนวย ก็สามารถปลอมแปลงไอพีแอดเดรสได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้อื่นปลอมแปลงหมายเลขไอพีแอดเดรสในการโพสต์ข้อความตามฟ้องลงในเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งอาจจะตรงกับหมายเลขไอพีแอดเดรสซึ่งจำเลยกำลังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในขณะเดียวกันนั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำาความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
พิพากษายกฟ้อง
สรุปคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวนแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยโพสต์ข้อความดังกล่าวจริงหรือไม่ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมายืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว แต่โจทก์มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมทั้งเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มาเบิกความยืนยันว่า จากการตรวจสอบ ไอพีแอดเดรสของผู้ที่โพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ประชาไทและตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต พบว่าไอพีแอดเดรส ตรงกับ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลย