- คดีมาตรา116, ฐานข้อมูลคดี
ธเนตร: โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์รัฐบาลและกองทัพ
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ธเนตร เป็นนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด และครั้งล่าสุดก่อนที่จะถูกจับ เขาได้ร่วมเดินทางกับกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา เพื่อไปตรวจสอบการทุจริตโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ในวันที่ 7 ธันวาคม 2558 และเขาประกอบอาชีพขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
ศาลทหารมีคำสั่งให้นายประกันของธเนตรนำเงิน 100,000 บาท มาชำระเนื่องจากธเนตรไม่มาศาลตามนัด
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ในวันนี้นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ ได้แจ้งต่อศาลว่านายธเนตรได้รับการปล่อยตัวแล้วตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 58 หลังจากนั้นธเนตรได้เดินทางไปยังต่างประเทศไม่สามารถติดต่อได้ ศาลจึงมีคำสั่งว่า “ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่ากรณีตามคำร้องเมื่อผู้ต้องต้องถูกควบคุมตัวได้รับการปล่อยตัวแล้ว จึงไม่มีเหตุไต่สวนคำร้องขอให้ปล่อยตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90 อีก ให้ยกคำร้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ”
เข้ามอบตัว
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 11.00 น. ธเนตร เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน ที่กองบังคับการปราบปราม ภายหลังรายงานตัวเสร็จสิ้น พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวธเนตรกลับและนัดส่งตัวให้อัยการศาลทหารในวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่ศาลทหารกรุงเทพ
นัดฟังคำสั่งอัยการทหาร
อัยการทหาร เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลทหารกรุงเทพ กล่าวหาว่า ธเนตร กระทำความผิดตามประมวลอาญา มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น และตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) นำเข้าข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความั่นคงของประเทศสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ข้อความลงในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ “ธเนตร อนันตวงษ์ รักเสื้อแดง ตลอดไป” ระหว่างวันที่ 16 กันยายน – 10 ธันวาคม 2562 จำนวน 5 ครั้ง
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหารนัดสอบคำให้การ ธเนตร ในคดีร่วมกิจกรรม “นั่งรถไฟไปราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง” ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ชุมนุมการเมืองตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป ทั้งนี้ ธเนตรให้การรับสารภาพในชั้นศาล ตุลาการศาลทหารจึงได้อ่านคำพิพากษา ให้จำคุกจำเลย 6 เดือน โดยมีการเพิ่มโทษตามมาตรา 92 (กระทำผิดซ้ำภายในห้าปี) อีก 2 เดือน เป็น 8 เดือน จากการที่จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาในคดีชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และทำให้เสียทรัพย์ แต่จำเลยให้การรับสารภาพลดเหลือ 4 เดือน ทั้งนี้ จำเลยได้ถูกคุมขังในเรือนจำมาแล้วตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2559 ซึ่งถูกคุมขังเกินโทษจึงสั่งให้ปล่อยตัวในคดีฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. นี้
นัดสอบคำให้การ
อัยการทหาร ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมต่อศาล ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกที่ศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาแล้วว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 มีกำหนดโทษ 4 เดือน ในคำขอท้ายฟ้องเกี่ยวกับการขอให้นับโทษต่อ ขอให้ไม่ให้หักวันคุมขังจำเลยในคดีนี้ทับซ้อนกับวันคุมขังในคดีก่อนหน้านี้
นัดสอบคำให้การ
ทนายความจำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอาญา ซึ่งทนายยื่นคำร้องวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจศาลขอให้ศาลทหารกรุงเทพส่งสำนวนคดีนี้เพื่อให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของจำเลย สรุปได้ว่า รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพันธกรณีภายใต้กติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ตามข้อ 14 ได้ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะ ซึ่งประเทศไทยได้ทำหนังสือแจ้งต่อองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 อีกทั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 บัญญัติให้ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/ 2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ที่ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจาณาพิพากษาคดีอาญา ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด
ศาลทหารกรุงเทพได้ส่งความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลในคดีนี้ให้ศาลยุติธรรมพิจารณา โดยมีความเห็นว่า ความผิดตามฟ้องเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร
นัดฟังคำสั่งเรื่องเขตอำนาจศาล
อัยการศาลทหารกรุงเทพ ฝ่ายโจทก์ ยื่นคำขอต่อศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 เวลา 8.30 น. และขอยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน และขอส่งเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานโจทก์
ทนายจำเลย ขอศาลออกหมายเรียกพยานเอกสาร เพื่อใช้ในวันตรวจพยานด้วย
ทนายความจำเลย ไม่เห็นด้วยกับการที่ศาลสั่งไม่รับพยานเอกสาร และพยานบุคคลจำเลย ลำดับที่ 4 พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร และ ลำดับที่ 5 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เพราะเป็นพยานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดี
ผู้พิพากษาศาลออกนั่งพิจารณาคดีเวลาประมาณ 9.40 น. ตามที่ทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้หัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ หรือเจ้ากรมพระธรรมนูญสั่งเพิกถอนกระบวนการพิจารณา และแต่งตั้งองค์คณะตุลาการคณะใหม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งใด ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะจึงให้ยกคำร้อง และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 20 ธันวาคม 2561
ผู้พิพากษาศาลทหารออกพิจารณาคดี 10.00 น. ศาลนำพยานหลักฐานให้ทนายจำเลยตรวจสอบ จากนั้นอัยการทหาร ฝ่ายโจทก์แถลงแนวทางการสืบพยาน มีพยานบุคคลทั้งหมด 6 ปาก ได้แก่
2. พล.ต.ตรี สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ผู้ซักถามปากคำจำเลย
3. ร้อยตำรวจโท วีระบุตร บุตรดีขันธ์ พยานผู้ตรวจสอบเฟสบุ๊คของจำเลย
4. รศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวนิก ผู้ให้ความเห็นทางด้านกฎหมาย
5. พ.ต.ท. นิเวศ สิงห์วงษ์ พยานผู้ตรวจร่างกายจำเลย
6.ร.ต.อ. ธิติ เปฏะพันธ์ุ พนักงานสอบสวน
2. ผศ.สาวตรี สุขตรี นักวิชาการด้านกฎหมาย
3. อ.อิสสระ ชูศรี นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์
ผู้พิพากษาศาลทหารออกนั่งพิจารณาคดี เวลาประมาณ 9.00 น. อัยการศาลทหาร ฝ่ายโจทก์แถลงว่า พยานโจทก์ 2 ปาก คือ พลโท วิจารณ์ จดแตง และ พลตำรวจตรี สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ไม่มาศาล เพราะ ติดราชการจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถมาเป็นพยานในวันนี้ได้
ผู้พิพากษาศาลทหารออกนั่งพิจารณาคดี เวลาประมาณ 9.30 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 10.30 น. อัยการทหาร ฝ่ายโจทก์ ขึ้นซักถาม พล.ต.ต สุรศักดิ์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ซักถามธเนตร ร่วมกับ พล.ต. วิจารณ์ จดแตง และเป็นผู้กล่าวหาจำเลยในคดีนี้
นัดสืบพยานโจทก์
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลเริ่มการพิจารณาคดีในเวลาประมาณ 9.35 น. อัยการแถลงต่อศาลขอนำพยานปากร.ต.อ.ธิติ เปฏะพันธ์ุ พนักสอบสวนเข้าเบิกความ
สืบพยานโจทก์ปากร.ต.อ.ธิติ เปฏะพันธ์ุ พนักสอบสวน
ร.ต.อ.ธิติ เบิกความว่า คดีนี้เหตุเกิดในวันที่ 10 ธันวาคม 2558 ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จากนั้นวันที่วันที่ 11 ธันวาคม 2558 พล.ต.วิจารณ์ จดแตง เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษกับเขาว่า จำเลยโพสต์ข้อความโจมตีรัฐบาล ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของจำเลยซึ่งใช้ชื่อว่า “ธเนตร อนันตวงษ์ รักเสื้อแดง ตลอดไป”
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่า ข้อความที่เป็นปัญหาในคดีนี้จำเลยนำภาพของบุคคลอื่นมาใช้ แต่จำเลยเป็นคนเขียนข้อความบรรยายภาพ โดยที่คำบรรยายภาพดังกล่าวมีเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลไม่มีความเที่ยงธรรม มีความโน้มเอียง และไม่ชัดเจนในกระบวนการยุติธรรม มีข้อความเรื่องการทำร้ายร่างกายประชาชนเกิดขึ้นจนมีประชาชนเสียชีวิต (กรณีของสุริยัน หรือ 'หมอหยอง') ประชาชนที่มาอ่านแล้วไม่ทราบข้อเท็จจริง อาจเข้าใจว่ารัฐบาลโหดร้าย ไม่ยุติธรรม และเกิดความหวาดกลัว การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการยุยงให้ประชาชนมารวมตัวกันขับไล่รัฐบาล ส่วนข้อความที่จำเลยโพสต์เกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ อาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่เรื่องยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่า ในวันที่ พล.ต.วิจารณ์มาร้องทุกข์กล่าวโทษ เขาได้ทำบันทึกประจำวันไว้และได้ขออำนาจศาลออกหมายจับจำเลยในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ก่อนที่จำเลยจะถูกจับกุมตัวในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้ควบคุมตัว จำเลยมา
อัยการขอให้ร.ต.อ.ธิติ ชี้ตัวจำเลยวว่าอยู่ในห้องพิจารณาคดีหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติหันมาชี้ตัวจำเลยและเบิกความต่อว่าได้แจ้งสิทธิตามกฎหมายและแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ต่อจำเลยโดยชอบแล้ว
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่าเขาได้ตรวจสอบบัญชีเฟซบุ๊ก “ธเนตร อนันตวงษ์ รักเสื้อแดง ตลอดไป” พบว่าเป็นเฟซบุ๊กของจำเลยจริง การสมัครใช้งานเฟซบุ๊กจะต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่เป็นของจำเลยจริงเพราะการยืนยันสมัครเฟซบุ๊กต้องใช้เบอร์โทรหรืออีเมลจึงให้เจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ตรวจสอบและพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้สมัครบัญชีเฟซบุ๊กในคดีนี้ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยโดยยืนยันได้จากข้อมูลทะเบียนราษฎรที่ใช้ในการลงทะเบียนใช้งานหมายเลขโทรศัพท์
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่าหลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 มีการขออำนาจศาลออกหมายจับจำเลยอีกครั้งหนึ่งเพราะจำเลยหลบหนี ร.ต.อ.ธิติเบิกความด้วยว่าเขาไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลเริ่มการพิจารณาคดีในเวลาประมาณ 9.35 น. อัยการแถลงต่อศาลขอนำพยานปากร.ต.อ.ธิติ เปฏะพันธ์ุ พนักสอบสวนเข้าเบิกความ
สืบพยานโจทก์ปากร.ต.อ.ธิติ เปฏะพันธ์ุ พนักสอบสวน
ร.ต.อ.ธิติ เบิกความว่า คดีนี้เหตุเกิดในวันที่ 10 ธันวาคม 2558 ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จากนั้นวันที่วันที่ 11 ธันวาคม 2558 พล.ต.วิจารณ์ จดแตง เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษกับเขาว่า จำเลยโพสต์ข้อความโจมตีรัฐบาล ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของจำเลยซึ่งใช้ชื่อว่า “ธเนตร อนันตวงษ์ รักเสื้อแดง ตลอดไป”
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่า ข้อความที่เป็นปัญหาในคดีนี้จำเลยนำภาพของบุคคลอื่นมาใช้ แต่จำเลยเป็นคนเขียนข้อความบรรยายภาพ โดยที่คำบรรยายภาพดังกล่าวมีเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลไม่มีความเที่ยงธรรม มีความโน้มเอียง และไม่ชัดเจนในกระบวนการยุติธรรม มีข้อความเรื่องการทำร้ายร่างกายประชาชนเกิดขึ้นจนมีประชาชนเสียชีวิต (กรณีของสุริยัน หรือ 'หมอหยอง') ประชาชนที่มาอ่านแล้วไม่ทราบข้อเท็จจริง อาจเข้าใจว่ารัฐบาลโหดร้าย ไม่ยุติธรรม และเกิดความหวาดกลัว การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการยุยงให้ประชาชนมารวมตัวกันขับไล่รัฐบาล ส่วนข้อความที่จำเลยโพสต์เกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ อาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่เรื่องยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่า ในวันที่ พล.ต.วิจารณ์มาร้องทุกข์กล่าวโทษ เขาได้ทำบันทึกประจำวันไว้และได้ขออำนาจศาลออกหมายจับจำเลยในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ก่อนที่จำเลยจะถูกจับกุมตัวในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้ควบคุมตัว จำเลยมา
อัยการขอให้ร.ต.อ.ธิติ ชี้ตัวจำเลยวว่าอยู่ในห้องพิจารณาคดีหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติหันมาชี้ตัวจำเลยและเบิกความต่อว่าได้แจ้งสิทธิตามกฎหมายและแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ต่อจำเลยโดยชอบแล้ว
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่าเขาได้ตรวจสอบบัญชีเฟซบุ๊ก “ธเนตร อนันตวงษ์ รักเสื้อแดง ตลอดไป” พบว่าเป็นเฟซบุ๊กของจำเลยจริง การสมัครใช้งานเฟซบุ๊กจะต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่เป็นของจำเลยจริงเพราะการยืนยันสมัครเฟซบุ๊กต้องใช้เบอร์โทรหรืออีเมลจึงให้เจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ตรวจสอบและพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้สมัครบัญชีเฟซบุ๊กในคดีนี้ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยโดยยืนยันได้จากข้อมูลทะเบียนราษฎรที่ใช้ในการลงทะเบียนใช้งานหมายเลขโทรศัพท์
ร.ต.อ.ธิติเบิกความต่อว่าหลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 มีการขออำนาจศาลออกหมายจับจำเลยอีกครั้งหนึ่งเพราะจำเลยหลบหนี ร.ต.อ.ธิติเบิกความด้วยว่าเขาไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน
ตอบทนายจำเลยถามค้าน
ทนายจำเลยถามว่า จำเลยมีภูมิหลังเป็นชาวบ้านธรรมดาที่ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มนักศึกษาในการตรวจสอบการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และหลังเกิดคดีนี้ขึ้นมาร.ต.อ.ธิติก็เคยนำตัวจำเลยกับพวกที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้มาสอบปากคำใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติรับว่าใช่ ทนายจำเลยถามว่าระหว่างการสอบปากคำพล.ต.วิจารณ์ จดแตง ได้ถามพล.ต.วิจารณ์หรือไม่ว่าการดำเนินคดีนี้เป็นการจงใจใช้กฎหมายปิดปากประชาชนหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้สอบถามประเด็นดังกล่าว
ทนายจำเลยถามว่าร.ต.อ.ธิติเป็นคนเลือกรศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวนิกมาเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นด้านกฎหมายด้วยใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่า ใช่ พร้อมขยายความว่าการเชิญเจษฎ์มาเป็นพยานเขาทำโดยปรึกษาผู้บังคับบัญชาและตัวเจษฎ์ก็สะดวกจึงเชิญมาเป็นพยาน ทนายจำเลยถามว่าเคยเชิญเจษฎ์มาให้การในคดีที่เกี่ยวข้องกับคสช.คดีอื่นๆหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าเคยเชิญตัวมาในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทนายจำเลยถามว่า จำชื่อจำเลยในคดีดังกล่าวได้หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าจำไม่ได้
ทนายจำเลยถามว่า ทราบหรือไม่ว่าเจษฎ์ มีผลประโยชน์และมีส่วนเกี่ยวข้องคสช. ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยถามว่าทราบหรือไม่ว่าคสช.แต่งตั้งเจษฎ์เป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และเป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยถามต่อว่า ร.ต.อ.ธิติได้พิจารณาเลือกนักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์คนอื่นมาเป็นพยานด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าตอบว่าไม่ได้พิจารณา
ทนายจำเลยถามว่า ที่จำเลยโพสต์ข้อความเพื่อสื่อให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความยุติธรรม ไม่มีส่วนใดระบุว่าเป็นรัฐบาลใด และที่จำเลยเขียนข้อความด่าประเทศด้วยภาษาบ้านๆ ว่า “ประเทศหน้าหี” ถึงจุดนี้ร.ต.อ.ธิติกล่าวแทรกขึ้นว่า ประเทศก็หมายถึงรัฐบาล ทนายจำเลยทวนคำถามอีกครั้งว่า ข้อความที่จำเลยไม่มีส่วนใดที่ระบุว่าหมายถึงรัฐบาลใดและคำที่กล่าวก็เป็นภาษาบ้านๆ ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติรับว่า ใช่
ทนายจำเลยถามว่า หากจะวิจารณ์ประเทศควรจะต้องใช้ภาษาสุภาพ ตรงตามหลักวิชาการ เพื่อไม่ให้มีความผิดใช่หรือไหม พยานตอบว่า ไม่จำเป็น ทนายจำเลยถามว่า ประโยคตามฟ้องที่ว่า “ประเทศไทยเอย ทำไมเธอมันหน้าหีจริงจริง” กระทบความมั่นคงหรือไม่ ร.ต.อ. ธิติ ตอบว่า กระทบ ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ. ธิติ เคยเห็นคนด่ากันว่า “ไอ้หน้าหี” ใช่ไหมและเป็นคำด่าทั่วไปใช่หรือไม่ ร.ต.อ. ธิติ ตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ.ธิติได้นำประโยค “ประเทศไทยเอย ทำไมเธอมันหน้าหีจริงจริง” ไปถามเจษฎ์และพล.ต.วิจารณ์หรือไม่ว่าข้อความเข้าข่ายยุยงปลุกปั่นและกระทบความมั่นคงหรือไม่และอย่างไร ร.ต.อ.ธิติตอบว่าได้สอบถามเจษฎ์ซึ่งตอบว่าเข้าข่ายยุงยงปลุกปั่น แต่จำไม่ได้ว่า พล.ต.วิจารณ์ตอบว่าอย่างไร
ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ.ธิติได้นำข้อความตามฟ้องไปสอบถามหน่วยงานความมั่นคงหรือไม่ว่ากระทบความมั่นคงหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้ถาม ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ.ธิติได้นำข้อความ “ประเทศไทยเอย ทำไมเธอมันหน้าหี จริงจริง” ไปถามชาวบ้านทั่วไปว่ากระทบความมั่นคงหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้ถาม
ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ.ธิติได้เรียกคำสั่งศาลที่ไต่สวนการตายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ “หมอหยอง” และ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา มาในสำนวนคดีหรือไม่ ร.ต.อ. ธิติตอบว่าไม่ได้เรียก ทนายจำเลยถามว่าได้เรียกใบมรณบัตรและเอกสารทางการแพทย์มาหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้เรียก ทนายจำเลย ถามว่า ได้เรียกบันทึกการซักถามในชั้นทหารที่พล.ต. วิจารณ์ ที่ซักถามของทั้งสองคน (สุริยัน สุจริตพลวงศ์ และพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา) ก่อนตายเข้ามาในสำนวนหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้เรียก
ทนายจำเลยให้ร.ต.อ.ธิติดูภาพโปสเตอร์ที่ใช้ในการเชิญชวนประชาชนไปลอยกระทงขับไล่เผด็จการซึ่งเพจที่เป็นต้นทางของโพสต์คือเพจของกลุ่มประชาธิปไตยศึกษาแล้วถามร.ต.อ.ธิติว่าภาพดังกล่าวไม่ได้ระบุชื่อจำเลยในภาพใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่า ไม่ได้ระบุชื่อจำเลยแต่จำเลยแชร์ภาพมา
ทนายจำเลยถามเกี่ยวกับข้อความที่ธเนตรโพสต์เรื่องโครงการอุทยานราชภักดิ์ว่า ร.ต.อ.ธิติได้เรียกพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบกขณะเกิดเหตุและผู้รับผิดชอบโครงการมาสอบสวนเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติ ตอบว่าไม่ได้เรียกมา ทนายจำเลยถามว่า ร.ต.อ.ธิติได้เรียกพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นมาสอบสวนหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้เรียก ทนายจำเลยถามว่าร.ต.อ.ธิติได้เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอุทยานราชภักดิ์ทั้งหมดมาสอบสวนหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่ได้เรียก
ทนายจำเลยถามว่าวันอาทิตย์สีอะไร ร.ต.อ.ธิติตอบว่าวันอาทิตย์สีแดง ทนายจำเลยถามว่า การรณงค์ใส่เสื้อแดงไปเที่ยวอุทยานราชภักดิ์วันอาทิตย์ใส่ตรงตามวันถูกต้องไหม ร.ต.อ.ธิติ ตอบว่าเขาไม่เข้าใจคำถาม ทนายจำเลยถามร.ต.อ. ธิติว่าไม่มีปัญหากับสีแดงใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่าไม่มี ทนายจำเลยถามว่าร.ต.อ.ธิติมีอคติกับคนเสื้อแดงหรือไม่ ร.ต.อ.ธิติตอบว่า ไม่มี