ทบทวนผู้ต้องหา – จำเลยคดีมาตรา 112 ถูกคุมขังกันนานเท่าไหร่แล้ว และใครอยู่ที่ไหนบ้าง

9 กุมภาพันธ์ 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 4 คน ได้แก่ ทนายอานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิ้น, สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน และปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบ๊งค์ ในวันนั้นศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสี่คน พวกเขาจึงถูกคุมขังเรื่อยมา โดยทั้งสี่คนนับเป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกคุมขังด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แม้ก่อนหน้านี้ในปี 2563 ทั้งสี่คนจะเคยถูกคุมขังมาระยะหนึ่งแล้วแต่ก็เป็นการคุมขังด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

การคุมขังจำเลยทั้งสี่คนถือเป็นการส่งสัญญาณว่าสิทธิการประกันตัวของจำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงอยู่ในสภาวะน่ากังวลแมัว่าก่อนหน้านี้ทางการไทยจะพยายามแสดงให้ประชาชนและนานาอารยะประเทศเห็นว่าผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยตำรวจมักใช้วิธีออกหมายเรียกผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 แทนการขอศาลออกหมายเลยและหากผู้ต้องหาเข้ารายงานตัวก็มักได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางเงินประกันในวันเดียวกัน ต่างจากคดีในยุค คสช. หรือยุคก่อนการรัฐประหาร 2557 ที่ผู้ต้องหามักถูกนำตัวไปฝากขังและไม่ได้รับการประกันตัว

การคุมขังจำเลยทั้งสี่คนยังอาจถือเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์คดีมาตรา 112 เพราะมีผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายเรียกหรือถูกจับหลังจากนั้นบางส่วนที่ถูกนำตัวไปคุมขังในทันที ทำให้สถานการณ์สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมของผู้ต้องหาและจำเลยคดีมาตรา 112 ดูจะมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ที่พรหมศร วีระธรรมจารี ผู้ต้องหาคดีปราศรัยที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างรักษาตัวจากเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเดินทางไปเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกแต่กลับถูกเอาตัวไปฝากขังทันทีและศาลอ้างเหตุที่ไม่ให้ประกันตัวประการหนึ่งว่าเกรงผู้ต้องหาหลบหนียากแก่การติดตามตัวมาพิจารณาคดี

ตารางผู้ต้องขังคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 

วันที่ถูกฝากขัง/
คุมขัง
ผู้ต้องหา/จำเลยคดีสถานะคดีสถานที่ควบคุมตัว
9 กุมภาพันธ์ 2564อานนท์ นำภาคดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
9 กุมภาพันธ์ 2564พริษฐ์​ ชิวารักษ์ (เพนกวิน)คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
9 กุมภาพันธ์ 2564สมยศ พฤกษาเกษมสุขคดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
9 กุมภาพันธ์ 2564ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม
(หมอลำแบ๊งค์)
คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
23 กุมภาพันธ์ 2564อนุชาชูป้ายระหว่างการชุมนุมชั้นสอบสวนเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
4 มีนาคม 2564ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
(แอมมี)
วางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์
รัชกาลที่ 10
ชั้นสอบสวนเรือนจำพิเศษธนบุรี
6 มีนาคม 2564ปริญญา ชีวินกุลปฐม
(พอร์ท วงไฟเย็น)
ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความ
เชื่อมโยงการรัฐประหารในตุรกี
3 ข้อความ
ชั้นสอบสวนเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
8 มีนาคม 2564จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่)คดีการชุมนุม19กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
8 มีนาคม 2564ภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์)คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
8 มีนาคม 2564ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง)คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้นทัณฑสถานหญิงกลาง
11 มีนาคม 2564พรชัยโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์
เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การสืบทอดอำนาจ
ชั้นสอบสวนเรือนจำกลางเชียงใหม่
17 มีนาคม 2564พรหมศร วีระธรรมจารี (ฟ้า)ปราศรัยหน้าศาลจังหวัดธัญบุรีชั้นสอบสวนเรือนจำอำเภอธัญบุรี

การฝากขังชั้นสอบสวน

การฝากขังในชั้นสอบสวนหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อพนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปขออำนาจศาลฝากขังระหว่างการสอบสวนคดีจนถึงเมื่ออัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดี ในชั้นนี้พนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังเป็นผัดๆ ผัดละไม่เกิน 12 วัน (หากต้องการขังต่อต้องยื่นคำร้องใหม่) และขออำนาจศาลฝากขังได้ไม่เกิน 7 ผัดหรือ 84 วัน หากจนถึงช่วงเวลาดังกล่าวอัยการยังไม่สั่งฟ้องคดีผู้ต้องหาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำทันทีจนกว่าอัยการจะเรียกตัวมาเพื่อฟังคำสั่งคดี ในชั้นนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะคัดค้านคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนว่าไม่มีเหตุให้ควบคุมตัวคือ

1.ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่หลบหนี
2.ผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อาทิ ไปข่มขู่พยานหรือทำลายหลักฐาน และ
3.ผู้ต้องหาจะไม่ไปก่อพยันตรายประการอื่น


ซึ่งหากสุดท้ายศาลเห็นควรให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของตำรวจ (พนักงานสอบสวน) ผู้ต้องหาก็ยังมีสิทธิขอประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ตามที่ศาลกำหนดหรือสาบานตนแทนการวางหลักทรัพย์ก็ได้ หากศาลไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาก็จะถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำ

การคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี

เมื่ออัยการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลจะออกหมายขังจำเลยซึ่งในชั้นนี้ จำเลยจะไม่มีสิทธิคัดค้านการคุมขัง โดยจะมีเพียงสิทธิยื่นคำร้องประกันตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการประกันตัว จำเลยจะถูกขังไปเรื่อยๆ จนกว่า


1. จำเลยได้รับการประกันตัว

2. ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง (บางกรณีแม้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย ศาลก็อาจขังจำเลยระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้)

โดยตามหลักการ การฝากขังหรือคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีจะต้องเป็นไปเพื่อให้การดำเนินการทางคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการลงโทษจำเลยก่อนศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุด

RELATED TAGS

📍ร่วมรณรงค์

JOIN : ILAW CLUB

ช่องทางการติดตาม

FACEBOOK PAGE

วิดีโอแนะนำ

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage