งาน “ปล่อยปีก” กิจกรรมที่สร้างพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่ง กลายเป็นกิจกรรมที่มีเรื่องราวเบื้องหลังและความทรงจำมากมาย เมื่อทหารที่ดูแลพื้นที่จับตาอย่างใกล้ชิดและแทรกแซงบู๊ทนิทรรศการ จนช่วงท้ายงานมีการขู่ว่าจะดำเนินคดีเนื่องจากกิจกรรมในพิธีปิดและการอ่านแถลงการณ์
ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองแล้วที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมจัดโครงการ ‘คนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม’ โครงการที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมจากหลายพื้นที่และประเด็นปัญหา ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันตลอดระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนของโครงการ โดยเมื่อจบโครงการ ผู้เข้าร่วมก็จะช่วยกันจัดงาน Show Proud งานนิทรรศการใหญ่ที่จะเสนองานที่พวกเขาทำ และสิ่งที่พวกเขาคิดออกสู่สังคม งาน Show Proud ครั้งนี้จัดที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกติดปากว่าหอศิลป์ฯ ระหว่างวันที่ 1-6 มีนาคม 2559 ภายใต้ชื่อตอน “ปล่อยปีก Wonders of freedom”
ศักดิ์สินี เอมะศิริ หรือ พี่หญิง เจ้าหน้าที่โครงการผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับคนรุ่นใหม่กว่า 60 ชีวิต เล่าว่า น้องๆ ในโครงการคนรุ่นใหม่ช่วยกันคิดคอนเซปต์งานปีนี้ออกมาว่า “ธรรมชาติสร้างปีก ปีกสร้างเสรีภาพ เสรีภาพสร้างชีวิต” ทีมจัดงานไม่ได้มองว่างานนี้เป็นเรื่องการเมืองแต่มองว่าเสรีภาพเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกคนทำงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมในหลายประเด็นอยู่แล้ว เรื่องเสรีภาพเป็นเรื่องที่ไปแทรกทุกประเด็น ทั้ง การศึกษา คนชายขอบ ผู้บริโภค เพศสภาพ ฯลฯ ตอนคิดงานเลยไม่คิดว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐมาแทรกแซง เพราะเป็นงานที่จัดด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ผู้จัดกิจกรรม “ปล่อยปีก” เตรียมงานกันหลายเดือน และประชาสัมพันธ์งานล่วงหน้าเกือบหนึ่งเดือน แต่ทหารก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในวันแรกของงานคือ วันที่ 1 มีนาคม 2559
พี่หญิงเล่าว่า ตอนแรกที่ทหารเข้ามา เขาบอกว่าอยากขอคุยด้วย เพราะเห็นชื่อคนที่เชิญมาร่วมงานบางคนแล้วคิดว่าล่อแหลม เลยไม่สบายใจ เช่น น้องเพนกวิน หรือยิ่งชีพ จาก iLaw และไม่สบายใจเวทีหัวข้อ “สิทธิชุมชนกับรัฐธรรมนูญ” ทหารคิดว่าตัวงานไม่มีปัญหา แต่เป็นห่วงว่าวิทยากรบางคนอาจจะพูดสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับงาน ฉวยโอกาสใช้พื้นที่งานพูดเรื่องของตัวเองหรือพูดปลุกปั่นยั่วยุ บางหัวข้อคนจัดงานอาจไม่ได้คิดอะไรไม่ดี แต่สื่ออาจหยิบไปเขียนข่าวให้เป็นประเด็นได้ จีงอยากให้ผู้จัดช่วยคุยกับคนที่จะขึ้นเวทีให้ไม่มีปัญหา
บู๊ท “ส้วม” สื่อสารเรื่องเสรีภาพการแสดงออก ถูกทหารกดดันมากที่สุด แต่ทหารไม่อยากลงมาเป็นคู่ขัดแย้งเอง
หลังจากทหารโทรศัพท์มาคุย มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่
ยุทธนา ลุนสำโรง หรือ ต้อม สมาชิกโครงการคนรุ่นใหม่ที่รับผิดชอบจัดนิทรรศการส่วนนี้ เล่าว่า บู๊ทนี้เริ่มจากโจทย์เรื่องเสรีภาพการแสดงออก ตอนแรกคิดว่าจะเอาข้อมูลที่มีอยู่มาแปะเฉยๆ แต่ด้วยความที่เป็นคนอีสานต้องเดินทางกลับบ้านบ่อย เวลาเข้าห้องน้ำที่หมอชิตจะเห็นคนมาเขียนระบายความในใจอยู่ตลอด ทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องอื่นๆ เลยมีไอเดียอยากสื่อสารกับคนว่าตอนนี้เหลือแต่พื้นที่ในห้องน้ำที่เรามีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ เลยทำห้องน้ำจำลองขึ้นมา มีแปะโฆษณาเงินกู้ด่วน แล้วก็มีเรื่องราวต่างๆ ด้วย
ด้านอนุวัฒน์ พรหมมา หรือ เตอร์ สมาชิกโครงการคนรุ่นใหม่อี
พี่หญิงเล่าว่า นิทรรศการส้วมเริ่มจัดตั้งแต่วันแรก แต่วันที่สองมีการใส่ข้อมูลเพิ่มทหารจึงรู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้าง “ชี้เป้า” ในวันที่สาม “ผู้พัน” เดินทางมาที่งานเพื่อขอคุยด้วยตัวเอง โดยพาไปนั่งคุยกันที่ร้านกาแฟชั้นบน ทางผู้พันเห็นว่าธีมงานทั้งงานไม่มีปัญหา แต่ในส่วนที่เป็นห้องน้ำอาจจะไปพาดพิงองค์กรของรัฐ หรือตัวบุคคลมากเกินไป ทหารไม่อยากปิดงาน แต่ต้องเข้าใจว่าสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ไม่ปกติ บางเรื่องถ้านำเสนอไปคนอาจจะเข้าใจผิดได้
พี่หญิงเล่าต่อว่า ถัดจากวันที่ผู้พันมาคุยทหารที่เฝ้าอยู่ในงานก็มาเร่งว่
ต้องตัดสินใจระหว่าง ยอมเอารูปออกบางส่วน หรือเสี่ยงให้ทั้งงานถูกปิด
เนื่องจากคนจัดงานไม่รู้สึกว่าบู๊ท “ส้วม” กำลังสื่อสารสิ่งที่เป็นความผิด ไม่อยากเอางานของตัวเองออก จึงพยายามต่อรองให้ถึงที่สุด ขณะที่ทหารก็ไม่ได้บอกความต้องการอย่างชัดเจนว่าเนื้อหาส่วนไหนที่ต้องการให้เอาออก การเจรจาต่อรองจึงเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง และสุดท้ายกลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องช่างน้ำหนักระหว่างยืนยันในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ กับการเอางานทั้งงานเข้าไปเสี่ยงด้วย
เตอร์เล่าว่า ระหว่างงานในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่สี่แล้ว เจ้าหน้าที่บอกกับเขาทางโทรศั
“เขาบอกว่า น้องจะเลือกเอาส่วนนี้ไว้ หรือจะเอางานทั้งหมดไว้” เตอร์เล่า
เตอร์เล่าต่อว่า เมื่อถูกบอกให้เอาออก ก็กลับมาประชุมกับทีมและตกลงกั
ต้อม ผู้จัดนิทรรศกาลอีกคนหนึ่งมองว่า ตอนแรกอยากลองไปให้สุด คือ ไม่ยอมเอารูปอะไรออก แล้วยอมให้ทหารเข้ามาจัดการเลย เพื่อให้เห็นชัดเจนว่าเรื่องไหนไม่สามารถพูดถึงได้ และจะได้เห็นว่าทหารจะใช้วิธีการอย่างไร ถ้าทหารจะมาเอารูปออกเอง จะจับคน จะยุติทั้งงาน หรือจะทำอะไรก็ให้สังคมได้รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่เพื่อนหลายคนก็เป็นห่วงกิจกรรมอื่นๆ ในงานนี้ เลยต้องยอมเอาออก แล้วเปลี่ยนเป็นติดป้ายปิดปรับปรุงหน้าห้องน้ำ หากมีใครอยากเข้าไปก็จะเข้าไปเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับห้องน้ำห้องนี้ให้ฟัง
“สำหรับคนที่ทำบู๊ทนี้ก็เสียความรู้สึก เหมือนกับยิ่งตอกย้ำเข้าไปอีกว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันการพูดเรื่องพวกนี้ทำไม่ได้เลยจริงๆ หลายคนคงมีคำถามค้างคาใจแล้วก็อึดอัดใจ” เตอร์กล่าว
หลังจากถูกกดดัน คนจัดงานจึงต้องยอมเอารูปที่ติ
ตัวอย่างรูปภาพที่แปะไว้ที่
ตอนจบที่น่าตื่นเต้น เมื่อพิธีปิดอาจกลายเป็นการชุมนุม เสี่ยงผิดกฎหมาย
แม้ปัญหาความอ่อนไหวของรูปที่ติ
เตอร์ซึ่งเพื่อนๆ เลือกให้เป็นตัวแทนอ่
เตอร์บอกว่า ก่อนจัดกิจกรรม ก็ประเมินกันนิดหน่อยว่
พี่หญิงเล่าว่า ขณะน้องๆ ทำกิจกรรมสุดท้ายอยู่ด้
เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบยังได้