สถิติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2556-2557

สถิติการระงับการเผยแพร่เนื้อหาและการสั่งปิดเว็บไซต์ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลผ่านฐานข้อมูลคดีออนไลน์ของศาลอาญา ปรากฏว่า ในช่วงเดือนมกราคม 2556 จนถึงเดือนธันวาคม 2557 ศาลอาญามีคำสั่งระงับการเผยแพร่เนื้อหาทั้งสิ้น 123 ฉบับ รวมจำนวน 9,328 URL

คำสั่งของศาลอาญานี้เป็นการออกคำสั่งภายใต้มาตรา 20 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเกิดจากการร้องขอของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีหน้าที่โดยตรง โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวง ICT) มาแล้ว เมื่อพนักงานมายื่นคำร้องขอปิดกั้นเว็บไซต์ หรือ “ระงับการทำให้แพร่หลาย” ศาลก็มีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวได้ และหลังออกคำสั่งแล้วคำสั่งของศาลจะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสำหรับการค้นคว้า

เนื้อหา25562557รวม
จำนวนหมายจำนวน URLจำนวนหมายจำนวน URLจำนวนหมายจำนวน URL
หมิ่นสถาบันกษัตริย์ฯ444,691483,035927,726
ลามกอนาจาร6156121,391181,547
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร181129
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน52911630
หมิ่นประมาททั่วไป116116
ระบุไม่ได้44
รวม574,900664,4281239,328

จากข้อมูลตามตารางจะพบว่า เนื้อหาที่ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ เนื้อหาและภาพซึ่งมีลักษณะดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ ราชินี และรัชทายาท จำนวน 92 ฉบับ รวม 7,726 ยูอาร์แอล (URL) คิดเป็นร้อยละ 82.83 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด อันดับที่สองคือ เนื้อหาและภาพซึ่งมีลักษณะลามกอนาจาร จำนวน 18 ฉบับ รวม 1,547 ยูอาร์แอล คิดเป็นร้อยละ 16.58 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด และอับดับที่สามคือ เนื้อหาและภาพที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จำนวน 6 ฉบับ รวม 30 ยูอาร์แอล คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด ส่วนเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดามีการขคำสั่งศาลให้ปิดกั้นเป็นตำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับทั้งหมด

โดยขณะเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการระงับการเผยแพร่เนื้อหาและการปิดกั้นเว็บไซต์ พบว่า ผู้นำเรื่องเข้าฟ้องร้องต่อศาลทั้งหมดคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) นอกจากนั้นยังพบปัญหาว่า ฐานข้อมูลคดีออนไลน์ของศาลอาญาเข้าถึงไม่ได้ (เว็บล่ม) อยู่บ่อยครั้ง และพบข้อมูลการออกคำสั่ง 4 ฉบับ ที่ในฐานข้อมูลของศาลอาญามีเนื้อหาในคำฟ้องและคำสั่งศาลไม่ตรงกัน เช่น ในส่วนคำฟ้องระบุว่าเป็นการฟ้องว่า “ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์” แต่ในคำสั่งของศาลกลับระบุว่า พิจารณาแล้วมีความผิดในฐานนำเข้าเนื้อหา “ลามกอนาจาร” และบางกรณีก็ระบุจำนวนยูอาร์แอลในคำฟ้องและคำสั่งศาลไม่ตรงกัน จึงส่งผลต่อความถูกต้องแน่นอนของข้อมูล

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage