เปิดข้อพิสูจน์กลไกของ “กลุ่มพลีชีพ” เพื่อ “ส่งนาย” เป็นสว.67

การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 เกิดปรากฎการณ์ผิดปกติในการลงคะแนนของผู้สมัคร จนนำไปสู่การค้นพบกลโกงในการ “ฮั้ว” ด้วยวิธีการส่งผู้สมัคร “กลุ่มพลีชีพ”​ ในเครือข่ายเดียวกันเป็นจำนวนมากเพื่อลงคะแนนตามสั่งและดัน สว. ตัวจริงเข้าสภา จากการวิเคราะห์ผลการลงคะแนนที่ออกมาพบว่า มีผู้สมัครที่มาเพื่อ “พลีชีพ” ในรอบเลือกไขว้ระดับประเทศ 146 คนกระจายตัวอยู่ในทุกกลุ่ม

ในประวัติศาสตร์การมี สว. ของไทยทุกชุดทั้ง สว. ชุดที่ 13 หรือที่เรียกกันว่า สว. 2567 มีที่มาแปลกประหลาดที่สุด คือ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและไม่ได้มาจากการแต่งตั้ง แต่มาจากระบบ “แบ่งกลุ่ม-เลือกกันเอง” ตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นระบบที่ใช้เป็นครั้งแรกในโลก โดยแบ่งการเลือกเป็นสามระดับ อำเภอ จังหวัด ประเทศ ผู้สมัครจากกลุ่มอาชีพและผลประโยชน์ 20 กลุ่ม จะเลือกกันเองเรื่อยๆ จนเหลือกลุ่มละ 10 คน และอีกห้าคนในลำดับที่ 11-15 จะเป็นรายชื่อสำรอง ระบบการเลือกแบบนี้เอื้อประโยชน์ให้คนที่ “มีเพื่อน” ได้เปรียบ เพราะสามารถชวนคนในเครือข่ายเดียวกันไปสมัครเพื่อลงคะแนน “เลือกกันเอง” ให้เป็นสว. ได้

ระบบการเลือก สว. 2567 ออกแบบมาให้ผู้ชนะจะต้องพึ่งพาความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ใช่แค่ในระดับอำเภอเท่านั้น แต่ต้องขยายวงกว้างไปจนถึงระดับประเทศ แม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคยคาดการณ์ว่า ระบบนี้จะทำให้ได้ “คนดี-เด่น-ดัง” หรือชื่อเสียงระดับประเทศอาจช่วยให้ได้เปรียบ แต่ในทางปฏิบัติกลับให้ผลตรงกันข้าม ผู้สมัครโนเนมจาก “บ้านใหญ่” กลับได้คะแนนสูงจนกวาดที่นั่ง สว. ทั้งที่สังคมไม่ได้รู้จักชื่อเสียงหรือผลงานมาก่อน

พื้นฐานระบบเลือก สว. 3 ระดับ ระดับละ 2 รอบ

การเลือกกันเองในหมู่ผู้สมัคร สว. แบ่งออกเป็นสามระดับ คือ อำเภอ-จังหวัด-ประเทศ โดยในแต่ละระดับจะมีสองรอบ 

  • รอบแรกคือรอบเลือกกันเองในกลุ่ม ผู้สมัครจากแต่ละกลุ่มจะต้องเลือกกันเองให้ได้ผู้ชนะ จึงจะเข้าสู่รอบที่สอง โดยจะเลือกตัวเองก็ได้
  • รอบที่สองที่จะมีการแบ่งสายออกเป็นสี่สายคือ ก ข ค และ ง สายละห้ากลุ่ม แล้วให้ผู้สมัครเลือกกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกันโดยจะเลือกกลุ่มตัวเองไม่ได้ หรือที่เรียกสั้นๆว่า เลือกไขว้ 

ในระดับอำเภอไม่ว่าจะมีผู้สมัครกี่คนจะต้องเลือกกันเองในกลุ่มให้เหลือห้าคน และในรอบไขว้ให้สามอันดับแรกที่มีคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกในอำเภอนั้น ในระดับจังหวัดคล้ายกับระดับอำเภอ แต่ต่างตรงที่ในรอบไขว้ให้เหลือเพียงสองคนเท่านั้น ส่วนในระดับประเทศจะมีจำนวนผู้เข้ารอบที่แตกต่างออกไป ในรอบเลือกกันเองให้คัดผู้สมัครจากกลุ่มละ 154 คน ให้เหลือเพียง 40 คน เพื่อเข้าสู่รอบไขว้และคัดให้เหลือเพียง 10 คนเป็น สว. ตัวจริง

เมื่อระบบและกติกาการเลือก สว. เป็นเช่นนี้แล้ว โอกาสที่ผู้สมัครแบบเดี่ยวที่สมัครเข้ามาคนเดียว หรือมีคนรู้จักมาสมัครในกลุ่มเดียวกันเล็กน้อยจะเข้ารอบไปสู่ระดับจังหวัดจนทะลุไปถึงระดับประเทศได้เองนั้นมีน้อยมาก เพราะนอกจากจะต้องได้รับคะแนนจากผู้สมัครอื่นในกลุ่มตัวเองแล้ว ยังจะต้องได้รับคะแนนจากผู้สมัครกลุ่มอื่นอีกด้วย ระบบและกติกาแบบนี้จึงเอื้อให้คนที่ “มีเพื่อน” ในระดับเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่จับมือกันได้ “หลายกลุ่ม” และ “หลายอำเภอ”  มีโอกาสได้เป็น สว. มากขึ้น

วางแผนระดับอำเภอชนะถึงระดับประเทศ

สมัครเป็นเครือข่าย ต้องมีเพื่อนให้กว้างที่สุด

โอกาสในการประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่า มีเครือข่ายที่พร้อมจะลงคะแนนให้คนในเครือข่ายของตัวเอง ลงสมัคร สว. ได้มากเพียงใด โดยจะต้องมีผู้สมัครจากเครือข่ายเดียวกันลงสมัครในเกือบทุกกลุ่ม เกือบทุกอำเภอ เพื่อให้ลงคะแนนเลือกให้ตัวจริงนั้นมีคะแนนนำเป็นห้าอันดันแรกในรอบเลือกกันเอง และการันตีในการเข้ารอบต่อไป

เมื่อมาถึงรอบเลือกไขว้ ก็ต้องอาศัยการกระจายตัวของผู้สมัครในเครือข่ายเดียวกันไปอยู่ในแต่ละสายให้ได้มากที่สุดเพื่อลงคะแนนข้ามกลุ่มให้กันและกัน และส่งให้แคนดิเดตของเครือข่ายสามารถเป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอ พร้อมกับส่งคนจากเครือข่ายเดียวกันไประดับจังหวัดให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

เครือข่ายที่สามารถจัดระบบการลงคะแนนในระดับอำเภอได้หลายอำเภอ ก็จะทำให้มีผู้สมัครเข้ามาเลือกกันในระดับจังหวัดได้มาก และความได้เปรียบที่ส่งแคนดิเดตผ่านระดับจังหวัดได้มาก ก็จะยิ่งทำให้ได้เปรียบในระดับประเทศมากยิ่งขึ้นไปด้วย 

โดยหลักการแล้วเครือข่ายที่จะมีคนในมือที่สามารถลงสมัครในทุกกลุ่มอาชีพ กลุ่มผลประโยชน์ได้ เป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะคนทำอาชีพทำนองเดียวกันก็จะเป็นเพื่อนเป็นเครือข่ายกันอยู่ในวงย่อยๆ เช่น กลุ่มคนทำงานเป็นลูกจ้างอาจไม่มีเครือข่ายอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการ หรือกลุ่มชาวนาอาจไม่มีเครือข่ายอยู่ในกลุ่มนักกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2567 กลับพบว่า ผู้สมัครเดินไปสมัครโดยเลือกกลุ่มได้เอง และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่รับสมัครกลับ “ปล่อยผ่าน” ให้สมัครในกลุ่มใดก็ได้ โดยไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติใดๆ แม้แต่ผู้สมัครที่ระบุประสบการณ์ไม่ตรงกับกลุ่มที่สมัครก็ไม่ถูกตรวจสอบ

เช่น อาชีพทำนา ทำสวน รับจ้าง พนักงานขับรถส่งของ กลับไปสมัครในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ เป็นข้าราชการครู ค้าขายทั่วไป แต่ไปสมัครในกลุ่มผู้ประกอบกิจการ หรือในกรณีที่ผู้สมัครที่เคยทำนา ไปสมัครในกลุ่มทำสวน และผู้สมัครที่มีอาชีพทำสวนไปสมัครในกลุ่มทำนา เป็นต้น การจงใจปล่อยปละละเลยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งผลให้ “เครือข่าย” ที่มีคนพร้อมลงสมัครจำนวนมาก สามารถจัดการระบบการลงคะแนนได้ โดยไม่ต้องมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบทุกกลุ่มตามที่กฎหมายกำหนดก็ได้

ส่งลงสมัครมากยิ่งต้องใช้ทุนมาก

เนื่องจากการสมัครสว. ผู้สมัครต้องจ่ายค่าสมัครคนละ 2,500 บาท หากมีคนจากเครือข่ายเดียวกันลงสมัครครบทั้ง 878 อำเภอ อำเภอละ 20 กลุ่ม กลุ่มละอย่างน้อย 10 คน จะต้องมีคนอย่างน้อย 175,600 คน และจะต้องใช้เงินค่าสมัครอย่างน้อย 439 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มากนักสำหรับการลงทุนเพื่อควบคุมผลการเลือกสว. และการส่งคนของตัวเองเข้าไปยึดอำนาจในวุฒิสภา 

แต่ในทางปฏิบัติเครือข่ายขนาดใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องส่งผู้สมัครในทุกอำเภอ และในทุกกลุ่มอาชีพก็ได้ อาจจะเลือกส่งหลายอำเภอในหนึ่งจังหวัดเพื่อให้มีผู้สมัครเพียงพอลงคะแนนให้กันและกันในระดับจังหวัด และเลือกส่งหลายจังหวัดเพื่อให้มีผู้สมัครเพียงพอลงคะแนนให้กันและกันในระดับประเทศก็ได้ และอาจไม่ต้องส่งผู้สมัครลงครบทุกกลุ่ม เพียงแค่ให้มีจำนวนมากพอที่จะรับประกันได้ว่าจะมีโอกาสจับสลากแบ่งสายมาเจอกันและเลือกกันจนมีคะแนนพอสมควรก็ได้ และในทางปฏิบัติต้นทุนทางการเงินของการส่งผู้สมัครก็อาจไม่ได้มีเพียงค่าธรรมเนียมในการสมัครเท่านั้น แต่ยังมีค่าเดินทาง ค่าเตรียมเอกสาร และ “ค่าเสียเวลา” ของคนที่ไปลงสมัครด้วย

ทั้งนี้การรวมกลุ่ม “จัดตั้ง” เครือข่ายในหมู่ประชาชนเพื่อลงสมัคร สว. โดยลำพังไม่ได้ผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 (พ.ร.ป. สว.ฯ) ไม่ได้ห้ามให้ผู้สมัครติดต่อกันหรือตกลงกันว่าจะเลือกหรือไม่เลือกใครให้เป็นแคนดิเดตของเครือข่าย แต่ห้ามเอาไว้สำหรับการเรียกรับหรือให้ผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเงิน ตำแหน่ง หรือการจัดเลี้ยงที่จะเข้าข่ายให้เป็นการ “จ้างตั้ง” จะผิด พ.ร.ป.สวฯ มาตรา 77 หรือ มาตรา 81 

วางระบบพลีชีพ ไต่เต้าจากอำเภอสู่ประเทศเพื่อส่ง “นาย”

นอกจากการวางแผนส่งคนในเครือข่ายไปลงสมัครให้ได้หลายกลุ่ม และหลายอำเภอที่สุดแล้ว ปัจจัยสำคัญต่อไปก็คือ การออกแบบวางแผนการลงคะแนนที่เป็นระบบเพื่อให้มีคะแนนมากพอเอาชนะผู้สมัครคนอื่นๆ โดยต้องแบ่งผู้สมัครออกเป็นสามกลุ่มหลัก

  • ผู้สมัคร “ตัวจริง” ที่เตรียมตัวจะได้รับคะแนนโหวตเข้ารอบทุกระดับจนในที่สุดได้เป็น สว. 
  • ผู้สมัคร “สนับสนุน” ที่จะได้รับคะแนนโหวตให้เข้ารอบลึกๆ เพื่อลงคะแนนส่ง “ตัวจริง” ให้เป็นสว.
  • ผู้สมัคร “พลีชีพ” ที่มีหน้าที่เพื่อเข้ามาลงคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่น โดยไม่ต้องลงคะแนนให้ตัวเอง คนในเครือข่ายก็ไม่ต้องลงคะแนนให้ และพร้อมตกรอบเมื่อถึงจุดที่กำหนดไว้

ในการเลือกแต่ละรอบ ผู้สมัครตัวจริงและผู้สมัครสนับสนุนจะถูกออกแบบให้ได้เข้ารอบถัดไป ส่วนผู้สมัครที่ทำหน้าที่ในการพลีชีพจะตกรอบตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยส่งคะแนนทั้งหมดไปยังผู้สมัครตัวจริงและผู้สมัครส่วนสนับสนุน ส่วนตัวเองไม่ได้คะแนนเลย

ผู้สมัครที่เป็นตัวจริงมีหน้าที่เพียงแค่ลงคะแนนเลือกตัวเองและลงคะแนนให้ผู้สมัครที่เป็น “ตัวจริง” จากเครือข่ายเดียวกัน เพื่อให้อย่างน้อยมีคะแนนเป็นพื้นฐานไว้ โดยจะไม่ลงคะแนนให้ผู้สมัครที่ทำหน้าที่พลีชีพในรอบนั้นๆ ดังนี้

ในรอบเลือกกันเอง หากในเครือข่ายสามารถผลักดันคนของตัวเองให้ลงสมัครได้ 10 คนต่อหนึ่งกลุ่ม โดยกำหนดให้ 

  • ชุดที่ 1 ผู้สมัครห้าคน คือ A B C D E เป็น ผู้สมัครตัวจริงและสนับสนุน 
  • ชุดที่ 2 ส่วนผู้สมัคร F G H I J อีกห้าคนจะทำหน้าที่พลีชีพ 

วิธีการลงคะแนนคือให้ ชุดที่ 1 ลงคะแนนให้กันเอง ส่วนชุดที่ 2 จะทำหน้าที่ลงคะแนนให้ชุดที่ 1 เท่านั้นโดยชุดที่ 2 จะไม่ลงคะแนนให้ตัวเอง และผลออกมาจะไม่มีคะแนนเลยและจะตกรอบไปตั้งแต่รอบนั้น

จะต้องใช้วิธีการลงคะแนนอย่างเป็นระบบ ตามตารางนี้

ผู้สมัครตัวจริง-
สนับสนุน
ลงคะแนนให้ผู้สมัครพลีชีพลงคะแนนให้
AA และ BFA และ B
BB และ CGC และ D
CC และ DHE และ A
DD และ EIB และ C
EE และ AJD และ E
*ไม่สามารถลงคะแนนเทให้ใครได้มากกว่าหนึ่งคะแนน

จากตารางนี้ ผู้สมัครชุดที่ 1 ซึ่งเป็นตัวจริงจะได้คะแนนจากตัวเอง + ผู้พลีชีพ อย่างน้อยสี่คะแนน ซึ่งอาจมากพอทำให้ผ่านเข้ารอบการเลือกไขว้ต่อไป 

โอกาสที่การออกแบบการลงคะแนนเช่นนี้จะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่า มีผู้สมัครในเครือข่ายเดียวกันจำนวนเท่าใด และมีผู้สมัครอิสระนอกเครือข่ายจำนวนมากกว่าหรือไม่ หากในอำเภอใดและกลุ่มใดมีผู้สมัครอิสระจำนวนมาก ผู้สมัครสนับสนุนอาจต้องเปลี่ยนหน้าที่เป็นผู้สมัครพลีชีพ เพื่อเทคะแนนให้ผู้สมัครตัวจริง และรับประกันว่า ผู้สมัครตัวจริงจะได้เข้ารอบต่อไป แต่ก็ยังต้องให้คะแนนแก่ผู้สมัครสนับสนุนจำนวนหนึ่งด้วยเพื่อส่งให้คนเหล่านี้เข้าไปลงคะแนนให้ผู้สมัครตัวจริงในรอบต่อไปอีกด้วย 

แผนการส่งผู้สมัครแบบ “พลีชีพ” นี้เป็นเพียงวิธีการลงคะแนน แต่จะเพิ่มโอกาสให้คนในเครือข่ายของตัวเองได้เป็น สว. มากยิ่งขึ้นด้วยการวางแผนส่งคนลงสมัครให้ได้มากที่สุด ในระดับประเทศจะมีผู้สมัครจากระดับจังหวัด 77 จังหวัด กลุ่มละสองคน รวมทั้งหมด 154 คนต่อกลุ่ม หากมีจำนวนจังหวัดที่มีผู้สมัครในเครือข่ายของตัวเองเข้ารอบในระดับจังหวัดมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งควบคุมการลงคะแนนในรอบเลือกกันเองในระดับประเทศมากขึ้นเท่านั้น 

ในระดับประเทศ ผู้สมัครตัวจริงจะถูกคาดหวังให้ผ่านเข้ารอบไปจนถึงรอบสุดท้ายและได้เป็นหนึ่งในสิบ สว. ของแต่ละกลุ่ม แต่สำหรับผู้สมัครสนับสนุนและผู้สมัครพลีชีพ จะเข้ามาลงคะแนนทิ้งท้าย และยอมไม่ถูกเลือกโดยคนในเครือข่ายเดียวกัน ผู้สมัครพลีชีพอาจจะไปได้ไกลที่สุดเมื่อพลีชีพตัวเองในรอบเลือกกันเอง โดยไม่แม้แต่ลงคะแนนเลือกตัวเอง เพื่อเอาคะแนนทั้งหมด “ส่งนาย” เข้ารอบต่อไป ผู้สมัครตัวจริงและผู้สมัครสนับสนุนอาจได้เข้ารอบเลือกไขว้ และผู้สมัครสนับสนุนก็จะเทคะแนนให้ผู้สมัครตัวจริงในกลุ่มที่จับสลากได้ โดยผู้สมัครสนับสนุนจะไม่ได้รับคะแนนจากผู้สมัครในเครือข่ายเดียวกันหรืออาจะได้น้อยมากๆ ก่อนจะตกรอบสุดท้าย เหลือเพียงผู้สมัครตัวจริงเข้าไปเป็นสว. 

ในรอบสุดท้ายของการเลือกไขว้ระดับประเทศ ผู้สมัครสนับสนุนจึงอาจได้คะแนนเพียงศูนย์หรือได้น้อยมากไม่ถึงสิบคะแนน เพราะพวกเขาไม่จำเป็นต้องพยายามไปขอคะแนนจากใคร และอาจจะไม่ได้คะแนนเลยจากคนในเครือข่ายเดียวกันที่รู้กันอยู่แล้วว่าพวกเขาไม่ใช่ตัวจริง

ส่อพิรุธวันเลือก สว. ระดับประเทศ 

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 เป็นวันเลือกสว.ระดับประเทศที่อิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาดหลายประการที่อาจทำให้เราเข้าใจการวางแผนโกงเพื่อล็อกผลการเลือก สว. ได้มากยิ่งขึ้น 

ในการเลือกระดับประเทศ ทุกจังหวัดมีผู้สมัครที่มาถึงการเลือกกันเองอย่างมาก 40 คนต่อจังหวัด และผู้ผ่านรอบเลือกกันเองคิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ ดังนั้นหากแต่ละจังหวัดมีผู้ผ่านเข้ารอบประมาณสิบคนหรือมากน้อยกว่าสิบคนไปบ้างอาจจะเป็นจำนวนปกติที่คาดหมายได้ แต่จากผลการเลือกในรอบเลือกกันเองพบว่า มีผู้สมัครจาก แปดจังหวัด ที่ “ครองแชมป์” เข้ารอบเลือกไขว้ได้เป็นจำนวน “มากจนผิดปกติ” 

กล่าวคือ ผู้ผ่านรอบเลือกกันเองจากจังหวัดบุรีรัมย์ มี 38 คน จากจังหวัดสตูล มี 38 คน จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 38 คน จากจังหวัดอ่างทอง มี 38 คน จากจังหวัดเลย มี 37 คน จากจังหวัดอำนาจเจริญ มี 37 คน จากจังหวัดยโสธร มี 37 คน และจากจังหวัดสุรินทร์ มี 28 คน ซึ่งจังหวัดเหล่านี้มีสส. จากพรรคการเมืองร่วมกัน คือ พรรคภูมิใจไทย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกว่า “สว.สีน้ำเงิน” ในกลุ่มนี้จะต้องมีทั้งผู้สมัครตัวจริงและผู้สมัครสนับสนุนผ่านเข้าไปด้วยกัน 

นอกจากนี้ยังเกิดปรากฎการณ์ “คะแนนล้นกระดาน” ที่พบว่า เกือบทุกกลุ่มมีผู้สมัครหกคนเท่ากันที่ได้คะแนนเยอะจนกระดานที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องต่อกระดานเพิ่มเพื่อใช้นับคะแนนที่ล้นออกมา และยังมีปรากฏการณ์ที่มีผู้สมัครหลายรายตัดสินใจเลือกโดยเขียนหมายเลขซ้ำกันและเรียงเหมือนกันเป็นชุดๆ จนทำให้เห็น Pattern ในการลงคะแนน ที่เหมือนกันจนเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นความบังเอิญ

พบ 146 คนจาก 15 จังหวัด คะแนนพอใช้ได้รอบเลือกกันเอง แต่ต่ำกว่า 3 รอบไขว้

ตามวิธีการทำงานของระบบ “พลีชีพ” เพื่อส่งคนในเครือข่ายให้ได้เป็น สว. ผู้สมัครที่ทำหน้าที่พลีชีพจะมีลักษณะที่สำคัญสองประการ คือ 

  1. จะต้องได้คะแนนสูงในรอบเลือกกันเอง เพื่อให้สามารถผ่านรอบเลือกกันเองไปได้ 
  2. มีคะแนนต่ำหรือไม่มีคะแนนเลยในรอบเลือกไขว้ เพื่อให้ตกรอบและไม่ตัดคะแนนกับตัวจริงที่จะต้องได้เป็นสว.

สำหรับคะแนนในระดับประเทศรอบเลือกกันเอง จากผู้สมัครที่เข้ารอบมาเกือบ 3,000 คน เมื่อนำคะแนนที่ทุกคนได้รับมาหาค่าเฉลี่ยแล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ทุกคนได้รับ คือ 21 คะแนน ซึ่งหากใครได้คะแนนระดับนี้ก็จะการันตีการเข้ารอบ ดังนั้น จึงใช้ 21 คะแนนเป็นตัวชี้วัดหลักเกณฑ์ในข้อแรก

สำหรับคะแนนในระดับประเทศรอบเลือกไขว้ เนื่องจากเหลือผู้สมัครที่เข้ารอบ 800 คน และมีผู้ที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนมากเป็นพิเศษแบบ “ล้นกระดาน” ถึง 119 คน การใช้ค่าเฉลี่ยเป็นเกณฑ์จะทำให้มีคนที่ได้คะแนนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเป็นจำนวนมากเกินไป จึงใช้เกณฑ์ 200 คนแรกที่มีคะแนนน้อยที่สุด ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้คะแนนอยู่ที่ 0-3 คะแนน ที่พอจะหมายความได้ว่า คนกลุ่มนี้ “ไม่สู้” ในรอบเลือกไขว้หรือไม่มีคุณสมบัติอะไรที่ดึงดูดให้ผู้สมัครคนอื่นลงคะแนนให้ได้เลย

เมื่อดูคะแนนของผู้สมัครในระดับประเทศทั้งรอบเลือกกันเองและรอบเลือกไขว้ โดยใช้หลักเกณฑ์ทั้งสองข้อนี้ ทำให้เราเห็นผลคะแนนที่ส่อแววพิรุธ โดยมีผู้สมัครที่มีคะแนนมากเกิน 21 คะแนนในรอบเลือกกันเอง แต่เมื่อเข้ารอบเลือกไขว้แล้วกลับได้คะแนนน้อยมาก ระหว่าง 0-3 คะแนน อย่างน้อย 146 คนจาก 800 คน

และเมื่อนำรายชื่อผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้สมัคร “พลีชีพ” ทั้ง 146 คน มาแบ่งตามจังหวัดที่พวกเขาสมัคร พบว่ามีเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้นที่มีผู้สมัครที่ได้คะแนนเข้าข่ายหลักเกณฑ์ทั้งสองข้อนี้ โดยเรียงลำดับจากจังหวัดที่มีผู้สมัครเข้าข่ายมากที่สุด ดังนี้

  1. เลย 27 คน
  2. อ่างทอง 24 คน 
  3. สตูล 17 คน
  4. พระนครศรีอยุธยา 15 คน
  5. อำนาจเจริญ 12 คน
  6. ยโสธร 10 คน
  7. สุรินทร์ 9 คน
  8. บุรีรัมย์ 8 คน
  9. นครนายก 7 คน
  10. สิงห์บุรี 5 คน
  11. ตรัง 5 คน
  12. อุทัยธานี 2 คน
  13. สุโขทัย 2 คน
  14. ศรีสะเกษ 2 คน
  15. ชัยนาท 1 คน

ประเด็นที่ “บังเอิญ” เหมือนกัน คือ Top 8 จังหวัดที่มีผู้สมัครเข้าข่ายตามเกณฑ์เยอะที่สุด เป็น Top 8 จังหวัด “เดียวกัน” กับจังหวัดที่มีผู้สมัครได้เข้ารอบไขว้ระดับประเทศมากที่สุดด้วยเช่นกัน 

อ่านต่อเกี่ยวกับ 8 จังหวัดที่เข้ารอบไขว้ได้มากที่สุดได้ที่  https://www.ilaw.or.th/articles/39719

ตารางรายชื่อผู้สมัครจาก 15 จังหวัดที่เข้าข่ายเกณฑ์ได้มากกว่าหรือเท่ากับค่าเฉลี่ยในรอบเลือกกันเอง แต่คะแนนต่ำในรอบเลือกไขว้ 

จังหวัดเลย 27 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
1จิตภามอญขันธ์292
2ปราโมทย์วันทองสังข์271
2อำพรเรื่อศรีจันทร์271
3จันทวีจันดาศรี290
3ลออยาฉาย260
4สถิตย์แก้วแสนทิพย์271
5สุชาติโกษาจันทร์310
5อุทิศสุธงษา313
6ประสาทชอบไร่330
6ณรงค์ศิริหล้า321
8พิมพ์พิกาโกษาจันทร์283
10ชัยยันต์พรหมดี301
11ภูวิศผดุงโกเม็ด292
11สุวิทย์ศรีบุรินทร์282
13ปริญญาแสงโสดา230
13จงทองปั้น221
14ชุติมาแสงโสดา271
14อรทัยศิริหล้า283
15ตุ๋ยสุพรมอินทร์261
16เสน่ห์บุญกล่ำ300
16คอยผดุงโกเม็ด312
17จิระนันท์สมหวัง250
17สิทธิพงศ์สีบุรินทร์291
18พัทธนันท์โรจนประดิษฐ์260
18ชัยณรงค์พุทซาคำ261
19สิริกรกองสิงห์292
20ธนัชศรีธรรมมา222

จังหวัดอ่างทอง 24 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
2พินัยวรรณทอง230
4มีศักดิ์ญาณโกมุท280
4พรเทพฤทธิ์ฤดี282
5พัสสวรรณกมลฉ่ำโชควงศา292
6มนตรีบุญถนอม321
7ประณตสมัครการ290
7แสงเทียนฐีระแก้ว302
8ประเสริฐนิทรัพย์240
8ประเสริฐศักดิ์จันทร์ทองอยู่251
9วัชรนนท์บุญเมือง230
10ชนม์ฤทัยธีระบุตรวงศ์กุล300
12สุรางค์ยวงเกตุ221
14พัชราลาภเจริญ260
14กุลรัตน์เนียมประเสริฐ322
15สมิงแจ่มปัญญา280
16สนั่นทวีคูณ220
16พัฒนปิ่นวิเศษ311
17คนึงนิจสินธิพงษ์271
17ลั่นทมชูชีพ251
18อุบลกลิ่นประทุม293
19นพพรจารุนัย310
19อาคมสาพงษ์เอี่ยม261
20รำพึงตั้งวิเศษสุข220
20ศรีรัตน์กันพันธ์221

จังหวัดสตูล 17 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
2เติมถิ่นนา270
3เกรียงศักดิ์หลีเจริญ270
4จำดีศิริสมันวงศ์271
5จิรวุธบุญรินทร์270
5สมพรชำนาญดง242
6บุญสมจันทภาโส240
6สาครนาคะสรรค์241
7อาเดกขุนรายา242
9ถนอมสังข์แก้ว242
10ดีนหมันนาเกลือ230
14ฉันทนาอาสมาน243
15ลดาวัลย์แสงจันทร์283
17นิชนันท์เส็มสัน221
17ทัศนีวรรณเต๊ะซ่วน223
19สมพรชูสุวรรณ281
19สุไลหมานหวันปูเต๊ะ231
20สุพรรณพรเกลี้ยงกลม281

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 15 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
2เติมถิ่นนา270
3เกรียงศักดิ์หลีเจริญ270
4จำดีศิริสมันวงศ์271
5จิรวุธบุญรินทร์270
5สมพรชำนาญดง242
6บุญสมจันทภาโส240
6สาครนาคะสรรค์241
7อาเดกขุนรายา242
9ถนอมสังข์แก้ว242
10ดีนหมันนาเกลือ230
14ฉันทนาอาสมาน243
15ลดาวัลย์แสงจันทร์283
17นิชนันท์เส็มสัน221
17ทัศนีวรรณเต๊ะซ่วน223
19สมพรชูสุวรรณ281
19สุไลหมานหวันปูเต๊ะ231
20สุพรรณพรเกลี้ยงกลม281

จังหวัดอำนาจเจริญ 12 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
4สมศักดิ์หอมชื่น222
5สุภาวดีโพธารินทร์273
6ไพฑูรย์พิลาทอง281
7สุนันท์พลบุรี222
9จีระสิทธิ์จันทสิทธิ์333
11เสงี่ยมมีแวว253
14อรัญญนีสิงหา240
14จิระวรรณเซซ่ง242
17บุญทวีพรมบาง222
17บุญล้อมวรรณพัฒน์243
20สกลบุญสะอาด221
20วิรุฬห์วิริยะอุสาหะ222

จังหวัดยโสธร 10 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
1สุวัฒน์สาระวัน292
2สมบัติผังคี220
4วิระมิตรบุญโถน253
6วิชิตสุขกำเนิด280
6สุริยันต์บุญกัณฑ์242
10สมชายเวฬุวนารักษ์221
10พิชิตชูรัตน์232
11ประจวบหลักหาญ223
17สมปองศรีชนะ220
17ณภัทรสิริธนาวรากุล231

จังหวัดสุรินทร์ 9 คน 

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
2สุริยันบุญทันเสน263
4ศุภรัฐพูนกล้า281
5สุบรรณอินทร์ตา282
11ธัญวรัตม์สร้อยจิตร242
13เสาวณิตรัตนรวมการ271
14สุมาลีขุนศิริ253
17คำพองถูกคะเนย์233
19ปพิชญาสุรถาวร233
19คมสันสืบสันต์223

จังหวัดบุรีรัมย์ 8 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
2ไกรสรอินไชย222
6สุภาพงามเกิด281
6สุพินจันงาม273
10บุปผาโคตรงาม232
14สมปองชึรัมย์241
14สว่างเจริญรัมย์272
19ประทีปใสสดศรี250
19พลวรรธน์เชื่อมรัมย์251

นครนายก 7 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
6เสถียรมณีโชติ263
10ยศธนพละภิญโญ223
11สุปราณีแหลมหลัก232
14นภาพรเจริญยิ่ง250
14อุมาลีดัดพินิจ240
15บุญฮงค์กัตตา221
20ประเสริฐจันทะโชติ251

จังหวัดสิงห์บุรี 5 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
9เนตรนารีแจ่มทอง233
9รินลดาจำปาไทย233
14ณัฐธภาขำศรี270
14อาภาศิริแจ้งธนาภา231
20อัจฉราขำมาลัย232

จังหวัดตรัง 5 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
7ภาณุพงศ์เกียรติเมธา232
8อุเทนโอทอง222
10จิราวุธศรีวิรัตน์231
10ศิริชัยส่งเสริม262
18ธีมดีภาคย์ธนชิต273

จังวัดอุทัยธานี 2 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
4วิมลแสงอุทัย221
12ยอดชายโพธิ์มี223

จังหวัดสุโขทัย 2 คคน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
7จิรัฎฐ์เลื่อมนรินทร์223
8เพ็ชรรัตน์ดำริห์222

จังหวัดศรีสะเกษ 2 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
1เด่นชัยเขตสกุล223
10อุทัยหลอดทอง221

จังหวัดชัยนาท 1 คน

กลุ่มชื่อนามสกุลคะแนนรอบเลือกกันเองคะแนนรอบเลือกไขว้
7น้ำฝนหนูเนียม361