ถอดรหัสลงมติ พรรคร่วมรัฐบาลประสานเสียงชัดเห็นด้วยส่งศาลรัฐธรรมนูญรอบที่ 3 ปมปลดล็อกเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ด้านสว. ข้างมากขอ “งดออกเสียง”

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ยังคง “พายเรืออยู่ในอ่าง” อย่างต่อเนื่องนับแต่การแก้รัฐธรรมนูญยกแรกช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมีนาคม 2564 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ว่ารัฐธรรมนูญมีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญลงประชามติเสียก่อนว่าประสงค์ให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ประเด็นทางเทคนิค ว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง ตอนไหนบ้าง ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อพิจารณาหลักในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่อยู่เรื่อยมา

แม้จะเป็นที่ชัดเจนทั้งในทางกฎหมายและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการทำประชามติตลอดกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทำเพียงแค่สองครั้ง จากเหตุผล 1) คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ระบุถึงการทำประชามติเพียงสองครั้ง 2) คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากหกคน ยืนยันว่าทำประชามติสองครั้ง 3) การแก้รัฐธรรมนูญหมวด 15 ต้องทำประชามติอยู่แล้วภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 (8) สอดคล้องกับการทำประชามติ “ก่อน” ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อถึงคราวที่จะพิจารณาร่างแก้รัฐธรรมนูญสองฉบับ ที่เสนอโดย สส.พรรคประชาชน และ สส.พรรคเพื่อไทย เมื่อ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 ประเด็นทางเทคนิคก็ถูกยกขึ้นมาอ้างอีกครั้ง ทั้งจาก สส.พรรคภูมิใจไทยที่ประกาศกลางสภาว่าจะไม่พิจารณาเพราะหวั่นขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และ สว.ที่เสนอญัตติด่วนให้ส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง จนท้ายที่สุดการประชุมทั้งสองวันก็จบลงด้วยเกม “สภาล่ม” ไม่ได้เริ่มพิจารณาร่างแก้รัฐธรรมนูญ

หนึ่งเดือนต่อมา 17 มีนาคม 2568 รัฐสภาก็มีมติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญรอบที่สามเพื่อให้วินิจฉัยอำนาจรัฐสภาประเด็นประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ว่าสามารถทำในขั้นตอนใดได้บ้าง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 304 เสียง ไม่เห็นด้วย 150 เสียง งดออกเสียง 124 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง เมื่อสำรวจผลการลงมติของ สส. สว. รายบุคคล พบว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นไปในทิศทางด้วยกัน เห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่เสียงไม่เห็นด้วย หลักแล้วมาจากแกนนำพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาชน ประกอบด้วยเสียง สว. ที่เป็นฝั่งเสียงข้างน้อยในวุฒิสภา 12 เสียง และสส. พรรคเป็นธรรม ขณะที่สว. ฝั่งเสียงข้างมากในวุฒิสภาส่วนใหญ่ กลับเลือกที่จะโหวต “งดออกเสียง”

ตารางแสดงผลการลงมติของ สส. รายพรรค และ สว.
จำนวนสมาชิกเห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่ลงคะแนนเสียงไม่ได้ลงมติ
รวม6913041501241112
สว.1993212120134
สส.4922721374078
พรรคประชาชน1430137006
พรรคเพื่อไทย14213200010
พรรคภูมิใจไทย69630006
พรรครวมไทยสร้างชาติ362300013
พรรคประชาธิปัตย์25180205
พรรคกล้าธรรม24210003
พรรคพลังประชารัฐ20101018
พรรคชาติไทยพัฒนา1020008
พรรคประชาชาติ970101
พรรคไทยสร้างไทย630003
พรรคชาติพัฒนา2 *
มี สส. ลาออก
20000
พรรคไทรวมพลัง200002
พรรคเสรีรวมไทย100001
พรรคประชาธิปไตยใหม่100001
พรรคเป็นธรรม101000
พรรคไทยก้าวหน้า100001

พรรคร่วมรัฐบาลพร้อมใจ ส่งศาลรธน. รอบสาม สว. สนับสนุน 32 เสียง

สำหรับพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล พอจะเห็นแนวทางต่อประเด็นการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ว่า “แบ่งบทบาท” กันระหว่างฝั่งฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเป็นคนละส่วน ฝั่งฝ่ายบริหาร รัฐบาลภายใต้การนำของเศรษฐา ทวีสิน โดยตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ จนได้ข้อสรุปว่าจะทำประชามติสามครั้งตลอดเส้นทางกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ขณะที่ในฝั่งฝ่ายนิติบัญญัติ เล่นบทบาทแตกต่างออกไป โดยเห็นว่าทำประชามติเพียงสองครั้งก็พอ ดังจะเห็นได้จาก ความเคลื่อนไหวของ สส. พรรคเพื่อไทยเมื่อช่วงต้นปี 2567 ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาเมื่อ 22 มกราคม 2567 พร้อมทั้งแถลงโรดแมปแตกต่างจากคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติที่รัฐบาลตั้งขึ้น เห็นว่า ทำประชามติเพียงสองครั้ง ครั้งแรก หลังร่างแก้รัฐธรรมนูญผ่านรัฐสภา ตามมาตรา 256 (8) และครั้งที่สอง ภายหลังยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ต่อมา สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาได้มีความเห็นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทยนั้น นำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ที่จะต้องทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จากนั้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ชูศักดิ์ ศิรินิล จึงเสนอญัตติต่อรัฐสภาให้ส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สอง ซึ่งชูศักดิ์เองก็ยอมรับว่า การเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีโอกาสส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกครั้งว่าต้องทำประชามติกี่ครั้งกันแน่ เป็นการใช้แท็กติกทางกฎหมาย

29 มีนาคม 2567 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึงนัดประชุมและลงมติด้วยเสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 233 เสียง ไม่เห็นด้วย 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ  ผลออกมาคือศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งที่ 21/2567 เมื่อ 17 เมษายน 2567 “ไม่รับคำร้อง” ไว้พิจารณา

อย่างไรก็ดี หลังกระบวนการเดินหน้าเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ดูจะไม่คืบหน้าเพราะ “ติดกับดัก” การทำประชามติก่อนเสนอแก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงกระบวนการแก้ไขกฎหมายประชามติเพื่อให้การทำประชามติหาข้อยุติได้ง่ายขึ้นก็ล่าช้าออกไป เพราะ สส. ยับยั้ง หลัง สว. แผลงฤทธิ์แก้ไขกฎหมายที่ผ่านมือ สส. มาแล้ว ช่วงปลายปี 2567 พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน (กมธ.พัฒนาการเมืองฯ) สภาผู้แทนราษฎร เดินสายพูดคุยกับทั้งประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประธานรัฐสภาถึงแนวทางในการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 จนในท้ายที่สุดประธานรัฐสภาก็ยอมบรรจุวาระในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีร่างสองฉบับที่เสนอโดย สส.พรรคประชาชนและ สส. พรรคเพื่อไทย เข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568

การที่ สส. พรรคเพื่อไทยเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยเองก็ไม่ได้มองว่าต้องทำประชามติก่อนแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ภายหลัง พรรคเพื่อไทยก็ขยับทิศทาง เลือกเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้กระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ “มูฟออนเป็นวงกลม” ด้วยการส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญเป็นรอบที่สาม หลังจาก สส. พรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคที่มี สส. รองลงมาอย่างพรรคภูมิใจไทย รวมถึง สว. อ้างประเด็นการทำประชามติและให้ส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ

หลังประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 จบลงด้วยปรากฏการณ์ “สภาล่ม” สองวันติด ประกอบกับญัตติด่วนที่เปรมศักดิ์ เพียยุระ เสนอในตอนเช้าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ก่อนจะเริ่มประชุมรัฐสภา เพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วันถัดมา 14 กุมภาพันธ์ วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พรรคเพื่อไทยก็ได้เสนอญัตติด่วนต่อรัฐสภาในประเด็นใจความเดียวกันกับญัตติของเปรมศักดิ์

ทั้งสองญัตติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาวันที่ 17 มีนาคม 2568 โดยรัฐสภาพิจารณาญัตติดังกล่าวและมีมติเห็นด้วยให้ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 304 เสียง ไม่เห็นด้วย 150 เสียง งดออกเสียง 124 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง (รจนา เพิ่มพูน สว.) และมีสส. รวม 78 คน และ สว. 34 คน ที่ไม่ได้ร่วมลงมติ ซึ่งอาจจะอยู่ในที่ประชุม แต่ไม่ได้เสียบบัตรลงมติ หรืออาจจะอยู่ในรัฐสภาแต่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมขณะที่ลงมติ หรืออาจจะไม่ได้ไปประชุมรัฐสภาเลย

เมื่อพิจารณาผลการลงมติรายบุคคล เสียงส่วนใหญ่ที่เห็นด้วยให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ มาจาก สส.พรรคร่วมรัฐบาล โดยรวม “เสียงแทบไม่แตก” เห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย รวมไทยสร้างชาติ และกล้าธรรม ด้านพรรคประชาธิปัตย์ สส. เกือบทั้งหมดโหวตเห็นด้วย แต่มีผู้ที่โหวตงดออกเสียง 2 เสียง คือ ชวน หลีกภัย และบัญญัติ บรรทัดฐาน ขณะที่เสียงเห็นด้วยที่เหลือ มาจาก สส. ฝ่ายค้านอย่างพรรคไทยสร้างไทย 3 เสียง และฝั่ง สว. อีก 32 เสียง

เพื่อไทยเสียงไม่แตก โหวตเห็นด้วย 132 เสียง สส. 10 คนไม่ได้ลงมติ

สส. เพื่อไทย 132 คน ที่โหวตเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย

  1. กรวีร์ สาราคำ
  2. กฤษณา สีหลักษณ์
  3. ก่อแก้ว พิกุลทอง
  4. กิตติ สมทรัพย์
  5. กิตติ์ธัญญา วาจาดี
  6. กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
  7. เกรียงไกร กิตติธเนศวร
  8. เกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม
  9. เกษม อุประ
  10. โกศล ปัทมะ
  11. ขจิตร ชัยนิคม
  12. ขัตติยา สวัสดิผล
  13. ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม
  14. จเด็จ จันทรา
  15. จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล
  16. จาตุรนต์ ฉายแสง
  17. จิตติพจน์ วิริยะโรจน์
  18. จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์
  19. จิรัชยา สัพโส
  20. จิราพร สินธุไพร
  21. จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
  22. ฉลาด ขามช่วง
  23. ชญาภา สินธุไพร
  24. ชนก จันทาทอง
  25. ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ
  26. ชลน่าน ศรีแก้ว
  27. ชูชัย มุ่งเจริญพร
  28. ชูศักดิ์ แม้นทิม
  29. ชูศักดิ์ ศิรินิล
  30. ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง
  31. เชิงชาย ชาลีรินทร์
  32. ไชยวัฒนา ติณรัตน์
  33. ไชยา พรหมา
  34. ฐิติมา ฉายแสง
  35. ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช
  36. ณพล เชยคำแหง
  37. ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ
  38. ณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์
  39. ดนุพร ปุณณกันต์
  40. ทรงยศ รามสูต
  41. ทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย
  42. ทศพร เสรีรักษ์
  43. ทินพล ศรีธเรศ
  44. เทอดชาติ ชัยพงษ์
  45. เทียบจุฑา ขาวขำ
  46. ธนาธร โล่ห์สุนทร
  47. ธเนศ เครือรัตน์
  48. ธัญธารีย์ สันตพันธุ์
  49. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
  50. ธีระชัย แสนแก้ว
  51. นพดล ปัทมะ
  52. นพพล เหลืองทองนารา
  53. นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล
  54. นรากร นาเมืองรักษ์
  55. นิกร โสมกลาง
  56. นิคม บุญวิเศษ
  57. นิพนธ์ คนขยัน
  58. นิยม วิวรรธนดิฐกุล
  59. นุชนาถ จารุวงษ์เสถียร
  60. บุญแก้ว สมวงศ์
  61. ประภาพร ทองปากน้ำ
  62. ประวีณ์นุช เลิศจิตติสุทธิ์
  63. ประเสริฐ บุญเรือง
  64. ปิยะนุช ยินดีสุข
  65. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช
  66. พชร จันทรรวงทอง
  67. พนม โพธิ์แก้ว
  68. พรเทพ พูนศรีธนากูล
  69. พรเทพ ศิริโรจนกุล
  70. พรรณสิริ กุลนาถศิริ
  71. พลากร พิมพะนิตย์
  72. พัฒนา สัพโส
  73. พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
  74. พิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ
  75. เพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย
  76. ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
  77. ภาควัต ศรีสุรพล
  78. ภาณุ พรวัฒนา
  79. ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ
  80. ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์
  81. มนัสนันท์ หลีนวรัตน์
  82. รชตะ ด่านกุล
  83. รวี เล็กอุทัย
  84. รังสรรค์ มณีรัตน์
  85. รัฐ คลังแสง
  86. ละออง ติยะไพรัช
  87. ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
  88. เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล
  89. วรวงศ์ วรปัญญา
  90. วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
  91. วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
  92. วัชระพล ขาวขำ
  93. วันนิวัติ สมบูรณ์
  94. วารุจ ศิริวัฒน์
  95. วิภาณี ภูคำวงศ์
  96. วิรัช พิมพะนิตย์
  97. วิโรจน์ เปาอินทร์
  98. วิลดา อินฉัตร
  99. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
  100. วีระพล จิตสัมฤทธิ์
  101. ศรัณย์ ทิมสุวรรณ
  102. ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์
  103. ศรีโสภา โกฏคำลือ
  104. ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์
  105. ศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ
  106. ศิวะ พงศ์ธีระดุลย์
  107. สกุณา สาระนันท์
  108. สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล
  109. สมเจตน์ แสงเจริญรัตน์
  110. สยาม หัตถสงเคราะห์
  111. สรรพภัญญู ศิริไปล์
  112. สรัสนันท์ อรรณนพพร
  113. สิงหภณ ดีนาง
  114. สิทธิชัย หล่อประสงค์สุข
  115. สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ
  116. สุทิน คลังแสง
  117. สุธรรม แสงประทุม
  118. สุรเกียรติ เทียนทอง
  119. สุรชาติ ชาญประดิษฐ์
  120. สุรพจน์ เตาะเจริญสุข
  121. สุรพล บุญมา
  122. หทัยรัตน์ เพชรพนมพร
  123. อดิศร เพียงเกษ
  124. อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
  125. อภิชา เลิศพชรกมล
  126. อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย
  127. อมรเทพ สมหมาย
  128. อรรถพล วงษ์ประยูร
  129. อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์
  130. อาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล
  131. เอกธนัช อินทร์รอด
  132. โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย

สส. เพื่อไทย 10 คน ที่ไม่ได้ร่วมลงมติ ได้แก่

  1. เกรียง กัลป์ตินันท์
  2. เฉลิม อยู่บำรุง
  3. ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
  4. มนพร เจริญศรี
  5. วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์
  6. ศักดิ์ชาย ตันเจริญ
  7. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
  8. สรวงศ์ เทียนทอง
  9. สุชาติ ตันเจริญ
  10. อนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์

ภูมิใจไทย สส. เห็นด้วย 63 เสียง ไม่ได้ลงมติ 6 คน

ด้านพรรคร่วมรัฐบาลที่มีจำนวน สส. เป็นลำดับสองรองจากพรรคเพื่อไทย สส. โดยรวมเสียงไม่แตก 63 คนจากทั้งหมดที่มีอยู่ 69 คน มาลงมติโหวตเห็นด้วยให้ส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่

  1. กรวีร์ ปริศนานันทกุล
  2. กิตติ กิตติธรกุล
  3. คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์
  4. จักรกฤษณ์ ทองศรี
  5. เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์
  6. ชาดา ไทยเศรษฐ์
  7. ชูกัน กุลวงษา
  8. เชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์
  9. ไชยชนก ชิดชอบ
  10. ซาการียา สะอิ
  11. ญาณีนาถ เข็มนาค
  12. ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
  13. ตวงทิพย์ จินตะเวช
  14. ไตรเทพ งามกมล
  15. ถิรเดช ตั้งมั่นก่อกิจ
  16. ธนยศ ทิมสุวรรณ
  17. ธนา กิจไพบูลย์ชัย
  18. นรินทร์ คลังผา
  19. นันทนา สงฆ์ประชา
  20. แนน บุณย์ธิดา สมชัย
  21. ปกรณ์ มุ่งเจริญพร
  22. ปทิดา ตันติรัตนานนท์
  23. ประดิษฐ์ สังขจาย
  24. ประภา เฮงไพบูลย์
  25. ผกามาศ เจริญพันธ์
  26. พรชัย ศรีสุริยันโยธิน
  27. พลพีร์ สุวรรณฉวี
  28. พิชัย ชมภูพล
  29. พิบูลย์ รัชกิจประการ
  30. พิมพฤดา ตันจรารักษ์
  31. พีระเดช ศิริวันสาณฑ์
  32. ภราดร ปริศนานันทกุล
  33. ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์
  34. มณเฑียร สงฆ์ประชา
  35. มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
  36. ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน
  37. รุ่งโรจน์ ทองศรี
  38. เรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์
  39. ฤกษ์ อยู่ดี
  40. ลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร
  41. ล้ำเลิศ พัวพัฒนโชติ
  42. วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์
  43. วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ
  44. วินัย ภัทรประสิทธิ์์
  45. ศักดิ์ ซารัมย์
  46. ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
  47. ษฐา ขาวขำ
  48. สนอง เทพอักษรณรงค์
  49. สยาม เพ็งทอง
  50. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง
  51. สฤษดิ์ บุตรเนียร
  52. สังคม แดงโชติ
  53. สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
  54. สุขสมรวย วันทนียกุล
  55. สุทธิชัย จรูญเนตร
  56. สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
  57. โสภณ ซารัมย์
  58. องอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์
  59. อดิพงษ์ ฐิติพิทยา
  60. อรรถพล ไตรศรี
  61. อลงกต มณีกาศ
  62. อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ
  63. อำนาจ วิลาวัลย์

สส. ภูมิใจไทย 6 คนที่ไม่ได้ลงมติ คือ

  1. ชลัฐ รัชกิจประการ
  2. ธนพัฒน์ ศรีชนะ
  3. มานพ ศรีผึ้ง
  4. รังสิกร ทิมาตฤกะ
  5. อนุทิน ชาญวีรกูล
  6. เอกราช ช่างเหลา

รวมไทยสร้างชาติ มาลงมติเห็นด้วย 23 ไม่ได้มาลงมติ 13 คน

ด้านพรรครวมไทยสร้างชาติ มี สส. มาลงมติเห็นด้วยทั้งหมด 23 คนจาก สส. ทั้งหมด 36 คน คือ

  1. กานสินี โอภาสรังสรรค์
  2. กุลวลี นพอมรบดี
  3. เกรียงยศ สุดลาภา
  4. ชโยทิต กฤดากร
  5. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
  6. ธานินท์ นวลวัฒน์
  7. ธิวัลรัตน์ อังกินันทน์
  8. นิติศักดิ์ ธรรมเพชร
  9. ปรเมษฐ์ จินา
  10. พงษ์มนู ทองหนัก
  11. พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ
  12. พิพิธ รัตนรักษ์
  13. พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
  14. วิชัย สุดสวาสดิ์
  15. วิทยา แก้วภราดัย
  16. ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
  17. สัญญา นิลสุพรรณ
  18. สินธพ แก้วพิจิตร
  19. สุชาติ ชมกลิ่น
  20. สุพล จุลใส
  21. อนุชา บูรพชัยศรี
  22. อภิชาติ แก้วโกศล
  23. อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์

สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ 13 คนที่ไม่ได้ลงมติ

  1. จิรวุฒิ สิงห์โตทอง
  2. จุติ ไกรฤกษ์
  3. ชัชวาลล์ คงอุดม
  4. ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์
  5. ถนอมพงศ์ หลีกภัย
  6. ธนกร วังบุญคงชนะ
  7. พันธ์ศักดิ์ บุญแทน
  8. วชิราภรณ์ กาญจนะ
  9. วัชระ ยาวอหะซัน
  10. ศาสตรา ศรีปาน
  11. สันต์ แซ่ตั้ง
  12. อนุชา นาคาศัย
  13. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

กล้าธรรมมาเกือบครบ เห็นด้วย 21 จาก 24 คน

ด้านพรรคกล้าธรรม มี สส. ที่ไม่ได้ร่วมลงมติด้วยสามคน คือ ชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ และธรรมนัส พรหมเผ่า ขณะที่ สส. ที่เหลือ ลงมติเสียงไม่แตกเห็นด้วยส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ 21 คน ได้แก่

  1. กฤดิทัช แสงธนโยธิน
  2. จตุพร กมลพันธ์ทิพย์
  3. จำลอง ภูนวนทา
  4. จีรเดช ศรีวิราช
  5. เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ
  6. นเรศ ธารงค์ทิพยคุณ
  7. บัญชา เดชเจริญศิริกุล
  8. บุญยิ่ง นิติกาญจนา
  9. ปกรณ์ จีนาคำ
  10. ปรีดา บุญเพลิง
  11. ไผ่ ลิกค์
  12. เพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์
  13. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข
  14. รัชนี พลซื่อ
  15. สะถิระ เผือกประพันธุ์
  16. สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ
  17. องอาจ วงษ์ประยูร
  18. อนุรัตน์ ตันบรรจง
  19. อรรถกร ศิริลัทธยากร
  20. อัครแสนคีรี โล่ห์วีระ
  21. อามินทร์ มะยูโซ๊ะ

ประชาธิปัตย์แอบเสียงแตก ชวน-บัญญัติ โหวตงดออกเสียง

ด้านพรรคประชาธิปัตย์ สส.ผู้อาวุโสในพรรคสองราย คือ ชวน หลีกภัย และบัญญัติ บรรทัดฐาน เลือกโหวต “งดออกเสียง” สวนแนวทาง สส. ส่วนใหญ่ในพรรค และมี สส. ที่เหลืออีกห้ารายไม่ได้ร่วมลงมติ คือ จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เดชอิศม์ ขาวทอง สรรเพชญ บุญญามณี สุภาพร กำเนิดผล

สส. ที่เหลือ 18 คน โหวตเห็นด้วย ได้แก่

  1. กาญจน์ ตั้งปอง
  2. ชัยชนะ เดชเดโช
  3. ชาตรี หล้าพรหม
  4. ทรงศักดิ์ มุสิกอง
  5. ประมวล พงศ์ถาวราเดช
  6. พิทักษ์เดช เดชเดโช
  7. ยุทธการ รัตนมาศ
  8. ยูนัยดี วาบา
  9. ร่มธรรม ขานุรักษ์
  10. ราชิต สุดพุ่ม
  11. วุฒิพงษ์ นามบุตร
  12. ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง
  13. สมบัติ ยะสินธุ์
  14. สมยศ พลายด้วง
  15. สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ
  16. สุพัชรี ธรรมเพชร
  17. สุรินทร์ ปาลาเร่
  18. อวยพรศรี เชาวลิต

ชาติไทยพัฒนาหายเกือบยกพรรค ไทยสร้างไทยแอบปันใจโหวตเห็นด้วย

นอกจากเสียง สส. พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ญัตตินี้ยังได้รับเสียงสนับสนุนจาก สส. ฝ่ายค้าน 3 เสียง จากพรรคไทยสร้างไทย โดยภาพรวมแล้วเสียงไม่แตก แต่พรรคชาติไทยพัฒนา สส. ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงมติ มีผู้มาลงมติเห็นด้วย 2 เสียงเท่านั้น นอกจากนี้ อรัญ พันธุมจินดา สส. บัญชีรายชื่อจากพรรคชาติพัฒนาลาออกวันที่ 16 มีนาคม 2568 ทำให้วันที่ลงมติมี สส. เพียงสองคนเท่านั้น ส่วนพรรคประชาชาติ มีสส. งดออกเสียง 1 เสียง จากวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

จำนวนสมาชิกเห็นด้วยไม่ได้ลงมติ
พรรคชาติไทยพัฒนา10ศุภโชค ศรีสุขจรเสมอกัน เที่ยงธรรมณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณนพดล มาตรศรีประภัตร โพธสุธนพาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์วราวุธ ศิลปอาชาสรชัด สุจิตต์อนุชา สะสมทรัพย์อนุรักษ์ จุรีมาศ
พรรคประชาชาติ9กมลศักดิ์ ลีวาเมาะซูการ์โน มะทาวรวิทย์ บารูสมมุติ เบ็ญจลักษณ์สาเหะมูหามัด อัลอิดรุสสุไลมาน บือแนปีแนอับดุลอายี สาแม็งทวี สอดส่อง
พรรคไทยสร้างไทย6สุภาพร สลับศรีหรั่ง ธุระพลอดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ชัชวาล แพทยาไทยฐากร ตัณฑสิทธิรำพูล ตันติวณิชชานนท์
พรรคชาติพัฒนา2 *มี สส. ลาออกประสาท ตันประเสริฐวุฒิพงศ์ ทองเหลา
พรรคไทรวมพลัง2พิมพกาญจน์ พลสมัครสมศักดิ์ บุญประชม
พรรคเสรีรวมไทย1มังกร ยนต์ตระกูล
พรรคประชาธิปไตยใหม่1สุรทิน พิจารณ์

สว. โหวตเห็นด้วยส่งศาลรัฐธรรมนูญ 32 เสียง

ญัตติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้รับเสียงสนับสนุนจาก สว. 32 เสียงจาก สว. ทั้งหมดที่มีอยู่ 199 คน ในจำนวน สว. 32 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยพิจารณาจากทิศทางการทำงานของ สว. ที่ผ่านมาในสมัยประชุมแรก ผ่านการลงมติร่างกฎหมายรวมถึงญัตติด่วนที่มีผู้เสนอให้พิจารณา

หนึ่ง สว. ที่มีแนวทางโหวตไปในทิศทางเดียวกับเสียงข้างมากในการลงมติร่างกฎหมายหรือญัตติต่างๆ มีสองคนที่โหวตเห็นด้วยให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ชาญชัย  ไชยพิศ และสุทิน แก้วพนา

สอง สว. ที่มีแนวทางในการลงมติเป็นอิสระ กล่าวคือ สว. กลุ่มนี้ เคยลงมติหลายเรื่องตามแนวทางของเสียงข้างมาก แต่ก็ไม่ได้ลงมติตามเสียงข้างมากในทุกประเด็น เคยลงมติ “สวนทาง” กับเสียงข้างมากอยู่บ้างมากกว่าสามมติ หรือเคยลงมติสวนทางเสียงข้างมากในข้อเสนอที่ถูกปัดตกหรือข้อเสนอจากฝั่งเสียงข้างน้อย

สว. กลุ่มนี้ ที่ลงมติเห็นด้วยให้ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ มี 30 คน คือ

ชื่อตัวอย่างการลงมติที่เคย “สวนทาง” กับแนวทางข้างมากการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ วาระสอง *เสียงข้างมากโหวตเห็นด้วยแก้กลับร่าง สส. ให้ล็อกเสียงข้างมากสองชั้นสำหรับประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
1. กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งห้าฉบับ ต่างจากแนวทางของเสียงข้างมากที่โหวตรับแค่ร่างฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอเห็นด้วย
2. เกียรติชาย ไมตรีวงษ์เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ (เสียงข้างมากโหวตไม่เห็นด้วย)ไม่เห็นด้วย
3. ชวพล วัฒนพรมงคลเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอเห็นด้วย
4. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่เปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ โหวตงดออกเสียงร่างฉบับที่ประภาส ปิ่นตบแต่งและยุทธนา ไทยภักดีเสนอเห็นด้วย
5. ชิบ จิตนิยม  โหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสองฉบับที่ประภาส ปิ่นตบแต่งและเทวฤทธิ์ มณีฉายเสนอ โหวตไม่เห็นด้วยอีกสามฉบับ

เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ

เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอ
ไม่เห็นด้วย
6. ชูชาติ อินสว่างโหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา 4 ฉบับ ยกเว้นฉบับที่เทวฤทธิ์ มณีฉายเสนอ (ไม่ได้ลงมติ)

เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ
เห็นด้วย
7. ชูชีพ เอื้อการณ์  โหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสามฉบับ ที่เปรมศักดิ์ เพียยุระ ประภาส ปิ่นตบแต่ง และเทวฤทธิ์ มณีฉายเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอเห็นด้วย
8. ณภพ ลายวิเศษกุล  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ

เห็นด้วยกับญัตติด่วนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่นันทนา นันทวโรภาสเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอ
งดออกเสียง
9. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์  โหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทุกฉบับเห็นด้วย
10. นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์  โหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่เปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอไม่เห็นด้วย
11. นิคม มากรุ่งแจ้ง  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ  งดออกเสียง
12. นิชาภา สุวรรณนาค  เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ  งดออกเสียง
13. ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนองดออกเสียง
14. ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสองฉบับที่เปรมศักดิ์ เพียยุระ และเอกชัย เรืองรัตน์เสนอ  เห็นด้วย
15. เปรมศักดิ์ เพียยุระ  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสองฉบับที่เปรมศักดิ์ เพียยุระและเทวฤทธิ์ มณีฉายเสนอ   เสนอญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ร่วมกับเศรณี อนิลบล แต่ถูกปัดตกไม่เห็นด้วย
16. พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอเห็นด้วย
17. มังกร ศรีเจริญกูล  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่นันทนา นันทวโรภาสเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ  เห็นด้วย
18. มานะ มหาสุวีระชัยเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสองฉบับ ที่เทวฤทธิ์ มณีฉาย และเอกชัย เรืองรัตน์เสนอ และโหวตไม่เห็นด้วยร่างฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอเห็นด้วย
19. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา  โหวตงดออกเสียงร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอเห็นด้วย
20. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งห้าฉบับ ต่างจากแนวทางของเสียงข้างมากที่โหวตรับแค่ร่างฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอเห็นด้วย
21. รัชนีกร ทองทิพย์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ  ไม่เห็นด้วย
22. วันไชย เอกพรพิชญ์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ  เห็นด้วย
23. วาสนา ยศสอน  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่นันทนา นันทวโรภาสเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอเห็นด้วย
24. วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทุกฉบับเห็นด้วย
25. วีระพันธ์ สุวรรณนามัย  ลงมติเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาแค่ฉบับเดียว ที่เปรมศักดิ์เพียยุระเสนอ และโหวตไม่เห็นด้วยอีกสี่ฉบับ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอเห็นด้วย
26. วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ  โหวตเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฉบับที่เปรมศักดิ์ เพียยุระเดสนอ และฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดีเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ  เห็นด้วย
27. ศรายุทธ ยิ้มยวน  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งห้าฉบับ ต่างจากแนวทางของเสียงข้างมากที่โหวตรับแค่ร่างฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ  เห็นด้วย
28. สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่นันทนา นันทวโรภาสเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอเห็นด้วย
29. อภินันท์ เผือกผ่อง  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่นันทนา นันทวโรภาสเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอไม่เห็นด้วย
30. เอกชัย เรืองรัตน์  เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งสี่ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ยุทธนา ไทยภักดี เสนอ   เห็นด้วยกับญัตติตั้งกมธ.แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระเสนอ   เห็นด้วยกับญัตติด่วน ถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต ที่นรเศรษฐ ปรัชญากรเสนอไม่ได้ลงมติ

ปชน. ค้านโหวตไม่เห็นด้วยส่งศาลรธน. สว. ฝั่งข้างน้อยร่วมโหวตด้วย 12 คน

ด้านฝั่งที่โหวต “ไม่เห็นด้วย” ให้ส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญรอบที่สาม ประกอบด้วยเสียงจาก สส. พรรคฝ่ายค้านสองพรรค คือ พรรคเป็นธรรม กัณวีร์ สืบแสง และพรรคประชาชน 137 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 143 คน โดยมีผู้ไม่ได้ลงมติหกคน

นอกจาก สส. ยังมี สว. อีก 12 คนที่โหวต “ไม่เห็นด้วย” ซึ่ง สว. เหล่านี้ เป็น สว. ฝั่งเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาที่ลงมติแตกต่างจากแนวทางเสียงข้างมากในหลายประเด็น และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ให้ล็อกเสียงข้างมากสองชั้นสำหรับประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ในจำนวน 12 คน มีแปดคนที่เคยประกาศจุดยืนผ่านเว็บไซต์ senate67.com

ชื่อจุดยืนที่เคยแสดงผ่านเว็บไซต์ senate67.com
เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ล็อกห้ามแก้หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์
1. นรเศรษฐ์ ปรัชญากรเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
2. นันทนา นันทวโรภาสเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
3. ประทุม วงศ์สวัสดิ์เห็นด้วยพร้อมพิจารณา
4. ประภาส ปิ่นตบแต่งเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
5. ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุลเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
6. แล ดิลกวิทยรัตน์เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
7. สุนทร พฤกษพิพัฒน์เห็นด้วยพร้อมพิจารณา
8. อังคณา นีละไพจิตรเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
9. กัลยา ใหญ่ประสานไม่เคยประกาศจุดยืนบนเว็บ senate67.com
10. พรชัย วิทยเลิศพันธุ์
11. มณีรัฐ เขมะวงค์
12. วีรยุทธ สร้อยทอง

สส. พรรคประชาชน 137 คนที่ลงมติ “ไม่เห็นด้วย” ให้ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่

  1. กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล
  2. กรุณพล เทียนสุวรรณ
  3. กฤช ศิลปชัย
  4. กฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี
  5. กัณตภณ ดวงอัมพร
  6. กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์
  7. การณิก จันทดา
  8. กิตติภณ ปานพรหมมาศ
  9. เกียรติคุณ ต้นยาง
  10. คริษฐ์ ปานเนียม
  11. คำพอง เทพาคำ
  12. คุณากร มั่นนทีรัย
  13. จรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์
  14. จรัส คุ้มไข่น้ำ
  15. จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์
  16. จุลพงศ์ อยู่เกษ
  17. จุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม
  18. เจษฎา ดนตรีเสนาะ
  19. ฉัตร สุภัทรวณิชย์
  20. เฉลิมชัย กุลาเลิศ
  21. เฉลิมพงศ์ เเสงดี
  22. ชยพล สท้อนดี
  23. ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง
  24. ชลธานี เชื้อน้อย
  25. ชลธิชา แจ้งเร็ว
  26. ชวาล พลเมืองดี
  27. ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง
  28. ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร
  29. ชิตวัน ชินอนุวัฒน์
  30. ชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล
  31. ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ
  32. ชุติมา คชพันธ์
  33. เชตวัน เตือประโคน
  34. เซีย จำปาทอง
  35. ญาณธิชา บัวเผื่อน
  36. ฐากูร ยะแสง
  37. ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล
  38. ณกร ชารีพันธ์
  39. ณรงเดช อุฬารกุล
  40. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
  41. ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์
  42. ณัฐพงษ์ สุมโนธรรม
  43. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
  44. ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล
  45. ณัฐวุฒิ บัวประทุม
  46. ตรัยวรรธน์ อิ่มใจ
  47. ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์
  48. ทิพา ปวีณาเสถียร
  49. ทิสรัตน์ เลาหพล
  50. เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร
  51. ธนเดช เพ็งสุข
  52. ธัญธร ธนินวัฒนาธร
  53. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
  54. ธิษะณา ชุณหะวัณ
  55. ธีรัจชัย พันธุมาศ
  56. นนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ
  57. นพดล ทิพยชล
  58. นิตยา มีศรี
  59. นิติพล ผิวเหมาะ
  60. บุญเลิศ แสงพันธุ์
  61. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
  62. ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์
  63. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์
  64. ปรัชญาวรรณ ไชยสืบ
  65. ปรีติ เจริญศิลป์
  66. ปวิตรา จิตตกิจ
  67. ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์
  68. ปารมี ไวจงเจริญ
  69. ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์
  70. ปิยชาติ รุจิพรวศิน
  71. ปิยรัฐ จงเทพ
  72. พงศธร ศรเพชรนรินทร์
  73. พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ
  74. พนิดา มงคลสวัสดิ์
  75. พริษฐ์ วัชรสินธุ
  76. พิชัย แจ้งจรรยาวงศ์
  77. พิมพ์กาญจน์ กีรตวิราปกรณ์
  78. พุธิตา ชัยอนันต์
  79. พูนศักดิ์ จันทร์จำปี
  80. เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู
  81. ภคมน หนุนอนันต์
  82. ภัณฑิล น่วมเจิม
  83. ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์
  84. ภัสริน รามวงศ์
  85. ภูริวรรธก์ ใจสำราญ
  86. มานพ คีรีภูวดล
  87. ยอดชาย พึ่งพร
  88. รภัสสรณ์ นิยะโมสถ
  89. รอมฎอน ปันจอร์
  90. รักชนก ศรีนอก
  91. รังสิมันต์ โรม
  92. รัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ
  93. รัชนก สุขประเสริฐ
  94. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล
  95. วรท ศิริรักษ์
  96. วรรณวิภา ไม้สน
  97. วรรณิดา นพสิทธิ์
  98. วรายุทธ ทองสุข
  99. วิทวัส ติชะวาณิชย์
  100. วิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก
  101. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
  102. วีรนันท์ ฮวดศรี
  103. วีรภัทร คันธะ
  104. วีรวุธ รักเที่ยง
  105. วุฒินันท์ บุญชู
  106. ศนิวาร บัวบาน
  107. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
  108. ศักดินัย นุ่มหนู
  109. ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย
  110. ศิริกัญญา ตันสกุล
  111. ศิริโรจน์ ธนิกกุล
  112. ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์
  113. ศุภโชติ ไชยสัจ
  114. ศุภณัฐ มีนชัยนันท์
  115. ศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ
  116. สกล สุนทรวาณิชย์กิจ
  117. สมชาติ เตชถาวรเจริญ
  118. สมดุลย์ อุตเจริญ
  119. สรพัช ศรีปราชญ์
  120. สรวีย์ ศุภปณิตา
  121. สว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์
  122. สหัสวัต คุ้มคง
  123. สาธิต ทวีผล
  124. สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล
  125. สิริน สงวนสิน
  126. สิริลภัส กองตระการ
  127. สุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ
  128. สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
  129. สุรพันธ์ ไวยากรณ์
  130. สุรวาท ทองบุ
  131. องค์การ ชัยบุตร
  132. อนุสรณ์ แก้ววิเชียร
  133. อรพรรณ จันตาเรือง
  134. อานุภาพ ลิขิตอำนวยชัย
  135. อิทธิพล ชลธราศิริ
  136. เอกราช อุดมอำนวย
  137. แอนศิริ วลัยกนก

สส. พรรคประชาชนหกคนที่ไม่ได้ลงมติ คือ

  1. กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์
  2. กัลยพัชร รจิตโรจน์
  3. ณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ
  4. วรภพ วิริยะโรจน์
  5. วาโย อัศวรุ่งเรือง
  6. อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

สว. ส่วนใหญ่เลือกโหวตงดออกเสียง

ในจำนวนเสียงงดออกเสียง 124 มีเสียงจาก สส. เพียงสี่เสียงเท่านั้น คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา สส.พรรคประชาชาติซึ่งเป็นประธานรัฐสภา ปริญญา ฤกษ์หร่าย สส. พรรคพลังประชารัฐ ชวน หลีกภัย และบัญญัติ บรรทัดฐาน สส. พรรคประชาธิปัตย์ นอกนั้น 120 เสียง มาจาก สว.

ในจำนวน สว. 120 คนที่เลือกโหวต “งดออกเสียง” หนึ่งคนเป็นสว. หน้าใหม่ที่เพิ่งได้เลื่อนจากบัญชีสำรองขึ้นเป็น สว. ตัวจริง คือ ภิญญาพัชญ์ ศันสนียชีวิน จากกลุ่มที่ 18  เนื่องจาก สุพรรณ์ ศรชัย เสียชีวิต ขณะที่สว. อีกแปดคน เป็น สว. ที่เคยลงมติแทงสวนหรือลงมติแตกต่างจากเสียงข้างมากอยู่บ้างในบางประเด็น ได้แก่

  1. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  2. ธนกร ถาวรชินโชติ
  3. นพดล พริ้งสกุล
  4. นฤพล สุคนธชาติ
  5. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  6. ประเทือง มนตรี
  7. ประไม หอมเทียม
  8. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว

สว. ที่เหลืออีก 111 คน เป็น สว. ฝั่งที่ลงมติไปในทิศทางเดียวกันกับเสียงข้างมากของวุฒิสภา รวมถึงเห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ แทงสวนการแก้ไขของฝั่ง สส. ได้แก่

  1. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  2. กอบ อัจนากิตติ
  3. กัมพล ทองชิว
  4. กัมพล สุภาแพ่ง
  5. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  6. กิติศักดิ์ หมื่นศรี
  7. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  8. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  9. จตุพร เรียงเงิน
  10. จรุณ กลิ่นตลบ
  11. จารุณี ฤกษ์ปราณี
  12. จิระศักดิ์ ชูความดี
  13. จุฑารัตน์ นิลเปรม
  14. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  15. ฉลอง ทองนะ
  16. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  17. ชวภณ วัธนเวคิน
  18. ชินโชติ แสงสังข์
  19. โชคชัย กิตติธเนศวร
  20. โชติชัย บัวดิษ
  21. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  22. ณรงค์ จิตราช
  23. ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
  24. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  25. แดง กองมา
  26. เตชสิทธิ์ ชูแก้ว
  27. ธนชัย แซ่จึง
  28. ธนภัทร ตวงวิไล
  29. ธวัช สุระบาล
  30. ธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์
  31. ธารนี ปรีดาสันติ์
  32. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  33. นิพนธ์ เอกวานิช
  34. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  35. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  36. นิรุตติ สุทธินนท์
  37. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  38. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  39. บุญจันทร์ นวลสาย
  40. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  41. ประกาสิทธิ์ พลซา
  42. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  43. ปราณีต เกรัมย์
  44. ปวีณา สาระรัมย์
  45. ปุณณภา จินดาพงษ์
  46. พรเพิ่ม ทองศรี
  47. พละวัต ตันศิริ
  48. พิชาญ พรศิริประทาน
  49. พิมาย คงทัน
  50. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  51. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  52. เพลินจิต ขันแก้ว
  53. ภมร เชาว์ศิริกุล
  54. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  55. มยุรี โพธิแสน
  56. มาเรีย เผ่าประทาน
  57. รุจิภาส มีกุศล
  58. ฤชุ แก้วลาย
  59. วร หินดี
  60. วรรษมนต์ คุณแสน
  61. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
  62. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  63. วันชัย แข็งการเขตร
  64. วิเชียร ชัยสถาพร
  65. วิภาพร ทองโสด
  66. วิรัตน์ ธรรมบำรุง
  67. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  68. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  69. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  70. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  71. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  72. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  73. ศุภโชค ศาลากิจ
  74. เศก จุลเกษร
  75. สง่า ส่งมหาชัย
  76. สมชาย นุ่มพูล
  77. สมดุลย์ บุญไชย
  78. สมทบ ถีระพันธ์
  79. สมบูรณ์ หนูนวล
  80. สมพร วรรณชาติ
  81. สมพาน พละศักดิ์
  82. สมศรี อุรามา
  83. สมหมาย ศรีจันทร์
  84. สรชาติ สุวรรณพรหม
  85. สวัสดิ์ ทัศนา
  86. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  87. สากล ภูลศิริกุล
  88. สาลี สิงห์คำ
  89. สิทธิกร ธงยศ
  90. สืบศักดิ์ แววแก้ว
  91. สุทนต์ กล้าการขาย
  92. สุเทพ สังข์วิเศษ
  93. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  94. สุนทร เชาว์กิจค้า
  95. สุมิตรา จารุกำเนิดกนก
  96. สุริยา บาราสัน
  97. สุวิช จำปานนท์
  98. สุวิทย์ ขาวดี
  99. โสภณ ผาสุข
  100. อจลา ณ ระนอง
  101. อภิชา เศรษฐวราธร
  102. อภิชาติ งามกมล
  103. อมร ศรีบุญนาค
  104. อลงกต วรกี
  105. อะมัด อายุเคน
  106. อัจฉรพรรณ หอมรส
  107. อัษฎางค์ แสวงการ
  108. อารีย์ บรรจงธุระการ
  109. อิสระ บุญสองชั้น
  110. เอนก วีระพจนานันท์
  111. เอมอร ศรีกงพาน

ตามหาคนหาย! พปชร. เทไม่ลงมติเกือบยกพรรค สว. ไม่ได้ลงมติ 34 คน

ด้านพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐ มีสส. ทั้งหมดในพรรค 20 คน แต่มี สส. ที่ลงมติเห็นด้วยในญัตติส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญเพียงสองคนเท่านั้น คือ กาญจนา จังหวะ ลงมติเห็นด้วย และปริญญา ฤกษ์หร่าย ลงมติงดออกเสียง ขณะที่ สส. อีก 18 คน ไม่ได้ลงมติ ซึ่งอาจจะไม่ได้มาประชุมร่วมรัฐสภาในนัดนี้เลย หรือลาประชุม หรือมาประชุมรัฐสภาแต่ไม่ได้ลงมติในขณะนั้น

สส. พรรคพลังประชารัฐ 18 คนที่ไม่ได้ลงมติ ได้แก่

  1. กระแสร์ ตระกูลพรพงศ์
  2. ขวัญเรือน เทียนทอง
  3. คอซีย์ มามุ
  4. จักรัตน์ พั้วช่วย
  5. ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์
  6. ชัยมงคล ไชยรบ
  7. โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
  8. ตรีนุช เทียนทอง
  9. ทวี สุระบาล
  10. บุญชัย กิตติธาราทรัพย์
  11. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
  12. พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์
  13. วรโชติ สุคนธ์ขจร
  14. วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
  15. วิริยะ ทองผา
  16. สุธรรม จริตงาม
  17. อนันต์ ผลอำนวย
  18. อัคร ทองใจสด

ด้านฝั่ง สว. มีผู้ไม่ได้ลงมติในญัตตินี้ 34 คน โดยสามคน คือ มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ซึ่งมีดำรงตำแหน่งรองประธานรัฐสภา และรองประธานวุฒิสภาอีกสองคน คือ เกรียงไกร ศรีรักษ์ และ บุญส่ง น้อยโสภณ

อีก 13 คน เป็นสว. ที่เคยลงมติแทงสวนหรือลงมติแตกต่างจากเสียงข้างมากอยู่บ้างในบางประเด็น ได้แก่

  1. กมล สุขคะสมบัติ
  2. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์
  3. ชาญวิศว์ บรรจงการ
  4. เดชา นุตาลัย
  5. ธณตศกร บุราคม
  6. นพดล อินนา
  7. ยะโก๊ป หีมละ
  8. วราวุธ ตีระนันทน์
  9. วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
  10. เศรณี อนิลบล
  11. สุกิจ ทั่งทอง
  12. อมรศักดิ์ กิจธนานันท์
  13. อังกูร คล้ายคลึง

ขณะที่เหลืออีก 17 คน เป็น สว. ที่มีทิศทางการลงมติที่ผ่านมาสอดคล้องกับมติข้างมากของวุฒิสภา คือ

  1. กมล รอดคล้าย
  2. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  3. ขจรศักดิ์ ศรีวิราช
  4. จำลอง อนันตสุข
  5. ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
  6. ชัยธัช เพราะสุนทร
  7. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  8. นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล
  9. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  10. ไพบูลย์ ณะบุตรจอม
  11. ภาวนา ว่องอมรนิธิ
  12. ยุทธนา ไทยภักดี
  13. สามารถ รังสรรค์
  14. สายฝน กองแก้ว
  15. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  16. โสภณ มะโนมะยา
  17. อัครวินท์ ขำขุด