![](https://live.staticflickr.com/65535/54312095949_08d83bd7f7_c.jpg)
สมาชิกวุฒิสภา (สว.) 200 คน จากระบบแบ่งกลุ่ม – เลือกกันเอง เป็นคีย์แมนสำคัญของเส้นทางการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 วางเงื่อนไขให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะผ่านด่านแรกไปได้ ต้องใช้เสียง สว. โหวต “เห็นชอบ” หนึ่งในสาม หรือ 67 เสียง โดยวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 ที่รัฐสภาจะพิจารณาข้อเสนอตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน วาระนี้เป็นนัดสำคัญที่จะส่งผลให้การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เริ่มต้นเดินหน้าได้ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าในปี 2570 และเป็นวาระพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญครั้งแรก ของ สส. และ สว. ชุดนี้
ย้อนกลับไปช่วงแนะนำตัวผู้สมัคร สว. 2567 ก่อนกระบวนการเลือกกันเอง เว็บไซต์ https://senate67.com เปิดให้ผู้สมัครแนะนำตัว-ประกาศจุดยืนในหลากประเด็น หนึ่งในนั้นคือจุดยืนเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร. จากการเลือกตั้งโดยประชาชน มี สว. อย่างน้อย 19 คน ที่เคยแสดงจุดยืนว่าต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ได้แก่
- ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ กลุ่ม 3 การศึกษา จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- วีระพันธ์ สุวรรณนามัย กลุ่ม 4 สาธารณสุข จากอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ กลุ่ม 7 ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน จากอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- แล ดิลกวิทยรัตน์ กลุ่ม 7 ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน จากเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ กลุ่ม 8 สิ่งแวดล้อม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน จากอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
- นรเศรษฐ์ ปรัชญากร กลุ่ม 9 ผู้ประกอบการ SMEs จากเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
- นิคม มากรุ่งแจ้ง กลุ่ม 10 ผู้ประกอบกิจการอื่น จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- ประทุม วงศ์สวัสดิ์ กลุ่ม 11 ท่องเที่ยว โรงแรม จากอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- มานะ มหาสุวีระชัย กลุ่ม 13 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จาก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
- วุฒิพงษ์ พงศ์สุวรรณ ร.น. กลุ่ม 13 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจากอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
- ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา กลุ่ม 15 ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น จากอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
- ชวพล วัฒนพรมงคล กลุ่ม 16 ศิลปะ ดนตรี บันเทิง กีฬา จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- อังคณา นีละไพรจิตร กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- ประภาส ปิ่นตบแต่ง กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน นักเขียน จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- นันทนา นันทวโรภาส กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน นักเขียน จากอำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร
- สุนทร พฤกษพิพัฒน์ กลุ่ม 19 อาชีพอิสระ จากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- เอกชัย เรืองรัตน์ กลุ่ม 20 อื่นๆ จากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
หลังจบกระบวนการเลือกกันเอง และ สว. เริ่มทำหน้าที่ในสมัยประชุมแรก ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567 ผลงานของ สว. ในประเด็นเกี่ยวกับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างเป็นรูปธรรมที่สุดคือ พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 (พ.ร.บ. ประชามติฯ) โดยเสียงข้างมากของ สว. ชุดนี้ “แผลงฤทธิ์” พลิกกลับแนวทางของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ฝ่าย สส. เห็นว่าต้องยกเลิกเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น (Double Majority) และเปลี่ยนไปใช้เงื่อนไขเสียงข้างมากธรรมดาแทน เพื่อให้การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญง่ายมากขึ้น ซึ่งเมื่อมาถึงชั้น สว. ก็ถูกพลิกมติกลับให้ไปใช้เสียงข้างมากสองชั้น (Double Majority) เหมือนเดิม สุดท้ายร่างพ.ร.บ. ประชามติฯ ก็ถูกยับยั้งไว้ 180 วัน
เมื่อสำรวจว่า สว. ที่เคยแสดงจุดยืนว่าว่าต้องการเห็นรัฐธรรมนูญใหม่ 19 คน โหวตอย่างไรในประเด็นเสียงข้างมากธรรมดา-เสียงข้างมากสองชั้น พบว่า สว. เหล่านี้ มีแนวทางลงมติการลงมติแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ 10 คน ยังยืนยันหลักการให้ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียวก็พอเพื่อให้ประชามติทำได้ง่าย ขณะที่อีกหกคน แนวโน้ม “ไหลตาม” สว. ส่วนใหญ่ คือ โหวตพลิกกลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้น มีสองคนที่งดออกเสียง และหนึ่งคนที่ไม่ได้มาลงมติ
สว. ที่ไม่เห็นชอบ ยืนยันให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากธรรมดาก็พอ
- แล ดิลกวิทยรัตน์ กลุ่มที่ 7 ลูกจ้าง จากเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ กลุ่ม 8 สิ่งแวดล้อม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน จากอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
- นรเศรษฐ์ ปรัชญากร กลุ่ม 9 ผู้ประกอบการ SMEs จากเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
- ประทุม วงศ์สวัสดิ์ กลุ่ม 11 ท่องเที่ยว โรงแรม จากอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- อังคณา นีละไพรจิตร กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- ประภาส ปิ่นตบแต่ง กลุ่ม 17 ประชาสังคม จากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน นักเขียน จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- นันทนา นันทวโรภาส กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน นักเขียน จากเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- สุนทร พฤกษพิพัฒน์ กลุ่ม 19 อาชีพอิสระ จากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
สว. ที่เห็นชอบให้พลิกมติกลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่
- วีระพันธ์ สุวรรณนามัย กลุ่มที่ 4 สาธารณสุข จากอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ กลุ่มที่ 7 ลูกจ้าง จากอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- มานะ มหาสุวีระชัย กลุ่ม 13 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
- วุฒิพงษ์ พงศ์สุวรรณ ร.น. กลุ่ม 13 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
- ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา กลุ่ม 15 ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น จากอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
- ชวพล วัฒนพรมงคล กลุ่ม 16 ศิลปะ ดนตรี บันเทิง กีฬา จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
สว. ที่งดออกเสียงในประเด็นการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติฯ
- ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ กลุ่มที่ 3 การศึกษา จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- นิคม มากรุ่งแจ้ง กลุ่ม 10 ผู้ประกอบกิจการอื่น จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
สว. ที่ไม่ได้มาร่วมลงมติในวาระการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติฯ
- เอกชัย เรืองรัตน์ กลุ่ม 20 อื่นๆ จากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผลการลงมติในวาระสำคัญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 จะเป็นตัวชี้วัดว่า สว. 67 ทั้ง 19 คน รวมถึง สว. คนอื่นทั้งที่เคยแสดงจุดยืน และไม่เคยแสดงจุดยืนประเด็นดังกล่าว จะนำพาประเทศไปสู่ทิศทางไหน
ชวนติดตามประชุมร่วมกันของรัฐสภานัดสำคัญครั้งนี้ ว่า สว. ชุดแรกของระบบ “เลือกกันเอง” ที่ประชาชนไม่ได้เลือกเข้ามาโดยตรง จะลงมติ “เห็นด้วย” หรือไม่ กับข้อเสนอปูทางไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่