คดีมาตรา 112 ของเก็ท-โสภณ จากการปราศรัยในวันแรงงานสากล

53920181363_cf7761dd89_o

จับตาคำพิพากษาคดีม. 112 คดีที่สามของเก็ท-โสภณ

29 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดเก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรงฟังคำพิพากษากรณีปราศรัยวันแรงงาน หมายเลขคดีดำที่ อ.732/2566 จากกิจกรรมวันแรงงานสากล ที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 โดยถูกกล่าวหาว่า คำปราศรัยใช้ถ้อยคำเสียดสี พาดพิง ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ทำให้ประชาชนรู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมสี่ข้อความ โดยสามข้อความ มีเนื้อหากล่าวพาดพิงถึงเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และสถาบันกษัตริย์ 

ทั้งนี้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ศาลอาญาเคยนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ก่อนศาลอ่านคำพิพากษา ศาลแจ้งแก่จำเลยว่าโจทก์ (อัยการ) ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและศาลได้อนุญาตแล้ว ทำให้ทนายจำเลยแถลงคัดค้านต่อศาล ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนการพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 29 ตุลาคม 2567

คดีนี้เก็ท-โสภณถูกพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 ขณะที่เขาถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ในคดีมาตรา 112 ของ สน.สำราญราษฎร์ จากการปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 และไม่ได้รับการประกันตัว โดยคดีนี้มี ร.ต.อ.ทองธาดา การะเกด ฝ่ายสืบสวน สน.นางเลิ้ง เป็นผู้กล่าวหา 

ในชั้นอัยการ ปัญญ ไพศาลรภัทร พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 บรรยายคำฟ้องโดยมีเนื้อหาสรุปว่า

1. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 จำเลยได้กล่าวปราศรัยมีใจความบางช่วงในประเด็นเหล่านี้

๐ ในช่วงที่ประเทศไทยยังขาดวัคซีนโควิดที่มีคุณภาพ มีวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรกหายไป โดยกล่าวถึงเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และกลุ่มเพื่อนที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนหน้าประชาชน ซึ่งทำให้คนฟังเข้าใจว่า เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และพระสหายว่าลักเอาวัคซีนไฟเซอร์ไปฉีดให้ตนเอง เพื่อที่จะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ โดยประการที่น่าจะทำให้เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ซึ่งเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา

๐ วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งเครือข่ายราชวงศ์ได้รับวัคซีน จากการเข้าถือหุ้น แต่ประชาชนไม่ได้วัคซีน “ผมถึงย้ำเสมอว่าขอให้ตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนว่า ทุกคนคือแรงงาน ทุกคนมีศักดิ์ศรีที่จะได้วัคซีนและอื่นๆ แต่ศักดินา ระบอบกษัตริย์ นายทุน รัฐบาล ได้ขโมยสวัสดิการ ขโมยอำนาจอธิปไตยไปจากเรา” ซึ่งทำให้คนฟังเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่ผลิตวัคซีนดังกล่าว ทำให้ราชวงศ์และข้าราชบริพาร ได้รับวัคซีน แต่ประชาชนกลับไม่ได้รับ ตลอดจนทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่ากษัตริย์ ขโมยอำนาจอธิปไตยจากประชาชน โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา

๐ เครื่องมือทางการแพทย์ โรงพยาบาล ตลอดจนเงินซื้อวัคซีนและซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเงินบริจาคจากประชาชน ไม่ใช่เงินของกษัตริย์ หรือมหาราชพระองค์ใด ทำให้คนฟังเข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์ช่วยเหลือประชาชนเพียงในนาม ไม่ได้ช่วยเหลือจริง งบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ทางการแพทย์ก็มาจากเงินภาษีประชาชน โดยประการที่น่าจะทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมพระเกียรติ

๐ ชีวิตที่เกิดมาได้ใช้คุ้มแล้ว หรืออยากตายอย่างทาสให้ศักดินา ให้สถาบันกษัตริย์กดหัวก็เลือกเอา แต่จงศรัทธาในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้าหากทุกคนถูกลิดรอนสิทธิ ขอให้เรียกร้องสิทธิออกมาทำให้คนฟังเข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์กดขี่ประชาชน ประชาชนเป็นทาส ประชาชนควรเรียกร้องสิทธิของตน โดยประการที่น่าจะทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมพระเกียรติ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อสถาบันกษัตริย์

2. วันดังกล่าว จำเลยได้ปราศรัยแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่มคนที่มาทำกิจกรรรม “แจกน้ำยาให้หมามันกิน” โดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า โดยไม่ได้รับอนุญาต

อัยการฟ้องสี่กรรม โทษจำคุกหนักถึงสิบสองปี

ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายจำเลยและทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้มีความกังวลว่าศาลจะพิพากษาลงโทษสี่ข้อความเป็นสี่กรรม  ซึ่งจะทำให้เก็ท-โสภณต้องรับโทษอย่างน้อยที่สุดกรรมละสามปี รวมทั้งสิ้นเป็น 12 ปี ด้านเก็ท-โสภณเองก็ให้ความเห็นว่าต้องสู้เรื่องนี้เพราะเป็นปัญหาทางกฎหมาย การที่เขาพูดครั้งเดียวทำให้ถูกดำเนินคดีถึงสี่กรรมนั้นเป็นความอยุติธรรม หากกฎหมายตีความเช่นนี้ผู้กระทำ ทำหนึ่งครั้งคือพูดหนึ่งชั่วโมงก็สามารถเอาผิดได้มากมายและเป็นกังวลว่ามีโอกาสสูงที่จะต้องย้ายเข้าเรือนจำคลองเปรม

กรณีปราศรัยในวันแรงงานสากลนี้เป็นคำพิพากษาคดีมาตรา 112 คดีที่สาม ของเก็ท-โสภณ โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีมาตรา 112 ไปแล้วสองคดี ดังนี้

๐ กรณีปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว ศาลลงโทษจำคุกรวมสามปีหกเดือน

๐ กรณีปราศรัยในกิจกรรมใครฆ่าพระเจ้าตาก ศาลลงโทษจำคุกสามปี 

รวมโทษทั้งสองคดีส่งผลให้เก็ท-โสภณ ต้องรับโทษจำคุกทั้งสิ้นหกปีหกเดือน

๐ อ่านข้อมูลคดี ของเก็ท-โสภณเพิ่มเติมได้ที่ https://database.tlhr2014.com/public/case/1971/lawsuit/743/

จำคุก ปีคดีม. 112 ของเก็ท-โสภณ กรณีปราศรัยวันแรงงาน รวมจำคุก คดี ปี ยังเหลืออีก คดี

29 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 น. ห้องพิจารณาคดีที่ 707 ศาลอาญานัดเก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรงฟังคำพิพากษากรณีปราศรัยวันแรงงาน หมายเลขคดีดำที่ อ.732/2566 จากกิจกรรมวันแรงงานสากล ที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 โดยเขาถูกกล่าวหาว่า คำปราศรัยใช้ถ้อยคำเสียดสี พาดพิง ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ทำให้ประชาชนรู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมสี่ข้อความ โดยสามข้อความ มีเนื้อหากล่าวพาดพิงถึงเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และสถาบันกษัตริย์ 

คดีนี้เก็ท-โสภณถูกพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 ขณะที่เขาถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ในคดีมาตรา 112 ของ สน.สำราญราษฎร์ จากการปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 และไม่ได้รับการประกันตัว โดยคดีนี้มี ร.ต.อ.ทองธาดา การะเกด ฝ่ายสืบสวน สน.นางเลิ้ง เป็นผู้กล่าวหา และถูกแจ้งข้อกล่าวหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตเพิ่มในภายหลัง

เก็ทถอดเสื้อแถลงต่อหน้าศาล กรีดอกด้วยใบมีดเป็นข้อความ 112

เวลา 9.29 น. เก็ทเดินทางมาถึงห้องพิจารณา มวลชนที่มาร่วมฟังการพิจารณาต่างก็เข้าไปให้กำลังใจจำเลย หลังศาลขึ้นนั่งบัลลังก์เวลา 9.36 น. เก็ทขอแถลงต่อศาลก่อนอ่านคำพิพากษา จากนั้นเขาถอดเสื้อนักโทษที่เขาสวมใส่อยู่ ปรากฎให้เห็นรอยกรีดผิวหนังและรอยเลือดบริเวณหน้าอกด้วยของมีคม เขาแถลงต่อศาลว่า “วันนี้ผมจำเป็นจะต้องพูดจริงๆ ผมต้องย้ำเตือนว่าอะไรคือสิ่งที่มันผิดปกติครับ ท่านอาจจะเห็นว่าวันนี้สิ่งที่ผมทำมันไม่ปกติ แต่ท่านไม่รู้สึกบ้างหรือว่ามันมีสิ่งที่ไม่ปกติยิ่งกว่า การจับคนเห็นต่างไปเข้าคุก ไปดำเนินคดีแบบนี้มันปกติไหมครับ”

และกล่าวโดยมีใจความว่าในสถานการณ์ตอนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 มากกว่า 300 คน แต่ไม่มีคดีใดที่สำนักพระราชวังเป็นผู้ฟ้องหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ในส่วนของการพิจารณาคดีก็มีเรื่องที่ผิดปกติเยอะมาก บางคนไม่ได้สิทธิในการประกันตัวไปสู้คดีอย่างเต็มที่ ในส่วนของคำตัดสินของศาลเขาชี้ชวนให้ศาลกลับไปมองถึงดุลพินิจของศาลที่ไม่มีความเป็นธรรมและบทลงโทษที่ไม่สมเหตุสมผลกับพฤติกรรม เขามองว่าสิ่งที่รับไม่ได้อย่างถึงที่สุดคือคำตัดสินของศาลที่จะกลายไปเป็นบรรทัดฐานให้แก่สังคม

ต่อมาศาลเริ่มอ่านคำสั่งกรณีคำร้องที่ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติเป็นตัวแทนเข้ายื่นขอให้ยุติการกระทำ การปฏิบัติหรือการกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จากการที่กรมราชทัณฑ์ใช้กุญแจเท้าล่ามขาทั้งสองของจำเลย ศาลพิเคราะห์เห็นว่าการที่เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ควบคุมจำเลยด้วยชุดนักโทษพร้อมใส่กุญแจเท้าทั้งสองข้างมายังห้องพิจารณาคดี และในระหว่างพิจารณาคดีต่อหน้าศาลนั้นเป็นการใช้เพื่อพันธนการแก่ผู้ต้องขัง ซึ่งตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ที่ระบุว่า ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง  เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ อนุมาตรา (4) เมื่อผู้ต้องขังถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควร ที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นเป็นผู้มีอำนาจในการสมควรหรือไม่ในการพิจารณาเพื่อป้องกันการหลบหนี อีกทั้งกุญแจเท้าที่ใช้กับจำเลยนั้นก็เป้นไปตามกฎกระทรวง ทั้งยังปรากฏว่าผู้ต้องขังคนอื่นก็มีการปฏิบัติในลักษณะเช่นเดียวกัน

ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นตามสมควรในการควบคุมผู้ต้องขังออกภายนอกเรือนจำซึ่งมีหลายคนที่ต้องพิจารณาในแต่ละวัน การใส่ชุดนักโทษและใช้เครื่องพันธนาการตามที่ผู้ร้องได้กล่าวมาจึงเป็นไปตามกฎหมาย ชอบด้วยพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21(4) จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่มีเหตุที่จะทำให้ศาลต้องสั่งให้ยุติการกระทำดังกล่าว หากผู้ร้องเห็นว่ากฎหมายหรือการกระทำดังกล่าวมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ชอบที่จะใช้สทธิในศาลที่มีอำนาจในเรื่องดังกล่าว จึงมีคำสั่งให้ยกคำฟ้อง

ลงโทษจำคุกสามปี คำให้การเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสาม คงเหลือสองปี

ศาลอ่านคำพิพากษากรณีที่อัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามข้อหาการฝ่าฝืนการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ศาลอ่านรายงานการสืบคดีอันมีใจความว่าจำเลยให้การปฏิเสธแต่รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับบุคคลในคดีหมายเลขดำที่ อ.1447/2565 และคดีหมายเลขแดง อ.2410/2566 (คดีทัวร์มูล่าผัว) หลังสืบพยานโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้น โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนของคดีให้นับโทษต่อจากหมายเลขแดงในคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลอนุญาต ด้านจำเลยโต้แย้งการแก้ไขดังกล่าว ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ มีกลุ่มบุคคลใช้ชื่อกลุ่มว่ากลุ่มแรงงานเพื่อสิทธิมนุษยชนรวมตัวกันจัดกิจกรรมเพื่อเดินทางไปทำเนียบรัฐบาล จากนั้นตำรวจได้ตั้งจุดสกัดกั้น กลุ่มผู้ชุมนุมจึงตั้งจุดชุมนุมกันที่แยกพาณิชยการ การชุมนุมมีการนำรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงมาใช้ในการปราศรัย

เวลาประมาณ 11.00 น. จำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัย ภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร.ต.อ.ทองธาดา การะเกด ฝ่ายสืบสวน สน.นางเลิ้ง อ้างถ้อยคำปราศรัยของจำเลยฟ้องดำเนินคดี ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ในชั้นการสืบพยานโจทก์และพนักงานสอบสวนเข้าให้การว่าได้ติดตามดูความเคลื่อนไหวการจัดกิจกรรมการชุมนุมที่แยกพาณิชยการ ผู้ชุมนุมมีการผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัย เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวปราศรัยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อจำเลย แต่ภายหลังได้พบว่ามีการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ขณะที่จำเลยนำสืบว่าศึกษาอยู่ภาควิชารังสีเทคนิค คณะแพทย์ศาสตร์วชิระพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราทิราช

วันเกิดเหตุจำเลยได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ใช้แรงงานและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โรคระบาด โควิด-19 ที่มีการเจ็บป่วยล้มตาย รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับภาระหนักและต้องติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากแต่รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการป้องกันหรือแก้ไข ทางผู้จัดงานได้จัดให้มีจุดขึ้นปราศรัยเพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ต่อมาทางผู้จัดงานได้เชิญจำเลยขึ้นปราศรัย การกล่าวปราศรัยของจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิทางแรงงานและความเท่าเทียมกันในสังคม เป็นการกระทำในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 34 ได้ให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 112

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 มาตรา 4 ระบุว่า  ผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า จะต้องขอรับอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมหมายถึงผู้ที่จัดให้มีการใช้เครื่องขยายเสียง ทางโจทก์สืบได้ความเพียงว่าได้มีการใช้เครื่องขยายเสียง ไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มในการจัดหารถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงมาใช้ในการโฆษณา จำเลยเป็นหนึ่งในผู้ปราศรัยโดยไม่ได้ปรากฎว่าเป็นแกนนำ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

และกรณีการกล่าวปราศรัยที่ถูกฟ้องว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยมีใจความว่า

1. จำเลยได้ปราศรัยถึงในช่วงสภาวะการขาดวัคซีนที่มีคุณภาพ โดยกล่าวถึงเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และกลุ่มเพื่อนที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนหน้าประชาชน

2. จำเลยได้ปราศรัยถึงวัคซีนแอสตราเซนเนกา โดยกล่าวว่ากลุ่มราชวงศ์เป็นกลุ่มที่ได้วัคซีน จากการเข้าถือหุ้น แต่ประชาชนไม่ได้วัคซีน

3. จำเลยได้ปราศรัยกล่าวถึงเครื่องมือทางการแพทย์ โรงพยาบาล ตลอดจนเงินซื้อวัคซีนและซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็เป็นเงินบริจาคจากประชาชน ไม่ใช่เงินของกษัตริย์

4. จำเลยได้ปราศรัยว่า ชีวิตหนึ่งที่เกิดมาได้ใช้คุ้มแล้วที่ไม่ยอมตกเป็นทาสให้ศักดินา และขอจงศรัทธาในศักดิ์ศรีของมนุษย์ของคุณ ถ้าหากทุกคนถูกลิดรอนสิทธิ ขอให้เรียกร้องสิทธิออกมา

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามหลักของกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ครองราชย์สมบัติอยู่ขณะเกิดการกระทำขึ้นและรัชทายาท หมายถึง ผู้จะสืบราชสมบัติหรือผู้ที่จะครองราชย์เป็นองค์ต่อไป ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศร ภูมิพลราชวรางกูรกิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามมินทรธิเบศรรราชวโรดมบรมนาศบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่สิบ

ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้”

การที่จำเลยปราศรัยถึงวัคซีนแอสตราเซนเนกา โดยกล่าวว่ากลุ่มราชวงศ์เป็นกลุ่มที่ได้วัคซีน จากการเข้าถือหุ้น แต่ประชาชนไม่ได้วัคซีน เป็นการพูดในเชิงยืนยันข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ผลิตวัคซีนแอสตราเซนเนกาเป็นผู้มีส่วนในการจัดสรรวัคซีน โควิด-19 เป็นการกระทำหมิ่นประมาท ดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ด้วยถ้อยคำปราศรัยทำให้ประชาชนรู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ทั้งนี้มาตรา 112 ไม่ได้กำหนดเหตุยกเว้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทในกรณีที่ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่บังคับใช้กับกรณีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาในมาตรา 326

ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเก็ทคดีปราศรัยวิจารณ์วัคซีนโควิด-19 ในวันแรงงาน จำคุกตาม มาตรา สามปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงเหลือโทษจำคุกสองปี ส่วนข้อหาตามพระราชบัญญัติควบคุม การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ให้ยกฟ้องและนับโทษคดีนี้ต่อจากคดีหมายเลขดำอ.1447/2565 ที่ถูกพิพากษาไปก่อนหน้านี้จากกิจกรรมทัวร์มูล่าผัว

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage