ตร.ควบคุมตัวนักกิจกรรมกรีนพีซพร้อมยึดป้ายผ้า หลังแขวนป้ายประท้วงการฟอกเขียวคาร์บอนเครดิต

15 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น. กลุ่มนักกิจกรรมกรีนพีช (Green Peace) จำนวน 8 คน ถูกพาตัวมาที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ หลังขึ้นไปบนดาดฟ้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทำกิจกรรมโรยตัวและแขวนป้ายผ้ารณรงค์ขนาด 10×10 เมตร ที่เขียนข้อความว่า “People before profit หยุดฟอกเขียวยักษ์ใหญ่คาร์บอน” 

ตร.ควบคุมตัวนักกิจกรรมกรีนพีซพร้อมยึดป้ายผ้า หลังแขวนป้ายประท้วงการฟอกเขียวคาร์บอนเครดิต

ทั้งนี้ ก่อนจะมีการควบคุมตัวนักกิจกรรมทั้ง 8 คน มาที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกระทรวงทรัพยากรฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขึ้นไปชั้นบนของอาคารเพื่อขัดขวางการทำกิจกรรมดังกล่าว โดยมีการยึดโทรศัพท์ของนักกิจกรรมและมีการควบคุมตัวนักกิจกรรมที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัย จนทำให้มีการเจรจาให้ปล่อยตัว เพราะอาจจะทำให้นักกิจกรรมที่โรยตัวแขวนป้ายผ้าได้รับอันตราย เนื่องจากไม่มีใครคอยดูแลอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย

ต่อมาทางเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรฯ ได้พาตัวนักกิจกรรมกรีนพีชมาที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสอบประวัติและทำบันทึกประจำวันว่า มีการกระทำกิจกรรมดังกล่าว แต่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าว โดยทนายความแจ้งว่า เนื่องจากต้องให้ทางกระทรวงทรัพยากรฯ ในฐานะผู้แจ้งเหตุและครอบครองสถานที่เป็นคนดำเนินการแจ้งความ และมีการยึดป้ายผ้ารณรงค์ไว้เพื่อทำการทำการ สืบสวนการกระทำความผิดเพิ่มเติม ก่อนจะปล่อยตัวนักกิจกรรมทั้ง 6 คน ในเวลา 14.00 น. 

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวสืบเนื่องมาจากทางเครือข่ายประชาชนเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศและหยุดคาร์บอนเครดิต มาชุมนุมบริเวณด้านหน้ากระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหยึดฟอกเขียว (Green Washing) ให้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่และทำให้โลกอยู่ในสภาวะโลกเดือด

โดยมีข้อเรียกร้อง 7 ข้อ ดังนี้

1. ผลักดันให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้ โดยยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายป่าไม้แห่งชาติ แผนพลังงานชาติ แผนพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ และนโยบายต่างๆ ที่ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแบบจอมปลอม ที่นำมาสูการเร่วเร้าวิกฤตโลกเดือด ทั้งนี้ เพื่อรับรองว่ารัฐบาลจะมีภาระรับผิด(accountability)ในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั้งในลักษณะที่เป็นภาระรับผิดต่อประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นไปตามหลักการภาระรับผิดในระดับสากล

2. สร้างบทบาทนำในอาเซียน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเสียงต่อโลกเดือดสูงและประชาคมโลกในการเรียกร้องให้มีการชดใช้หนี้นิเวศ และความสูญเสียและความเสียหาย(loss and damage) ที่เกิดขึ้น

3. หยุดกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกฉบับที่สนับสนุนกลไกตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนซึ่งเป็นวาทกรรมแก้โลกเดือดแบบจอมปลอม และการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนใต้ดินและใต้ทะเลซึ่งเป็นการฟอกเขียวสร้างความชอบธรรมให้กับอุตสาหกรรมโดยอ้างความตกลงปารีสที่ยังตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิม

4. ยุบเลิกองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) ที่ไม่มีบทบาทอื่นใดนอกจากส่งเสริมระบบคาร์บอนเครดิตและสร้างความชอบธรรมให้อุตสาหกรรมยังคงปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกอยู่ต่อไป

5. ทบทวนวิสัยทัศน์ ภารกิจและบทบาทของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียใหม่ โดยเน้นส่งเสริมสิทธิชุมชนในการดูแลและปกป้องทรัพยากร และกำกับดูแลธุรกิจ กิจการ และ อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด แทนที่จะละเมิดสิทธิชุมชนผ่านกระบวนการ EIA

6. ยกเลิกสัมปทานที่ให้บริษัทเอกชนที่เข้าไปทำโครงการคาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิตทั้งหมด และ ยุติการโฆษณาชวนเชื่อเรืองคาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิตทุกประเภท

7. มีมาตรการเร่งด่วนให้อุตสาหกรรมฟอสซิล อุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่/อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

RELATED TAGS

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage