นับเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเลือกตั้ง ดังนั้นการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่และปรากฏการณ์ใหญ่ ที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดกว่าฟันธงผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันคือ ‘โซเชียลมีเดีย’ หรือ พื้นที่โลกออนไลน์ จะเป็นสมรภูมิรบสำคัญยิ่งกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา
ด้วยเหตุนี้ ทำให้องค์กรภาครัฐ เอกชน หรือสื่อ ต่างก็เข้ามาใช้พื้นที่บนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะในรูปแบบเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันเพื่อส่งต่อข้อมูลหรือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยวันนี้ ไอลอว์จะมาทำสำรวจว่า ปัจจุบันประชาชนมีทางเลือกรับข้อมูลได้ทางไหนบ้าง และแต่ละที่มีวิธีการใช้งาน และลักษณะเด่นแตกต่างกันอย่างไร
เว็บไซต์ กกต.: ข้อมูลทางการ-เอกสาร-สถิติ
สำหรับใครที่ต้องการดูข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. อย่างเป็นทางการจากต้นทางที่เป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือค้นคว้าวิจัย “ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)” คือ คำตอบ โดยประกาศ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ กกต. มีวิธีการ ดังนี้
2) จากนั้น เลือกประกาศ กกต. หรือ ข้อมูลที่ต้องการ อย่างเช่น ถ้าเราต้องการทราบรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ให้เลือกหัวข้อที่ 1 “รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง”
3) รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด ข้อมูลจะเรียงตามตัวอักษรของจังหวัด ลำดับเขตเลือกตั้ง และลำดับเบอร์ของผู้สมัคร
ข้อมูล กกต. ทั้ง 5 หัวข้อ แบ่งเป็น 1) รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 2) สถิติและจำนวนผู้สมัคร ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมือง 3) รายชื่อและโลโก้ของพรรคการเมือง 4) รายชื่อนายกฯ ในบัญชีของแต่ละพรรคการเมือง และ 5) รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายช่ือ
App SMART VOTE: ดูโฉมหน้าผู้สมัคร-แคนดิเดตนายกฯ ของแต่ละพรรค
1) ในหน้าหลัก ให้เราเลือก “ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง”
2) เลือก “ข้อมูลผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง”
ซึ่งถ้าเราต้องการดูข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือนายกฯ ในบัญชีก็สามารถเลือกในหน้านี้ได้เช่นกัน
4) ข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ทั้งหมดในเขตเลือกตั้งของเราก็จะปรากฎ ซึ่งถ้าเราสนใจผู้สมัครคนใดก็สามารถกดเข้าไปดูได้เช่นกัน ก็จะมีข้อมูลเบื้องต้นของผู้สมัคร ทั้งพรรคการเมืองที่สังกัด อายุ การศึกษา และอาชีพ
กกต. ไม่ได้จัดทำ SMART VOTE ในรูปแบบเว็บไซต์ ดังนั้น จึงต้องดาวโหลดแอปพลิเคชั่นมาใช้ในระบบ iOS หรือ ระบบ Android เท่านั้น
เว็บไซต์ ELECT: ใช้รหัสไปรษณีย์ค้นหาผู้สมัครได้-มีเปรียบเทียบนโยบายพรรค
ELECT เว็บไซต์สื่อข้อมูลการเมืองการเลือกตั้งไทย ที่มีทั้งสาระความรู้และเกมส์เกี่ยวกับการเมืองไทย ได้จัดทำช่องทางในการค้นหาผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตไว้ โดยมีวิธีการดังนี้
1) เมื่อเข้าเว็บไซต์แล้วให้เลือก “ข้อมูลเขตเลือกตั้งและรายชื่อผู้สมัคร”
2) ใส่ “รหัสไปรษณีย์” เขตเลือกตั้งที่เรามีสิทธิเลือกตั้งอยู่
เว็บไซต์ Voice TV: ให้กดเลือกจังหวัด หรือพิมพ์ค้นหาก็ได้
เว็บไซต์ Voice TV ได้จัดหมวดที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งไว้มีข้อมูลทั้งการตรวจสอบเขตเลือกตั้ง พรรคการเมือง และข่าวเลือกตั้ง โดยการดูข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ทำได้โดยมีวิธีการดังนี้
เว็บไซต์ Vote62: ศูนย์รวมข้อมูลเลือกตั้ง กฎกติกา-ผู้สมัคร-นโยบายพรรค
สำหรับแหล่งข้อมูลเลือกตั้งอันสุดท้ายที่เราไม่อยากให้คนที่อยากไปใช้สิทธิเลือกตั้งพลาดคือ เว็บไซต์ Vote62.com ที่เกิดจากความร่วมมือกันของ The MOMENTUM x a day BULLETIN x iLaw x opendream เพื่อจัดทำเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบฐานข้อมูลผู้ลงสมัคร ส.ส. เขต โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้เลือกตัดสินใจลงคะแนน โดยให้ความสำคัญกับนโยบายและจุดยืนด้านประชาธิปไตยของแต่ละพรรคการเมืองเป็นหลัก โดยวิธีการใช้งานมีดังนี้
1) เข้าไปที่เว็บไซต์ Vote62.com ที่หน้าแรกของเว็บไซต์ จะมีข้อมูลให้เราเลือกหมวดเพื่อค้นหาข้อมูลต่อ โดยแบ่งเป็นสามอย่าง คือ หนึ่ง ช่วงอายุของเรา (อันนี้จะเลือกไม่ใส่ไม่ใส่ก็ได้) สอง ชื่อ แขวง / เขต / อำเภอ / ตำบล ที่เราสนใจ และสาม พรรคการเมืองที่เราสนใจ โดยจำแนกตามจุดยืนของพรรคการเมือง
RELATED POSTS
No related posts