ทำกฎหมาย คุ้มครองผู้ต้องหาไม่ให้ถูกซ้อม

เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การซ้อมหรือทรมาน ‘ผู้ต้องหา’ หรือ ‘ผู้ถูกคุมขัง’ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อบังคับให้รับสารภาพ เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในบ้านเมืองของเรา

การบังคับให้สารภาพด้วยการซ้อมหรือทรมาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง และเป็นผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งเหยื่อของการถูกซ้อมหรือทรมาน มักจะไร้โอกาสและเข้าไม่ถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยร่วมลงนามใน “อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี” (CAT) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีรัฐภาคีร่วมลงสัตยาบันมากถึง 141 รัฐ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 รวมระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว

อนุสัญญาฉบับนี้ มีเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและปกป้องการทรมานหรือการกระทำอันโหดร้ายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เนื้อหาตามอนุสัญญาจะมีผลบังคับใช้ภายในประเทศได้ ก็ต่อเมื่อรัฐไทยเองมีกฎหมายภายในที่มีเนื้อหาหลักการเช่นเดียวกันนั้นรองรับอยู่ด้วย หากไม่มีกฎหมายภายในแล้ว หลักการในอนุสัญญาระหว่างประเทศก็มีผลเป็นเพียงหลักสากลที่รัฐต้องเคารพแต่ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้

ที่ผ่านมา ‘เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน’ ระดมความเห็นจากนักวิชาการ ส่วนราชการ องค์กรความร่วมมือต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกส่วน เพื่อจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมาน พ.ศ….” ขึ้นเพื่อพัฒนากฎหมายของไทยให้รับเอาหลักการในอนุสัญญาดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติจริง

หลักการที่น่าสนใจ ที่จะมีอยู่ในอยู่ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เช่น

จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลปัญหาการซ้อม ทรมาน และให้มีอำนาจในการเข้าเยี่ยมสถานที่คุมขังของรัฐเพื่อตรวจดูว่า มีการซ้อมหรือทรมานผู้ต้องขังอยู่ภายในหรือไม่

ในคดีที่มีเจ้าหน้าที่ถูกกล่าวหาว่าซ้อมหรือทรมานผู้ต้องหา ให้มีหน่วยงานแยกต่างหากที่มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนคดีการกระทำของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องหา เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ เชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของหน่วยงานใด

ให้มีระบบการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมหรือทรมาน โดยเยียวยาเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น พาตัวออกจากสถานที่คุมขัง และดูแลทางการแพทย์ ฯลฯ

ให้ศาลที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้อง พิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวน

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดอันเป็นการซ้อมหรือทรมานเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือคำรับสารภาพ เพื่อลงโทษ ข่มขู่ หรือเพราะเหตุใดๆ บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ต้องรับโทษทางอาญาสูงกว่าโทษความผิดฐานทำร้ายร่างกาย

อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ระดมความคิดเห็น และยังต้องช่วยกันปรับแต่งอีกหลายประเด็นจึงจะเสร็จสมบูรณ์เป็นร่างกฎหมายที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย คณะทำงานจึงต้องการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในสังคม ให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ดังนี้

ทำกฎหมาย คุ้มครองผู้ต้องหาไม่ให้ถูกซ้อม
ที่มาภาพ : thukral

 
Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage