งานเสวนา “ข้อหาหยุมหยิมมากมาย นิรโทษกรรมเท่าที่ได้ก่อนดีไหม?”
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17.00 – 19.30 น. ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ความขัดแย้งตั้งแต่ปี 2549 ยาวมาเกือบ 20 ปี จนกระทั่งในยุคปี 2563-2564 ที่เกิดการชุมนุมจำนวนมากของคนรุ่นใหม่ และรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องยาวนานจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้การชุมนุมทุกครั้งเข้าข่ายเป็นความผิดและเกิดคดีความมากขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์
คดีฐานชุมนุมฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรค ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พุ่งขึ้นกว่า 600 คดี โดยมีผู้ต้องหามากกว่า 1,400 คน กลายเป็นข้อหาหลักที่ทำให้ผู้ชุมนุมทางการเมืองต้องแบกรับภาระทางกระบวนการยุติธรรม ตามมาด้วยข้อหาเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมาย เช่น ข้อหาชุมนุมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อหาติดป้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อหากีดขวางการจราจร ฯลฯ
ซึ่งในปี 2567 สส. ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน เริ่มเสนอทางออกของคดีความเหล่านี้โดยการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยคดีข้อหาเล็กน้อยเหล่านี้กำลังกลายเป็น “ตัวประกัน” ว่าจะยกเลิกความผิดให้คนจำนวนมากก่อน แต่หากต้องการนิรโทษกรรมให้ประชาชนในคดีความผิดที่มีโทษหนักด้วย สส. บางพรรคการเมืองอาจยกมือคัดค้านและข้อหาเล็กน้อยอาจจะไม่ได้ถูกยกเลิกไป
กำหนดการงานเสวนา
เวลา 17.00 น. – 18.00 น. ภาพรวมปัญหาการดำเนินคดีทางการเมือง
– ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ iLaw นำเสนอรายงานปัญหาการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อผู้ชุมนุมทางการเมือง
– อัครชัย ชัยมณีการเกษ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นำเสนอประสบการณ์ที่ต้องรับมือคดีความจำนวนมาก
– กตัญญู หมื่นคำเรือง จำเลยข้อหามาตรา 116, บุกรุก, ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และอื่นๆ รวม 12 คดี
18.00 – 19.30 น. ทางออกยังมีอีกไหม ถ้าไม่ได้นิรโทษกรรม
– ดร.อดิศร จันทรสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
– ผศ.ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล