ประเด็นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ถูกจัดเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่นำโดยเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย เป็นผลให้ประเด็นเหล่านี้ตกอยู่ในความสนใจของสังคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่อง “สิทธิประกันตัว” ของผู้ที่ถูกคุมขังจากการแสดงออกทางการเมืองซึ่งยังคงอยู่ในเรือนจำกลับค่อยๆ ได้รับการพูดถึงน้อยลง สวนทางกับสถานการณ์ที่น่าห่วงกังวลมากขึ้น จำนวนผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ยังไม่สิ้นสุดทยอยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการกล่าวถึงจากฟากฝ่ายรัฐบาลอยู่บ้าง เช่น วันที่ 10 กันยายน 2566 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทวงยุติธรรมแสดงความเห็นตอบกลับแถลงการณ์เรื่องสิทธิการประกันตัวของกลุ่มส.ส.พรรคก้าวไกลว่า “เรื่องนี้บางส่วนอยู่ที่อำนาจศาล เราอาจเข้าไปดูรายละเอียด แต่เราคงไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือหากเขาเข้ามาอยู่ในเรือนจำ ก็จะต้องไม่มีการไปบีบคั้นอะไร” พร้อมเสริมความเห็นส่วนตัวว่า “การคุมขังนักโทษตามหลัก ก็จะมีนักโทษเด็ดขาด กับผู้ถูกคุมขังที่คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนศาลตัดสินหรือเรียกว่าอยู่ในชั้นพิจารณา ที่ยังไม่ได้เป็นนักโทษ เราต้องไปทำระบบ ที่ไม่รู้จะทำได้หรือไม่ แต่ฝันว่า ต่อไปนี้การควบคุมในเรือนจำ อยากให้ผู้บริหารเรือนจำไปดูว่าบุคคลที่ถูกดำเนินคดีแล้วอยู่ระหว่างการสอบสวน หรือพิจารณาคดี ก็ปฏิบัติแบบหนึ่ง ส่วนนักโทษเด็ดขาดก็ว่าไปอีกแบบหนึ่ง เพราะคนที่คดียังไม่ถึงที่สุด เขาก็ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ พ่อแม่เขาก็ยังเป็นห่วงอยู่ เพราะบางคนก็ยังเรียนหนังสือ ก็อาจต้องหาวิธีตรงนี้ แต่เราจะไม่ไปก้าวล่วงศาล”
อย่างน้อย 25 คนไม่ได้ประกันตัวแม้คดียังไม่ถึงที่สุด มีจำเลย 112 10 คน
ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า จนถึงวันที่ 29 กันยายน 2566 มีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 25 คน ในจำนวนนี้มีจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 10 คน และยังมีจำเลยคดีการเมืองที่คดีถึงที่สุดแล้ว อย่างน้อย 10 คน ในจำนวนนี้มีจำเลยมีจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 3 คน ยังไม่รวมถึงที่ทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับข้อมูลว่ามีผู้ต้องขังในคดีมาตรา 112 ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วถูกคุมขังอยู่อีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ศาลไม่มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาอยู่เลยแม้แต่คนเดียว ทำให้มีผู้ต้องขังการเมืองในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 2 คน ตัดสินใจแสดงออกด้วยการอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว ดังนี้
๐ วารุณี จำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และเหยียดหยามศาสนาจากการตัดต่อชุดโอกูตูร์แบรนด์ Sirivanavari Couture แทนเครื่องทรงฤดูหนาวของพระแก้วมรกต คดีนี้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เธอมีความผิดลงโทษจำคุก 3 ปี ลดกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 6 เดือน หลังศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวระหว่างการอุทธรณ์คดี วารุณีเริ่มอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 และอีก 3 วันถัดมาจึงยกระดับอดอาหารและน้ำ ระหว่างที่ประท้วงวารุณีมีบางช่วงที่วารุณียอมดื่มน้ำเพื่อทานยารักษาโรคและระหว่างวันที่ 14-21 กันยายน 2566 เธอยอมทานข้าวต้มตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อทานยาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย จากนั้นจึงกลับมาอดอาหารเต็มรูปแบบอีกครั้ง
๐ เวหา จำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการทวีตเกี่ยวกับไสยศาสตร์ในพิธีพระบรมศพในหลวง ร.9 และประสบการณ์การถูกคุมขังในเรือนจำชั่วคราวพุทธมลฑล วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก 3 ปี 18 เดือนและไม่อนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ เวหาประกาศอดอาหารเคียงข้างวารุณีมาตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เสนอข้อเรียกร้องได้แก่
- เรียกร้องให้ สส.เข้ามารับข้อเสนอปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจากผู้ต้องขังในเรือนจำ
- เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ออกมาแถลงความคืบหน้าและความเป็นไปได้ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีทางการเมือง
- เรียกร้องศาลให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดียังไม่สิ้นสุดเด็ดขาด และปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดีสิ้นสุดเด็ดขาดแล้ว
หากมีความคืบหน้าแม้เพียงข้อเดียว เวหาจะพิจารณายุติการอดอาหารประท้วงครั้งนี้ การอดอาหารประท้วงของเวหา เขาปฏิเสธการกินอาหารทุกอย่าง แต่ยังดื่มน้ำ นม น้ำผลไม้ น้ำหวาน และสารอาหารเหลวอื่นๆ
รวมสถิติผู้ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีและคดีถึงที่สุดจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2566
จำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ชื่อผู้ถูกคุมขัง | วันที่ถูกคุมขัง | เหตุแห่งคดี/สาเหตุถูกคุมขัง |
ชั้นที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี
|
รวมระยะเวลา
|
‘วุฒิ’ | 27 มี.ค. 2566 |
โพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความ
|
ระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น
|
186
|
เวหา แสนชนชนะศึก | 18 พ.ค. 2566 |
ทวีตเรื่องไสยศาสตร์ในพิธีบรมศพ ร. 9 และคุกวังทวีวัฒนา
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 134 |
ทีปกร | 19 มิ.ย. 2566 | โพสต์-แชร์คลิปตั้งคำถามถึงสถาบันฯ | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 102 |
28 มิ.ย. 2566 |
ตัดต่อชุดโอกูตูร์แบรนด์ Sirivanavari Couture แทนเครื่องทรงฤดูหนาวของพระแก้วมรกต
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 93 | |
‘วัฒน์’ | 17 ก.ค. 2566 |
โพสต์ชื่นชม ร.9 แต่วิจารณ์ ร. 10
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 74 |
เก็ท-โสภณ | 24 ส.ค. 2566 |
ปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 36 |
อุดม (สงวนนามสกุล) | 30 ส.ค. 2566 |
โพสต์เนื้อหาเช่น การทำรัฐประหารและการสวรรคตของร.8
|
ระหว่างฎีกาคำพิพากษา
|
30 |
สมบัติ ทองย้อย | 13 ก.ย. 2566 |
โพสต์ข้อความ “#กล้ามาก #เก่งมาก #ขอบใจ” และข้อความกล่าวถึงแจกลายเซ็น
|
ระหว่างฎีกาคำพิพากษา
|
16 |
อานนท์ นำภา | 26 ก.ย. 2566 |
ปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา63 หน้ารัฐสภา
|
ระหว่างรอศาลอุทธรณ์พิจารณาคำสั่งประกันตัว | 3 |
วีรภาพ | 28 ก.ย. 2566 | พ่นสีสเปรย์ข้อความเรียกร้อง “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” | ระหว่างรอศาลอุทธรณ์พิจารณาคำสั่งประกันตัว | 1 |
จำเลยคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง
ชื่อผู้ถูกคุมขัง | วันที่ถูกคุมขัง |
เหตุแห่งคดี/สาเหตุถูกคุมขัง
|
ชั้นที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี
|
รวมระยะเวลา |
ธี-ถิรนัย | 15 ก.พ. 2566 | ครอบครองระเบิดปิงปองก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64 | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 226 |
มาย-ชัยพร | 15 ก.พ. 2566 | ครอบครองระเบิดปิงปองก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64 | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 226 |
ชนะดล | 15 มี.ค. 2566 | ครอบครองระเบิด จากเหตุชุมนุมแยกอโศกดินแดง วันที่ 20 ส.ค. 2564 | ระหว่างพิจารณาคดี | 198 |
ประวิตร | 11 ก.ค. 2566 |
เผาป้อมตำรวจจราจร ใต้ทางด่วนดินแดง ในการชุมนุม #คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564
ปาระเบิดปิงปองและระเบิดขวดเข้าใส่อาคาร สน.พญาไท และวางเพลิงป้อมจราจรที่แยกพญาไท ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 #ม็อบ1ตุลา)
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 80 |
15 ส.ค. 2566 | ปาระเบิดปิงปองและระเบิดขวดเข้าใส่อาคาร สน.พญาไท และวางเพลิงป้อมจราจรที่แยกพญาไท ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 #ม็อบ1ตุลา) | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 45 | |
ขจรศักดิ์ | 15 ส.ค. 2566 | ปาระเบิดปิงปองและระเบิดขวดเข้าใส่อาคาร สน.พญาไท และวางเพลิงป้อมจราจรที่แยกพญาไท ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 #ม็อบ1ตุลา) | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 45 |
ธีรภัทร | 18 ส.ค. 2566 |
เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม #ทะลุแก๊ส เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 และปาระเบิดใส่รถวิทยุสายตรวจของตำรวจ
|
ระหว่างพิจารณาคดี | 42 |
18 ส.ค. 2566 |
เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม #ทะลุแก๊ส เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 และปาระเบิดใส่รถวิทยุสายตรวจของตำรวจ
|
ระหว่างพิจารณาคดี | 42 | |
อาร์ม-วัชรพล |
30 ส.ค. 2566
|
เผารถยนต์ตำรวจ สน.ดินแดง หลังเหตุการณ์ชุมนุม #ราษฎรเดินไล่ตู่ หรือ #ม็อบ11มิถุนา2565
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 30 |
30 ส.ค. 2566
|
เผารถยนต์ตำรวจ สน.ดินแดง หลังเหตุการณ์ชุมนุม #ราษฎรเดินไล่ตู่ หรือ #ม็อบ11มิถุนา2565
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 30 | |
30 ส.ค. 2566
|
เผารถยนต์ตำรวจ สน.ดินแดง หลังเหตุการณ์ชุมนุม #ราษฎรเดินไล่ตู่ หรือ #ม็อบ11มิถุนา2565
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 30 | |
30 ส.ค. 2566
|
เผารถยนต์ตำรวจ สน.ดินแดง หลังเหตุการณ์ชุมนุม #ราษฎรเดินไล่ตู่ หรือ #ม็อบ11มิถุนา2565
|
ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 30 | |
14 ก.ย. 2566 | ร่วมชุมนุมมั่วสุม และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน (ถูกกล่าวหาว่าใช้ระเบิดโยนใส่เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บใน #ม็อบ11กันยา2564) | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 14 | |
14 ก.ย. 2566 | ผู้สนับสนุนกรณีพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน (ถูกกล่าวหาว่าใช้ระเบิดโยนใส่เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บใน #ม็อบ11กันยา2564) | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 14 | |
บุ๊ค-ธนายุทธ | 22 ก.ย. 2566 | ครอบครองวัตถุระเบิด | ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 7 |
จำเลยคดีทางการเมืองที่ถึงที่สุดแล้ว
ชื่อผู้ถูกคุมขัง
|
วันที่ถูกคุมขัง | เหตุแห่งคดี/สาเหตุถูกคุมขัง | ชั้นที่ถูกคุมขัง |
รวมระยะเวลา
|
19 ม.ค. 2564 |
มาตรา 112 กรณีอัพโหลดคลิปเสียงของ “บรรพต” ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ทั้งหมด 29 ครั้ง ตั้งแต่ช่วงปี 2557-2558
|
ศาลชั้นต้นพิพากษา (ไม่อุทธรณ์คดีต่อ) | 983 | |
ศุภากร | 10 มี.ค. 64 | พ.ร.บ.คอมฯ กรณีโพสต์ภาพและข้อความบิดเบือนให้ร้ายสถาบันฯ จำนวน 9 ข้อความ ในช่วงปี 2563 | ศาลชั้นต้นพิพากษา (ไม่อุทธรณ์คดีต่อ) | 932 |
พลฯเมธิน | 19 มี.ค. 2565 | มาตรา 112 กล่าวถ้อยคำพาดพิงกษัตริย์ระหว่างถกเถียงกับคู่กรณีที่ขับรถเฉี่ยวชน | ศาลชั้นต้นพิพากษา (ไม่อุทธรณ์คดีต่อ) | 558 |
มะ-ณัฐชนน | 13 มิ.ย. 2565 | ครอบครองวัตถุระเบิด (ก่อนการชุมนุม #ม็อบ12มิถุนา65) | ศาลชั้นต้นพิพากษา (ไม่อุทธรณ์คดีต่อ) | 472 |
‘ปริทัศน์’ | 12 ต.ค. 2565 | มาตรา 112 | ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา | 352 |
กฤษณะและวรรณภา | 30 พ.ย. 2565 | ยุยงปลุกปั่นและเป็นอั้งยี่ กรณีแจกใบปลิว-ขายเสื้อมีโลโก้สหพันธรัฐไท |
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์
|
303 |
ทัตพงศ์ | 1 มี.ค. 2566 | ครอบครองระเบิดปิงปองในช่วงการชุมนุม 21 พ.ย. 2564 | ศาลชั้นต้นพิพากษา (ไม่อุทธรณ์คดีต่อ) | 212 |
สุวิทย์ | 24 เม.ย. 2566 | ครอบครองระเบิดปิงปอง กรณี #ม็อบ10สิงหา2564 |
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา (ไม่ยื่นฎีกาคำพิพากษา)
|
158 |
เอกชัย หงส์กังวาน | 6 ก.ค. 2566 | พ.ร.บ.คอมฯ กรณีโพสต์ข้อความเล่าประสบการการณ์เรื่องเพศสัมพันธ์ในเรือนจำ | ศาลฎีกาพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์ | 85 |
RELATED POSTS
No related posts