การทำประชามติถามเสียงประชาชนเพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เริ่มมีความคืบหน้าอยู่บ้าง เมื่อการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก เมื่อ 13 กันยายน 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ศึกษาแนวทางการทำประชามติ และได้มอบหมายให้ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ โดยยึดเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
ก้าวไกลไม่เข้าร่วมกรรมการ เหตุยังไม่ชัดเจนเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยสสร. จากการเลือกตั้ง
เปลี่ยนตัวกรรมการที่เป็นสส. ออกหกคน แทนด้วยคนอื่นในพรรค-ข้าราชการ
1. รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล สส. บัญชีรายชื่อ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งถูกวางตัวให้เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
2. นพดล ปัทมะ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีตสส. พรรคประชาธิปัตย์ (2539-2548) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
2. วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
5. เจือ ราชสีห์ อดีตผู้สมัคร สส. แบ่งเขต จังหวัด สงขลา เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีต สส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
กรรมการ 7 คน สมาชิก-อดีตสส. คนทำงานเกี่ยวข้องพรรคเพื่อไทย
2. พิชิต ชื่นบาน อดีตสส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (เลือกตั้ง 2554) อดีตประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายพรรคไทยรักษาชาติ พิชิตยังเป็นที่รู้จักในฐานะอดีตหัวหน้าทีมทนายความของทักษิณ ชินวัตร เขาเคยต้องคำพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล จากกรณีหิ้วถุงขนมใส่เงินสดสองล้านบาท มอบให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาล ในช่วงที่ทักษิณต่อสู้คดีที่ดินรัชดา นอกจากนี้ ในช่วงจัดตั้งรัฐบาล ยังมีรายงานข่าวว่าปรากฏชื่อของพิชิตในโผคณะรัฐมนตรีรัฐบาลเศรษฐาด้วย
3. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง สมาชิกพรรคเพื่อไทย
4. วิภูแถลง พัฒนภูมิไท อดีตแกนนำ นปช. และอดีต สส. พรรคเพื่อไทย (เลือกตั้ง 2554)
5. ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ช่วยเลขานุการในกรรมการชุดนี้ ชนินทร์ เป็นลูกของ เกษม รุ่งธนเกียรติ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตสส. หลายสมัย (2529 2535 2538 2539) และอดีต สว. เลือกตั้ง สุรินทร์ (เลือกตั้ง 2543)
กรรมการ 9 คน เป็นตัวแทนหลากพรรคการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล 7 ฝ่ายค้าน 2
3. ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีต สส. จากพรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (เลือกตั้ง 2562)
4. ศุภชัย ใจสมุทร อดีต สส. บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (เลือกตั้ง 2562)
5. วิรัตน์ วรศสิริน อดีต สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย (เลือกตั้ง 2562)
6. เทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า
7. เจือ ราชสีห์ ผู้สมัคร สส. แบ่งเขต จังหวัด สงขลา เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตสส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
8. ชวลิต วิชยสุทธิ์ สมาชิกพรรคไทยสร้างไทย อดีตสส. แบ่งเขต นครพนม เขต 4 และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
9. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัคร สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อดีตนายกสภาวิศวกร ดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และอดีตประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ในสมัยสภาชุดที่มาจากการเลือกตั้ง 2562 นิกร จำนง ไพบูลย์ นิติตะวัน และศุภชัย ใจสมุทร ยังเคยเป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ที่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญหลายครั้ง ได้แก่ 1) กมธ.พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนรับหลักการ ที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อ “ถ่วงเวลา” ก่อนพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 2) กมธ. พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งต่อมาร่างฉบับนี้ถูกโหวตตกไปในวาระสาม 3) กมธ. พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ระบบเลือกตั้ง ซึ่งผ่านรัฐสภาและประกาศใช้ รองรับระบบเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้ง 2566 |
กรรมการ 12 คน ตัวแทนองค์กรวิชาชีพกฎหมาย ข้าราชการ-อดีตข้าราชการจากหลายองค์กร
๐ ข้าราชการประจำสามคน คือ
๐ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพกฎหมาย-ผู้เคยทำงานด้านกฎหมาย สามคน คือ
๐ อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ-ข้าราชการประจำห้าคน คือ
1. วุฒิสาร ตันไชย อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
2. กฤช เอื้อวงศ์ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
3. [อดีตข้าราชการทหาร] : พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม ประธานที่ปรึกษาสมาคมองค์การทหารผ่านศึกพิการแห่งประเทศไทย อดีตผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร อดีตเจ้ากรมเสมียนตรา
4. [อดีตข้าราชการตำรวจ] พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.)
๐ อดีตกรรมการในองค์กรอิสระ หนึ่งคน คือ ประวิช รัตนเพียร อดีต กกต.
ภาคประชาชน 3 คน นักวิชาการด้านกฎหมาย-รัฐศาสตร์ 3 คน
ตั้งอนุกรรมการ ศึกษารายละเอียด
16 ตุลาคม 2566 ภูมิธรรม เวชยชัย ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสองชุด คือ
1) คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
2) คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
RELATED POSTS
No related posts