เลือกตั้งนายกอบจ.ใหม่ “คนเก่า-คนใหม่-พรรคไหนมา”

การเลือกตั้งอบจ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 นับเป็นการเลือกตั้งอบจ.ครั้งแรกนับตั้งแต่การรัฐประหารของ คสช. หลังจากนั้นเป็นต้นมาก่อนถึงวันครบวาระการดำรงตำแหน่งอบจ.ในวันที่ 19 ธันวาคม 2567 มีการเลือกนายกอบจ.ใหม่ไปแล้วอย่างน้อย 25 จังหวัด และถ้านับจนถึงสิ้นปี 2567 จะมีการเลือกตั้งนายกอบจ.ก่อนครบวาระทั้งสิ้น 29 จังหวัด ซึ่งผลการเลือกตั้งมีทั้งคนเก่ารักษาเก้าอี้ได้ และมีคนใหม่เข้ามาช่วงชิงตำแหน่งได้ หรือเขามาสานต่อตำแหน่งจากคนเดิม

19 อบจ. รักษาแชมป์ นายกเดิมชนะ นายกใหม่สืบต่ออำนาจนายกเดิม

จากการเลือกตั้งนายกอบจ. ก่อนครบวาระจำนวน 25 จังหวัด นับจนวันที่ 2 ธันวาคม 2567 พบว่ามีนายก อบจ.คนเดิมที่ลาออกแล้วลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ 19 คน สามารถชนะเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งนายกอบจ.ได้ 12 คน ตัวอย่างการเลือกตั้งนายกอบจ.จังหวัดราชบุรี กับจังหวัดพิษณุโลก ที่อดีตนายกอบจ.ต้องแข่งขันกับกระแสของผู้สมัครพรรคประชาชนหรือเครือข่ายพรรคส้ม ส่งผลให้กลุ่มการเมืองหรือกลุ่มบ้านใหญ่ในจังหวัดเหล่านั้นไม่ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใดต่างรวมตัวกันสนับสนุนให้ผู้สมัครซึ่งเป็นอดีตนายกอบจ.ชนะเลือกตั้ง

ขณะเดียวก็มีนายกอบจ.เดิมที่ลาออก แต่ให้ผู้สมัครหน้าใหม่แต่อยู่พรรคหรือเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นเดียวกันลงสนามแทนจำนวน 6 จังหวัด ผลการเลือกตั้งผู้สมัครหน้าใหม่ที่สืบต่ออำนาจจากนายกคนเดิมสามารถชนะเลือกตั้งได้ทั้งหมด เช่น เลือกตั้งนายกอบจ.จังหวัดเลย ที่ชัยธวัช เนียมศิริ ชนะเลือกตั้งภายใต้การสนับสนุนจากตระกูลทิมสุวรรณที่มีอดีตนายกอบจ.และมี สส.ภายในจังหวัดที่สังกัดพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย

อย่างไรก็ตามก็มีอดีตนายกอบจ.ที่สอบตกไปถึง 7 คน ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การเลือกตั้งนายกอบจ.จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ง วาริน ชิณวงศ์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ชนะเลือกตั้งกนกพร เดชเดโช อดีตนายกอบจ. เครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่สนับสนุนวาริน จนสามารถชนะเลือกตั้งล้มผู้สมัครจากตระกูลเดชเดโชได้สำเร็จ

7 นายกอบจ. คนใหม่ เปลี่ยนฝั่งขั้วอำนาจท้องถิ่น

จากการเลือกตั้งนายกอบจ. ก่อนครบวาระนับจนวันที่ 2 ธันวาคม 2567 พบว่ามีนายกอบจ.หน้าใหม่ 7 คน แต่ก็ไม่ใช่หน้าใหม่แบบไร้เดียงสา เพราะนายกอบจ.หน้าใหม่ทั้ง 7 คน ต่างก็มีภูมิหลังทางการเมืองและได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองหรือเครือข่ายการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเครือข่ายของนายกอบจ.คนเดิมที่เพิ่งลาออกไป

เช่น การเลือกตั้งนายกอบจ.จังหวัดชัยภูมิ ผู้ชนะเลือกตั้งคือ สุรีวรรณ นาคาศัย อดีตที่ปรึกษาของอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และสามีของเธอก็เป็น สส.พรรคภูมิใจไทย จังหวัดชัยภูมิ เอาชนะอดีตนายกอบจ. ที่ได้รับการสนับสนุนจากธรรมนัส พรหมเผ่า สส.จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือจังหวัดระนองที่ สีหราช สรรพกุล อดีตผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนจาก สส.จังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย และได้แรงสนับสนุนจากเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นระนองที่แพ้เลือกตั้งนายก.อบจ.ในปี 2563 จนสามารถเอาชนะนายกอบจ.คนเดิมได้ ขณะที่ การเลือกตั้งนายกอบจ.ร้อยเอ็ด กับขอนแก่น ผู้ชนะเลือกตั้งหน้าใหม่ก็เป็นอดีต สส.มาก่อน

เครือข่ายเพื่อไทย และภูมิใจไทย ครองยึดอบจ. ได้จำนวนมาก

การเลือกตั้งนายกอบจ. ไม่ได้มีข้อกำหนดให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง ทำให้ผู้สมัครจำนวนมากลงสมัครในนามอิสระหรือในนามกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่ตัวเองสังกัดโดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องการพรรคการเมืองโดยตรง ในการเลือกตั้งนายกอบจ. ก่อนครบวาระนับจนถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2567 มีผู้ที่ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.เพียง 6 คน ที่ลงในนามพรรคการเมืองซึ่งทั้งหมดคือนายกอบจ.จากพรรคเพื่อไทย ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ มีแค่พรรคประชาชนเท่านั้นมีการส่งผู้สมัครในนามพรรค อย่างไรก็ตามแม้จะพรรคการเมืองต่างๆ จะไม่ได้ส่งผู้สมัครในนามพรรคแต่โดยความสัมพันธ์ส่วนตัวก็พบว่าผู้ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.หลายคนมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับพรรคการเมืองต่างๆ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายกันผ่านการส่งเครือญาติหรือคนในกลุ่มเป็น สส.หรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองต่างๆ

เลือกตั้ง อบจ. 15 ธ.ค. ตาก เพชรบูรณ์กลุ่มเดิมยังสานต่ออำนาจ

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันที่ 15 ธันวาคม 2567 มีด้วยการสองจังหวัด คือ จังหวัดตากและเพชรบูรณ์​ 

การเลือกตั้งนายก อบจ.ตาก อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ หรือ “รองจอย” จากกลุ่มพัฒนาตาก เอาชนะไป ด้วยคะแนนเสียง 98,601 คะแนน ถือว่าเป็นชัยชนะของกลุ่มอำนาจเดิม เนื่องจากอัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ เป็นอดีตรองนายก อบจ.ตาก และเป็นลูกสะใภ้ของ ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีตนายก อบจ.ตาก ที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่งไป และภรรยาของ ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีต สส.ตาก ปัจจุบันนั่งที่ปรึกษารมว.แรงงาน ของพรรคภูมิใจไทย ส่วนการเลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด อดีตนายก อบจ.เพชรบูรณ์ หกสมัยได้ชัยชนะไป ด้วยคะแนนเสียง 263,545 คะแนน  สำหรับอัครเดชเป็นบิดาของ อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

 อบจ.ผู้ชนะสังกัด ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
2565กาฬสินธุ์เฉลิมขวัญ หล่อตระกูลพรรคเพื่อไทย 
ร้อยเอ็ดเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์พรรคเพื่อไทย 
2566สระแก้วฐานิสร์ เทียนทองอิสระอดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครแทนมารดาที่ย้ายไปลง สส.พรรคพลังประชารัฐ
กาญจนบุรีประวัติ กิจธรรมกูลกิจกลุ่มพลังกาญจ์กลุ่ม สส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดกาญจนบุรีประกาศสนับสนุน
2567       เลยชัยธวัช เนียมศิริกลุ่มพัฒนาได้รับการสนับสนุนจากตระกูลทิมสุวรรณ ซึ่งมี สส.จังหวัดเลย อยู่ในพรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทย
นครสวรรค์พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์กลุ่มนครสวรรค์บ้านเราเครือข่ายเดียวกับชาดา ไทยเศรษฐ์ พรรคภูมิใจไทย ในอดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
อ่างทองสุรเชษฐ์ นิ่มกุลกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด 
พะเยาธวัช สุทธวงศ์พรรคเพื่อไทยลงแทนอัครา พรหมเผ่า อดีตนายก อบจ.ที่ลาออกไปรับตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ
อยุธยาสมทรง พันธ์เจริญวรกุลอิสระคนในตระกูลเป็น สส.พรรคภูมิใจไทย และลูกชายเป็น รมช.ศึกษาฯ
ชัยนาทจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภาอิสระตัวแทนตระกูลนาคาศัย ที่นำโดยอนุชา นาคาศัย อดีตรมต.จากพรรครวมไทยสร้างชาติ
ชัยภูมิสุรีวรรณ นาคาศัยอิสระอดีตที่ปรึกษา อนุทิน ชาญวีรกูล และภรรยา สส.พรรคภูมิใจไทย
พิษณุโลกมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์กลุ่มพลังพิษณุโลกอดีต สส.พรรคพลังประชาชน แต่เลือกตั้งปี 66 ส่งลูกชายลงสมัคร สส.พรรคพลังประชารัฐ, เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1 ปี 67 เปิดตัวช่วยพรรคเพื่อไทย
ราชบุรีวิวัฒน์ นิติกาญจนากลุ่มพัฒนาราชบุรีอดีตที่ปรึกษาสมศักดิ์ เทพสุทิน, ภรรยาเป็น สส.พรรคพลังประชารัฐ และได้รับการสนับสนุนจาก สส.ราชบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ
ปทุมธานีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่างกลุ่มคนรักปทุมอดีตคนสนิททักษิณ ชินวัตร แต่การเลือกตั้ง สส. ปี 66 ส่งคนในสังกัดลงพรรคภูมิใจไทย
ชุมพรนพพร อุสิทธกลุ่มพลังชุมพรตัวแทนตระกูลชุมใส ซึ่งปัจจุบันอยู่กับพรรครวมไทยสร้างชาติ
ยโสธรวิเชียร สมวงศ์พรรคเพื่อไทย 
ระนองสีหราช สรรพกุลกลุ่มระนองก้าวหน้าได้รับการสนับสนุนจาก สส.พรรคภูมิใจไทย จังหวัดระนอง
อุทัยธานีเผด็จ นุ้ยปรีกลุ่มคุณธรรมเครือข่าย ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส. พรรคภูมิใจไทย
ขอนแก่นวัฒนา ช่างเหลาอิสระอดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ บุตรชายของเอกราช ช่างเหลา สส.พรรคภูมิใจไทย ก่อนลงสมัครประกาศเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แต่ สส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดขอนแก่น ประกาศสนับสนุน
สุโขทัยมนุ พุกประเสริฐพรรคเพื่อไทย 
สุรินทร์ธัญพร มุ่งเจริญพรอิสระภรรยาของนายปกรณ์ มุ่งเจริญพร สส.สุรินทร์ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย ชนะอดีตนายก อบจ. ซึ่งเป็นคนในตระกูลเดียวกันและอยู่ในเครือข่ายการเมืองของพรรคภูมิใจไทยเหมือนกัน 
นครศรีธรรมราชวาริน ชิณวงศ์ทีมนครเข้มแข็งสมาชิกพรรคภูมิใจไทย และได้รับแรงสนับสนุนจากอดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์
เพชรบุรีชัยยะ อังกินันทน์กลุ่มรวมใจเพชรภรรยาเป็น สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ
อุดรธานีศราวุธ เพชรพนมพรพรรคเพื่อไทย 
กำแพงเพชรสุนทร รัตนากรอิสระพี่ชายของวราเทพ รัตนกร แกนนำพรรคพลังประชารัฐ
ตากอัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจกลุ่มพัฒนาตากภรรยา อดีต สส.ตาก ปัจจุบันนั่งที่ปรึกษารมว.แรงงาน พรรคภูมิใจไทย
เพชรบูรณ์อัครเดช ทองใจสด อิสระบิดาของ สส.เพชรบูรณ์ พรรคพลังประชารัฐ
22 ธ.ค.อุตรดิตถ์ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดากลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา 
22 ธ.ค.อุบลราชธานีกานต์ กัลป์ตินันท์พรรคเพื่อไทย 

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage