ตรวจการบ้าน สว. 67 เทอมแรก เสียงข้างมากแพ็กกันแน่น คว่ำหลายข้อเสนอจากข้างน้อย

23 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567 คือช่วงเวลาในสมัยประชุมแรก ของวุฒิสภาชุดแรกจากระบบ “เลือกกันเอง” ที่รังสรรค์ขึ้นโดยคนเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 200 คน อำนาจหน้าที่หลักเหมือน 250 สว. ชุดพิเศษที่แต่งตั้งโดย คสช. เช่น การพิจารณากฎหมาย การให้ความเห็นชอบผู้สมควรดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระ การตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านการตั้งกระทู้ถามหรือญัตติ แต่ไม่มีอำนาจพิเศษเช่นการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)

ภายใต้ช่วงเวลา 100 วันของการทำงานใน “เทอมแรก” สว. ชุดนี้ ประชุมวุฒิสภาสัปดาห์ละสองวัน ทุกวันจันทร์และวันอังคาร และอาจจะมีประชุมกรรมาธิการเพิ่มเติมในวันอื่นแล้วแต่การกำหนดของแต่ละองค์คณะ ด้านการพิจารณากฎหมาย พิจารณาร่างกฎหมายรวม 11 ฉบับ ประกาศใช้แล้ว 6 ฉบับ และมีอีกหนึ่งฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการร่วมกัน คือร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานรัฐสองตำแหน่ง คือ อัยการสูงสุดและประธานศาลปกครองสูงสุด นอกจากนี้ จากการสำรวจการประชุมและการลงมติของ สว. พบว่ามีการเสนอญัตติเรื่องด่วน และการเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญที่เกี่ยวกับสถานการณ์ร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ได้แก่ ญัตติด่วนตรวจสอบจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ และญัตติด่วนเกี่ยวกับกรณีมีทหารเกณฑ์เสียชีวิตระหว่างฝึกซ้อม แต่ผลปรากฏคือ สว. ข้างมากล้วน “โหวตคว่ำ” ทั้งสิ้น

ประชุมนัดแรก เสียงข้างมากส่งอดีตผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ – เพื่อนอนุทิน เป็นประธาน-รองประธานวุฒิสภา

ในการประชุมวุฒิสภานัดแรกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567 หลังปฏิญาณตนแล้ว มีวาระการประชุมเพื่อเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา สำหรับตำแหน่งประธานวุฒิสภา มีผู้ท้าชิงตำแหน่งสามราย ได้แก่

  1. มงคล สุระสัจจะ สว. กลุ่มที่ 1 กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และอดีตอธิบดีกรมการปกครอง
  2. เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. กลุ่มที่ 4 กลุ่มการสาธารณสุข อดีต สส.ขอนแก่น พรรคไทยรักไทย
  3. นันทนา นันทวโรภาส สว. กลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมืองมหาวิทยาลัยเกริก

โดยที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเลือก มงคล สุระสัจจะ เป็นประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง 159 เสียง ขณะที่ผู้ได้รับเสนอชื่ออีกสองราย นันทนา นันทวโรภาส ได้คะแนนเสียง 19 เสียง ด้านเปรมศักดิ์ เพียยุระ ได้คะแนนเสียง 13 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง บัตรเสีย 5 ใบ

ด้านการเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง มีผู้ท้าชิงตำแหน่งสี่ราย คือ

  1. พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ สว. กลุ่มที่ 1 กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง  อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 พล.อ. เกรียงไกร ยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่นหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61 (วปอ.61) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรกับอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
  2. นพดล อินนา สว. กลุ่มที่ 8 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย
  3. ปฏิมา จีระแพทย์ สว. กลุ่มที่ 8 อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
  4. แล ดิลกวิทยรัตน์ สว. กลุ่มที่ 7 กลุ่มลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเลือก พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง โดยพล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ ได้ 150 คะแนน นพดล อินนา ได้ 27 คะแนน ปฏิมา จีระแพทย์ ได้ 5 คะแนน และแล ดิลกวิทยรัตน์ ได้ 15 คะแนน งดออกเสียง 1 เสียง และบัตรเสีย 2 ใบ

สำหรับตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง มีผู้ได้รับการเสนอชื่อสี่ราย ได้แก่

  1. บุญส่ง น้อยโสภณ สว. กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อดีต กกต. และอดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
  2. ปฏิมา จีระแพทย์ สว. กลุ่มที่ 8 อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
  3. พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต สว. กลุ่มที่ 12 กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม กิตติมศักดิ์สมาคมยางพาราไทยและประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม
  4. อังคณา นีละไพจิตร สว. กลุ่มที่ 17 กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

โดยที่ประชุมวุฒิสภามีมติเลือกบุญส่ง น้อยโสภณ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง บุญส่ง น้อยโสภณ ได้ 167 คะแนน ปฏิมา จีระแพทย์ ได้ 4 คะแนน พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต ได้ 8 คะแนน และอังคณา นีละไพจิตร ได้ 18 คะแนน งดออกเสียง 2 เสียง ไม่มีบัตรเสีย

เสนอประชุมสามวันถูกปัดตก ข้างมากรับสองวันตามรอย สว. ชุดพิเศษ

การประชุมนัดที่สองของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 บรรดา สว. หน้าใหม่เริ่มปฏิบัติงานทั้งการรับทราบรายงานจากองค์กรอิสระและรายงานจากฝ่ายบริหาร อีกหนึ่งในภารกิจที่สำคัญ คือ การกำหนดวันประชุมวุฒิสภา ซึ่งจะประชุมสัปดาห์ละกี่วัน ก็ขึ้นกับมติของ สว. (ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 14 วรรคสอง)

มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เริ่มต้นอธิบายว่า ในสมัยของ สว. ชุดพิเศษ กำหนดวันประชุมไว้สัปดาห์ละสองวัน คือวันจันทร์และวันอังคาร เพื่อไม่ให้ชนกับสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวันพุธและพฤหัสบดี โดยการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา หากประชุมคาบเกี่ยวกับวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรอาจส่งผลต่อการถ่ายทอดดังกล่าว

อย่างไรก็ดี เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. จากกลุ่มที่ 4 กลุ่มการสาธารณสุข อดีต สส. ขอนแก่น พรรคไทยรักไทย เสนอให้ประชุมสามวัน คือ วันจันทร์ถึงวันพุธ อภิปรายว่า สว. ชุดที่แล้วมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ในหนึ่งสมัยประชุมทำงานสี่เดือน (120 วัน) หนึ่งปีทำงานสองสมัยประชุม หรือแปดเดือน จะคุ้มค่ากับภาษีประชาชนหรือ

อาคารรัฐสภาสัปปายะสภาสถาน มีห้องประชุมสองห้อง คือ สุริยันของสภาผู้แทนราษฎร และจันทราของวุฒิสภา อีกทั้งยังมีห้องทำงาน สส. สว. มีเจ้าหน้าที่สนับสนุนระบบไอที หากประชุมสามวัน และอาจจะมีอีกหนึ่งวันที่ประชุมกรรมาธิการ (กมธ.) ก็เท่ากับว่า หนึ่งสัปดาห์ทำงานสี่วัน ซึ่งไม่มีงานที่ไหนเบาเท่านี้แล้ว อีกทั้งยังมีร่างกฎหมายที่จะเข้าวุฒิสภาหลายฉบับ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในชั้นกมธ. วาระสองด้วย จึงควรประชุมสามวัน และกำหนดวันตั้งกระทู้ถามต่อฝ่ายบริหารเป็นวันพุธ เพื่อไม่ให้ชนกับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เหมือนอย่างที่ทำในสมัย สว. แต่งตั้ง จนครม. ไม่มาตอบกระทู้ถาม

สว. อีกราย คือ พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย สว. กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เสนอให้ประชุมสองวันคือวันจันทร์และวันอังคารตามเดิม เนื่องจาก สว. หนึ่งคนอาจนั่งอยู่ในกมธ. หลายคณะ ต้องแบ่งสรรเวลา จึงเสนอประชุมแค่สองวัน ด้านนิรัตน์ อยู่ภักดี สว. กลุ่มที่ 8 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน อภิปรายสนับสนุนว่า จากประสบการณ์ที่เคยเป็น สว. (สว. จังหวัดชัยภูมิ เลือกตั้งปี 2543) ซึ่งยุคที่ตนเป็น สว. นั้นเป็นยุคต้มยำกุ้ง มีร่างกฎหมายที่ต้องพิจารณาจำนวนมาก เห็นว่าการประชุมแค่สองวันก็เพียงพอแล้ว และหากประชุมทับซ้อนกับสภาผู้แทนราษฎร อาจส่งผลต่อการถ่ายทอดการประชุมซึ่ง สว. ก็ต้องการให้พี่น้องประชาชนแต่ละจังหวัดได้มีโอกาสดูการประชุมวุฒิสภาด้วย

โดยเสียงข้างมากของ สว. ลงมติให้ประชุมสัปดาห์ละสองวัน ด้วยคะแนนเสียง 164 เสียง ขณะที่เสียงข้างน้อย 24 เสียงเห็นด้วยให้ประชุมสัปดาห์ละสองวัน งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง จากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 195 คน

สว. ข้างน้อยที่เห็นด้วยกับการกำหนดวันประชุมสามวัน 24 คน ได้แก่

  1. ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
  2. จรุณ กลิ่นตลบ
  3. ชูชาติ อินสว่าง
  4. ชูชีพ เอื้อการณ์
  5. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์
  6. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  7. ธนกร ถาวรชินโชติ
  8. นพดล อินนา
  9. นรเศรษฐ์ ปรัชญากร
  10. นันทนา นันทวโรภาส
  11. ปฏิมา จีระแพทย์
  12. ประทุม วงศ์สวัสดิ์
  13. ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ
  14. เปรมศักดิ์ เพียยุระ
  15. พรชัย วิทยเลิศพันธุ์
  16. มังกร ศรีเจริญกูล
  17. มานะ มหาสุวีระชัย
  18. ยะโก๊ป หีมละ
  19. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา
  20. วาสนา ยศสอน
  21. เศรณี อนิลบล
  22. สุนทร พฤกษพิพัฒน์
  23. อภินันท์ เผือกผ่อง
  24. พล.ต.ต. อังกูร คล้ายคลึง

สว. ข้างมากที่เห็นด้วยกับการประชุมสองวัน 164 คน ได้แก่

  1. กมล รอดคล้าย
  2. กมล สุขคะสมบัติ
  3. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  4. พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติ
  5. กัมพล ทองชิว
  6. กัมพล สุภาแพ่ง
  7. กัลยา ใหญ่ประสาน
  8. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์
  9. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  10. กิติศักดิ์ หมื่นศรี
  11. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  12. เกียรติชาย ไมตรีวงษ์
  13. ขจรศักดิ์ ศรีวิราช
  14. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  15. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  16. จตุพร เรียงเงิน
  17. จารุณี ฤกษ์ปราณี
  18. จำลอง อนันตสุข
  19. จิระศักดิ์ ชูความดี
  20. จุฑารัตน์ นิลเปรม
  21. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  22. ฉลอง ทองนะ
  23. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  24. ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
  25. ชวพล วัฒนพรมงคล
  26. ชวภณ วัธนเวคิน
  27. ชัยธัช เพราะสุนทร
  28. ชาญชัย ไชยพิศ
  29. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
  30. ชาญวิศว์ บรรจงการ
  31. ชินโชติ แสงสังข์
  32. ชิบ จิตนิยม
  33. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  34. โชคชัย กิตติธเนศวร
  35. โชติชัย บัวดิษ
  36. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  37. ณภพ ลายวิเศษกุล
  38. ณรงค์ จิตราช
  39. ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
  40. เตชสิทธิ์ ชูแก้ว
  41. ธนชัย แซ่จึง
  42. ธนภัทร ตวงวิไล
  43. ธวัช สุระบาล
  44. ธัชชญาณ์ ณัชเจียรธนัทกานนท์
  45. ธารนี ปรีดาสันติ์
  46. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  47. นพดล พริ้งสกุล
  48. นิคม มากรุ่งแจ้ง
  49. นิชาภา สุวรรณนาค
  50. นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุล
  51. นิพนธ์ เอกวานิช
  52. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  53. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  54. นิรุตติ สุทธินนท์
  55. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  56. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  57. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย
  58. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  59. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  60. ประกาสิทธิ์ พลซา
  61. ประเทือง มนตรี
  62. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  63. ประภาส ปิ่นตบแต่ง
  64. ประไม หอมเทียม
  65. ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล
  66. ปราณีต เกรัมย์
  67. ปวีณา สาระรัมย์
  68. ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ
  69. ปุณณภา จินดาพงษ์
  70. พรเพิ่ม ทองศรี
  71. พละวัต ตันศิริ
  72. พิชาญ พรศิริประทาน
  73. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  74. พิมาย คงทัน
  75. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  76. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  77. เพลินจิต ขันแก้ว
  78. ไพบูลย์ ณะบุตรจอม
  79. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  80. ภาวนา ว่องอมรนิธิ
  81. มณีรัฐ เขมะวงค์
  82. มยุรี โพธิแสน
  83. มาเรีย เผ่าประทาน
  84. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี
  85. รจนา เพิ่มพูล
  86. พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
  87. รัชนีกร ทองทิพย์
  88. รุจิภาส มีกุศล
  89. ฤชุ แก้วลาย
  90. แล ดิลกวิทยรัตน์
  91. วร หินดี
  92. วรรษมนต์ คุณแสน
  93. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
  94. วราวุธ ตีระนันทน์
  95. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  96. วันชัย แข็งการเขตร
  97. พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์
  98. วิเชียร ชัยสถาพร
  99. วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์
  100. วิภาพร ทองโสด
  101. วิรัตน์ ธรรมบํารุง
  102. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  103. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  104. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  105. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  106. วีรยุทธ สร้อยทอง
  107. วีระพันธ์ สุวรรณนามัย
  108. วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
  109. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  110. น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
  111. ศรายุทธ ยิ้มยวน
  112. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  113. ศุภโชค ศาลากิจ
  114. เศก จุลเกษร
  115. พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัย
  116. สมชาย เล่งหลัก
  117. สมดุลย์ บุญไชย
  118. สมทบ ถีระพันธ์
  119. สมบูรณ์ หนูนวล
  120. สมพร วรรณชาติ
  121. สมพาน พละศักดิ์
  122. สมศรี อุรามา
  123. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
  124. สมหมาย ศรีจันทร์
  125. สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
  126. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา
  127. สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์
  128. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  129. สากล ภูลศิริกุล
  130. สามารถ รังสรรค์
  131. สายฝน กองแก้ว
  132. สาลี สิงห์คำ
  133. สิทธิกร ธงยศ
  134. สืบศักดิ์ แววแก้ว
  135. พล.ท. สุกิจ ทั่งทอง
  136. สุทนต์ กล้าการขาย
  137. สุทิน แก้วพนา
  138. สุเทพ สังข์วิเศษ
  139. พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  140. สุนทร เชาว์กิจค้า
  141. สุพรรณ์ ศรชัย
  142. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  143. สุมิตรา จารุกําเนิดกนก
  144. พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน
  145. สุวิช จําปานนท์
  146. สุวิทย์ ขาวดี
  147. โสภณ ผาสุข
  148. โสภณ มะโนมะยา
  149. อจลา ณ ระนอง
  150. อภิชา เศรษฐวราธร
  151. อภิชาติ งามกมล
  152. อมร ศรีบุญนาค
  153. อมรศักดิ์ กิจธนานันท์
  154. อลงกต วรกี
  155. อะมัด อายุเคน
  156. อัครวินท์ ขำขุด
  157. อังคณา นีละไพจิตร
  158. อัจฉรพรรณ หอมรส
  159. อัษฎางค์ แสวงการ
  160. อารีย์ บรรจงธุระการ
  161. อิสระ บุญสองชั้น
  162. เอกชัย เรืองรัตน์
  163. เอนก วีระพจนานันท์
  164. เอมอร ศรีกงพาน

สว. ที่งดออกเสียงห้าราย ได้แก่

  1. พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ (รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง)
  2. เดชา นุตาลัย
  3. พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคม
  4. บุญส่ง น้อยโสภณ (รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง)
  5. มงคล สุระสัจจะ (ประธานวุฒิสภา)

สว. ที่ไม่ลงคะแนนเสียง สองราย คือ

  1. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  2. แดง กองมา

128 สว. รวมใจ ผ่านร่างแก้ข้อบังคับฯ แค่ฉบับยุทธนา คว่ำอีกสี่ฉบับเรียบ

เนื่องจากข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดกติกาหลักในการประชุมของ สว. นั้น เขียนขึ้นสอดรับกับอำนาจหน้าที่ของ สว. ชุดพิเศษ เช่น อำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง สว. จากระบบเลือกกันเอง จะไม่มีอำนาจหน้าที่นี้อีกต่อไปแล้ว การประชุมนัดแรกๆ จึงเป็นโอกาสที่ สว. จากระบบใหม่ จะเสนอแก้ไขกติการ่วมกันเพื่อให้สอดรับกับอำนาจหน้าที่ที่ตัวเองมี

หลังวุฒิสภาเคาะวันนัดประชุมสองวัน ลำดับถัดมาคือการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ซึ่งมี สว. ห้าคนเสนอมาห้าฉบับ สี่จากห้าฉบับ ซึ่งเสนอโดย เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. กลุ่มที่ 4 ประภาส ปิ่นตบแต่ง สว. กลุ่มที่ 17 เอกชัย เรืองรัตน์ สว. กลุ่มที่ 20 และพล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี สว. กลุ่มที่ 20 มีสาระสำคัญคือการแก้ไขเรื่องคณะกรรมาธิการ ทั้งจำนวนคณะทั้งหมด จำนวนสมาชิกในแต่ละคณะ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการแต่ละชุด หรือพูดง่ายๆ คือ การกำหนด “ตำแหน่งแห่งที่” ของกมธ. ที่ สว. แต่ละคนจะเข้าไปทำงานได้ และโละข้อบังคับที่เกี่ยวกับอำนาจของ สว. ชุดพิเศษทิ้ง ขณะที่ร่างอีกหนึ่งฉบับ เสนอโดย เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว. กลุ่มที่ 18 เสนอแก้ข้อบังคับข้อเดียว เพื่อเปิดทางให้สำนักเลขาธิการวุฒิสภาต้องเผยแพร่ผลการลงมติของ สว. รายบุคคลผ่านทางเว็บไซต์

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเสนอแก้เรื่องคณะกรรมาธิการ หรือเสนอแก้ประเด็นเล็กน้อยอย่างการเผยแพร่ผลการลงมติของ สว. รายบุคคล ก็ไม่สามารถฝ่ากำแพงเสียงข้างมากของ สว. ไปได้ โดยเสียงข้างมากของ สว. “คว่ำ” ร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาสี่ฉบับ ที่เสนอโดยเปรมศักดิ์ เพียยุระ ประภาส ปิ่นตบแต่ง เอกชัย เรืองรัตน์ และเทวฤทธิ์ มณีฉาย มีเพียงหนึ่งฉบับเท่านั้นที่ผ่านในวาระหนึ่ง คือฉบับที่เสนอโดยพล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 อดีต สว. สรรหาตามรัฐธรรมนูญ 2550 สองสมัย สว. “พี่ใหญ่” ผู้มีอายุมากสุดในวุฒิสภา

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา เสนอโดย…เห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่ลงคะแนนเสียงจำนวนผู้เข้าประชุม
เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. กลุ่มที่ 44813711196
ประภาส ปิ่นตบแต่ง สว. กลุ่มที่ 174214311196
เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว. กลุ่มที่ 1838147121198
เอกชัย เรืองรัตน์ สว. กลุ่มที่ 204214213197
พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี สว. กลุ่มที่ 201483913200

หากดูผลการลงมติ พบว่าขณะที่ลงมติร่างสี่ฉบับที่ตกไป มี สว. บางรายที่ไม่ได้มาลงมติในขณะนั้น แต่เมื่อลงมติร่างที่เสนอโดยพล.ต.ท. ยุทธนา กลับมีผู้มาลงมติครบถ้วน 200 คน และในจำนวน สว. 148 คนที่ลงมติ “เห็นด้วย” กับร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่ พล.ต.ท.ยุทธนา เสนอ ส่วนใหญ่ 128 คน หรือคิดเป็น 86.49% จากผู้ที่โหวตเห็นด้วยทั้งหมด จะโหวต “คว่ำ” ร่างอีกสี่ฉบับ ขณะที่จำนวนที่เหลือ บางรายเลือกโหวตเห็นด้วยหรืองดออกเสียงบางฉบับ และมีหกคนที่โหวตเห็นด้วยกับร่างทุกฉบับ

หก สว. ที่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาทั้งห้าฉบับ

  1. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์
  2. พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคม
  3. ธนกร ถาวรชินโชติ
  4. พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
  5. แล ดิลกวิทยรัตน์
  6. ศรายุทธ ยิ้มยวน

128 สว. ที่โหวต “เห็นด้วย” กับร่างฉบับที่เสนอโดยยุทธนา ไทยภักดี และโหวต “คว่ำ” ร่างอีกสี่ฉบับ

  1. กมล รอดคล้าย
  2. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  3. พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติ
  4. กัมพล ทองชิว
  5. กัมพล สุภาแพ่ง
  6. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  7. กิติศักดิ์ หมื่นศรี
  8. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  9. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  10. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  11. จตุพร เรียงเงิน
  12. จรุณ กลิ่นตลบ
  13. จิระศักดิ์ ชูความดี
  14. จุฑารัตน์ นิลเปรม
  15. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  16. ฉลอง ทองนะ
  17. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  18. ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
  19. ชวภณ วัธนเวคิน
  20. ชัยธัช เพราะสุนทร
  21. ชาญชัย ไชยพิศ
  22. ชินโชติ แสงสังข์
  23. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  24. โชคชัย กิตติธเนศวร
  25. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  26. ณรงค์ จิตราช
  27. ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
  28. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  29. แดง กองมา
  30. ธนภัทร ตวงวิไล
  31. ธวัช สุระบาล
  32. ธัชชญาณ์ ณัชเจียรธนัทกานนท์
  33. ธารนี ปรีดาสันติ์
  34. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  35. นพดล พริ้งสกุล
  36. นฤพล สุคนธชาติ
  37. นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุล
  38. นิพนธ์ เอกวานิช
  39. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  40. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  41. นิรุตติ สุทธินนท์
  42. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  43. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  44. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย
  45. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  46. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  47. ประกาสิทธิ์ พลซา
  48. ประเทือง มนตรี
  49. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  50. ปราณีต เกรัมย์
  51. ปุณณภา จินดาพงษ์
  52. พรเพิ่ม ทองศรี
  53. พละวัต ตันศิริ
  54. พิชาญ พรศิริประทาน
  55. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  56. พิมาย คงทัน
  57. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  58. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  59. เพลินจิต ขันแก้ว
  60. ไพบูลย์ ณะบุตรจอม
  61. ภมร เชาว์ศิริกุล
  62. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  63. ภาวนา ว่องอมรนิธิ
  64. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี
  65. รจนา เพิ่มพูล
  66. รุจิภาส มีกุศล
  67. ฤชุ แก้วลาย
  68. วร หินดี
  69. วรรษมนต์ คุณแสน
  70. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
  71. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  72. วันชัย แข็งการเขตร
  73. วิเชียร ชัยสถาพร
  74. วิภาพร ทองโสด
  75. วิรัตน์ ธรรมบํารุง
  76. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  77. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  78. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  79. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  80. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  81. ศุภโชค ศาลากิจ
  82. เศก จุลเกษร
  83. พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัย
  84. สมชาย นุ่มพูล
  85. สมชาย เล่งหลัก
  86. สมดุลย์ บุญไชย
  87. สมทบ ถีระพันธ์
  88. สมบูรณ์ หนูนวล
  89. สมพร วรรณชาติ
  90. สมพาน พละศักดิ์
  91. สมศรี อุรามา
  92. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
  93. สมหมาย ศรีจันทร์
  94. สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
  95. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา
  96. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  97. สากล ภูลศิริกุล
  98. สามารถ รังสรรค์
  99. สายฝน กองแก้ว
  100. สาลี สิงห์คำ
  101. สิทธิกร ธงยศ
  102. สืบศักดิ์ แววแก้ว
  103. สุทนต์ กล้าการขาย
  104. สุทิน แก้วพนา
  105. สุเทพ สังข์วิเศษ
  106. พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  107. สุนทร เชาว์กิจค้า
  108. สุพรรณ์ ศรชัย
  109. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  110. สุมิตรา จารุกําเนิดกนก
  111. พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน
  112. สุวิช จําปานนท์
  113. สุวิทย์ ขาวดี
  114. โสภณ ผาสุข
  115. โสภณ มะโนมะยา
  116. อจลา ณ ระนอง
  117. อภิชา เศรษฐวราธร
  118. อภิชาติ งามกมล
  119. อมร ศรีบุญนาค
  120. อลงกต วรกี
  121. อะมัด อายุเคน
  122. อัครวินท์ ขำขุด
  123. อัจฉรพรรณ หอมรส
  124. อัษฎางค์ แสวงการ
  125. อารีย์ บรรจงธุระการ
  126. อิสระ บุญสองชั้น
  127. เอนก วีระพจนานันท์
  128. เอมอร ศรีกงพาน

ตารางเปรียบเทียบการลงมติ สว. รายบุคคล พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาห้าฉบับในวาระหนึ่ง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567
ชื่อผู้เสนอ
เปรมศักดิ์ เพียยุระประภาส ปิ่นตบแต่งเทวฤทธิ์ มณีฉายเอกชัย เรืองรัตน์ยุทธนา ไทยภักดี
กมล รอดคล้ายไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
กมล สุขคะสมบัติเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
กัมพล ทองชิวไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
กัมพล สุภาแพ่งไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
กัลยา ใหญ่ประสานเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่มาประชุมไม่เห็นด้วย
กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
กิติศักดิ์ หมื่นศรีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์งดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
เกศกมล เปลี่ยนสมัยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เกียรติชาย ไมตรีวงษ์งดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
ขจรศักดิ์ ศรีวิราชไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วยงดออกเสียงเห็นด้วย
ขวัญชัย แสนหิรัณย์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
จตุพร เรียงเงินไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
จรุณ กลิ่นตลบไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
จารุณี ฤกษ์ปราณีงดออกเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่มาประชุมเห็นด้วย
จำลอง อนันตสุขงดออกเสียงไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
จิระศักดิ์ ชูความดีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
จุฑารัตน์ นิลเปรมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เจียระนัย ตั้งกีรติไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ฉลอง ทองนะไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชวพล วัฒนพรมงคลเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ชวภณ วัธนเวคินไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชัยธัช เพราะสุนทรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชาญชัย ไชยพิศไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์เห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียง
ชาญวิศว์ บรรจงการเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ชินโชติ แสงสังข์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชิบ จิตนิยมไม่เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ชีวะภาพ ชีวะธรรมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ชูชาติ อินสว่างเห็นด้วยเห็นด้วยไม่มาประชุมเห็นด้วยเห็นด้วย
ชูชีพ เอื้อการณ์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วย
โชคชัย กิตติธเนศวรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
โชติชัย บัวดิษไม่มาประชุมไม่มาประชุมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ณภพ ลายวิเศษกุลเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ณรงค์ จิตราชไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ณัฐกิตติ์ หนูรอดไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เดชา นุตาลัยเห็นด้วยงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
แดง กองมาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
เตชสิทธิ์ ชูแก้วงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงเห็นด้วย
เทวฤทธิ์ มณีฉายเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคมเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
ธนกร ถาวรชินโชติเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
ธนชัย แซ่จึงเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียง
ธนภัทร ตวงวิไลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ธวัช สุระบาลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ธัชชญาณ์ ณัชเจียรธนัทกานนท์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ธารนี ปรีดาสันติ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นงลักษณ์ ก้านเขียวไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นพดล พริ้งสกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นพดล อินนาเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
นรเศรษฐ์ ปรัชญากรเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
นฤพล สุคนธชาติไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่มาประชุมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
นันทนา นันทวโรภาสเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
นิคม มากรุ่งแจ้งเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
นิชาภา สุวรรณนาคงดออกเสียงไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วยงดออกเสียง
นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิพนธ์ เอกวานิชไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิฟาริด ระเด่นอาหมัดไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิรัตน์ อยู่ภักดีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิรุตติ สุทธินนท์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิเวศ พันธ์เจริญวรกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
นิสิทธิ์ ปนกลิ่นไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสายไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
บุญชอบ สระสมทรัพย์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
บุญส่ง น้อยโสภณงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
เบ็ญจมาศ อภัยทองไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ปฏิมา จีระแพทย์เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
ประกาสิทธิ์ พลซาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ประทุม วงศ์สวัสดิ์เห็นด้วยเห็นด้วยงดออกเสียงเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ประเทือง มนตรีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ประภาส ปิ่นตบแต่งเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ประไม หอมเทียมเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุลไม่มาประชุมไม่มาประชุมเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ปราณีต เกรัมย์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ปริญญา วงษ์เชิดขวัญเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ปวีณา สาระรัมย์งดออกเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ปิยพัฒน์ สุภาวรรณเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
ปุณณภา จินดาพงษ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เปรมศักดิ์ เพียยุระเห็นด้วยงดออกเสียงเห็นด้วยงดออกเสียงไม่เห็นด้วย
พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิตเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
พรชัย วิทยเลิศพันธุ์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
พรเพิ่ม ทองศรีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พละวัต ตันศิริไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พิชาญ พรศิริประทานไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พิมาย คงทันไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พิศูจน์ รัตนวงศ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เพลินจิต ขันแก้วไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ไพบูลย์ ณะบุตรจอมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ภมร เชาว์ศิริกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ภาวนา ว่องอมรนิธิไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
มงคล สุระสัจจะงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
มณีรัฐ เขมะวงค์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่มาประชุมไม่เห็นด้วย
มยุรี โพธิแสนงดออกเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
มังกร ศรีเจริญกูลเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
มานะ มหาสุวีระชัยไม่มาประชุมไม่มาประชุมเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
มาเรีย เผ่าประทานงดออกเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ยะโก๊ป หีมละไม่เห็นด้วยงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญาไม่มาประชุมไม่มาประชุมงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียง
พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
รจนา เพิ่มพูลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรรเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
รัชนีกร ทองทิพย์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
รุจิภาส มีกุศลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ฤชุ แก้วลายไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
แล ดิลกวิทยรัตน์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
วร หินดีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วรรษมนต์ คุณแสนไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วราวุธ ตีระนันทน์เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยงดออกเสียง
วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วันชัย แข็งการเขตรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
วาสนา ยศสอนเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
วิเชียร ชัยสถาพรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
วิภาพร ทองโสดไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิรัตน์ ธรรมบํารุงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิรัตน์ รักษ์พันธ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วิวัฒน์ รุ้งแก้วไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
วีรยุทธ สร้อยทองเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
วีระพันธ์ สุวรรณนามัยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรีไม่เห็นด้วยงดออกเสียงงดออกเสียงงดออกเสียงเห็นด้วย
วุฒิชาติ กัลยาณมิตรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียงเห็นด้วย
น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ศรายุทธ ยิ้มยวนเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วย
ศุภชัย กิตติภูติกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
ศุภโชค ศาลากิจไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เศก จุลเกษรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เศรณี อนิลบลเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่ลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมชาย นุ่มพูลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมชาย เล่งหลักไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมดุลย์ บุญไชยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมทบ ถีระพันธ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมบูรณ์ หนูนวลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมพร วรรณชาติไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมพาน พละศักดิ์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมศรี อุรามาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมศักดิ์ จันทร์แก้วไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สมหมาย ศรีจันทร์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สรชาติ วิชย สุวรรณพรหมไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สากล ภูลศิริกุลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สามารถ รังสรรค์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สายฝน กองแก้วไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สาลี สิงห์คำไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สิทธิกร ธงยศไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สืบศักดิ์ แววแก้วไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ท. สุกิจ ทั่งทองไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยงดออกเสียง
สุทนต์ กล้าการขายไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุทิน แก้วพนาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุเทพ สังข์วิเศษไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุนทร เชาว์กิจค้าไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุนทร พฤกษพิพัฒน์ไม่เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
สุพรรณ์ ศรชัยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุมิตรา จารุกําเนิดกนกไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พ.ต.ท. สุริยา บาราสันไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุวิช จําปานนท์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
สุวิทย์ ขาวดีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
โสภณ ผาสุขไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
โสภณ มะโนมะยาไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อจลา ณ ระนองไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อภิชา เศรษฐวราธรไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อภิชาติ งามกมลไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อภินันท์ เผือกผ่องเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
อมร ศรีบุญนาคไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อมรศักดิ์ กิจธนานันท์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยงดออกเสียง
อลงกต วรกีไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อะมัด อายุเคนไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อัครวินท์ ขำขุดไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
พล.ต.ต. อังกูร คล้ายคลึงไม่เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
อังคณา นีละไพจิตรเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
อัจฉรพรรณ หอมรสไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อัษฎางค์ แสวงการไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อารีย์ บรรจงธุระการไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
อิสระ บุญสองชั้นไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เอกชัย เรืองรัตน์เห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
เอนก วีระพจนานันท์ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย
เอมอร ศรีกงพานไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเห็นด้วย

พิจารณาร่างกฎหมาย 11 ฉบับ ประกาศแล้ว 6 ฉบับ แทงสวน สส. ยืดเวลาแก้พ.ร.บ.ประชามติฯ

ในสมัยประชุมแรกของ สว. 2567 ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 30 ตุลาคม 2567 วุฒิสภารับร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมาพิจารณา 11 ฉบับ ในจำนวนนี้ หกฉบับผ่านการพิจารณาสามวาระและประกาศเป็นกฎหมายแล้ว สี่ฉบับผ่านวาระหนึ่งแล้วและกำลังพิจารณาอยู่ในชั้นวุฒิสภา อีกหนึ่งฉบับผ่านวุฒิสภาวาระแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาคณะกรรมการร่วมกัน เนื่องจากวุฒิสภา “แทงสวน” แนวทางสภาผู้แทนราษฎร แก้ไขร่างพระราชบัญญัติประชามติ

แก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ พลิกแนวทาง สส. ขอกลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 (พ.ร.บ.ประชามติฯ) ที่ใช้บังคับอยู่ มาตรา 13 กำหนดเงื่อนไข “เสียงข้างมากสองชั้น” ประชามติจะมีข้อยุติได้ ต่อเมื่อ

(1) มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และ

(2) มีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น

เงื่อนไขดังกล่าว นำมาสู่ข้อกังวลว่าประชามติจะหาข้อยุติได้ยากและต้องได้รับเสียงลงมติทางใดทางหนึ่งจำนวนมากถึงจะหาข้อยุติในเรื่องนั้นๆ ได้ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันต่อเนื่องอย่างการแก้ไขเพิ่มเติมรวมถึงการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการทำประชามติประกอบ ครม. รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จากอดีตพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย จึงเสนอร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ รวมสี่ฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติฯ หลายประเด็น ประเด็นสำคัญคือการปลดล็อกเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น

ต่อมา 18 มิถุนายน 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ทั้งสี่ฉบับในวาระหนึ่ง เพื่อพิจารณาต่อวาระสองและวาระสาม โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ในวาระสาม ได้ข้อสรุปสำคัญ คือ ปลดล็อกเกณฑ์ “เสียงข้างมากสองชั้น” เป็นเสียงข้างมากธรรมดา โดยกำหนดเงื่อนไขไว้เพียงว่าเสียงข้างมากนั้นจะต้องมากกว่าเสียงไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขประเด็นอื่นๆ เช่น ปรับให้การทำประชามติสามารถทำพร้อมกับการเลือกตั้ง สส. หรือการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ และเปิดทางให้มีการเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติออนไลน์ได้

หลังจากสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ทั้งสามวาระแล้วเสร็จ ก็ส่งไม้ต่อให้วุฒิสภา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติรับร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ในวาระหนึ่ง และตั้งกมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาเชิงรายละเอียด โดยกมธ. นัดประชุมทุกวันพุธ สัปดาห์ละหนึ่งวัน ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 กันยายน 2567

การประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ที่ประชุมกมธ. ลงมติว่าจะพิจารณาแก้ไขมาตรา 13 ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 17 คน ไม่เห็นด้วย 1 คน และงดออกเสียง 1 คน โดยกำหนดเนื้อหาร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 ว่า

“มาตรา 13 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติตามมาตรา 9 (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนนเสียงไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

การออกเสียงจะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติตามมาตรา 9 (1) หรือ (2) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น”

(***หมายเหตุ : ข้อความที่ขีดเส้นใต้ คือข้อความที่กมธ. เสนอเพิ่มแก้ไขเพิ่มขึ้นมาจากร่างฉบับที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว)

หลังจากกมธ. พิจารณาแล้วเสร็จ ได้ส่งร่างเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาเพื่อลงมติรายมาตราวาระสอง วันที่ 30 กันยายน 2567 วุฒิสภามีมติเห็นด้วยให้ “แก้ไข” ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 13 ตามข้อเสนอของกมธ. ที่กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากสองชั้นกับการทำประชามติกรณีการทำประชามติสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 กำหนดไว้ และการทำประชามติตามมติของ ครม. ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 164 เสียง ไม่เห็นด้วย 21 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง

ดูผลลงมติ สว. เรียงคน ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ยืดเวลาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/45408

หลัง สว. แก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ และลงมติวาระสาม ก็ต้องส่งร่างกลับไปให้ สส. พิจารณา ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 137 (3) ที่กำหนดว่า หากวุฒิสภาแก้ไขร่างกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ให้ส่งร่างที่มีการแก้ไขนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าเห็นชอบกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือไม่ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบกับการแก้ไข ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นการต่อไป แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการแก้ไข จะต้องตั้งกมธ. ร่วมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขนั้น ซึ่งกมธ. ร่วมชุดนี้จะต้องทำรายงานและเสนอร่างต่อสภาทั้งสอง (สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาแยกกัน) ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบก็สามารถทูลเกล้าฯ ต่อไปได้

เมื่อ 9 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ “ไม่เห็นชอบ” กับร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ที่วุฒิสภาแก้ไข นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันจำนวน 28 ซึ่ง สส. ได้เสนอชื่อกมธ. ในวันเดียวกันนั้นจำนวน 14 คน ขณะที่ฝั่งวุฒิสภา ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 มีวาระการตั้งกมธ. ร่วมกัน โดยมี สว. สองฝั่งที่เสนอชื่อกมธ. แตกต่างกันส่งผลให้จำนวนรายชื่อเกินจำนวนโควตา 14 คน นำไปสู่การลงคะแนนเพื่อเลือกว่าใครจะได้นั่งเป็นกมธ. ร่วม

โดยสุทนต์ กล้าการขาย จากกลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม อดีตนายกสมาคมสื่อช่อสะอาด กรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต เสนอชื่อผู้ที่จะเป็นกมธ.ร่วม 14 คน คือ

  1. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย
  2. ธวัช สุระบาล
  3. พ.ต.ท. กอบ อัจนากิตติ
  4. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  5. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  6. อภิชาติ งามกมล
  7. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  8. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  9. กมล รอดคล้าย
  10. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  11. เอนก วีระพจนานันท์
  12. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  13. พิชาญ พรศิริประทาน
  14. สิทธิกร ธงยศ

ด้านนรเศษฐ์ ปรัชญากร สว. กลุ่มที่ 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการ SMEs ผู้ก่อตั้งบริษัทจัดหางาน เคนเนเดีย คอนเน็ค จำกัด ระบุว่าตนเป็นเสียงข้างน้อยที่โหวตไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ขอเสนอชื่อ นันทนา นันทวโรภาส และประภาส ปิ่นตบแต่ง เป็นกมธ. ร่วม โดยนันทนาก็เป็นหนึ่งในกมธ. วิสามัญที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ วาระสองด้วย โดยนันทนาเป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขกลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้น

เมื่อมีผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกมธ. ร่วมถึง 16 คน เกินจำนวนโควตา จึงต้องคะแนนเลือกผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 14 คน ผลปรากฏว่า สว. 14 คนที่สุทนต์ กล้าการขายเสนอชื่อ ล้วนแต่รับคะแนนเสียงสูงสุด 14 ลำดับแรก ทำให้ได้นั่งเป็นกมธ. ร่วม

โดยผลการลงคะแนนเพื่อเลือกผู้ที่จะเป็นกมธ. ร่วมกันในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ เรียงลำดับคะแนนจากสูงสุดไปต่ำสุด มีดังนี้

  1. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร 155 คะแนน
  2. ธวัช สุระบาล 151 คะแนน
  3. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร 151 คะแนน
  4. กมล รอดคล้าย 151 คะแนน
  5. ชีวะภาพ ชีวะธรรม 151 คะแนน
  6. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย 149 คะแนน
  7. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ 149 คะแนน
  8. อภิชาติ งามกมล 148 คะแนน
  9. พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติ 146 คะแนน
  10. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล 146 คะแนน
  11. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล 144 คะแนน
  12. เอนก วีระพจนานันท์ 144 คะแนน
  13. พิชาญ พรศิริประทาน 143 คะแนน
  14. สิทธิกร ธงยศ 139 คะแนน
  15. นันทนา นันทวโรภาส 27 คะแนน
  16. ประภาส ปิ่นตบแต่ง 25 คะแนน

ในจำนวนผู้ที่เป็นกมธ. ร่วมฝั่ง สว. 14 คน สองคนเคยเป็นกมธ. พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ วาระสองมาก่อน คือ พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร และพิชาญ พรศิริประทาน และทั้ง 14 คน ล้วนโหวต “เห็นด้วย” ให้แก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ เพื่อกลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้น

ผ่านกฎหมายประกาศใช้แล้วหกฉบับ

มีร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาโดย สว. 2567 และประกาศใช้เป็นกฎหมายหกฉบับ โดยมีสองฉบับที่เสียงไม่แตก ไม่มีเสียงเห็นด้วยเลย คือ

1) ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. …. ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 13 สิงหาคม 2567 วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ “สามวาระรวด” โดยการตั้งกมธ. เต็มสภาในวาระสอง

วาระหนึ่ง ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติ “เห็นชอบ” ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 184 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากประธานและรองประธานวุฒิสภา หลังพิจารณาด้วยกมธ. เต็มสภาในวาระสองแล้วเสร็จในวันเดียวกัน ได้ลงมติเห็นชอบในวาระสามด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 189 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง

2) ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ คาบเกี่ยวระหว่างวุฒิสภาสองชุด โดยเข้าสู่การพิจารณาวาระหนึ่งของ สว. ชุดพิเศษ เมื่อสว. ชุดพิเศษแก้ไขเนื้อหาร่างดังกล่าว แต่ฝั่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ทำให้ต้องตั้งกมธ. ร่วมกันกับ สส. โดยวันที่ 13 สิงหาคม 2567 สว. มีมติตั้งกมธ. ร่วม เมื่อกมธ. พิจารณาร่างแล้วเสร็จ ได้ส่งกลับมายังวุฒิสภา เมื่อ 28 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 167 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง

ขณะที่อีกสี่ฉบับ มีเสียงไม่เห็นด้วยอยู่บ้าง ได้แก่

1) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 6 สิงหาคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 139 เสียง ไม่เห็นด้วย 38 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง

2) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 9 กันยายน 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 174 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง

3) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 13 สิงหาคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในวาระหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 187 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ต่อมาในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 16 กันยายน 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในวาระสาม ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 172 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง

4) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 7 ตุลาคม 2567 ประชุมมีมติเห็นชอบในวาระหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 170 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ต่อมาในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 28 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในวาระสาม ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 168 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง

ผ่านร่างกฎหมายในวาระหนึ่งสี่ฉบับ

ในจำนวนร่างกฎหมาย 11 ฉบับที่ผ่านมือวุฒิสภาในสมัยประชุมแรก มีจำนวนสี่ฉบับที่ผ่านการพิจารณาวาระหนึ่งและกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งวุฒิสภาลงมติเห็นชอบในวาระหนึ่ง เมื่อ 22 ตุลาคม 2567 โดยภาพรวมมีร่างกฎหมายสามฉบับที่ สว. เห็นไปในทิศทางเดียวกัน “เสียงไม่แตก” ไม่มีเสียงไม่เห็นด้วย ขณะที่อีกหนึ่งฉบับมีเสียงไม่เห็นด้วยเพียง 1 เสียงและไม่ลงคะแนนเสียงเพียง 2 เสียงเท่านั้น

1) ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 158 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง

2) ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 161 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 0 เสียง

3) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 162 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 0 เสียง

4) ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 164 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 0 เสียง

คว่ำญัตติด่วนสอบจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สว. บางรายท้วงน้ำท่วมด่วนกว่า

เดือนสิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญออกสองคำวินิจฉัยที่สั่นสะเทือนการเมืองไทย โดยคดีแรกคือคดี “ยุบพรรคก้าวไกล” จากเหตุว่ากระทำการล้มล้างการปกครองฯ และกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองฯ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 (พ.ร.ป. พรรคการเมืองฯ) มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) (2) ซึ่งมูลเหตุของคดีนี้สืบเนื่องมาจากคดีก่อนหน้า ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ที่วินิจฉัยว่า พรรคก้าวไกลใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49 จากเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงการหาเสียงและการแสดงออกที่เกี่ยวข้อง

หนึ่งสัปดาห์ถัดมา 14 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติด้วยเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง ฟันเศรษฐา ทวีสิน พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากปมทูลเกล้าฯ แต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งที่พิชิตเคยต้องคำพิพากษาจำคุกหกเดือนฐานละเมิดอำนาจศาล โดยตุลาการเสียงข้างมากห้าคน ที่เห็นว่าเศรษฐาทวีสินต้องพ้นจากตำแหน่งในข้อกล่าวหานี้ ได้แก่ ปัญญา อุดชาชน อุดม สิทธิวิรัชธรรม วิรุฬห์ แสงเทียน จิรนิติ หะวานนท์ และบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ในขณะที่เสียงข้างน้อยสี่คนที่เห็นว่าเศรษฐา ทวีสินไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งในข้อกล่าวหานี้ ได้แก่ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นภดล เทพพิทักษ์ อุดม รัฐอมฤต และสุเมธ รอยกุลเจริญ

เพียงหนึ่งวันหลังจากตัดสินให้อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยพ้นจากตำแหน่ง 15 สิงหาคม 2567 อุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวในงานโครงการเสริมสร้างความรู้สู่ประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยมีคำพูดบางตอนที่พาดพิงถึงพรรคก้าวไกล ว่า

“เราไม่เคยบอกว่าที่คุณทำนั้นขัดรัฐธรรมนูญ แต่ที่คุณเอานโยบายจะแก้ตรงนั้นมาหาเสียง ซึ่งพรรคการเมือง ระเบียบของการหาเสียงมีข้อที่บอกว่า ห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียง ดังนั้น ถามว่านโยบายที่คุณจะยกเลิก 112 จะแก้ไข 112 ตามโครงร่างที่คุณเสนอ มันใช่แก้ไขโดยจริงไหม คุณซ่อนอะไรไว้ไหม”

“จริงๆ ต้องขอบคุณผมนะ มีการยุบพรรคเขา เห็นไหมครับ เขาได้เงินตั้งกี่ล้านภายในสองวัน ถ้าไม่ยุบเนี่ย เขาร้องไห้ฟรีเลยนะ ก่อนหน้านั้น เงินไม่มีนะ ต้องขอบคุณผมนะ ทำให้เขามีเงินเข้าไปตั้ง 20-30 ล้าน ใช่ไหม สมาชิกเก่าเข้าไปจดทะเบียนเป็นสมาชิกตามไปด้วยเห็นไหม ก็ไม่เห็นจะเดือดร้อนตรงไหนเลย”

“ยุบปั๊ป เอ้าไปเปิดพรรคใหม่ได้ เอ้า ไม่ข้องใจแล้วหรือ เมื่อวานร้องไห้อยู่ พรรคเราจะไปแล้ว อย่างนู้นอย่างนี้ โอ้ สองวันเลิก จากน้ำตาเป็นเสียงหัวเราะ ‘ยักไหล่แล้วไปต่อ’ เงิน 20 ล้าน”

11 วันต่อมา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 27 สิงหาคม 2567 สว. นันทนา นันทวโรภาส ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาปรึกษาหารือเกี่ยวกับพฤติกรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งซึ่งนั่งเป็นประธานในที่ประชุม สั่งเบรกโดยอ้างว่าตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 35 ระบุว่า ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา และมี สว. รับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งที่ใน ข้อ 40 มี “ข้อยกเว้น” ไว้สำหรับญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ สามารถเสนอด้วยวาจาได้ เช่น การขอให้ปรึกษาเป็นเรื่องด่วน ตามข้อ 40 (1) นอกจากนี้ เกรียงไกรยังกล่าวว่า ประธานวุฒิสภามีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมวุฒิสภา การเสนอญัตติทุกเรื่องไม่ว่าข้อบังคับจะกำหนดให้ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม ญัตติหรือเรื่องนั้น ประธานวุฒิสภาจะต้องได้ทราบข้อมูลเพื่อนำให้วุฒิสภาพิจารณาได้

หลังจากนั้น นันทนากล่าวชี้แจงกลับไปความว่า ท่านประธานยังไม่ได้เปิดโอกาสให้ตนกล่าวเลย แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าญัตติที่ตนเสนอเป็นเรื่องใด ซึ่งตนกำลังจะอธิบายพร้อมทั้งขอผู้รับรองในที่ประชุม ด้านเกรียงไกรได้กดปิดไมโครโฟนของนันทนาและระบุว่า กรุณาทำเป็นหนังสือถึงประธานวุฒิสภาก่อนจะนำมาหารือในที่ประชุมแห่งนี้

นันทนาแจงกลับว่า ตนกำลังจะเสนอเป็นญัตติด่วนด้วยวาจา และมีผู้รับรอง จึงขอชี้แจงหลักการและเหตุผล ระหว่างที่นันทนากำลังพูดว่า การกระทำของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจเข้าข่ายละเมิดมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ อย่างไรก็ดี นันทนายังกล่าวไม่จบ เกรียงไกรก็กดปิดไมโครโฟนอีกครั้งและระบุให้เสนอเป็นหนังสือ  

สัปดาห์ถัดมา 2 กันยายน 2567 นันทนา เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบหนึ่ง โดยระบุว่า ถ้อยคำที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งกล่าว มีลักษณะส่อเสียด อย่างไรก็ดี นันทนายังไม่ได้อภิปรายหลักการครบ พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. กลุ่มที่ 11 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว นักลงทุนอสังหาริมทริมทรัพย์ และผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์จากจังหวัดกระบี่ ก็ประท้วงว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วนตามข้อบังคับฯ หรือไม่ ตนเห็นว่าเรื่องเร่งด่วนจริงๆ ของพี่น้องประชาชนคือเรื่องน้ำท่วม เหตุใดผู้อภิปรายจึงไม่เสนอญัตติเป็นหนังสือตามที่ประธานในที่ประชุมได้วินิจฉัยในสัปดาห์ที่แล้ว และการเสนอญัตติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะพาดพิงถึงบุคคลภายนอกที่ไม่สามารถมาตอบชี้แจงในที่นี้ได้ หาก สว. นันทนาอยากหาข้อยุติในเรื่องนี้จริง ให้นำไปยื่นในกมธ. กิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ

บุญจันทร์ นวลสาย อภิปรายเสริมว่า ตนเห็นด้วยกับพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับประเทศหรือไม่ ถ้าเร่งด่วนก็ถามมติที่ประชุมเลย แต่ส่วนตัวตนมองว่าอย่าไปพาดพิงบุคคลภายนอก อีกครั้งเรื่องนี้ทางสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตรวจสอบแล้ว

เทวฤทธิ์ มณีฉาย สนับสนุนญัตติของนันทนา ว่าเข้าข่ายเป็นญัตติด่วนตามข้อบังคับฯ ข้อ 40 (1) โดยอภิปรายว่า ทางฝั่งสภาผู้แทนราษฎรก็มี สส. ที่เสนอญัตติด่วนในเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นดุลยพินิจในการพิจารณาคงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก และเรียนเพื่อน สว. ทุกคนที่กังวลว่าเรื่องน้ำท่วมเป็นเรื่องด่วนกว่า ตนเห็นด้วยว่าสถานการณ์น้ำท่วมเป็นเรื่องด่วน แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องด่วน สิ่งที่เรากำลังจะสูญเสียไป คือบรรทัดฐานที่จะใช้ร่วมกันว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน สิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว (ที่เกรียงไกรในฐานะประธานในที่ประชุมวินิจฉัยว่าต้องทำเป็นหนังสือ) ถือว่าเป็นบทเรียน แต่หากมาขัดขากันเอง ประชาชนจะมีข้อสงสัยในดุลยพินิจของ สว.

หลัง สว. อภิปรายด้วยความเห็นที่แตกต่าง และนันทนาได้กล่าวถึงเหตุผลที่เสนอญัตติ พล.อ.เกรียงไกร ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้ขอมติที่ประชุมว่าจะเห็นชอบให้พิจารณาญัตตินี้เป็นเรื่องด่วนหรือไม่ โดยเสียงข้างมาก 117 เสียง “ไม่เห็นด้วย” ให้พิจารณาญัตตินี้เป็นเรื่องด่วน เห็นด้วย 38 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง จากองค์ประชุมทั้งหมด 167 คน

สว. 117 คน ที่ไม่เห็นด้วยให้ที่ประชุมพิจารณาญัตตินี้เป็นเรื่องด่วน

  1. กมล รอดคล้าย
  2. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  3. กัมพล ทองชิว
  4. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์
  5. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  6. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  7. ขจรศักดิ์ ศรีวิราช
  8. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  9. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  10. จตุพร เรียงเงิน
  11. จรุณ กลิ่นตลบ
  12. จารุณี ฤกษ์ปราณี
  13. จิระศักดิ์ ชูความดี
  14. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  15. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  16. ชวพล วัฒนพรมงคล
  17. ชวภณ วัธนเวคิน
  18. ชัยธัช เพราะสุนทร
  19. ชาญชัย ไชยพิศ
  20. ชาญวิศว์ บรรจงการ
  21. ชินโชติ แสงสังข์
  22. ชูชาติ อินสว่าง
  23. โชคชัย กิตติธเนศวร
  24. โชติชัย บัวดิษ
  25. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  26. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  27. แดง กองมา
  28. ธนกร ถาวรชินโชติ
  29. ธนภัทร ตวงวิไล
  30. ธารนี ปรีดาสันติ์
  31. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  32. นพดล พริ้งสกุล
  33. นพดล อินนา
  34. นฤพล สุคนธชาติ
  35. นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์
  36. นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุล
  37. นิพนธ์ เอกวานิช
  38. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  39. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  40. นิรุตติ สุทธินนท์
  41. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  42. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  43. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย
  44. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  45. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  46. ประกาสิทธิ์ พลซา
  47. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  48. ประไม หอมเทียม
  49. ปราณีต เกรัมย์
  50. ปุณณภา จินดาพงษ์
  51. พรเพิ่ม ทองศรี
  52. พิชาญ พรศิริประทาน
  53. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  54. พิมาย คงทัน
  55. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  56. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  57. เพลินจิต ขันแก้ว
  58. ภมร เชาว์ศิริกุล
  59. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  60. ภาวนา ว่องอมรนิธิ
  61. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา
  62. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี
  63. รุจิภาส มีกุศล
  64. ฤชุ แก้วลาย
  65. วร หินดี
  66. วรรษมนต์ คุณแสน
  67. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
  68. วราวุธ ตีระนันทน์
  69. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  70. วันชัย แข็งการเขตร
  71. วิเชียร ชัยสถาพร
  72. วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์
  73. วิภาพร ทองโสด
  74. วิรัตน์ ธรรมบํารุง
  75. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  76. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  77. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  78. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  79. วีระพันธ์ สุวรรณนามัย
  80. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  81. เศก จุลเกษร
  82. เศรณี อนิลบล
  83. พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัย
  84. สมชาย นุ่มพูล
  85. สมทบ ถีระพันธ์
  86. สมพร วรรณชาติ
  87. สมพาน พละศักดิ์
  88. สมศรี อุรามา
  89. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
  90. สมหมาย ศรีจันทร์
  91. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา
  92. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  93. สามารถ รังสรรค์
  94. สาลี สิงห์คำ
  95. สิทธิกร ธงยศ
  96. สืบศักดิ์ แววแก้ว
  97. สุทิน แก้วพนา
  98. สุเทพ สังข์วิเศษ
  99. พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  100. สุนทร เชาว์กิจค้า
  101. สุพรรณ์ ศรชัย
  102. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  103. สุมิตรา จารุกําเนิดกนก
  104. พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน
  105. สุวิทย์ ขาวดี
  106. โสภณ ผาสุข
  107. อจลา ณ ระนอง
  108. อภิชา เศรษฐวราธร
  109. อภิชาติ งามกมล
  110. อมร ศรีบุญนาค
  111. อมรศักดิ์ กิจธนานันท์
  112. อลงกต วรกี
  113. อะมัด อายุเคน
  114. อัครวินท์ ขำขุด
  115. อารีย์ บรรจงธุระการ
  116. เอนก วีระพจนานันท์
  117. เอมอร ศรีกงพาน

สว. ที่เห็นด้วยให้ที่ประชุมพิจารณาญัตตินี้เป็นเรื่องด่วน 38 คน ได้แก่

  1. กมล สุขคะสมบัติ
  2. ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
  3. กัลยา ใหญ่ประสาน
  4. เกียรติชาย ไมตรีวงษ์
  5. ฉลอง ทองนะ
  6. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
  7. ชิบ จิตนิยม
  8. ณภพ ลายวิเศษกุล
  9. ณรงค์ จิตราช
  10. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์
  11. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  12. ธนชัย แซ่จึง
  13. นรเศรษฐ์ ปรัชญากร
  14. นันทนา นันทวโรภาส
  15. นิชาภา สุวรรณนาค
  16. ประทุม วงศ์สวัสดิ์
  17. ประเทือง มนตรี
  18. ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล
  19. ปวีณา สาระรัมย์
  20. เปรมศักดิ์ เพียยุระ
  21. พรชัย วิทยเลิศพันธุ์
  22. มณีรัฐ เขมะวงค์
  23. มังกร ศรีเจริญกูล
  24. มานะ มหาสุวีระชัย
  25. ยะโก๊ป หีมละ
  26. พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
  27. รัชนีกร ทองทิพย์
  28. แล ดิลกวิทยรัตน์
  29. พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์
  30. วาสนา ยศสอน
  31. วีรยุทธ สร้อยทอง
  32. สมดุลย์ บุญไชย
  33. สมบูรณ์ หนูนวล
  34. สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
  35. สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์
  36. สุนทร พฤกษพิพัฒน์
  37. อภินันท์ เผือกผ่อง
  38. อังคณา นีละไพจิตร

สว. ที่งดออกเสียง 12 ราย

  1. พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์
  2. ชูชีพ เอื้อการณ์
  3. เดชา นุตาลัย
  4. เตชสิทธิ์ ชูแก้ว
  5. พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคม
  6. ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ
  7. ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ
  8. มยุรี โพธิแสน
  9. วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
  10. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  11. น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
  12. พล.ต.ต. อังกูร คล้ายคลึง

สว. ขอตั้งกมธ. ศึกษาแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่แพ้โหวต

10 กันยายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภามีวาระพิจารณาญัตติ ญัตติ ขอเสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากวิกฤติอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ซึ่งเสนอโดยเศรณี อนิลบล และเปรมศักดิ์ เพียยุระ

เศรณี อนิลบล สว. จากกลุ่มที่ 6 กลุ่มอาชีพทำสวน ร่ำไห้กล่าวว่า ญัตตินี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ใครที่ไม่เคยสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะน้ำท่วมจะไม่รู้สึก มันเป็นความเจ็บปวดของพี่น้องประชาชนคนไทยที่ทุกข์ยากมาเป็นสิบๆ ปี ไม่สามารถไปไหนได้เวลาที่น้ำท่วม อาหารการกินก็หาลำบาก รัฐบาลไม่ว่าจะรัฐบาลใด ก็ต้องทุ่มเทงบประมาณมาซ่อมแซมหรือสร้างถนนที่เสียหายไป พี่น้องเกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ต้องปลูกใหม่ ในฐานะที่ตนเป็น สว. จากกลุ่มที่ 6 คลุกคลีกับเกษตรกร เห็นความทุกข์ยากลำบากเมื่อมีสถานการณ์น้ำท่วม แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ รัฐบาลทำได้เพียงเยียวยาชดเชยเท่านั้น สิ่งที่อยากเห็น คือการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ เพื่อให้ไม่ว่ารัฐบาลใด ก็จะต้องแก้ปัญหานี้ได้

อย่างไรก็ดี ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติ “ไม่เห็นด้วย” กับญัตติดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย 127 เสียง เห็นด้วย 48 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง จากองค์ประชุม 185 คน โดยพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ที่ตั้งคำถามถึงความเร่งด่วน ของญัตติที่นันทนาเสนอให้ตรวจสอบจริยธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ อ้างว่า เรื่องเร่งด่วนกว่าสำหรับพี่น้องประชาชน คือเรื่องน้ำท่วม ก็เป็นหนึ่งใน สว. ที่โหวตไม่เห็นด้วย กับการเสนอตั้งกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมฯ

โดย สว. ที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมฯ 127 คน ได้แก่

  1. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  2. พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติ
  3. กัมพล ทองชิว
  4. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  5. กิติศักดิ์ หมื่นศรี
  6. ขจรศักดิ์ ศรีวิราช
  7. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  8. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  9. จตุพร เรียงเงิน
  10. จรุณ กลิ่นตลบ
  11. จารุณี ฤกษ์ปราณี
  12. จำลอง อนันตสุข
  13. จิระศักดิ์ ชูความดี
  14. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  15. ฉลอง ทองนะ
  16. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  17. ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
  18. ชวภณ วัธนเวคิน
  19. ชาญชัย ไชยพิศ
  20. ชินโชติ แสงสังข์
  21. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  22. โชคชัย กิตติธเนศวร
  23. โชติชัย บัวดิษ
  24. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  25. ณรงค์ จิตราช
  26. ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
  27. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  28. แดง กองมา
  29. เตชสิทธิ์ ชูแก้ว
  30. ธนกร ถาวรชินโชติ
  31. ธนชัย แซ่จึง
  32. ธนภัทร ตวงวิไล
  33. ธวัช สุระบาล
  34. ธัชชญาณ์ ณัชเจียรธนัทกานนท์
  35. ธารนี ปรีดาสันติ์
  36. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  37. นพดล อินนา
  38. นฤพล สุคนธชาติ
  39. นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุล
  40. นิพนธ์ เอกวานิช
  41. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  42. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  43. นิรุตติ สุทธินนท์
  44. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  45. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  46. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย
  47. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  48. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  49. ประกาสิทธิ์ พลซา
  50. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
  51. ปราณีต เกรัมย์
  52. ปวีณา สาระรัมย์
  53. ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ
  54. ปุณณภา จินดาพงษ์
  55. พรเพิ่ม ทองศรี
  56. พละวัต ตันศิริ
  57. พิชาญ พรศิริประทาน
  58. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  59. พิมาย คงทัน
  60. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  61. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  62. เพลินจิต ขันแก้ว
  63. ไพบูลย์ ณะบุตรจอม
  64. ภมร เชาว์ศิริกุล
  65. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  66. มยุรี โพธิแสน
  67. มาเรีย เผ่าประทาน
  68. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี
  69. รจนา เพิ่มพูล
  70. รุจิภาส มีกุศล
  71. ฤชุ แก้วลาย
  72. แล ดิลกวิทยรัตน์
  73. วร หินดี
  74. วรรษมนต์ คุณแสน
  75. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
  76. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  77. วันชัย แข็งการเขตร
  78. วิเชียร ชัยสถาพร
  79. วิภาพร ทองโสด
  80. วิรัตน์ ธรรมบํารุง
  81. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  82. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  83. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  84. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  85. วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
  86. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  87. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  88. ศุภโชค ศาลากิจ
  89. สมชาย นุ่มพูล
  90. สมดุลย์ บุญไชย
  91. สมทบ ถีระพันธ์
  92. สมบูรณ์ หนูนวล
  93. สมพร วรรณชาติ
  94. สมพาน พละศักดิ์
  95. สมศรี อุรามา
  96. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
  97. สมหมาย ศรีจันทร์
  98. สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
  99. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา
  100. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  101. สากล ภูลศิริกุล
  102. สามารถ รังสรรค์
  103. สาลี สิงห์คำ
  104. สิทธิกร ธงยศ
  105. สืบศักดิ์ แววแก้ว
  106. สุทนต์ กล้าการขาย
  107. สุทิน แก้วพนา
  108. สุเทพ สังข์วิเศษ
  109. พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  110. สุนทร เชาว์กิจค้า
  111. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  112. พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน
  113. สุวิช จําปานนท์
  114. โสภณ ผาสุข
  115. โสภณ มะโนมะยา
  116. อจลา ณ ระนอง
  117. อภิชา เศรษฐวราธร
  118. อภิชาติ งามกมล
  119. อมร ศรีบุญนาค
  120. อลงกต วรกี
  121. อะมัด อายุเคน
  122. อัครวินท์ ขำขุด
  123. อัจฉรพรรณ หอมรส
  124. อัษฎางค์ แสวงการ
  125. อารีย์ บรรจงธุระการ
  126. อิสระ บุญสองชั้น
  127. เอนก วีระพจนานันท์

สว. ที่เห็นด้วยกับการตั้งกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมฯ 48 คน ได้แก่

  1. กัลยา ใหญ่ประสาน
  2. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์
  3. เกียรติชาย ไมตรีวงษ์
  4. ชวพล วัฒนพรมงคล
  5. ชิบ จิตนิยม
  6. ชูชาติ อินสว่าง
  7. ชูชีพ เอื้อการณ์
  8. ณภพ ลายวิเศษกุล
  9. เดชา นุตาลัย
  10. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์
  11. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  12. พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคม
  13. นพดล พริ้งสกุล
  14. นรเศรษฐ์ ปรัชญากร
  15. นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์
  16. นันทนา นันทวโรภาส
  17. นิคม มากรุ่งแจ้ง
  18. นิชาภา สุวรรณนาค
  19. ประทุม วงศ์สวัสดิ์
  20. ประภาส ปิ่นตบแต่ง
  21. ประไม หอมเทียม
  22. ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล
  23. ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ
  24. เปรมศักดิ์ เพียยุระ
  25. พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต
  26. พรชัย วิทยเลิศพันธุ์
  27. มณีรัฐ เขมะวงค์
  28. มังกร ศรีเจริญกูล
  29. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา
  30. พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
  31. รัชนีกร ทองทิพย์
  32. วราวุธ ตีระนันทน์
  33. พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์
  34. วาสนา ยศสอน
  35. วีรยุทธ สร้อยทอง
  36. วีระพันธ์ สุวรรณนามัย
  37. น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
  38. ศรายุทธ ยิ้มยวน
  39. เศก จุลเกษร
  40. เศรณี อนิลบล
  41. สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์
  42. พล.ท. สุกิจ ทั่งทอง
  43. สุนทร พฤกษพิพัฒน์
  44. สุพรรณ์ ศรชัย
  45. อภินันท์ เผือกผ่อง
  46. พล.ต.ต. อังกูร คล้ายคลึง
  47. อังคณา นีละไพจิตร
  48. เอกชัย เรืองรัตน์

สว. ที่งดออกเสียง 10 คน ได้แก่

  1. กมล สุขคะสมบัติ
  2. พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์
  3. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  4. จุฑารัตน์ นิลเปรม
  5. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
  6. ชาญวิศว์ บรรจงการ
  7. บุญส่ง น้อยโสภณ
  8. มงคล สุระสัจจะ
  9. มานะ มหาสุวีระชัย
  10. อมรศักดิ์ กิจธนานันท์

โหวตคว่ำญัตติด่วนถกปมทหารเกณฑ์เสียชีวิต

7 ตุลาคม 2567 นรเศรษฐ ปรัชญากร ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง การเสียชีวิตของทหารเกณฑ์ในค่ายทหาร สืบเนื่องจากพลทหารศิริวัฒน์ ใจดี สังกัดกรมสารวัตรทหารเรือเสียชีวิตเมื่อ 2 กรกฎาคม 2567 ขณะที่ฝึกซ้อม โดยระหว่างฝึก ศิริวัฒน์หน้ามืด และวูบตรงขาครูฝึก จากนั้น ครูฝึกได้เตะขาและซี่โครงด้วยรองเท้าคอมแบต และตบหน้าอีกหนึ่งครั้ง เพราะว่ามองเป็นการสำออย พร้อมให้เพื่อนพลทหารอุ้มไปตากแดดหน้าเสาธง โดยไม่มีการปฐมพยาบาล ต่อมาเพื่อนได้ไปตรวจสอบได้ยินเสียงร้อง “ฮือๆ” จึงได้รีบพาตัวพลทหารศิริวัฒน์ไปโรงพยาบาล แต่พลทหารศิริวัฒน์เสียชีวิตระหว่างทาง

นรเศรษฐอภิปรายว่า การเสียชีวิตของทหารในกองทัพเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง อยากใช้พื้นที่สภาอันทรงเกียรติสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องว่ามีทหารที่เสียชีวิตในกองทัพแต่ละปีกี่คน วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในกองทัพทำให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจลิดรอนศักดิ์ศรีผู้น้อย หากวัฒนธรรมนี้ยังคงอยู่ในสังคมต่อไป ร่างที่ไร้ลมหายใจของทหารเกณฑ์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากเรียกร้องไปทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกองทัพ จะสร้างหลักประกันอย่างไรไม่ให้มีทหารที่เสียชีวิตเพราะการฝึกแบบนี้อีก

บุญส่ง น้อยโสภณ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ซึ่งนั่งเป็นประธานในที่ประชุม ขอมติที่ประชุมว่าจะพิจารณาญัตติดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนหรือไม่ โดยเสียงข้างมากลงมติ ไม่เห็นด้วย 141 เสียง เห็นด้วย 26 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง จากองค์ประชุม 173 คน

สว. ที่ไม่เห็นด้วย 141 คน ได้แก่

  1. กมล รอดคล้าย
  2. กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ
  3. กัมพล ทองชิว
  4. กัมพล สุภาแพ่ง
  5. กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ
  6. กิติศักดิ์ หมื่นศรี
  7. เกศกมล เปลี่ยนสมัย
  8. ขจรศักดิ์ ศรีวิราช
  9. ขวัญชัย แสนหิรัณย์
  10. เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ
  11. จตุพร เรียงเงิน
  12. จรุณ กลิ่นตลบ
  13. จารุณี ฤกษ์ปราณี
  14. จำลอง อนันตสุข
  15. จิระศักดิ์ ชูความดี
  16. จุฑารัตน์ นิลเปรม
  17. เจียระนัย ตั้งกีรติ
  18. ฉลอง ทองนะ
  19. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร
  20. ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
  21. ชวภณ วัธนเวคิน
  22. ชัยธัช เพราะสุนทร
  23. ชาญชัย ไชยพิศ
  24. ชาญวิศว์ บรรจงการ
  25. ชินโชติ แสงสังข์
  26. ชีวะภาพ ชีวะธรรม
  27. ชูชาติ อินสว่าง
  28. ชูชีพ เอื้อการณ์
  29. โชคชัย กิตติธเนศวร
  30. โชติชัย บัวดิษ
  31. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
  32. ณรงค์ จิตราช
  33. ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
  34. ณัฐกิตติ์ หนูรอด
  35. เดชา นุตาลัย
  36. แดง กองมา
  37. เตชสิทธิ์ ชูแก้ว
  38. ธนกร ถาวรชินโชติ
  39. ธนชัย แซ่จึง
  40. ธนภัทร ตวงวิไล
  41. ธวัช สุระบาล
  42. ธัชชญาณ์ ณัชเจียรธนัทกานนท์
  43. ธารนี ปรีดาสันติ์
  44. นงลักษณ์ ก้านเขียว
  45. นพดล พริ้งสกุล
  46. นิคม มากรุ่งแจ้ง
  47. นิทัศน์อารีย์ วงศ์สกุล
  48. นิพนธ์ เอกวานิช
  49. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด
  50. นิรัตน์ อยู่ภักดี
  51. นิรุตติ สุทธินนท์
  52. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
  53. นิสิทธิ์ ปนกลิ่น
  54. บุญชอบ สระสมทรัพย์
  55. ประกาสิทธิ์ พลซา
  56. ประไม หอมเทียม
  57. ปราณีต เกรัมย์
  58. ปวีณา สาระรัมย์
  59. ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ
  60. ปุณณภา จินดาพงษ์
  61. พรเพิ่ม ทองศรี
  62. พละวัต ตันศิริ
  63. พิชาญ พรศิริประทาน
  64. พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ
  65. พิมาย คงทัน
  66. พิศูจน์ รัตนวงศ์
  67. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์
  68. เพลินจิต ขันแก้ว
  69. ไพบูลย์ ณะบุตรจอม
  70. ภมร เชาว์ศิริกุล
  71. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  72. ภาวนา ว่องอมรนิธิ
  73. มยุรี โพธิแสน
  74. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี
  75. รจนา เพิ่มพูล
  76. พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
  77. รัชนีกร ทองทิพย์
  78. รุจิภาส มีกุศล
  79. ฤชุ แก้วลาย
  80. แล ดิลกวิทยรัตน์
  81. วร หินดี
  82. วรรษมนต์ คุณแสน
  83. วราวุธ ตีระนันทน์
  84. วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์
  85. วันชัย แข็งการเขตร
  86. วิเชียร ชัยสถาพร
  87. วิภาพร ทองโสด
  88. วิรัตน์ ธรรมบํารุง
  89. วิรัตน์ รักษ์พันธ์
  90. วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  91. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
  92. วิวัฒน์ รุ้งแก้ว
  93. วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
  94. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  95. น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
  96. ศรายุทธ ยิ้มยวน
  97. ศุภชัย กิตติภูติกุล
  98. ศุภโชค ศาลากิจ
  99. เศก จุลเกษร
  100. พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัย
  101. สมชาย นุ่มพูล
  102. สมดุลย์ บุญไชย
  103. สมทบ ถีระพันธ์
  104. สมบูรณ์ หนูนวล
  105. สมพร วรรณชาติ
  106. สมพาน พละศักดิ์
  107. สมศรี อุรามา
  108. สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
  109. สมหมาย ศรีจันทร์
  110. สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
  111. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา
  112. สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา
  113. สากล ภูลศิริกุล
  114. สาลี สิงห์คำ
  115. สิทธิกร ธงยศ
  116. สุทนต์ กล้าการขาย
  117. สุทิน แก้วพนา
  118. สุเทพ สังข์วิเศษ
  119. พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร
  120. สุนทร เชาว์กิจค้า
  121. สุพรรณ์ ศรชัย
  122. สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา
  123. สุมิตรา จารุกําเนิดกนก
  124. พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน
  125. สุวิช จําปานนท์
  126. สุวิทย์ ขาวดี
  127. โสภณ ผาสุข
  128. อจลา ณ ระนอง
  129. อภิชา เศรษฐวราธร
  130. อภิชาติ งามกมล
  131. อภินันท์ เผือกผ่อง
  132. อมร ศรีบุญนาค
  133. อมรศักดิ์ กิจธนานันท์
  134. อะมัด อายุเคน
  135. อัครวินท์ ขำขุด
  136. พล.ต.ต. อังกูร คล้ายคลึง
  137. อัจฉรพรรณ หอมรส
  138. อารีย์ บรรจงธุระการ
  139. อิสระ บุญสองชั้น
  140. เอนก วีระพจนานันท์
  141. เอมอร ศรีกงพาน

สว. ที่เห็นด้วย 26 คน ได้แก่

  1. กัลยา ใหญ่ประสาน
  2. ชิบ จิตนิยม
  3. ณภพ ลายวิเศษกุล
  4. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  5. นรเศรษฐ์ ปรัชญากร
  6. นฤพล สุคนธชาติ
  7. นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์
  8. นันทนา นันทวโรภาส
  9. เบ็ญจมาศ อภัยทอง
  10. ปฏิมา จีระแพทย์
  11. ประทุม วงศ์สวัสดิ์
  12. ประเทือง มนตรี
  13. ประภาส ปิ่นตบแต่ง
  14. ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล
  15. พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต
  16. พรชัย วิทยเลิศพันธุ์
  17. มณีรัฐ เขมะวงค์
  18. มานะ มหาสุวีระชัย
  19. ยะโก๊ป หีมละ
  20. พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์
  21. วาสนา ยศสอน
  22. วีรยุทธ สร้อยทอง
  23. สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์
  24. สุนทร พฤกษพิพัฒน์
  25. อังคณา นีละไพจิตร
  26. เอกชัย เรืองรัตน์

สว. ที่งดออกเสียงห้าคน คือ

  1. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์
  2. เกียรติชาย ไมตรีวงษ์
  3. ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์
  4. นิชาภา สุวรรณนาค
  5. โสภณ มะโนมะยา

สว. ที่ไม่ลงคะแนนเสียง คือ บุญส่ง น้อยโสภณ ที่นั่งเป็นประธานในประชุมขณะที่พิจารณาวาระนี้

ให้ความเห็นชอบ อัยการสูงสุด – ประธานศาลปกครองสูงสุด

สว. ไม่ได้มีอำนาจแค่ให้ความเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการองค์กรอิสระเท่านั้น ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหลายฉบับ ยังกำหนดให้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญหรือตำแหน่งระดับสูงในองค์กร จะต้องผ่านด่านคัดกรอง ได้เสียง “เห็นชอบ” จาก สว. ด้วย แม้ผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ จะใช้ความสามารถ ความรู้ความเชี่ยวชาญในการเข้าดำรงตำแหน่ง แต่ถ้าหากไม่สามารถผ่านด่าน สว. ก็จะหมดโอกาสดำรงตำแหน่งเหล่านั้นไป

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา สำหรับตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ในมาตรา 15/1 กำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)  พิจารณาคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคนหนึ่งเป็นประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วเสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีนำเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอชื่อ

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 3 กันยายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ด้วยคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ 164 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 17 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง และบัตรเสีย 1 ใบ โดยผู้สมควรตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด เคยเข้าสู่การพิจารณาของ สว. ชุดพิเศษมาแล้วเมื่อ 1 เมษายน 267 คือ วิษณุ วรัญญู แต่ สว. ชุดพิเศษ ไม่ให้ความเห็นชอบ จึงนำมาสู่การเสนอชื่อบุคคลใหม่

นอกจากตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ในวันเดียวกันนั้นเอง วุฒิสภายังให้ความเห็นชอบผู้มาดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 10 ซึ่งกำหนดว่า การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของ คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ก.อ.) และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา และให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด

โดยวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 184 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง และบัตรเสีย 1 ใบ

ไฟล์แนบ

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage