การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ใช้เวลาการเลือกและการนับคะแนนไปนานกว่า 21 ชั่วโมง ในการออกเสียงลงคะแนนรอบแรกหรือรอบ “เลือกกันเอง” ของผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีผู้สมัครไม่เกิน 154 คน ให้ผู้สมัครทุกคนเลือกกันเองในกลุ่ม โดยออกเสียงได้ไม่เกินคนละ 10 เสียง โดยการเขียนหมายเลขของผู้สมัครที่ต้องการเลือกลงในช่องว่างสิบช่องในบัตรเลือก ซึ่งจะออกเสียงเลือกตัวเองก็ได้ แต่ออกเสียงเลือกคนเดียวหลายคะแนนไม่ได้ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 40 อันดับแรกจากแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้เข้าสู่รอบต่อไป คือ การออกเสียงเลือกผู้สมัครจากกลุ่มอื่นในสายเดียวกัน หรือการ “เลือกไขว้”
ผู้สังเกตการณ์ในระดับประเทศรวมทั้งประชาชนที่ติดตามดูการถ่ายทอดสดสังเกตเห็นถึง “ความไม่ปกติ” ในวิธีการออกเสียงลงคะแนน เมื่อนับคะแนนในระบบเลือกกันเอง เจ้าหน้าที่จะขานคะแนนและยื่นบัตรให้ผู้สมัครและประชาชนได้ดูเพื่อตรวจสอบว่าขานคะแนนได้ถูกต้องหรือไม่ ปรากฏว่า แต่ละกลุ่มมีบัตรหลายใบที่มีรูปแบบซ้ำๆ กัน (pattern) การออกเสียงเลือกผู้สมัครหมายเลขต่างๆ ที่เหมือนกันทั้งสิบหมายเลข และเรียงลำดับหมายเลขเหมือนกันทุกตำแหน่ง โดยไม่ได้เรียงจากหมายเลขน้อยไปหามาก
เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีผู้สมัคร 154 คน และกกต. ไม่ได้กำหนดว่า การเลือกจะต้องเรียงลำดับหมายเลขน้อยไปหาหมายเลขมาก ความเป็นไปได้ที่ผู้สมัครแต่ละคนจะเขียนในแต่ละช่อง คือ 154 แบบและแต่ละคนออกเสียงเลือกได้สิบช่อง ซึ่งโอกาสที่ผู้สมัครสองคนจะ “บังเอิญ” ใจตรงกันและเลือกเหมือนกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกัน โดยไม่ได้ตกลงนัดหมายกันมาก่อน คือ 1 ใน 5,566,857,732,147,160,000,000 (อ่านว่า หนึ่งในห้าพันห้าร้อยหกสิบหกล้านล้านล้าน …) หรือเรียกได้ว่า หากผู้สมัครทุกคนออกเสียงลงคะแนนโดยอิสระโอกาสที่จะมีบัตรสองใบจะเขียนตัวเลขเหมือนกันทั้งสิบช่องนั้น “แทบเป็นไปไม่ได้เลย”
แต่ในความเป็นจริง ปรากฎการณ์ที่พบในระหว่างการนับคะแนนรอบเลือกกันเองในกลุ่มเดียวกัน คือ มีหลายกลุ่มที่มีบัตรที่ออกเสียงเลือกเหมือนกันทุกหมายเลขและลำดับจำนวน 10-20 ใบ ซึ่ง ในทางคณิตศาสตร์โอกาสความบังเอิญที่จะเกิดขึ้นนั้น “เป็นไปไม่ได้เลย” จึงเชื่อได้ว่า มีการตกลงกันมาก่อนระหว่างผู้สมัครให้ออกเสียงเหมือนกันไปทางใดทางหนึ่งของผู้สมัครจำนวน 20-30 คนต่อกลุ่มเป็นอย่างน้อย
เนื่องจากกกต. ไม่ได้ถ่ายทอดสดการนับคะแนนทุกกลุ่มและไม่ได้เปิดเผยไฟล์จากกล้องวงจรปิดทั้งหมด ข้อมูลที่ได้เพื่อตรวจสอบการลงคะแนนซ้ำๆ กันเป็น Pattern จึงอาศัยข้อมูลจากผู้สมัครในกลุ่มนั้นๆ ที่จดบันทึกการขานคะแนนของบัตรทีละใบๆ ด้วยมือตัวเองและนำมาวิเคราห์ต่อ ซึ่งได้ข้อมูลมาทั้งหมดห้ากลุ่ม จากข้อมูลนี้พบว่า กลุ่ม 4 กลุ่มการสาธารณสุข มีบัตรที่เลือกเหมือนกัน 20 ใบ, กลุ่ม 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการ SMEs มีบัตรที่เลือกเหมือนกัน 18 ใบ, กลุ่ม 10 กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น มีบัตรที่เลือกเหมือนกัน 22 ใบ, กลุ่ม 12 กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม มีบัตรที่เลือกเหมือนกัน 14 ใบและกลุ่ม 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีบัตรที่เลือกเหมือนกัน 13 ใบ
นอกจากนี้จากรายชื่อของผู้สมัคร 10 คนที่ได้เข้ารอบจากการลงคะแนนแบบเป็น Pattern เหมือนกันในห้ากลุ่มตัวอย่างนั้น สุดท้ายแล้วผู้สมัครจากทั้งห้ากลุ่ม 7 จาก 10 คนนี้ได้รับเลือกเป็นสว. ตัวจริง เป็นจำนวนที่ตรงกันทั้งห้ากลุ่ม และ 6 จาก 7 คนที่ได้รับเลือกเป็นสว. ก็ได้คะแนนมากเป็น 6 อันดับแรกในลักษณะ “ทิ้งห่าง” ผู้สมัครคนอื่นๆ ชนิด “ล้นกระดาน”
๐ ดูข้อมูลการเลือกจาก 5 กลุ่มตัวอย่างได้ที่นี่
ผู้ได้รับเลือกเป็น Pattern มาจากจังหวัดเลย อ่างทอง บุรีรัมย์ ฯลฯ
จากข้อมูลการลงคะแนนที่ได้มาทั้งห้ากลุ่ม ซึ่งมีผู้สมัครที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern รวมอย่างน้อย 50 คน พบว่ามีหลายคนที่มาจากจังหวัดซ้ำๆ กัน โดยพบจังหวัดที่มีผู้สมัครที่ได้รับการเลือกในรอบเลือกกันอย่างมี Pattern มากที่สุด 7 จังหวัดแรก ดังนี้
ลำดับ | จังหวัด | จำนวนผู้สมัคร สว. ที่ถูกเลือกแบบเป็น Pattern | จำนวน สว. (ตัวจริง) ที่โผล่ อยู่ในการเลือกแบบมี Pattern | จำนวน สว.(ตัวจริง) ทั้งหมด |
1 | เลย | 9 | 2 | 5 |
2 | อ่างทอง | 8 | 2 | 6 |
3 | บุรีรัมย์ | 5 | 4 | 14 |
4 | พระนครศรีอยุธยา | 4 | 2 | 7 |
5 | อำนาจเจริญ | 3 | 2 | 5 |
6 | เชียงราย | 2 | 2 | 2 |
7 | สุรินทร์ | 2 | 2 | 7 |
การจัดลำดับที่มีผู้สมัครที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern มากที่สุดนี้ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการจัดลำดับจากข้อมูลที่มีเพียงห้ากลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมด แต่ก็เห็นแล้วว่าจังหวัดที่มีผู้สมัครถูกเลือกอย่างมี Pattern จำนวนมาก ก็สอดคล้องกับจังหวัดที่มีผู้เข้ารอบเลือกไขว้มาก 8 อันดับแรก และสอดคล้องกับจังหวัดที่มีผู้ได้รับเลือกเป็น สว. จำนวนมากเช่นกัน
กลุ่มการสาธารณสุข เลือกแบบเดียวกัน 20 ใบ
ตามเอกสาร สว.ป. 20 ผู้สมัครสว. ในกลุ่ม 4 กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน ผู้มีสิทธิเลือกมาแสดงตน 153 คน จากบันทึกของผู้สมัครสว. ระดับประเทศที่นั่งฟังการนับคะแนนอย่างใกล้ชิดพบว่าจาก 153 ใบมีบัตรเลือก 20 ใบ ได้แก่ ใบที่ 2, 3, 36, 47, 48, 50, 51, 58, 61, 65, 68, 70, 72, 97, 117, 119, 120, 127, 130 และ 143 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือกคือ “66, 47, 100, 127, 59, 84, 106, 121, 80, 92” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 66 ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้สมัครจากจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 47 นงลักษณ์ ก้านเขียว ผู้สมัครจากจังหวัดสุโขทัย
- หมายเลข 100 ฤชุ แก้วลาย ผู้สมัครจากจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 127 สมบูรณ์ หนูนวล ผู้สมัครจากจังหวัดชุมพร
- หมายเลข 59 บุญชอบ สระสมทรัพย์ ผู้สมัครจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- หมายเลข 84 เพลินจิต ขันแก้ว ผู้สมัครจากจังหวัดอำนาจเจริญ
- หมายเลข 106 วันชัย แข็งการเขตร ผู้สมัครจากจังหวัดอุทัยธานี
- หมายเลข 121 สถิตย์ แก้วแสนทิพย์ ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 80 พรเทพ ฤทธิ์ฤดี ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
- หมายเลข 92 มีศักดิ์ ญาณโกมุท ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 20 คน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้ และปรากฎว่า 7 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ตัวจริง ได้แก่ ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล, สมบูรณ์ หนูนวล, บุญชอบ สระสมทรัพย์, นงลักษณ์ ก้านเขียว, ฤชุ แก้วลาย, เพลินจิต ขันแก้ว, วันชัย แข็งการเขตร
กลุ่ม SMEs มี 3 Pattern มีบัตรที่เลือกแบบซ้ำกัน 29 ใบ
ตามเอกสารสว.ป. ผู้สมัครสว. ในกลุ่ม 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน รอบเลือกกันเองตามเอกสาร สว.ป 20 ผู้มีสิทธิเลือกมาแสดงตน 146 คน จากบันทึกของผู้สมัครสว. ระดับประเทศที่นั่งฟังการนับคะแนนอย่างใกล้ชิดพบว่าจาก 146 ใบ ปรากฎรูปแบบการเลือกที่ซ้ำกันสามแบบ รูปแบบที่หนึ่ง พบบัตรเลือก 18 ใบ ได้แก่ ใบที่ 4, 11, 28, 40, 46, 49, 52, 68, 70, 71, 74, 86, 109, 116, 121, 122, 136 และ 145 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือกคือ “56, 131, 104, 81, 121, 60, 26, 1, 38, 83” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 56 นิพนธ์ เอกวานิช ผู้สมัครจากจังหวัดภูเก็ต
- หมายเลข 131 สุมิตรา จารุกำเนิดกนก ผู้สมัครจากจังหวัดบึงกาฬ
- หมายเลข 104 วรรษมนต์ คุณแสน ผู้สมัครจากจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 81 พิชาญ พรศิริประทาน ผู้สมัครจากจังหวัดยะลา
- หมายเลข 121 สมศรี อุรามา ผู้สมัครจากจังหวัดสตูล
- หมายเลข 60 เบ็ญจมาศ อภัยทอง ผู้สมัครจากจังหวัดพิจิตร
- หมายเลข 26 ชัยธัช เพราะสุนทร ผู้สมัครจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
- หมายเลข 1 กัณญานีย์ ทองปั้น ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 38 ณัฐริกา ศรีสวัสดิ์ ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 83 พิเชษฐ์ มีศรี ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 2 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน รวมแล้วมีบัตรที่เลือกผู้สมัครกลุ่มเดียวกัน 20 ใบ
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 20 คน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้และปรากฎว่า 7 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ นิพนธ์ เอกวานิช, วรรษมนต์ คุณแสน, พิชาญ พรศิริประทาน, สุมิตรา จารุกำเนิดกนก, สมศรี อุรามา, เบ็ญจมาศ อภัยทอง, ชัยธัช เพราะสุนทร
รูปแบบการเลือกรูปแบบที่สอง พบบัตรเลือก 3 ใบ ได้แก่ ใบที่ 64, 111 และ 139 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือกคือ “52, 77, 91, 129, 13, 25, 29, 74, 99, 9” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 52 นรเศรษฐ์ ปรัชญากร ผู้สมัครจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร
- หมายเลข 77 พัชรวัฒน์ รัตนสิริรัตน์ ผู้สมัครจากจังหวัดนครปฐม
- หมายเลข 91 มณีรัฐ เขมะวงค์ ผู้สมัครจากจังหวัดเชียงราย
- หมายเลข 129 สุพร พงษ์ขจรธน ผู้สมัครจากจังหวัดนครปฐม
- หมายเลข 13 จตุพล ธนูพันธุ์ชัย ผู้สมัครจากจังหวัดพิษณุโลก
- หมายเลข 25 ชัยณรงค์ เยาวลักษณ์ ผู้สมัครจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- หมายเลข 29 ชุติมา สุวรรณรังษี ผู้สมัครจากจังหวัดระยอง
- หมายเลข 74 พงษ์พัฒน์ สัตยวินิจ ผู้สมัครจากจังหวัดสมุทรปราการ
- หมายเลข 99 เยาวลักษณ์ วสุเนตรกุล ผู้สมัครจากจังหวัดชลบุรี
- หมายเลข 9 ขนิษฐา บุญสูง ผู้สมัครจากจังหวัดเพชรสุพรรณบุรี
ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 2 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน รวมแล้วมีผู้สมัคร 5 คนที่เลือกผู้สมัคร 10 คนเดียวกัน ซึ่ง 5 จาก 10 คนนี้ผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้ และปรากฎว่า 2 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ มณีรัฐ เขมะวงค์ และนรเศรษฐ์ ปรัชญากร ทั้งยังมีชัยณรงค์ เยาวลักษณ์ ที่ได้รับเลือกเป็นสว. บัญชีสำรอง
รูปแบบการเลือกรูปแบบที่สาม พบบัตรเลือกอีก 4 ใบที่เลือกผู้สมัครหมายเลข “45, 55, 88, 112, 18, 80, 62, 128, 50, 24” เหมือนกันเพียงแต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผู้สมัครทั้งสิบหมายเลขนี้ มีหมายเลข 112, 128, 24, 62 และ 50 ผ่านเข้ารอบเลือไขว้ แต่ไม่มีใครได้รับเลือกจนได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาเ
กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นมี 2 Pattern มีบัตรที่เลือกแบบซ้ำกัน 24 ใบ
กลุ่ม 10 กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม (9) รอบเลือกกันเองตามเอกสาร สว.ป 20 มีผู้มีสิทธิเลือกที่มาแสดงตน 137 คน จากบันทึกของผู้สมัครสว. ระดับประเทศที่นั่งฟังการนับคะแนนอย่างใกล้ชิดพบว่าจาก 137 ใบ ปรากฎรูปแบบการเลือกที่ซ้ำกันสองแบบ รูปแบบที่หนึ่ง พบบัตรเลือก 22 ใบ ได้แก่ ใบที่ 2, 15, 18, 24, 37, 44, 45, 52, 55, 63, 68, 82, 83, 92, 93, 103, 105, 107, 108, 120, 125 และ 129 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “109, 24, 99, 123, 80, 95, 40, 17, 43, 13” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 109 สุนทร เชาว์กิจค้า ผู้สมัครจากจังหวัดกระบี่
- หมายเลข 24 แดง กองมา ผู้สมัครจากจังหวัดอำนาจเจริญ
- หมายเลข 99 สมพาน พละศักดิ์ ผู้สมัครจากจังหวัดอำนาจเจริญ
- หมายเลข 123 โสภณ มะโนมะยา ผู้สมัครจากจังหวัดสงขลา
- หมายเลข 80 รุจิภาส มีกุศล ผู้สมัครจากจังหวัดสุรินทร์
- หมายเลข 95 สง่า ส่งมหาชัย ผู้สมัครจากจังหวัดลำปาง
- หมายเลข 40 นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
- หมายเลข 17 ชัยยันต์ พรหมดี ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 43 บุญเลี้ยง บุตรดา ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 13 ชนม์ฤทัย ธีระบุตรวงศ์กุล ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 22 คน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้และปรากฎว่า 7 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ โสภณ มะโนมะยา, รุจิภาส มีกุศล, สง่า ส่งมหาชัย, แดง กองมา, สมพาน พละศักดิ์, สุนทร เชาว์กิจค้า, นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล
รูปแบบที่สอง พบบัตรเลือก 2 ใบ ได้แก่ ใบที่ 86 และ 113 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “22, 73, 135, 15, 63, 127, 10, 93, 136, 35” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 22 ดีน หมันนาเกลือ ผู้สมัครจากจังหวัดสตูล
- หมายเลข 73 ยศธน พละภิญโญ ผู้สมัครจากจังหวัดนครนายก
- หมายเลข 135 อำนวย สุวรรณพงษี ผู้สมัครจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- หมายเลข 15 ช่อทิพย์ อาภาประสิทธิ์ ผู้สมัครจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- หมายเลข 63 พิชิต ชูรัตน์ ผู้สมัครจากจังหวัดยโสธร
- หมายเลข 127 อรยา ดวงพายัพ ผู้สมัครจากจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 10 จิราวุธ ศรีวิรัตน์ ผู้สมัครจากจังหวัดตรัง
- หมายเลข 93 ศิริชัย ส่งเสริม ผู้สมัครจากจังหวัดตรัง
- หมายเลข 136 อุทัย หลอดทอง ผู้สมัครจากจังหวัดศรีสะเกษ
- หมายเลข 35 ธีระ คูตระกูล ผู้สมัครจากจังหวัดอุทัยธานี
ผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำกันโดยผู้สมัคร 2 คน ในบัตรเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้ แต่ไม่ปรากฎว่ามีผู้สมัครในรูปแบบที่สองได้รับการเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.)
กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม มี 2 Pattern มีบัตรที่เลือกแบบซ้ำกัน 22 ใบ
กลุ่ม 12 กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน รอบเลือกกันเองตามเอกสาร สว.ป 20 มีผู้มีสิทธิเลือกที่มาแสดงตน 128 คน จากบันทึกของผู้สมัครสว. ระดับประเทศที่นั่งฟังการนับคะแนนอย่างใกล้ชิดพบว่าจาก 128 ใบ ปรากฎรูปแบบการเลือกที่ซ้ำกันสองแบบ รูปแบบที่หนึ่ง พบบัตรเลือก 14 ใบ ได้แก่ ใบที่ 11, 23, 44, 50, 65, 79, 83, 85, 88, 100, 108, 111, 124 และ 125 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “65, 52, 47, 32, 73, 19, 27, 12, 115, 10” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 65 รจนา เพิ่มพูล ผู้สมัครจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- หมายเลข 52 พละวัต ตันศิริ ผู้สมัครจากจังหวัดเชียงราย
- หมายเลข 47 ปุณณภา จินดาพงษ์ ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 32 ธารนี ปรีดาสันติ์ ผู้สมัครจากจังหวัดอุบลราชธานี
- หมายเลข 73 วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ ผู้สมัครจากจังหวัดเพชรบุรี
- หมายเลข 19 ณรงค์ จิตราช ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 27 ธนชัย แซ่จึง ผู้สมัครจากจังหวัดศรีสะเกษ
- หมายเลข 12 ชลิดา ฮุนสวัสดิกุล ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
- หมายเลข 115 สุรางค์ ยวงเกตุ ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
- หมายเลข 10 จิราพร คงชุม ผู้สมัครจากจังหวัดสตูล
นอกจากนี้ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 3 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 17 คน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้และปรากฎว่า 7 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ โสภณ มะโนมะยา, รุจิภาส มีกุศล, สง่า ส่งมหาชัย, แดง กองมา, สมพาน พละศักดิ์, สุนทร เชาว์กิจค้า, นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล
รูปแบบที่สอง พบบัตรเลือก 8 ใบ ได้แก่ ใบที่ 21, 52, 59, 61, 91, 120, 122 และ 123 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “4, 13, 20, 21, 54, 63, 66, 68, 88, 89” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 4 กิตติวัฒน์ วิเศษขัน ผู้สมัครจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- หมายเลข 13 ชัชกิจ บูรณธนานุกิจนท ผู้สมัครจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- หมายเลข 20 ณุชรีย์ ไศละสูต ผู้สมัครจากจังหวัดลำปาง
- หมายเลข 21 เดชา สงค์ประเสริฐ ผู้สมัครจากจังหวัดน่าน
- หมายเลข 54 พิเชษฐ์ สว่างโรจน์ ผู้สมัครจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- หมายเลข 63 ยอดชาย โพธิ์มี ผู้สมัครจากจังหวัดอุทัยธานี
- หมายเลข 66 รังสรรค์ สบายเมือง ผู้สมัครจากจังหวัดกำแพงเพชร
- หมายเลข 68 ราเชนทร์ สุวรรณโชคสกุล ผู้สมัครจากจังหวัดตาก
- หมายเลข 88 วุฒิชัย โรจน์ทิพยรัก ผู้สมัครจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- หมายเลข 89 เวโรจน์ธน ประเทืองบริบูรณ์ ผู้สมัครจากจังหวัดลำปาง
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 8 คน มี 4 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบเลือกการเลือกไขว้ ได้แก่ เดชา สงค์ประเสริฐ, ยอดชาย โพธิ์มี, รังสรรค์ สบายเมือง และราเชนทร์ สุวรรณโชคสกุล แต่ไม่มีใครได้รับเลือกเป็นสว. ตัวจริง มีเพียงรังสรรค์ สบายเมือง ที่ได้รับเลือกเป็นสว. บัญชีสำรอง
กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มี 3 Pattern มีบัตรที่เลือกแบบซ้ำกัน 24 ใบ
กลุ่ม 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม หรืออื่นๆ ในทํานองเดียวกัน รอบเลือกกันเองตามเอกสาร สว.ป 20 มีผู้มีสิทธิเลือกที่มาแสดงตน 147 คน จากบันทึกของผู้สมัครสว. ระดับประเทศที่นั่งฟังการนับคะแนนอย่างใกล้ชิดพบว่าจาก 147 ใบ ปรากฎรูปแบบการเลือกที่ซ้ำกันสามแบบ รูปแบบที่หนึ่ง พบบัตรเลือก 13 ใบ ได้แก่ ใบที่ 10, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 22, 23, 24, 25 และ 26 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “65, 111, 36, 123, 1, 9, 39, 11, 58, 91” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 65 พรเพิ่ม ทองศรี ผู้สมัครจากจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 111 สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ผู้สมัครจากจังหวัดหนองบัวลำภู
- หมายเลข 36 ธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ ผู้สมัครจากจังหวัดตราด
- หมายเลข 123 สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา ผู้สมัครจากจังหวัดสุรินทร์
- หมายเลข 1 กัมพล ทองชิว ผู้สมัครจากจังหวัดสมุทรสาคร
- หมายเลข 9 ขวัญชัย แสนหิรัณย์ ผู้สมัครจากจังหวัดอ่างทอง
- หมายเลข 39 นพดล พริ้งสกุล ผู้สมัครจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- หมายเลข 11 จง ทองปั้น ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 58 ปริญญา แสงโสดา ผู้สมัครจากจังหวัดเลย
- หมายเลข 91 วัชรินทร์ รำไพภักดี ผู้สมัครจากจังหวัดสตูล
นอกจากนี้ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 3 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่นรวม 16 คน ทุกคนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้และปรากฎว่า 7 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม, พรเพิ่ม ทองศรี, ธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์, กัมพล ทองชิว, สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา, ขวัญชัย แสนหิรัณย์, นพดล พริ้งสกุล
รูปแบบที่สอง พบบัตรเลือก 3 ใบ ได้แก่ ใบที่ 83, 84 และ 85 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “126, 4, 22, 47, 80, 69, 106, 108, 121, 136” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 126 สุรชัย ลาภสิทธิวงศ์ ผู้สมัครจากจังหวัดสมุทรปราการ
- หมายเลข 4 กิติเชษฐ์ เขียวจันทร์ ผู้สมัครจากจังหวัดสงขลา
- หมายเลข 22 ชาญวิศว์ บรรจงการ ผู้สมัครจากจังหวัดพังงา
- หมายเลข 47 เนติศิลป์ พฤกษศรี ผู้สมัครจากจังหวัดสงขลา
- หมายเลข 80 รชต ธิยานันท์ ผู้สมัครจากจังหวัดกำแพงเพชร
- หมายเลข 69 ภัคพงศ์ อ้นคง ผู้สมัครจากจังหวัดกำแพงเพชร
- หมายเลข 106 สมพักษ์ จิตอารี ผู้สมัครจากจังหวัดน่าน
- หมายเลข 108 สมยศ ทองบัณฑิต ผู้สมัครจากจังหวัดนครนายก
- หมายเลข 121 สุปรีชา เอกกฤตสุวรรณ ผู้สมัครจากจังหวัดน่าน
- หมายเลข 136 องค์อาด ธรรมกร่าง ผู้สมัครจากจังหวัดนครปฐม
นอกจากนี้ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 2 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน ทว่าไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลํกษณะเดียวกัน แต่เรียงในรูปแบบ “4, 22, 47, 69, 80, 106, 108, 121, 126, 136”
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กันโดยผู้สมัครคนอื่น 5 คน มีเพียง 2 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน ได้แก่ รชต ธิยานันท์ และชาญวิศว์ บรรจงการ และปรากฎว่า 1 ใน 10 คน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ได้แก่ ชาญวิศว์ บรรจงการ
รูปแบบที่สาม พบบัตรเลือก 2 ใบ ได้แก่ ใบที่ 88 และ 90 เรียงตามลำดับการจับขึ้นมานับ ซึ่งเลือกผู้สมัครหมายเลขเดียวกันทั้งสิบหมายเลขและเรียงลำดับเหมือนกันทุกประการโดยไม่ได้ใช้วิธีการเรียงจากมากไปน้อย โดยมี Pattern การเลือก คือ “16, 25, 71, 57, 52, 44, 120, 83, 51, 90” โดยแต่ละหมายเลขคือผู้สมัครสว. ดังต่อไปนี้
- หมายเลข 16 ฉัตรแก้ว ฮาตระวัง ผู้สมัครจากจังหวัดสมุทรปราการ
- หมายเลข 25 ฌีวาตรา ตาลชัย ผู้สมัครจากจังหวัดอุบลราชธานี
- หมายเลข 71 ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้สมัครจากจังหวัดกาญจนบุรี
- หมายเลข 57 ปริญญวัฒน์ ธงศรีเจริญ ผู้สมัครจากจังหวัดระยอง
- หมายเลข 52 ประยุทธ ศุภวราพงษ์ ผู้สมัครจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- หมายเลข 44 นันทวัฒน์ จรัสโรจน์ธนเดช ผู้สมัครจากจังหวัดจันทบุรี
- หมายเลข 120 สุทัศน์ มีศิริ ผู้สมัครจากจังหวัดนนทบุรี
- หมายเลข 83 รัตน์ชัย ลีรพงษ์กุล ผู้สมัครจากจังหวัดภูเก็ต
- หมายเลข 51 ปรมินทร์ จันทรกาล ผู้สมัครจากจังหวัดสระแก้ว
- หมายเลข 90 วรวิทย์ กิติกุศล ผู้สมัครจากจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีบัตรเลือกอีก 1 ใบที่เลือกผู้สมัครสิบคนนี้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เรียงลำดับการเลือกในลักษณะเดียวกัน
จากผู้สมัครสว. 10 คนที่ถูกเลือกอย่างมี Pattern ซ้ำๆ กัน โดยผู้สมัครคนอื่น 3 คน มี 4 คนผ่านเข้าสู่รอบการเลือกไขว้ ได้แก่ วรวิทย์ กิติกุศล, รัตน์ชัย ลีรพงษ์กุล, ปรมินทร์ จันทรกาล, นันทวัฒน์ จรัสโรจน์ธนเดช แต่มีเพียงนันทวัฒน์ฯ ที่ได้รับเลือกเป็นสว. บัญชีสำรอง
ไฟล์แนบ
- แพทเทิร์นคะแนน (119 kB)