สว.67 : เกษตรกรและผู้รับจ้างทั่วไปลงสมัครกลุ่ม “อุตสาหกรรม” ในจังหวัดบ้านใหญ่สีน้ำเงิน

คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา (พ.ร.ป.สว.ฯ) มาตรา 13(3) ผู้สมัครมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทํางานใน ด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี ในกลุ่ม 12 “กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน” ไม่ได้มีคำนิยามของกลุ่มนี้ที่ชัดเจนในทางกฎหมาย แต่ก็เข้าใจได้ว่า ผู้สมัครในกลุ่มนี้ต้องเป็นระดับเจ้าของกิจการด้านอุตสาหกรรมมาเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี ไม่ใช่เพียงแค่พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม 

กลุ่ม 12 ก็เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้สมัครน้อยที่สุด คือ 609 คนจากทั้งประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมจริงๆ มีจำนวนน้อย แต่ถ้าหากนับลูกจ้างหรือคนที่เคยทำงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดจะมีจำนวนเยอะมาก และกลุ่มนี้จะมีผู้สมัครมากเป็นอันดับต้นๆ ทันที เช่นเดียวกับกลุ่ม 7 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมีผู้สมัครถึง 2,440 คน แต่ ข้อเท็จจริงก็กลับพบว่า มีผู้สมัครสว. ในกลุ่ม 12 จำนวนมากที่ไม่ได้เขียนประวัติอธิบายตัวเองว่าเคยเป็นเจ้าของกิจการอุตสาหกรรมมานานถึงสิบปี

หลังทราบผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 200 คนแล้ว มีสว. จากกลุ่ม 12 อุตสาหกรรม ทั้งหมด 10 คน ซึ่งอย่างน้อยหกคนมาจากจังหวัดที่มี สส.จากพรรคภูมิใจไทย หรือจังหวัดกลุ่มบ้านใหญ่สีน้ำเงิน ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรีหนึ่งคน , อุบลราชธานีหนึ่งคน, พระนครศรีอยุธยาหนึ่งคน, เลยสองคน และศรีสะเกษหนึ่งคน ดังนี้

ลำดับคะแนนของผู้ที่ได้รับเลือกเป็น สว.

ลำดับ ชื่อ-สกุล จังหวัดคะแนน ประวัติ
1 วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ เพชรบุรี61– ประธานกรรมการบริษัท พรรณวรา อินเตอร์เเนชั่นแนล จำกัด (ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม)
– นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยจังหวัดเพชรบุรี
2ธารนี ปรีดาสันติ์อุบลราชธานี 57– อดีตรองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี
– กรรมการบริหารหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
– เจ้าของกิจการก่อสร้างและเจ้าของกิจการโรงงานผลิตแอสฟัลต์คอนกรีต
3รจนา เพิ่มพูลอยุธยา56ประธานกรรมการบริษัทในเครือไทยเอเซีย จำกัด (ขยะรีไซเคิล)
4ปุณณภา จินดาพงษ์เลย55– อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
– รับเหมาก่อสร้าง และทำงานที่โรงโม่สุรัตน์การศิลา
5พละวัต ตันศิริเชียงราย52ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย
6ณรงค์ จิตราชเลย46พนักงานหน่วยงานเอกชน
7วีรยุทธ สร้อยทองฉะเชิงเทรา25– วิศวกรในอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และรถไฟฟ้าเอนกประสงค์
– เคยเป็นนักนโยบายน้ำประปาดื่มได้
8ธนชัย แซ่จึงศรีสะเกษ25รับเหมาก่อสร้าง และขายผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จและดูดทราย
9พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิตภูเก็ต19– นายกกิตติมศักดิ์สมาคมยางพาราไทย
– ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต
10ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์สมุทรสงคราม19– กรรมการผู้จัดการโรงงานแปรรูปอาหารทะเล
– อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม

โดยในจำนวน สว.ทั้งหมดมีอยู่หนึ่งคนที่คุณสมบัติและความเชี่ยวชาญตามที่ผู้สมัครเขียนอธิบายไว้ใน เอกสารสว.3 ในวันสมัคร อาจไม่มีคุณสมบัติที่สามารถสมัครในกลุ่มอุตสาหกรรมได้ คือ ณรงค์ จิตราช สว.ตัวแทนจังหวัดเลย ที่ระบุในเอกสารแนะนำตัว (สว.3) ว่ามีอาชีพ พนักงานหน่วยงานเอกชน ด้านปุณณภา จินดาพงษ์ ผู้สมัครจากจังหวัดเลยอีกคนก็เขียนว่าเคยทำงานโรงโม่สุรัตน์การศิลา โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ และไม่ชัดเจนว่าทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเป็นเวลานานเท่าใด 

ก่อนที่คนเหล่านี้จะมาเป็นสว. หรือมาถึงการเลือกระดับประเทศได้ จะต้องได้รับคะแนนจากการ “เลือกกันเอง” ของผู้สมัครกลุ่มเดียวกันในระดับอำเภอและระดับจังหวัดมาก่อน ซึ่งระบบการเลือกสว. เช่นนี้ คาดหมายให้ผู้สมัครที่ทำอาชีพเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมาก่อนสามารถออกเสียงเลือกคนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนั้นๆ ได้ หรือหากใครไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องมาก็จะไม่ได้รับเลือก แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลของผู้สมัครสว. คนอื่นๆ ในกลุ่ม 12 จากสี่จังหวัดข้างต้น พบว่ามีผู้สมัครที่เข้าสู่การคัดเลือกในระดับจังหวัดอีกอย่างน้อย 33 คน อาจความเชี่ยวชาญไม่ตรงกับกลุ่มที่สมัคร ดังนี้

พนักงานเอกชนและโรงงาน 7 คน ลงสมัครกลุ่มอุตสาหกรรม

ชื่อจังหวัดอาชีพและประสบการณ์ ในสว.3
ชัยณรงค์ ผาคำเพชรบุรีปลูกหญ้าเนเปียร์เข้าโรงงานอุตสาหกรรม
พนมเกียรติ คำปินเพชรบุรีพนักงานโรงงานไฟฟ้า
นรา โพธิ์สิงห์ศรีสะเกษพนักงานเอกชน
สมคิด พลซาเลยพนักงานโรงโม่
สุรีมาศ ฤกษ์นิธีอยุธยาพนักงานโรงงาน
วิรัตน์ เกตุฐินอยุธยาพนักงานบริษัทเอกชน, ซ่อมเครื่องจักรโรงงาน
วันเพ็ญ มงคลคูณอยุธยาพนักงานแปรรูปไม้

เจ้าของกิจการ 5 คน ลงสมัครกลุ่มอุตสาหกรรม

ชื่อจังหวัดอาชีพและประสบการณ์ ในสว.3
วิชิต เหลืองดีเพชรบุรีเจ้าของร้านขายยางรถยนต์
สมลักษณ์ทกฤด อริยเกรียงไกรเพชรบุรีเจ้าของธุรกิจตัดเหล็ก อู่ซ่อมรถ
สุทัศน์ ตันติพงษ์วัฒนาเลยเจ้าของกิจการ
สวัสดิ์ กาวนเลยธุรกิจเกษตร
คณิตดา กรรณสูตเลยธุรกิจเกษตร

เกษตรกร เจ้าของโรงสีข้าว 9 คน ลงสมัครกลุ่มอุตสาหกรรม

ชื่อจังหวัดอาชีพและประสบการณ์ ในสว.3
สังคม น้อยสงวนศรีสะเกษเกษตรกร
สมหวัง เกษศิริศรีสะเกษประกอบกิจการโรงสี, ทำสวน, เลี้ยงสัตว์, อสม.
สมจิตร บุญขาวศรีสะเกษทำนา
ลำไพ โยธีศรีสะเกษทำสวน
บุญรัตน์ บุญงามศรีสะเกษเจ้าของกิจการโรงสี
ฉลวย บัวลาศรีสะเกษเจ้าของกิจการโรงสี
จำรัตน์ บังเอิญศรีสะเกษเกษตรกร
ขาว โยธีศรีสะเกษทำนา
ทองคำ วรรณชัยเลยเกษตรกร

งานช่างและรับจ้างทั่วไป 6 คน ลงสมัครกลุ่มอุตสาหกรรม

ชื่อจังหวัดอาชีพและประสบการณ์ ในสว.3
สนธยา ก่ออำไพศรีสะเกษพนักงานขับรถส่งของ
ปรีชา ตะวันศรีสะเกษรับจ้าง, ทำนา
สุนิสา ขันธชัยอยุธยารับจ้าง
เยาวลักษณ์ ดีประสิทธิ์อยุธยารับจ้างเย็บผ้า
ยูซุบ บังกะยออยุธยารับจ้าง
โชคชัย สีนาคล้วนอยุธยาช่างกลึงไม้

จากข้อมูลข้างต้นพบว่า ผู้สมัคร สว. ที่ผ่านเข้ารอบระดับจังหวัดทั้ง 33 คน ของจังหวัดเพชรบุรี สี่คน, จังหวัดศรีสะเกษ 17 คน, จังหวัดเลยห้าคน และจังหวัดอยุธยาเจ็ดคน อาจมีคุณสมบัติ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ไม่ตรงกับกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น มีจำนวนผู้สมัคร สว. ถึง แปดคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ขณะที่บางคนประกอบอาชีพเจ้าของกิจการขายยางรถยนต์ และอู่ซ่อมรถ บางคนทำอาชีพรับจ้างเย็บผ้าและเป็นพนักงานขับรถส่งของ ทั้งนี้อาชีพและประสบการณ์ของพวกเขาไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเลย

ผู้สมัครเหล่านี้แม้ว่าจะเคยทำหรือไม่เคยทำอาชีพในกลุ่มที่สมัครมาก่อน ก็จะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ส่งผลให้ใครเข้ารอบหรือไม่เข้ารอบ หากภายหลังกกต. ตรวจสอบพบว่า ผู้สมัครคนใดไม่มีคุณสมบัติพอ ที่จะสมัครในกลุ่ม 12 ได้ก็ไม่สามารถยกเลิกการลงคะแนนที่เกิดขึ้นไปแล้วได้

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage