รู้จักเว็บ senate67.com ค้นหา-แสดงตัว-ประกาศจุดยืนผู้สมัคร รายงานผลการสังเกตการณ์เลือก สว. 67 ได้ในเว็บเดียว

ระบบ “เลือกกันเอง” ที่ใช้กับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ ทำให้มีแค่ผู้สมัครเท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิเลือก สว. นอกจากระบบเลือกที่ซับซ้อนแล้ว ผู้สมัคร สว. ยังไม่สามารถหาเสียงเหมือนผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ได้ แต่สามารถ “แนะนำตัว” กันได้

SN67-Web-Howto-1

หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบเกี่ยวกับการแนะนำตัวมาสองฉบับ และถูกศาลปกครองเพิกถอนไปโดยที่ กกต. ยืนยันว่าจะไม่อุทธรณ์คำพิพากษา ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวโดยแสดงจุดยืน วิสัยทัศน์ ความคิดเห็นด้านต่างๆ ซึ่งองค์กรภาคประชาชน ได้จัดทำเว็บไซต์ www.senate67.com เป็นพื้นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเลือก สว. และมีช่องทางให้ผู้สมัคร สว. สามารถแนะนำตัว แสดงจุดยืนและวิสัยทัศน์ได้ลึกยิ่งขึ้นกว่าการระบุข้อความห้าบรรทัดในเอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร (สว. 3) เพื่อให้ผู้สมัคร สว. คนอื่นๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป มีโอกาสได้ทำความรู้จักผู้สมัครมากขึ้น

หลังจากเปิดตัว www.senate67.com  เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567 เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีช่องทางในการแนะนำตัวและแสดงวิสัยทัศน์ต่อผู้สมัครคนอื่นๆ รวมทั้งประชาชนที่สนใจ โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 มีผู้กรอกข้อมูลในเว็บไซต์เพื่อประกาศตัวเป็นว่าที่ผู้สมัคร สว. แล้วถึง 1,635 คน และในจำนวนนี้ มีผู้ผ่านเข้ารอบอำเภอไปสู่ระดับจังหวัด 1,125 คน

ก่อนถึงวันเลือก สว. ระดับจังหวัดในวันที่ 16 มิถุนายน 2567 และระดับประเทศในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ชวนทำความรู้จักเว็บไซต์ senate67.com ถ้าอยากประกาศตัว-แสดงจุดยืน มีขั้นตอนอย่างไร เว็บไซต์ทำอะไรได้บ้าง มาดูกัน

1. ค้นหาผู้สมัคร

ขั้นตอนการค้นหารายชื่อผู้สมัคร สว. 2567 ที่มาประกาศตัวบนเว็บไซต์   

1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://senate67.com/

2. คลิกที่คำว่า “ค้นหาผู้สมัคร”

กรณีที่รู้ชื่อผู้สมัครและต้องการค้นหาผู้สมัครเป็นรายบุคคล คลิกที่คำว่า “ค้นหาด้วยชื่อ” จากนั้นสามารถพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้สมัครได้เลย

กรณีที่ต้องการค้นหาผู้สมัครทั้งจังหวัด คลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกจังหวัด” คลิกเลือกช่องอื่น ๆ ให้เป็นคำว่า “ทุกอำเภอ/เขต”  นอกจากนี้ สามารถคลิกเลือกได้ว่าต้องการดู “ทุกกลุ่มอาชีพ” หรือจะเลือกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมัครในจังหวัดที่เลือกก็ได้

กรณีที่ต้องการค้นหาผู้สมัครอำเภอใดอำเภอหนึ่งในจังหวัด คลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกจังหวัด” เพื่อเลือกจังหวัดที่ต้องการ และคลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกอำเภอ/เขต” แล้วเลือกเป็นอำเภอที่ต้องการ สามารถคลิกเลือกได้ว่าต้องการดู “ทุกกลุ่มอาชีพ” หรือจะเลือกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมัครในอำเภอที่เลือกก็ได้

unnamed-2

กรณีต้องการดูผู้สมัครทั้งประเทศ แต่ต้องการเจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกจังหวัด” เพื่อเลือกจังหวัดที่ต้องการ และคลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกอำเภอ/เขต” แล้วเลือก “ทุกอำเภอ/เขต” คลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหลังคำว่า “ทุกกลุ่มอาชีพ” จากนั้นเลือกกลุ่มอาชีพที่ต้องการ

unnamed (1-2)-02

เพียงเท่านี้ก็สามารถอ่านข้อมูลของผู้สมัคร สว. ที่มาลงประกาศตัวบนเว็บไซต์ senate67.com ได้แล้ว

ทั้งนี้ผู้สมัคร สว.ที่มาประกาศตัวบน senate67.com เป็นผู้สมัครตามประกาศของกกต. โดยการแสดงผลการค้นหาของแต่ละบุคคลจะแสดงผล ดังนี้

1. ข้อมูลทั่วไป

unnamed (2-2)

2. ช่องทางการติดต่อ

3. จุดยืนด้านต่างๆ

4. วิสัยทัศน์

unnamed (3-2)

2. แสดงตัวเป็นผู้สมัคร สว. 67

จากกระบวนการเลือก สว. ระดับอำเภอ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 พบว่ากติกาและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแนะนำตัวหรือการเปิดพื้นที่ให้ผู้สมัครแนะนำตัวแต่ละอำเภอไม่เหมือนกัน ซึ่งการแนะนำตัวมีผลต่อการทำความรู้จักและการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว.

เว็บไซต์ senate67.com จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ผู้สมัครทุกท่าน สามารถเข้ามา “แนะนำตัว” ได้โดยสามารถเขียนอธิบายอาชีพที่แท้จริงของตัวเองได้ รวมถึงแสดงจุดยืน วิสัยทัศน์ในการลงสมัคร สว. ครั้งนี้ได้อีกด้วย ผู้สมัครมีพื้นที่ในการแนะนำตัวให้ผู้สมัครคนอื่นๆ หรือประชาชนได้รู้จักตัวตนของผู้สมัคร สว. มากกว่าห้าบรรทัดที่ กกต. มีพื้นที่ให้เขียนในใบข้อมูลแนะนำตัว (สว.3)

ขั้นตอนการแสดงตัวเป็นผู้สมัคร สว. 

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://senate67.com/
  2. คลิกที่คำว่า “แสดงตัวเป็นผู้สมัคร” เว็บไซต์จะนำไปที่ Google Forms หรือ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfoWe5StQkRFZIp_OTCN_A3ZalnrmLd-dVayP9rS2oh2Eh0nQ/viewform 
  3. เมื่อเข้าไปยังหน้า Google Forms จะขึ้นข้อความและการอธิบายเงื่อนไขต่างๆ โดยสาระสำคัญ คือ 
  • หากกรอกฟอร์มหลักสำหรับการแสดงตัวเป็นผู้สมัครเรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการแนบรูปถ่ายและวีดีโอแนะนำตัว ให้กรอกฟอร์มสำหรับรูปถ่ายและวิดีโอทาง https://bit.ly/senate67photo
  • หลังจากส่งคำตอบแล้ว หากต้องการยกเลิกหรือแก้ไขข้อมูลติดต่อที่ [email protected] 

1. คลิกที่คำว่า “Next” หรือ “ถัดไป” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างการกรอกข้อมูล

2. กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล, ชื่ออื่นๆ ที่คนรู้จัก, อายุ, เพศ, ประวัติการศึกษา, ประวัติการประกอบอาชีพ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วกด “Next” หรือ “ถัดไป” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างถัดไป

3. เข้าสู่หน้าต่างที่สอง คือ การกรอกข้อมูลการสมัคร สว. โดยมีคำถาม ได้แก่ สมัครในกลุ่มใด, จังหวัดที่คุณลงสมัคร, อำเภอ/เขต ที่คุณลงสมัคร เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วกด “Next” หรือ “ถัดไป” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างถัดไป

4. เข้าสู่หน้าต่างที่สามคือ จุดยืนในฐานะสมาชิกรัฐสภา (สว.) ให้ผู้สมัครตอบคำถามแต่ละข้อ ว่าคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นเหล่านี้ และมีช่องให้กรอกคำอธิบายจุดยืนในฐานะสมาชิกรัฐสภาเพิ่มเติมที่ต้องการจะให้คนอื่นทราบ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วกด “Next” หรือ “ถัดไป” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างถัดไป

5. เข้าสู่หน้าต่างที่สี่ คือ คำถามอื่นๆ เกี่ยวกับ สว. ได้แก่ แนวทางการพิจารณาเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ, เหตุผลความตั้งใจในการลงสมัคร สว. ครั้งนี้, ช่องทางการติดต่อ, หมายเลขโทรศัพท์, Facebook, X (Twitter), Email, ช่องทางอื่นๆ ที่อยากเปิดเผยและสุดท้าย คือ ช่องทางการติดต่อ (สำหรับทีมงาน) หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วกด “Next” หรือ “ถัดไป” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างถัดไป

6. เข้าสู่หน้าต่างสุดท้าย คือ การอธิบายรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ อีกครั้ง โดยข้อความจะแสดงผลว่า “เราจะตรวจสอบข้อมูลของท่าน ก่อนนำขึ้นหน้าเว็บไซต์…” หากท่านกรอกข้อมูลผิด คลิกที่คำว่า “back” หรือ “ย้อนกลับ” หากข้อมูลถูกต้อง ท่านต้องกดคลิกที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้าคำว่า “ยืนยันการส่งคำตอบ…” และคลิกที่คำว่า “submit” หรือ “ยืนยัน”

3. อ่านข้อมูลกติกา สว.67 และดูกิจกรรมต่างๆ

ในหน้าหลักของเว็บ https://senate67.com/ ยังมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเลือก สว. อาทิ คุณสมบัติผู้สมัคร สว. ซึ่งผู้ที่สนใจสมัครสามารถกดปุ่ม “เล่นเกม “ฉันสมัครสว. ได้ไหม?” เพื่อเช็กคุณสมบัติว่าสมัคร สว. ได้หรือไม่ วิธีสมัคร สว. วิธีเลือก สว. และไทม์ไลน์เลือก สว.

ด้านล่างสุดของหน้าหลัก ยังมีข้อมูล “ตารางกิจกรรม” เพื่อให้ผู้สมัคร สว. และคนทั่วไปดูได้ว่ามีกิจกรรมใดเกี่ยวกับ สว. ที่จะเกิดขึ้นบ้าง และสามารถไปร่วมกิจกรรมได้

4. รายงานผลการสังเกตุการณ์

แม้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้สมัคร สว. จะไม่มีส่วนร่วมเลือก สว. โดยตรง แต่ก็มีส่วนร่วมผ่านการสังเกตการณ์กระบวนการเลือกได้ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2567 สำนักงานกกต. เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ให้จัดสถานที่ในการเลือกสว. เป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถมองเห็นและสังเกตการณ์ในกระบวนการเลือกได้ และให้ประชาชนติดตามประกาศกำหนดสถานที่เลือกตั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัดได้ทางเว็บไซต์ และร่วมสังเกตการณ์

นอกจากนี้ ผู้สมัคร สว. ก็ยังสามารถรับบทบาทเป็นผู้สังเกตการณ์ได้ด้วยเหมือนกัน หากพบความผิดปกติ หรือพบเห็นสิ่งใดในการกระบวนการเลือก สว. ช่วยกันมาบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้   

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://senate67.com/
  2. คลิกที่คำว่า “รายงานผลการสังเกตุการณ์” 
  3. จากนั้นเว็บไซต์จะนำไปที่ Google Forms รายงานผลการสังเกตการณ์การเลือก สว. 2567 หรือ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfOlOLe-GkX95KY0nHF1_mD9OijhiwZolxTNHG5pu8vWswUBA/viewform
  4. เมื่อกรอกข้อมูลตามคำถามครบถ้วน คลิกที่คำว่า “submit” หรือ “ยืนยัน”

๐ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการร่วมจับตา สังเกตการณ์การเลือกสว. 67 ได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/38942

RELATED TAGS

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage