- คดีสำคัญ
- คดีชุมนุม, คดีมาตรา116, ฐานข้อมูลคดี
การชุมนุมเยาชนปลดแอก
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
เมื่อถึงวันนัดหมายทางกลุ่มจัดการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. ในช่วงต้นของการชุมนุมเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามบีบพื้นที่เพื่อให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม รวมทั้งมีการนำรถเครื่องเสียงของตำรวจเข้ามาในบริเวณใกล้เวทีชุมนุมและอ่านข้อความเตือนให้ยุติการชุมนุม โดยระบุว่าการชุมนุมอาจขัดต่อกฎหมายหลายบท แต่เนื่องจากมีผู้มาร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมากสุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็ล่าถอยไป
ทั้งสองได้รับการประกันตัวโดยมีเงื่อนไขในวันถัดมา หลังจากนั้นในวันที่ 14 สิงหาคม พริษฐ์หรือเพนกวิ้น ผู้ร่วมการปราศรัยอีกคนหนึ่งก็ถูกจับกุมตัวขณะที่กำลังจะไปร่วมการชุมนุมที่ท่าน้ำนนท์ และเจ้าหน้าที่ได้ทยอยออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติมจนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 มีผู้ถูกจับกุมในคดีนี้รวม 13 คน
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
เบื้องต้นพนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาแยกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ กับ กลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายเรียก
โดยผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ 16 คน ขณะนี้ถูกจับกุมตัวแล้ว 15 คน ถูกตั้งข้อกล่าวหา ดังนี้
1.ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
2.ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิด
3.รวมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย ชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค กระทำการหรือดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
4.ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด
5.ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร
6.ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน
7.ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ส่วนผู้ต้องหาอีก 15 คนที่ตำรวจออกหมายเรียกถูกตั้งข้อกล่าวหาเหมือนกับผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ แต่ไม่มีข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ในส่วนของข้อหาชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่สิบคนก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายเรียกจะไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 216 เพิ่มเติม
พฤติการณ์การจับกุม
ข้อหาชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่สิบคนก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเรื่องห้ามการชุมนุมในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
เบื้องต้นอานนท์ถูกนำตัวไปที่สน.สำราญราษฎร์ แต่ต่อมากลับพาตัวเขาไปสอบสวนที่สน.บางเขน
อานนท์บอกพนักงานสอบสวนว่าไม่มีอำนาจควบคุมตัวแล้วแต่ตำรวจอ้างว่ามีอำนาจควบคุมตัว อานนท์จึงยืนเฉยๆ ไม่ยอมเดินตามตำรวจเพื่อไปที่รถ ตำรวจจึงใช้วิธิหิ้วแขนอานนท์ไปที่รถและนำตัวไปขังที่สน.ห้วยขวางเป็นเวลา 1 คืนและจะนำตัวอานนท์มาขออำนาจศาลฝากขังใหม่
อานนท์ถูกนำตัวมาถึงที่สน.ห้วยขวางในเวลาประมาณ 00.30 น. ประชาชนที่ไปชุมนุมที่หน้าสน.บางเขนบางส่วนหนึ่งติดตามอานนท์ไปที่สน.ห้วยขวางและปักหลักนอนค้างคืน อานนท์ถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในช่วงเช้าวันที่ 8 สิงหาคม 2563 และได้รับการปล่อยตัวในช่วงเย็นวันเดียวกัน
โดยหลังจากที่อานนท์ถูกนำตัวไปที่สน.บางเขนก็ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังปักหลักอยู่ที่สน.สำราญราษฎร์จนกระทั่งภาณุพงส์ถูกนำตัวออกไปประชาชนกลุ่มนั้นจึงได้ติดตามไปที่ศาลอาญา
ระหว่างที่ถูกอุ้มตัวพริษฐ์ได้แสดงสัญลักษณ์สามนิ้วและตะโกน “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ด้วย มีข้อน่าสังเกตว่ารถที่ใช้ควบคุมตัวพริษฐ์เป็นรถที่ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ของหน่วยงานราชการ
ระหว่างที่พริษฐ์อยู่ในขั้นตอนการไต่สวนคัดค้านการฝากขังและขั้นตอนการขอประกันตัว ตำรวจยังนำหมายค้นของศาลอาญาไปทำการตรวจค้นบ้านของพริษฐ์ด้วยแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ
ระหว่างที่เขาอยู่บริเวณข้างวัดบวรนิเวศซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับสน.ชนะสงคราม เจ้าหน้าที่นำหมายจับคดีนี้มาแสดงต่อเขาในเวลาประมาณ 21.45 น. และควบคุมตัวเขาไปที่สน.สำราญราษฎร์
บารมีได้รับการประกันตัวในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 โดยตีราคาประกัน 100000 บาท แต่ยังไม่ต้องวางหลักทรัพย์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขว่าหากกระทำการในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีกจะถือว่าผิดสัญญาประกันและต้องชำระเงินจำนวน 100000 บาท
สุวรรณาเดินทางไปให้กำลังใจอานนท์ด้วย ในเวลาประมาณ 23.45 น. สุวรรณาโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ไม่ทราบว่าตำรวจชุดใดจะมาทำการจับกุมและกระชากแขนเธอ แต่เธอได้ยืนยันว่าจะไปมอบตัวเองไม่ต้องมาจับ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่สุวรรณากำลังจะขึ้นรถซึ่งจอดอยู่ใกล้สน.ชนะสงครามไปที่สน.สำราญราษฎร์ และเมื่อรถขับออกไปแล้วก็มีรถของเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วย
เมื่อสุวรรณาไปถึงที่สน.สำราญราษฎร์เจ้าหน้าที่ชุดเดียวกับที่พยายามกระชากตัวเธอก็แสดงหมายจับและทำการควบคุมตัวเธอ สุวรรณาได้รับการประกันตัวในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 โดยตีราคาประกัน 100000 บาท แต่ยังไม่ต้องวางหลักทรัพย์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขว่าหากกระทำการในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีกจะถือว่าผิดสัญญาประกันและต้องชำระเงินจำนวน 100000 บาท
วันที่ 19 สิงหาคม 2563 อานนท์ นำภาถูกตำรวจสน.ชนะสงครามจับกุมตัวไปที่สน.ชนะสงครามหลังถูกออกหมายจับในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากกรณีร่วมปราศรัยในการชุมนุม เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย หลังอานนท์ถูกควบคุมตัวมีประชาชนส่วนหนึ่งเดินทางไปให้กำลังใจเขา กรกชเดินทางไปให้กำลังใจอานนท์ด้วยและเมื่อทราบว่าบารมีถูกจับกุมตัว กรกชก็ติดตามไปที่สน.สำราญราษฎร์ด้วย
กรกชระบุว่าเขาเดินทางจากสน.ชนะสงครามไปสน.สำราญราษฎร์ด้วยรถคันเดียวกับสุวรรณา จึงอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่เจ้าหน้าที่พยายามกระชากตัวสุวรรณาโดยไม่แสดงตัวหรือหมายจับด้วย สำหรับตัวของกรกชเองถูกจับกุมที่หน้าสน.สำราญราษฎร์คล้อยหลังสุวรรณาไม่นาน
กรกชได้รับการประกันตัวในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 โดยตีราคาประกัน 100000 บาท แต่ยังไม่ต้องวางหลักทรัพย์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขว่าหากกระทำการในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีกจะถือว่าผิดสัญญาประกันและต้องชำระเงินจำนวน 100000 บาท
ทัตเทพและภาณุมาศถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลในวันเดียวกันในช่วงบ่ายก่อนที่ทั้งคู่ได้รับการประกาศตัวโดยทัตเทพใช้ตำแหน่งของนักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนภาณุมาศใช้ตำแหน่งส.ส.พรรคก้าวไกลเป็นหลักประกัน
ผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าวได้แก่ จตุภัทร์, ลัลนา, ณวรรษ, กานต์นิธิ, จิรฐิตา, ณัฐพงษ์, สิรินทร์, ธนชัย, พิมพ์สิริ, ยามารุดดิน, ชลธิศ, ทักษกร, และ จักรธร, ปรัชญา และ กฤษณะ ผู้ต้องหากลุ่มนี้เข้ารายงานตัวตามหมายเรียกในวันที่ 28 สิงหาคม 2563
โดยผู้ต้องหาส่วนหนึ่งได้ร่วมกิจกรรม #นอนแคมป์ไม่นอนคุก ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม ก่อนที่จะเดินเท้าจากอนุสรณ์สถานที่ไปที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในช่วงเช้าวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ผู้ต้องหาที่ไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จะถูกฟ้องคดีแยกต่อศาลแขวงดุสิตเป็นอีกคดีหนึ่ง
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
เฟซบุ๊กเพจของเยาวชนปลดแอกเผยแพร่ภาพพร้อมข้อความประกาศชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 โดยระบุข้อความตอนหนึ่งว่า
การถอดเทปคำปราศรัยของแกนนำ การตรวจสอบข้อความบนป้ายที่เป็นอุปกรณ์การชุมนุม นอกจากนั้นจะตรวจสอบว่าการชุมนุมเข้าข่ายความผิดตามข้อกำหนดมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1 ข้อ 5 ที่กำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย รวมถึงความผิดตามพ.ร.บ.จราจรฯ
ทั้งสองถูกควบคุมตัวอยู่ในศาลจนกระทั่งเวลาประมาณ 22.30 น. ศาลอาญาคืนคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนโดยให้เหตุผลว่าพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องหลังเวลาราชการ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการอานนท์และภาณุพงศ์ไม่ยินยอมเดินไปขึ้นรถตำรวจโดยแจ้งว่าเมื่อศาลไม่รับคำร้องพนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจควบคุมตัวแล้ว
แต่ตำรวจยืนยันว่ายังมีอำนาจควบคุมตัวอยู่จึงได้ทำการอุ้มตัวทั้งสองไปขึ้นรถและนำตัวไปไว้ที่สน.ห้วยขวาง 1 คืนเพื่อรอนำส่งศาลในวันรุ่งขึ้นโดยมีประชาชนบางส่วนติดตามไปนอนค้างคืนที่หน้าสน.ห้วยขวางด้วย
ในเวลาประมาณ 10.20 น. พริษฐ์ซึ่งต่อมาเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีนี้แต่ในวันนี้ยังไม่ถูกจับกุมพยายามต่อรองให้มีตัวแทนประชาชนขึ้นไปร่วมสังเกตการณ์กระบวนการในศาลได้ หลังการเจรจาเจ้าหน้าที่ยินยอมให้ตัวแทนประชาชนสองคนขึ้นไป
หลังการจับกุมาพริษฐ์ถูกนำตัวไปที่สน.สำราญราษฎร์และถูกควบคุมตัวไว้หนึ่งคืน ในช่วงค่ำก็มีประชาชนส่วนหนึ่งติดตามไปให้กำลังใจพริษฐ์ที่สน.สำราญราษฎร์ด้วย โดยระหว่างที่ประชาชนกำลังรวมตัวกันที่หน้าสน.พริษฐ์ได้เขียนจดหมายฝากให้เพื่อนนำมาอ่านให้ประชาชนฟังด้วย
15 สิงหาคม 2563
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า ในเวลาประมาณ 8.15 น. พนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์คุมตัวพริษฐ์ไปส่งที่ศาลอาญาเพื่อขออำนาจศาลฝากขังในชั้นสอบสวน
พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกล่าวถึงการส่งตัวพริษฐ์ไปฝากขังว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้คัดค้านการประกันตัวโดยให้เป็นดุลพินิจของศาล ในส่วนของการดำเนินคดีตำรวจพิจารณาไปตามพยานหลักฐาน ไม่มีนโยบายว่าจะจับใครหรือไม่จับใคร เมื่อมีการจัดกิจกรรมขึ้นก็ดูและรวบรวมพยานหลักฐาน หากองค์ประกอบเข้าก็ต้องเป็นไปตามนั้น
ส่วนประชาชนที่มาให้กำลังใจซึ่งมีภาณุพงศ์ ผู้ต้องหาคดีเดียวกันที่ถูกจับกุมตัวไปก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์รวมอยู่ด้วยไม่สามารถขึ้นมารับฟังการพิจารณาคดีในห้องพิจารณาคดีได้จึงต้องรอพริษฐ์อยู่ด้านนอกรั้วศาลอาญา
พริษฐ์ได้รับการปล่อยตัวจากศาลในเวลาประมาณ 15.00 น. พริษฐ์ระบุหลังได้รับการปล่อยตัวว่าเขาจะไปร่วมการชุมนุมใหญ่ของเยาวชนปลดแอกในวันที่ 16 สิงหาคม 2563 ตามที่ตั้งใจไว้ก่อนหน้านี้
สุวรรณาระบุภายหลังว่าเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบซึ่งไม่แสดงตัวพยายามกระชากแขนเธอลงจากรถโดยไม่แสดงตัวหรือแสดงหมาย กระทั่งเมื่อเธอมาถึงหน้าสน.สำราญราษฎร์เจ้าหน้าที่ชุดเดียวกันจึงได้แสดงตัวพร้อมหมายจับ สำหรับกรกชเขาถูกจับกุมตัวที่หน้าสน.สำราญราษฎร์ไม่นานโดยในคืนนั้นก็มีประชาชนมารวมตัวกันที่หน้าสน.สำราญราษฎร์ด้วย
สำหรับแปดผู้ต้องหาคดีนี้ศาลอนุญาตให้ฝากคำตามคำร้องของพนักงานสอบสวน แต่ก็ให้ทั้งแปดคนประกันตัวตัวตีราคาประกันคนละ 100000 บาท แต่ยังไม่ต้องวางหลักประกันในวันนี้และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับคดีนี้หากทำจะถือว่าผิดสัญญาประกัน
หลังเสร็จขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธและขอส่งคำให้การเพิ่มเติมเป็นเอกสารตามหลัง ผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักประกัน พนักงานสอบสวนนัดผู้ต้องหาทั้ง 15 ส่งตัวฟ้องต่ออัยการศาลแขวงดุสิตวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยทั้ง 15 จะถูกแยกฟ้องคดีเป็นอีกสำนวนคดีหนึ่งต่อศาลแขวงดุสิต ส่วนผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับและถูกตั้งข้อกล่าวหามาตรา 116 จะถูกฟ้องคดีต่อศาลอาญา
ร.ต.อ.ณัฏฐเดช อยู่นุช สารวัตรกองวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ จากตำรวจนครบาลแสดงหมายจับและอ่านหมายจับให้จุฑาทิพย์ฟังโโยตลอดขั้นตอนจุฑาทิพย์ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กของตัวเอง
หลังตำรวจแสดงตัวจับกุมจุฑาทิพย์ถูกพาตัวไปที่สน.สำราญราษฎร์เพื่อสอบปากคำจากนั้นก็ถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลทหารในวันเดียวกัน ซึ่งต่อมาศาลก็ให้จุฑาทิพย์ประกันตัวโดยยังไม่ต้องวางหลักทรัพย์และตั้งเงื่อนไขการประกันเช่นเดียวกับผู้ต้องหาคดีนี้คนอื่นๆ หลังถูกปล่อยตัวจากศาล จุฑาทิพย์ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์โดยใช้สีขาดราดลงบนตัวเอง
เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพทางการเมืองและเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
3 กันยายน 2563
ทั้งอานนท์และภาณุพงศ์ตัดสินใจไม่ยื่นประกันตัวใหม่ ทั้งสองจึงถูกนำตัวไปที่เรือนจำในช่วงเย็นวันเดียวกัน ขณะเดียวกันก็ไม่ประชาชนติดตามไปจัดการชุมนุมที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพด้วย
หลังอานนท์ นำภา และ ภาณุพงศ์ ถูกคุมขัง มีการทำกิจกรรมที่หน้าเรือนจำต่อเนื่องเกือบทุกวัน คือวันที่ 3 – 4 และวันที่ 6 กันยายน
7 กันยายน 2563
เวลา 15.00 น. ประชาชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวทำกิจกรรมที่หน้าศาลอาญาเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งสองและเรียกร้องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หลังกิจกรรมยุติในเวลา 16.00 น. ได้ไม่นาน ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า ในเวลา ประมาณ 16 นาฬิกาเศษ ศาลอาญาออกข่าวแจกสื่อมวลชนซึ่งสรุปได้ว่า
ในวันที่ 7 กันยายน 2563 พนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์ยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการฝากขังอานนท์และภาณุพงศ์ โดยระบุเหตุผลในคำร้องว่า ได้ทำการสอบสวนมาพอสมควรแล้วจึงไม่จำเป็นต้องขังผู้ต้องหาทั้งสองระหว่างการสอบสวนอีกต่อไป
ผู้ต้องหาทั้งแปดคนได้แก่ เดชาธร ธานี ทศพร ณัฐวุฒิ ธนายุทธ บารมี สุวรรณา และ กรกช จึงพ้นจากอำนาจควบคุมตัวของศาล จนกว่าอัยการจะมีคำสั่งคดีจึงจะต้องกลับมารายงานตัวฟังคำสั่งอีกครั้ง