- คดีชุมนุม, ฐานข้อมูลคดี
สุรสิทธิ์ : ฝ่าฝืนประกาศคสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง
อัปเดตล่าสุด: 29/01/2560
ผู้ต้องหา
สุรสิทธิ์
สถานะคดี
ชั้นสืบสวนสอบสวน
คดีเริ่มในปี
ไม่มีข้อมูล
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
ไม่มีข้อมูล
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557 สุรสิทธิ์ถูกจับหลังเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ฯและบริเวณห้างสยามพารากอน และศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. พร้อมเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวการเมือง
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สุรสิทธิ์เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
ข้อหา / คำสั่ง
ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
8 มิถุนายน 2557 สุรสิทธิ์เข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารที่บริเวณลานน้ำพุ ห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน
พฤติการณ์การจับกุม
เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพผู้เข้าร่วมชุมนุมไว้เป็นหลักฐาน หลังจากมวลชนแยกย้ายจากจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามประกบตัวผู้ชุมนุมบางส่วนเพื่อควบคุมตัวส่งเจ้าหน้าที่ทหาร
การชุมนุมในวันที่ 8 มิถุนายน 2557 ถูกจับ 7 คน ซึ่งมีสุรสิทธิคนเดียวที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ส่วนอีก 6 คนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
ไม่มีข้อมูล
หมายเลขคดีดำ
ไม่มีข้อมูล
ศาล
ไม่มีข้อมูล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
8 มิถุนายน 2557
ทหารและเจ้าหน้าที่กองปราบควบคุมตัวผู้ชุมนุมที่ร่วมกิจกรรมบริเวณสยามพารากอนมาสอบสวนที่กองปราบปรามเพื่อสอบปากคำ และตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวเชิงลึกว่าอยู่ในระดับแกนนำการชุมนุมหรือเป็นประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทั่วไป เพื่อพิจารณาการควบคุมตัว และดำเนินคดีทางกฎหมาย
ทหารและเจ้าหน้าที่กองปราบควบคุมตัวผู้ชุมนุมที่ร่วมกิจกรรมบริเวณสยามพารากอนมาสอบสวนที่กองปราบปรามเพื่อสอบปากคำ และตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวเชิงลึกว่าอยู่ในระดับแกนนำการชุมนุมหรือเป็นประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทั่วไป เพื่อพิจารณาการควบคุมตัว และดำเนินคดีทางกฎหมาย
ที่มา: INN
14 มิถุนายน 2557
เวลา 10.00 น. ทหารและตำรวจควบคุมตัวสุรสิทธิ์จากกองปราบไปที่ศาลทหาร
เวลา 10.00 น. ทหารและตำรวจควบคุมตัวสุรสิทธิ์จากกองปราบไปที่ศาลทหาร
เวลาประมาณ 13.00 น. ศาลได้สอบสวนผู้ต้องหาแล้ว โดยทั้งหมดให้การปฏิเสธและยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักทรัพย์ 20,000 บาท
25 มิถุนายน 2557
ครบกำหนดฝากขังผลัดแรก และศาลอนุญาตให้ฝากขังผลัดที่ 2 อีก 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม 2557 เพื่อสอบพยานเพิ่มเติมและตรวจสอบประวัติอาชญากรของผู้ต้องหา ทั้งนี้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยหลักทรัพย์ 10,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขผู้ได้รับการประกันตัว ประกอบด้วย
1. ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
2. ให้ผู้ต้องหามาวันที่ 7 กรกฎาคมนี้ นัดฟังคำพิจารณาว่าศาลจะให้ฝากขังผลัดต่อไปหรือไม่
ที่มา: ประชาไท
4 กันยายน 2557
เวลา 9.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 3 ศาลทหารกรุงเทพ อัยการศาลทหารกรุงเทพสองคนซึ่งเป็นโจทย์เข้ามายังห้องพิจารณาความ ก่อนที่จะเริ่มพิจารณาคดีมีทหารเข้ามานั่งฟังการพิจารณาคดีรวมห้าคน และบุคคลทั่วไปอีกราวหกคน ระหว่างรอผู้พิพากษานั่งบัลลังก์ อัยการทหารฯ ได้ถามข้อเท็จจริงจากสุรสิทธิ์ จำเลยในคดี เรื่องการนับวันตามกฏอัยการศึก อัยการทหารฯกล่าวว่าไม่ได้นับวันที่ถูกควบคุมตัวตามกฏอัยการศึกจำนวน 7 วันเข้าไปในสำนวนฟ้อง อัยการเเจ้งให้สุรสิทธิ์ทราบ เวลา 9.35 ศาลขึ้นบังลังก์และตัดสินคดีฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.ของสำราญก่อน
ต่อมาศาลเริ่มพิจารณาคดีสุรสิทธิ์ด้วยการอ่านคำฟ้องให้ฟังว่า วันที่ 8 มิ.ย.ซึ่งเป็นเวลาที่กฏอัยการศึกเเละ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 7/2557 ห้ามชุมนุมทางการเมืองใช้บังคับอยู่จำเลยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองร่วมกับคนอื่นอีก 200 คนบริเวณหน้าห้างพารากอน ซึ่งการกระทำดังกล่าวฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าว
เมื่ออ่านคำฟ้องเสร็จศาลสอบถามสุรสิทธิ์ว่าเข้าใจคำฟ้องหรือไม่ เขาก็ตอบว่าเข้าใจ สุรสิทธิ์รับสารภาพตามคำฟ้อง จากนั้นศาลจึงถามรายละเอียดส่วนตัว และสอบถามข้อเท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวว่าถูกควบคุมตัวอยู่วันเดียวหรือไม่ สุรสิทธิ์ให้การรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง รับสารภาพและไม่ขอต่อสู้คดี
ขณะที่การพิจาณาคดีดำเนินไป อัยการทหารฯ แถลงว่า คำสารภาพของสุรสิทธิ์เป็นคำสารภาพในลักษณะขัดเเย้งกันเอง เเละขอให้ตัดเรื่องที่ในคำสารภาพบรรยายว่าจำเลยไม่มีเจตนาขัดประกาศ คสช.ในข้อ 2.1 ออกไป ซึ่งศาลเองก็เห็นว่าเป็นการรับสารภาพโดยมีเงื่อนไขจึงสอบถามจำเลย ในเบื้องเเรกทนายความคัดค้านที่จะตัดคำเเถลงดังกล่าวออก เนื่องจากทนายเห็นว่าแม้จำเลยจะยอมรับว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฏหมายและมีความชอบด้วยกฏหมาย แต่ความรู้สึกภายในใจก็อาจจะโต้เเย้งได้เนื่องจากเป็นความรู้สึกของปัจเจกชนที่จะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้
เมื่อทนายจำเลยเเถลงเสร็จ ฝ่ายอัยการทหารฯ ก็เเย้งว่าหากไม่ตัดข้อดังกล่าวออก ก็จะขอสืบพยานต่อไป ซึ่งทนายก็ต้องยอมตามในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อจำเลยยอม โจทก์ก็ไม่ติดใจสืบพยาน
สุดท้ายศาลพิพากษาว่าจำเลยทำผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ห้ามชุมนุมทางการเมือง ลงโทษ จำคุก 6เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท เเต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเป็น จำคุก 3 เดือน ปรับ 5 พันบาทเเละรอลงอาญา 2 ปี
คำพิพากษา
ไม่มีข้อมูล