- คดีอื่นๆ, ฐานข้อมูลคดี
โฆษณาชุด “ขอโทษประเทศไทย” ถูกฟรีทีวีแบน
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
โฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" ของเครือข่ายพลังบวก มีภาพความรุนแรงจากการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ถูกคณะกรรมการเซ็นเซอร์สั่งห้ามออกอากาศทางฟรีทีวี โดยอ้างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
เครือข่ายพลังบวก
เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคลหลากหลายวิชาชีพ อาทิ วงการโฆษณา โซเชียลเน็ตเวิร์ค พีอาร์ อีเว้นท์ ตลอดจนเครือข่ายภาคประชาชน ตัวแทนสมาคม องค์กร บริษัท ข้าราชการ และนักวิชาการทั่วประเทศซึ่งมีแนวคิดยุติความแตกแยกของคนในสังคมและต้องการเห็นประเทศไทยเดินหน้าต่อไปอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน หลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ ความไม่สงบซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องชาวไทย สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยต่อสายตาชาวโลกอีกด้วย
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
คณะกรรมการเซ็นเซอร์ เปิดเผยว่า ในการโฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" นั้น คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, โมเดิร์นไนน์ทีวี มหาวิทยาลัยหลายแห่งและสมาคมโฆษณามีมติเป็นเอกฉันท์ไม่ให้นำออกเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ เนื่องจากเห็นว่าในโฆษณามีภาพธงชาติไทยฉีกขาด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 วงเล็บ 4 ห้ามไม่ให้แพร่ภาพสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก เสื่อมเสีย หรือความสามัคคีในหมู่ประชาชน
"แทนที่จะสื่อสิ่งดีๆ ออกมา คนอาจดูแล้วไปคิดด้านความแตกแยกอีก และเห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆ ได้ผ่านล่วงเลยมาแล้ว ประเทศชาติได้เกิดสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นมามากมาย ไม่อยากรื้อฟื้น มาช่วยกันสร้างสิ่งดีๆ หากจะให้โฆษณาตัวนี้ออกอากาศ จำเป็นต้องตัดภาพบางส่วนที่ขัดต่อกฎหมายออกไป จึงจะให้ออกอากาศได้ สื่อสิ่งพิมพ์ได้เอาเรื่องนี้มาเปิดเผย ทางคณะกรรมการก็อยากให้สื่อช่วยกันสร้างความสามัคคี สร้างความเข้าใจให้คนในชาติ อย่าก่อให้เกิดความขัดแย้งเลย" นายเสน่ห์ ห้องสุวรรณ์ ผู้จัดการฝ่ายเซ็นเซอร์โฆษณาสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กล่าว
พฤติการณ์การจับกุม
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการเซ็นเซอร์ ที่สั่งแบนโฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" นั้น มีที่มาจากตัวแทนของสถานทีโทรทัศน์ หรือที่ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ใช้คำว่า "ผู้รับใบอนุญาต" มีอำนาจควบคุมดูแลเนื้อหาที่จะออกอากาศในระบบของตัวเองเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจโดยตรงในการสั่งห้ามเผยแพร่รายการโทรทัศน์ หรือโฆษณา หรือคลิปวีดีโอใด ผ่านทางสื่อสารมวลชนอื่นนอกอำนาจของตน
ดังนั้น โฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี จึงยังสามารถเผยแพร่ได้โดยช่องทางอื่น เช่น ทางอินเทอร์เน็ต หรือ เคเบิ้ลทีวี ที่เจ้าของสถานีพิจารณาแล้วอนุญาตให้ออกอากาศได้
ปัจจุับัน โฆษณานี้ยังสามารถหาดูได้ทางเว็บไซต์ทั่วไป เช่น ยูทูป เอ็มไทย โดยไม่ผิดกฎหมายทั้งผู้เผยแพร่และผู้ชม
แหล่งอ้างอิง
สั่งแบนโฆษณา ขอโทษประเทศไทย เหตุเนื้อหารุนแรง, เว็บไซต์เอ็มไทย วันที่ 18 กรกฎาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555)
“องอาจ”ยันรัฐ-ศอฉ.ไม่ได้แบนขอโทษปท.ไทย, เว็บไซต์คม ชัด ลึก วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555)
"ขอโทษประเทศไทย" ต้องปรับแก้ 20 วินาที, VOICETV วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555)
คลิปโฆษณา ขอโทษประเทศไทย, เว็บไซต์กระปุกดอทคอม วันที่ 21 กรกฎาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555)
ออนแอร์แล้ว โฆษณา ขอโทษประเทศไทย, โอเคเนชั่น วันที่ 25 กรกฎาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555)