- คดีสำคัญ
- คดีอื่นๆ, ฐานข้อมูลคดี
คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ
ผู้ต้องหา
สถานะคดี
คดีเริ่มในปี
โจทก์ / ผู้กล่าวหา
ระหว่างการชุมนุมมีแกนนำหมุนเวียนกันขึ้นปราศรัย ยืนยันสามข้อเรียกร้องได้แก่ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องออกจากตำแหน่ง รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องยกร่างใหม่ทั้งฉบับ และ ต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้กลับมาอยู่ใต้ระบอบประชาธิปไตย
เช้าวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เอกชัยถูกจับกุมบนถนนลาดพร้าวระหว่างที่เจ้าตัวกำลังเดินทางไปมอบตัวที่สน.ดุสิต ขณะที่บุญเกื้อหนุนเดินทางไปมอบตัวในเช้าวันเดียวกันด้วยตัวเอง ขณะที่สุรนาถถูกจับกุมตัวที่ที่พักช่วงเช้าวันที่ 21 ตุลาคม 2563 แม้เจ้าตัวจะประสานพนักงานสอบสวนสน.ดุสิตว่าจะเข้ามอบตัวแล้วก็ตาม
วันที่ 31 มีนาคม 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญา ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยทั้งหมดได้รับการประกันตัว
สารบัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
เอกชัย หงส์กังวาน เคยถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการจำหน่ายซีดีสารคดีข่าวของสำนักข่าวเอบีซีของออสเตรเลีย กับเอกสารวิกิลีกส์และถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8เดือน เขาถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 ที่ศาลมีคำพิพากษา จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 หลังรับโทษครบตามคำพิพากษาศาลฎีกา
หลังพ้นโทษเอกชัยยังคงไปร่วมชุมนุมและแสดงความเห็นทางการเมืองบนโลกออนไลน์เป็นระยะ จนถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง และถูกดำเนินคดีจากการไปทำกิจกรรมเปิดเพลงประเทศกูมีที่หน้ากองทัพบก
การแสดงออกทางการเมืองยังเป็นเหตุให้เขาถูกทำร้ายร่างกายอีกเจ็ดครั้งและรถยนต์ที่จอดไว้หน้าบ้านถูกเผาสองครั้งจนได้รับความเสียหายถึงขั้นใช้การไม่ได้
บุญเกื้อหนุน เป้าทอง หรือ ฟรานซิสเป็นนักศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล และเคยเป็นนักกิจกรรมภาคีนักศึกษาศาลายา
สุรนาถ แป้นประเสริฐ หรือ ตัน ทำงานกับ Active Youth เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำงานรณรงค์ป้องกันเยาวชนจากยาเสพติด
สุรนาถผ่านการทำงานพัฒนาชุมชนหลายพื้นที่ ทำงานร่วมกับกลุ่ม ‘ดินสอสี’ ในการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมชุมชนที่มีความเสี่ยงให้กลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
"หนึ่ง" และ "สอง" จำเลยร่วมอีกสองคนขอสงวนตัวตน
ข้อหา / คำสั่ง
การกระทำที่ถูกกล่าวหา
พฤติการณ์การจับกุม
กรณีเอกชัย
วันที่ 15 ตุลาคม 2563 ช่วงเย็น เอกชัยได้รับแจ้งจากคนรู้จักทางโทรศัพท์ว่าเขาถูกออกหมายจับในความผิดฐานประทุศร้ายต่อเสรีภาพของสมเด็จพระราชินี ในเวลาต่อมาเอกชัยประสานพนักงานสอบสวนสน.ดุสิตแจ้งว่าเขาจะเข้ามอบตัวในช่วงเช้าวันที่ 16 ตุลาคม 2564
เช้าวันที่ 16 ตุลาคม 2564 เอกชัยโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าในเวลาประมาณ 7.56 น. ว่า 9 โมงขี้เกียจรอไปสน.ดุสิตตอนนี้เลย สมยศ พฤกษาเกษมสุขซึ่งเป็นเพื่อนของเอกชัยขับรถมารับเอกชัยที่บ้านเพื่อพาไปสน.ดุสิต แต่เมื่อรถขับมาถึงบริเวณห้างบิ๊กซีลาดพร้าวก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ลาดพร้าวนำรถมาจอดขวางรถของสมยศที่เอกชัยโดยสารมาพร้อมแสดงตัวจับกุมเขา จากนั้นเอกชัยถูกนำตัวไปที่สน.ลาดพร้าวเพื่อทำบันทึกการจับกุมโดยสมยศตามไป
สมยศโพสต์ภาพและข้อความเกี่ยวกับการจับกุมเอกชัยในเวลาต่อมาว่า
"มารับเอกชัย หงส์กังวานเพื่อส่งตัวไปสน.ดุสิตแต่เดินทางมาถึงช่วงอิมพีเรียล ตร. เข้าจับกุมตัวเอกชัยส่งสน.ลาดพร้าว 8.30 น.ข้อหาประทุษร้ายต่อเสรีภาพกษัตริย์หรือราชินีมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 16ปี-ตลอดชีวิต เหตุเกิดเมื่อ14 ตค.63 เวลาราวบ่ายสองโมงหน้าทำเนียบรัฐบาล ตร.จะส่งตัวไปที่ตชด.ภาค1 คลอง5 วันนี้"
ตัวสมยศเองระหว่างที่อยู่สน.ลาดพร้าวก็มีเจ้าหน้าที่นำหมายจับศาลอาญามาควบคุมตัวเขาในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กรณีร่วมการชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎรด้วยเช่นกัน
เอกชัยถูกพาตัวไปสอบสวนและควบคุมที่กองบังคับการตำรวจนครบาลภาค 1 เพื่อทำการสอบสวนจากนั้นวันรุ่งขึ้นเขาถูกนำตัวไปฝากขังกับศาลอาญา เนื่องจากวันที่ 17 ตุลาคม เอกชัยเตรียมหลักทรัพย์ไปไม่พอเขาจึงถูกคุมขังที่เรือนจำหลังศาลอนุญาตให้ฝากขัง ต่อมาวันที่ 19 ตุลาคม เอกชัยใช้สลากออมสินของตัวเองมูลค่า 1 ล้านบาทเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวแต่ศาลไม่อนุญาตให้เหตุผลว่าพฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง
เอกชัยถูกคุมขังเรื่อยมาจนกระทั่งศาลอาญายกคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 รวมระยะเวลาถูกคุมขัง 17 วัน
กรณีบุญเกื้อหนุน
บุญเกื้อหนุนทราบว่าเขาเขาถูกออกหมายจับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 หลังจากปรึกษากับครอบครัวและทนายความแล้วเขาตัดสินใจเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนสน.ดุสิตทันทีในวันรุ่งขึ้น หลังเข้าพบพนักงานสอบสวนบุญเกื้อหนุนถูกส่งไปควบคุมเพื่อทำการสอบสวนที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาคหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่ควบคุมตัวผู้ถูกจับกุมจากการร่วมการชุมนุมทางการเมืองในช่วงเวลานั้นหนึ่งคืน
วันรุ่งขึ้นบุญเกื้อหนุนถูกพาตัวไปศาลอาญา พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลฝากขังบุญเกื้อหนุนซึ่งศาลอนุญาตแต่ก็ให้เขาประกันตัวโดยต้องวางหลักทรัพย์ 200000 บาท
กรณีสุรนาถ
ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุรนาถในวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2563 เจ้าหน้าที่นำกำลังไปจับกุมสุรนาถตั้งแต่เช้าแม้เจ้าตัวจะระบุว่าได้ประสานพนักงานสอบสวนสน.ดุสิตเพื่อเข้ารายงานตัวแสดงความบริสุทธิใจแล้วก็ตาม
หลังการสอบสวนสุรนาถถูกนำตัวไปควบคุมที่กองบังคับการตำรวจตะเวนชายแดนภาค 1 ที่คลองหลวง ที่เดียวกับที่เอกชัยและบุญเกื้อหนุนเคยถูกควบคุมตัวมาก่อน จากนั้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 สุรนาถถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญา ศาลอนุญาตให้ฝากขังและยกคำร้องประกันตัวของสุรนาถแม้เจ้าตัวจะวางเงินประกันเป็นเงิน 1.3 ล้านบาท สุรนาถมาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 2 พฤศจิกายนพร้อมกับเอกชัยเมื่อศาลยกคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน รวมแล้วสุรนาถถูกคุมขังเป็นเวลา 12 วัน
กรณี "หนึ่ง" กับ "สอง" ไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดว่าทั้งสองได้รับหมายเรียกและเข้ารายงานตัววันใด ทราบเพียงเป็นช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ซึ่วเป็นวันที่อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด "หนึ่ง" และ "สอง" ไม่ถูกฝากขัง หลังทั้งสองเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกก็ได้รับการปล่อยตัวกลับทันที
บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล
หมายเลขคดีดำ
ศาล
เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แหล่งอ้างอิง
คณะราษฎรรวมตัวที่ถนนราชดำเนินตั้งแต่ช่วงเช้าและมีการชุมนุมต่อเนื่องทั้งวัน โดยในพื้นที่ใกล้เคียงมีประชาชนที่ประสงค์จะเฝ้ารับเสด็จสวมเสื้อสีเหลืองมารอรับเสด็จบนทางเท้าถนนราชดำเนินฝั่งอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาด้วย
จากนั้นขบวนรถจึงเคลื่อนผ่านหน้าทำเนียบรัฐบาล ระหว่างนั้นก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนอยู่บนถนนพิษณุโลก เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนจึงตั้งแถวขนาบขบวนรถยนต์พระที่นั่งทั้งสองข้างเพื่อถวายความปลอดภัย จำเลยทั้งห้าคนอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
เวลา 10.00 น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตนัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้งห้าคนมาพบที่สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อส่งตัวฟ้อง หลังตำรวจมีความเห็นควรให้สั่งฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 โดยอัยการเจ้าของสำนวนนัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้งห้าคนมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564
เวลา 10.00 น. ผู้ต้องหาทั้งห้าคนทยอยเดินทางมาถึงสำนักงานอัยการสูงสุดโดยมีผู้มารอให้กำลังใจไม่น้อยกว่า 20 คน
13 ธันวาคม 2564