เดือนสุดท้ายของปี 2566 หลายคนอาจกำลังเตรียมตัวสำหรับหยุดยาว แต่จำเลยคดีมาตรา 112 อีกอย่างน้อย…คนหรือ…คดี กำลังมีนัดขึ้นศาลเพื่อฟังคำพิพากษา คดีมาตรา 112 จำนวนกว่า 200 คดีที่ถูกริเริ่มขึ้นจากกระแสข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงปี 2563-2564 กำลังทยอยเดินทางมาถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษา ทุกคนสามารถร่วมกันแสดงออกถึงความเป็นส่วนหนึ่งกับจำเลยทุกคดีได้ด้วยการผูกโบว์ขาวเป็นสัญลักษณ์ในวันที่มีนัดอ่านคำพิพากษา และสามารถเข้าร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษาได้ที่ศาลต่างๆ ตามวันและเวลาที่มีการนัดหมาย เพื่อให้คนที่กำลังเผชิญหน้ากับคำตัดสินอยู่ได้รู้ว่าในหนทางที่ยาวไกลของการต่อสู้ พวกเขาไม่ได้เดินอยู่ลำพัง
![](https://live.staticflickr.com/65535/53372861579_c6c0aae7b3_c.jpg)
วันที่ 6 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดจิรวัฒน์ฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.180/2565 จิรวัฒน์เป็นพ่อค้าออนไลน์ถูกดำเนินคดีจากการแชร์ข้อความ 3 ข้อความซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับตั๋วช้าง, การผูกขาดวัคซีนและคำปราศรัยของมายด์–ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ใน #ม็อบ24มีนา ที่แยกราชประสงค์ คดีนี้ผู้กล่าวหาเป็นญาติของแฟนจำเลย ซึ่งมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันมาก่อนหน้านี้ คดีนี้จึงอาจเป็นคดีที่ใช้มาตรา 112 ในการกลั่นแกล้งกันโดยมีสาเหตุจากเรื่องส่วนตัว
อ่านคดีของจิรวัฒน์ที่นี่ : https://database.tlhr2014.com/public/case/1839/lawsuit/618/
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัด ‘ปณิธาน’ ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1835/2565 เขาถูกดำเนินคดีจากการคอมเมนท์ในโพสต์ของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ในกลุ่มรอยัลลิสต์ มาร์เก็ตเพลส ลักษณะโพสต์เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และจำเลยคอมเมนท์ว่า “สวัสดี“
อ่านคดีของ‘ปณิธาน’ ที่นี่ : https://database.tlhr2014.com/public/case/2021/lawsuit/788/
วันที่ 7 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไบร์ท–ชินวัตร จันทร์กระจ่างฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.1584/2565 เขาถูกดำเนินคดีจากการปราศรัยหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ตามคำฟ้องระบุว่า เนื้อหาปราศรัยทำให้รัชกาลที่ 10 ทรงมีเจตนาเอาทรัพย์สินของชาติและภาษีของประชาชนมาเป็นของส่วนตัว ทรงใช้พระราชอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเมืองการปกครอง และยึดเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปเป็นระบอบราชาธิปไตย
อ่านคดีของไบรท์ที่นี่ : https://database.tlhr2014.com/public/case/2000/lawsuit/773/
วันที่ 12 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดนราธิวาสนัด ‘ชัยชนะ’ ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1129/2564 เขาเป็นชาวลำพูนที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช วันที่ 15 กันยายน 2564 ตำรวจจับกุม ‘ชัยชนะ’ ที่บ้านพักในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดย ‘ชัยชนะ‘ถูกกล่าวหาว่าระหว่างวันที่ 5-6 มกราคม 2564 เขาโพสต์เฟซบุ๊กที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่สิบ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่สิบ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ครูสอนภาษาอังกฤษ ที่อาศัยอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส และอยู่ในครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบัน (คปส.) เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ‘ชัยชนะ‘ ต่อสภ.สุไหงโกลก ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจริง ประกอบกับจำเลยมีอาการป่วยทางจิต จึงยกประโชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
อ่านคดีของ ‘ชัยชนะ’ ที่นี่ : https://freedom.ilaw.or.th/case/978
เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดอติรุจฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.17/2566 เขาถูกดำเนินคดีจากการไม่ยอมนั่งลง และตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” ระหว่างการเสด็จกลับจากการเปิดศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 ตามคำฟ้องระบุว่า เป็นถ้อยคํากล่าวที่มิบังควร จาบจ้วง มุ่งหมายใส่ความให้ประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จและบุคคลทั่วไปเห็นว่าการเสด็จพระราชดำเนินนั้นเป็นการสร้างปัญหา สร้างภาระให้ประชาชน เสด็จไปที่ใดทำให้ประชาชนเดือดร้อน เอาแต่ประโยชน์ส่วนพระองค์ ไม่คํานึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ก่อให้เกิดความเกลียดชังและเป็นภัยคุกคามต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี
อ่านคดีของอติรุจที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/52090
วันที่ 13 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดไอซ์–รักชนก ศรีนอกฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.683/2565 เธอถูกดำเนินคดีจากการทวีตและรีทวีตข้อความ 2 ข้อความระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม-29 สิงหาคม2564 เกี่ยวกันการผูกขาดวัคซีนโควิด 19 และศักดินาในสังคมไทย รักชนกเริ่มเป็นที่รู้จักจากการตั้งคำถามตรงไปตรงมาบนคลับเฮาส์ ในชั้นศาลเธอสู้คดีว่า มีคนส่งรูปไปในกลุ่มไลน์ โดยในภาพที่ส่งนั้นไม่ใช่ข้อความที่ตนโพสต์แต่มีชื่อแอคเคาท์ของตนติดอยู่ จากนั้นก็มีผู้นำภาพข้อความดังกล่าวไปแจ้งความ ซึ่งก็ได้พิสูจน์ไปว่าไม่ใช่คนโพสต์ โดยส่วนตัวรักชนกมองคดีที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่า หลักฐานอ่อนมาก มีเพียงรูปใบเดียว ไปหาหลักฐานโพสต์ต้นทางก็ไม่เจอ ปัจจุบันเธอเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) สังกัดพรรคก้าวไกล หากศาลพิพากษาว่ามีความผิดและไม่ให้ประกันตัวหรือรอคำสั่งประกันตัวแม้แต่วันเดียวรักชนกจะต้องหลุดออกจากตำแหน่งสส.
อ่านคดีของรักชนกที่นี่ https://database.tlhr2014.com/public/case/1818/lawsuit/602/
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดนัดไบร์ท–ชินวัตร จันทร์กระจ่างฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 เขาถูกกล่าวหาจากการปราศรัยระหว่างการชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 เกี่ยวกับการเชิญชวนประชาชนให้พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และการได้มาซึ่งรัฐสวัสดิการจำเป็นจะต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก่อน คดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 7 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์, ชินวัตร, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, จิรฐิตาและคริษฐ์ ต่อมาไบรท์–ชินวัตรให้การรับสารภาพ ศาลสั่งแยกคดีของจำเลยที่เหลือเป็นคดีใหม่
อ่านรายละเอียดของคดีที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/38263
วันที่ 18 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดแอมมี่–ไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่1199/2564 เขาถูกกล่าวหาว่าเ ผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ที่ป้ายเรือนจำกลางคลองเปรม มีภาพขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้เผยแพร่บนเฟซบุ๊กที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่า อยู่ในความดูแลของแอมมี่ ตามคำฟ้องระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงออกด้วยประการใดว่าจะทำให้เสียหายในทางใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแก่ร่างกายทรัพย์สินสิทธิเสรีภาพหรือชื่อเสียงเกียรติคุณอันไม่ใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยมนับเป็นการแสดงอาฆาตมาดร้ายดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 เขาถูกจับกุมในชั้นสอบสวนและถูกคุมตัวในเรือนจำเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 จึงได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
อ่านรายละเอียดของคดีที่นี่ : https://freedom.ilaw.or.th/case/935
วันที่ 21 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญามีนบุรีนัด ‘วุฒิ’ ฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ. 1075/2566 เขามีอาชีพเป็น รปภ. อยู่ในจังหวัดปทุมธานี เขาถูกกล่าวหาจากการโพสต์เฟสบุ๊ค 12 ข้อความในช่วงปี 2564 หลังอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ศาลอาญามีนบุรีไม่ให้ประกันตัว และเขายังใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำตั้งวันที่ 27 มีนาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน ต่อมาวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เขาให้การรับสารภาพศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 ธันวาคม 2566
อ่านคดีของวุฒิที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/60494
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัด “นาราเครปกระเทย” หรือ อนิวัต ประทุมถิ่นในคดีหมายเลขดำที่ 1405/2566 เธอถูกกล่าวหาจากการทำโฆษณา Lazada 5.5 ร่วมกับหนูรัตน์และมัมดิว ว่ามีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ โดยนาราถูกระบุพฤติกรรมความผิดไว้ว่าเป็นผู้ผลิตและอัพโหลดคลิปวิดีโอดังกล่าวลงบนแอพพลิเคชั่น TikTok
อ่านคดีของนาราที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/44935
วันที่ 27 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลอาญาธนบุรีนัดเก็ท–โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และโจเซฟฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.701/2565 ทั้งสองถูกกล่าวหาจากการปราศรัยในกิจกรรม #ฟื้นฝอยหาตะเข็บ #ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน ที่วงเวียนใหญ่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เก็ท หนึ่งในจำเลยของคดีนี้ถูกคุมขังอันเป็นผลจากคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งมาแล้ว 100 วัน
อ่านคดีของทั้งสองที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/43563
วันที่ 28 ธันวาคม 2566
เวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีนัดฟ้า–พรหมศร วีระธรรมจารีและแอมมี่–ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 ทั้งสองถูกกล่าวหาจากการปราศรัยและร้องเพลงหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวนิว–สิริชัย นาถึง เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564
อ่านคดีของฟ้าและแอมมี่ที่นี่ https://database.tlhr2014.com/public/case/1741/lawsuit/522/
เวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดเชียงรายนัดสุปรียา ใจแก้วฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.682/2565 เธอถูกกล่าวหาว่า แขวนป้ายผ้า “งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชน” บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งราย อำเภอเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 คำฟ้องระบุว่า ข้อความดังกล่าวหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ใช้งบประมาณที่ใช้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน มากกว่างบประมาณในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
อ่านคดีของสุปรียาที่นี่ : https://tlhr2014.com/archives/45278
RELATED POSTS
No related posts