ระหว่างที่สังคมโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์โควิด 19 แต่ละประเทศก็ตัดสินใจใช้ แนวนโยบายที่แตกต่างกันแนวทางแบบใดที่จะถือว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง คงต้องพิจารณากันในระยะยาว ระหว่างนี้การเหลียวมองการตัดสินใจของประเทศอื่นๆ และผลที่เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
สิงคโปร์เคยมีประสบการณ์ต่อสู้กับโรคระบาดอย่างซาร์สมาก่อน ในวิกฤตโควิด-19 สิงคโปร์จึงใช้ประสบการณ์นั้นมาจัดการกับสถานการณ์อีกครั้ง โดยเน้นสร้างความมั่นใจกับประชาชนพร้อมทั้งให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใสเพื่อสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชนเพราะผู้นำสิงคโปร์เห็นว่าความตื่นตระหนกในสังคมเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าตัวโรคระบาด
ประเทศเนเธอร์แลนด์เลือกใช้มาตรการควบคุมการแพร่รับาดของ covid-19 ด้วยวิธีการผ่อนคลายเพราะเชื่อว่าประชาชนของพวกเขามีความรับผิดชอบเพียงพอจนรัฐไม่ต้องชี้นิ้วสั่งรวมทั้งเชื่อการควบคุมไวรัสแบบผ่อนคลายจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่พังทลาย ที่น่าสนใจคือมาตรการเยียวยาของที่นี่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่พลเมืองดัชท์หากแต่รวมถึงผู้อพยพหรือชาวต่างชาติที่ทำงานเสียภาษีให้รัฐด้วย
สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เสนอรายงานเงาฉบับที่ 2 ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ชี้รัฐบาลไทยละเลยการปฏิบัติตามคำแนะนำ ทั้งในประเด็นรัฐธรรมนูญที่ยังคงรับรองความชอบด้วยกฎหมายของประกาศคำสั่งคสช. ประเด็นการฆ่านอกระบบ การซ้อมทรมาน และการบังคับสูญหายที่ไม่มีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง รวมทั้งประเด็นสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำที่ไม่ได้มาตรฐานสากล
นักศึกษาปริญญาโทในสวีเดน เล่าประสบการณ์ความตื่นตัวของผู้คนและรัฐบาลสวีเดนในการรับมือโควิด 19 ในสังคมที่มีสิทธิเสรีภาพสูงมาก การสั่งให้คนกักตัว 14 วันเป็นการละเมิดสิทธิที่รุนแรง จึงใช้วิธีขอความร่วมมือแทน ด้านนายกฯ ออกแถลงการณ์ให้ประชาชนเตรียมใจรับความสูญเสีย
การต่อสู้กับโควิด-19 ครั้งนี้ ถ้าไม่พูดถึงยุทธศาสตร์ของสวีเดนแล้วก็เหมือนจะขาดอะไรไปบางอย่าง ประเทศนี้ใช้แนวคิด "ภูมิคุ้มกันหมู่" ด้วยความเชื่อว่า เราจะต้องอยู่กับโรคนี้ไปอีกนาน จึงไม่ต้องปิดเมืองให้กระทบต่อชีวิตและเศรษฐกิจ และเสี่ยงกับการระบาดระลอกใหม่หลังเปิดเมือง เพียงแค่รักษากราฟไม่ให้เกินศักยภาพรองรับของระบบสาธารณสุข
อินเดียมีประชากรสูงเป็นอันดับสองของโลกและมีความเหลื่อมล้ำสูง ประชากรบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ประชากรเรือนล้านใช้รถไฟเป็นพาหนะเดินทางในทุกๆวัน รัฐบาลอินเดียตัดสินใจใช้ยาแรงสั่งปิดเมืองแบบเข้มงวด แต่ก็ส่งผลให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องตกงาน จนเกิดภาพแรงงานในเมืองเดินเท้ากลับบ้านเกิดในชนบท
ดลพร นิธิพิทยปกฤต เขียนเล่าประสบการณ์คนไทยที่อยู่ในไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะระบบการเยียวยาธุรกิจท่องเที่ยว ทำให้ไม่มีใครถูกไล่ออก ไม่มีการ Lockdown หรือประกาศ Work from home ทุกคนสามารถออกไปข้างนอก พบปะกันได้ภายใต้การสวมใส่หน้ากากอนามัย
นิติธร สุรบัณฑิตย์ จากเพจไต้หวันอีกแขนง ชี้ไต้หวันตื่นตัวเร็วเรื่องโควิด19 เพราะบทเรียนจากโรคซาร์สปี 2003 หน้ากากอนามัยเหลือพอใช้ จากมาตรการจำกัดการส่งออก กำหนดเพดานราคา เทคโนโลยีกลายเป็นพระเอกในกรณีนี้ ประชาชนใช้ชีวิตปกติ ไม่มี Lockdown ไม่มีเคอร์ฟิว รัฐบาลได้รับความชื่นชมจากภารกิจนี้
วิกานดา ติโมเนน ครูสอนเด็กไทยในฟินแลนด์ เล่าประสบการณ์เมื่อเจอโควิด19 กฎหมายฉุกเฉินที่ออกมาใช้นั้นผ่านการพิจารณาของสภา ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ๋เป็นสมาชิกกองทุนประกันการว่างงาน ปัญหาเรื่องปากท้องจึงยังไม่หนักมาก การเรียนการสอนทางไกลเป็นไปด้วยดีโดยโรงเรียนจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้หากนักเรียนไม่มี