เลือกตั้ง 66: ยุบสภาโค้งสุดท้าย ไม่ใช่การคืนอำนาจ แต่เป็นการ “ยื้อเวลา” ให้เลือกตั้งช้าลง (with English translation)

(For English please scroll down)

วันที่ 20 มีนาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษาแผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 แล้ว โดยระบุว่า ด้วยนายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 และบัดนี้ได้ปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีที่สี่อันเป็นปีสุดท้ายของอายุสภาผู้แทนราษฎรแล้ว สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็วเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ช่วงเวลา 4-5 เดือนสุดท้าย ตลอดสมัยการประชุมสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ เต็มไปด้วยปรากฏการณ์ ส.ส. ไม่เข้าประชุมทำให้ “สภาล่ม”  ทั้งที่ฝ่ายรัฐบาลยังครองเสียงข้างมากแต่ก็ควบคุมจำนวนคนเข้าประชุมไม่ได้ ขณะที่ ส.ส. ก็ทยอยลาออก เพื่อย้ายเข้าสังกัดพรรคใหม่ โดยไม่ได้มีการพิจารณาผ่านกฎหมายสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญให้นายกรัฐมนตรีต้องสั่ง “ยุบสภา” เนื่องจากสภาไม่ทำหน้าที่แล้ว

แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ตลอดช่วงเวลาหลายเดือน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะไปสังกัดพรรคการเมืองใด และพรรคของเขาจะมีหน้าตาองค์ประกอบอย่างไรก็ยังไม่กล้า “ยุบสภา” และเข้าสู่สนามเลือกตั้ง คืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจใหม่

สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่มาจากการเลือกตั้งปี 2562 มีกำหนดครบอายุในวันที่ 23 มีนาคม 2566 หมายความว่า หากไม่มีการยุบสภาเลย อย่างไรเสียภายในระยะเวลาดังกล่าว อำนาจของสภาและรัฐบาลนี้ก็จะหมดลง และจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่เกิน 45 วัน หรือไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 อยู่แล้ว

การยุบสภา กฎหมายมองว่า อาจเกิดขึ้นโดยการตัดสินแบบกระทันหันในช่วงเวลาใดก็ได้ จึงต้อง “ให้โอกาส” นักการเมืองและพรรคการเมืองที่อาจไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อน ให้จัดการตัวเองก่อนการเลือกตั้งได้ทัน ดังนั้น การ “ยุบสภา” จึงส่งผลให้นักการเมืองได้รับประโยชน์มากขึ้น และการยุบสภาก่อนสภาหมดวาระเพียงไม่กี่วันจึงไม่ใช่การคืนอำนาจให้ประชาชนก่อนครบกำหนด แต่เป็นการอาศัยเงื่อนไขตามกฎหมาย “เอื้อ” ประโยชน์ให้นักการเมืองและ “ยื้อเวลา” ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ช้าลง 

โดยการยุบสภา ทำให้กรอบระยะเวลาตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป 3 ประเด็น ดังนี้

1. กรอบเวลา กำหนดวันเลือกตั้ง

หากไม่มีการยุบสภา และให้สภาผู้แทนราษฎรครบวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566 รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 102 กำหนดว่า “เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด…” จึงต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม 2566

แต่เมื่อมีการยุบสภา รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 103 กำหนดว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาฯ ให้ กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษาภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ โดยกรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้งต้องไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ จึงอาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้นานขึ้น เช่น กำหนดถึง 14 พฤษภาคม 2566

2. กรอบเวลา ให้โอกาส ส.ส. ย้ายพรรค

คุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ของผู้ที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. คือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เพราะหากไม่มีพรรคการเมืองสังกัดก็ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ โดยรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดไว้ว่า

“มาตรา 97 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร … (3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาระยะเวลาเก้าสิบวันดังกล่าวให้ลดลงเหลือสามสิบวัน”

หมายความว่า หากไม่มีการยุบสภาเลย และมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ส.ส. จะต้องย้ายพรรคก่อน 90 วันนับย้อนมาจากวันที่ 7 พฤษภาคม คือ ต้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคใหม่ภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 หากย้ายพรรคช้ากว่านั้นก็จะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แต่หากมีการยุบสภาระยะเวลานี้จะลดลงเหลือ 30 วัน ตัวอย่างเช่น หากกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้สมัคร ส.ส. ก็มีเวลาย้ายพรรคถึงวันที่ 14 เมษายน 2566

3. กรอบเวลา จำกัดการใช้เงินหาเสียง

มาตรา 68 และมาตรา 64 ของกฎหมายเลือกตั้งฯ วางกรอบระยะเวลาคร่าวๆ ว่า ช่วงเวลาใดบ้างที่ถือเป็นฤดูกาลหาเสียงเลือกตั้งแล้วให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ โดยจะต้องนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อแจ้งต่อ กกต. ด้วย ซึ่งกรอบระยะเวลาการหาเสียงรวมถึงการคำนวณค่าใช้จ่ายจะเริ่มนับและมีผลทางกฎหมายแตกต่างกันตามแต่ละกรณี กรณีสภาผู้แทนราษฎรอยู่ครบวาระ เริ่มนับตั้งแต่ 180 วันก่อนครบวาระสภา จนถึงวันก่อนวันเลือกตั้ง สำหรับสภาผู้แทนราษฎรชุดที่จะหมดวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566 กกต. ประกาศให้เริ่มนับช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่ 24 กันยายน 2565

หากมีการยุบสภา กรอบระยะเวลาจะเริ่มนับวันแรก คือ ตั้งแต่ “วันที่ยุบสภา” เป็นกรณียกเว้นที่ทำให้กรอบ 180 วันของการหาเสียงล่วงหน้านั้นไม่มีผล การคำนวณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงจึงคำนวณตั้งแต่วันที่ยุบสภาเพื่อแจ้งต่อกกต. จะต้องนับเพิ่มอีก 5 วัน ตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภา ระหว่างรอกกต. ประกาศวันเลือกตั้ง ซึ่งวันเลือกตั้งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่เกิน 60 วัน ดังนั้น สำหรับนักการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว หากมีการยุบสภาแม้จะใกล้ครบวาระเต็มทีก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าเพราะกรอบเวลาที่อยู่ภายใต้กำกับการหาเสียงนั้นสั้นลง และมีภาระในการแจ้งค่าใช้จ่ายต่อ กกต. ลดลง

Dissolution of Parliament Does Not Return Power to the People, Only Delays Elections

20 March 2023, the Royal Gazette published a royal decree announcing the dissolution of the House of Representatives. The Prime Minister, Gen. Prayuth Chan-ocha submitted a request to King Vajiralongkorn to dissolve parliament stating that the House of Representatives has been performing its duties since 2019, and now that the fourth and final general session, which is the final session for this four-year term of the House of Representatives, is concluded. The decree also stated that the dissolution of the House of Representatives is expedient and necessary in order to hold new general elections for members of the House of Representatives. In accordance with the Constitution of the Kingdom of Thailand, this is meant to return the political decision-making power to the people so that they may ensure the continuation of a democratic government with the King as Head of State.

Over the past four to five months of the House of Representatives’ term, many issues arose with MPs not attending meetings or their parliamentary obligations, leading to a lack of quorum in Parliament and “the collapse of the House.” Although the government holds a majority of MP seats in the House of Representatives, they were unable to control their own members and get them to attend meetings. Many MPs also resigned from their parliamentary duties to switch to new political parties in preparation for the upcoming elections. As a result, many important laws which could benefit the country could not be passed. Prime Minister Gen. Prayuth highlighted this fact in arguing that the House of Representatives could no longer fulfill its duties.

However, given that Gen. Prayut Chan-ocha, decided to break away from the Palang Pracharath Party and eventually decided to form his own political party, he needed as much time as possible to establish the party, determine how his party would look, and what other politicians would join his new party. As a result, he did not dare to dissolve parliament and trigger early elections that could leave him at a political disadvantage.

According to the Thai Constitution, the 2019 General Election for members of the House of Representatives established a four-year term set to expire on 23 March 2023. This means that if Parliament is not dissolved before this date, the powers of Parliament and the government would be exhausted. The Constitution further directs that a new election date must be established no later than 45 days from the end of the term, or 7 May 2023.

The dissolution of Parliament is an event that can happen suddenly at any moment, so the Thai Constitution stipulates that politicians and political parties must be “given a chance” to prepare for the new elections. As a result, the dissolution of parliament gives some additional leeway that it does not give if the House of Representatives finishes its full term. Therefore, the dissolution of Parliament just three days before the expiration of its term does not truly return power to the people, rather it manipulates legal conditions to “favor” the interests of certain politicians and political parties and potentially delays the upcoming elections.

By dissolving Parliament, the legal timeframe for the upcoming general elections was changed in three areas as follows:

1. Time frame for the Election Date

As stipulated in Article 102 of the 2017 Thai Constitution, if there is no dissolution of Parliament and the House of Representatives complete their term on 23 March 2023, “The King will issue a Royal Decree calling for a new election of members of the House of Representatives within forty-five days from the date of the end of the House of Representatives…” Therefore, a new election date must be set no later than 7 May 2023.

But when the parliament is dissolved by royal decree, Section 103 of the 2017 Constitution stipulates that the Election Commission shall publish the date for a general election in the Royal Gazette within five days from the date of the royal decree dissolving the parliament. The time frame for determining the election date must not be less than 45 days but not more than 60 days from the date the royal decree comes into force, by being published in the Royal Gazette. Therefore, a new election date may be set for a date beyond 7 May 2023, for example, 14 May 2023.

2. Time frame to give MPs an opportunity to change parties

In order to become a member of the House of Representatives as an MP, one must first be a member of a political party. Section 97 of the 2017 Constitution states, “A person having the following qualifications is eligible to be a candidate for election as a member of the House of Representatives… (3) being a member of a political party for a continuous period of not less than ninety days up to the election date; except in the case of a general election due to the dissolution of parliament, the period of ninety days will be reduced to thirty days.”

This means that without the dissolution of Parliament, MPs cannot change parties after 7 February 2022 (If the election is held on 7 May 2023). If someone switches parties after that date, they would be ineligible to stand in the upcoming election without the dissolution of Parliament giving them additional time. 

With the dissolution of Parliament on 20 March, people can now switch parties up until 30 days before the election date. The dissolution of Parliament, three days before the expiration of its term and after it had concluded its final session is a blatant maneuver to take advantage of the additional time afforded by the Constitution to switch parties. Newly established political parties need as much time as possible to recruit new members and MP candidates and inform the general public of their existence and of their policy positions if they want to do well in the elections.

3. Time frame to limit the use of campaign money

Section 68 of the Electoral Law sets a rough timeframe as to what periods are considered “Election Season” and which subjects candidates and political parties to a range of restrictions, including spending restrictions. The 2017 Constitution states that Election Season begins 180 days before the end of the House of Representative’s term, or 23 March 2023, and running until Election Day. The Election Commission previously announced that Election Season began on 24 September 2022.

However, with the dissolution of Parliament, Election Season is reset and begins on the first day of the dissolution of Parliament, or 20 March 2022. Campaign expenses only need to be calculated and reported to the Election Commission from this date onwards. This means that any payments made to politicians, businesses, or other entities before this date does not need to be reported and does not fall under the Election Season spending restrictions. As has been rumored to occur with past elections, political candidates may have been paid large sums of money to switch parties. The dissolution of Parliament effectively whitewashes these actions that might be considered Electoral Season spending violations.

You May Also Like
อ่าน

ข้าราชการลาออกชั่วคราวเพื่อลงสมัคร สว. 67 ได้

กฎหมายหลายฉบับได้เปิดช่องให้ข้าราชการปัจจุบันสามารถลาออกเพื่อสมัครเป็น สว. ได้โดยมีผลทันทีนับแต่วันที่ยื่นลาออก และหากไม่ได้รับการเลือกเป็น สว. ก็ยังมีทางเลือกสามารถกลับไปรับราชการได้ตามเดิมเช่นกัน
อ่าน

รวมทริคลงสมัคร สว. เลือกกันเอง บทเรียนจากปี 61

จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยเข้าร่วมกระบวนการในปี 2561 มีหลายกลเม็ดที่ผู้สมัครใช้ในการช่วยให้ตนเองได้เข้ารอบหรือรับเลือก โดยมีทั้งในรูปแบบที่ผิดกฎหมาย ไปจนถึงใช้ยุทธศาสตร์-เทคนิค จากช่องทางบางประการในกฎหมาย