แถลงการณ์ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566”

แถลงการณ์ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566”

การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนทุกคน นักการเมืองหรือชนชั้นนําไม่มีความชอบธรรมใดๆ ในการครอบงำหรือบงการการเลือกตั้งให้บิดเบี้ยวไปจากหลักสากลว่าด้วยการเลือกตั้งที่เป็นธรรม อิสระ และโปร่งใส น่าเสียดายที่การเมืองไทยถูกแทรกแซงอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่การเมืองไทยกลับยิ่งถอยห่างออกจากประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี ยังไม่สายเกินไปหากประชาชนจะร่วมกันทวงคืนการเลือกตั้งให้กลับเข้าสู่ร่องสู่รอยโดยเร็ว

การเกิดขึ้นของรัฐประหารปี 2557 นับเป็นจุดด่างพร้อยครั้งใหญ่ของการเลือกตั้งและประชาธิปไตยไทย การรัฐประหารครั้งนั้นพรากสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนเป็นเวลากว่า 5 ปี ในบริบทที่ประชาชนตื่นตัวและเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นเข้ากับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไปแล้ว อีกทั้ง การเลือกตั้งที่ถูกจัดขึ้นในปี 2562 เป็นการเลือกตั้งที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลทหารและเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ส่งผลให้ผลการเลือกตั้งเป็นที่คลางแคลงใจของประชาชนต่อความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนในการลงคะแนน เช่น รัฐธรรมนูญปี 2560 กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งก็มีที่มาจากคณะรัฐประหาร และถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังการเลือกตั้งถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องความผิดปกติของการแบ่งเขตเลือกตั้ง ความโปร่งใสของผลการเลือกตั้ง ความถูกต้องของการคํานวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง รวมถึงความเป็นกลางในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมือง

จากการประเมินของ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566” คาดว่าในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ปัญหาเรื่องความเป็นธรรม ความเป็นอิสระ และความโปร่งใสจะยังคงเกิดขึ้นอีก การให้อำนาจ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ได้ จะยังคงสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันของพรรคการเมืองอีกเช่นเคย อีกทั้ง การมี กกต. ชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ อาจมีความผิดปกติเช่นเดิมหรือความผิดปกติใหม่เกิดขึ้นอีก

ถึงเวลาแล้วที่การสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยประชาชนต้องขยายตัวอย่างกว้างขวาง เพื่อรับรองว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปตามหลักสากลและเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นอิสระของประชาชน “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566” เกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครสังเกตการณ์การเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นการประสานความร่วมมือกันของเครือข่ายภาคประชาชน

หลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่มีหน้าที่สังเกตการณ์การเลือกตั้งอย่างเป็นกลางโดยเฉพาะ และกลุ่มที่มีความตื่นตัวทางการเมืองต่างๆ (ดังรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้) โดยมีวิสัยทัศน์แห่งความสำเร็จ คือ หนึ่ง ป้องกันการโกงการเลือกตั้งและทำให้การเลือกตั้งเป็นไปตามหลักสากล สอง เพิ่มความไว้วางใจในกระบวนการการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการเลือกผู้แทนของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย พร้อมทั้งปฏิเสธเครื่องมืออื่นที่ไม่มีความยึดโยงกับประชาชน และสาม ส่งเสริมการพัฒนาการเลือกตั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและความรุนแรงหลังการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่พอใจในการเลือกตั้งทไม่เป็นไปตามหลักสากล

ทั้งนี้ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566” มีข้อเรียกร้องต่อประชาชนและฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้ กกต. ทำหน้าที่อย่างโปร่งใส เป็นธรรม เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแบ่งเขตเลือกตั้ง การเปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยผ่านระบบออนไลน์ สนับสนุน ให้ความสำคัญ  และร่วมมือกับประชาชนทุกฝ่ายที่ต้องการเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง และร่วมมือกับประชาชนทุกฝ่ายที่ต้องการมี ส่วนร่วมในการรณรงค์เลือกตั้ง ประชาธิปไตยและเข้า ร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง

2. ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐสร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยในช่วงก่อนวันเลือกตั้งนับต่อ จากนี้ไป เช่น คุ้มครองให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกคุกคาม ให้ พรรคการเมืองใช้พื้นที่และสิ่งอํานวยความสะดวกในความดูแลของรัฐเพื่อรณรงค์การเลือกตั้ง คุ้มครอง ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกคุกคาม ให้พรรคการเมืองใช้พื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในความดูแลของรัฐอย่างเท่าเทียม ในการหาเสียงเลือกตั้ง และ ควบคุมมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

3. ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนในทุกเขตเลือกตั้งเข้าร่วมการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปที่กําลัง จะมาถึงโดยลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครฯ หรือส่งข้อมูลความผิดปกติหรือสถานการณ์การเลือกตั้งใน เขตของตนเองทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังวันเลือกตั้ง แก่ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การ เลือกตั้งปี 2566”ผ่านทางเว็บไซต์ Vote62.com

การเลือกตั้งต้องเป็นของประชาชน ต้องไม่เป็นเพียงพิธีกรรมทางการเมืองที่ไร้ความหมายต่อประชาชนอีกต่อไป !

“เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566”

วันที่ 11 มกราคม 2566

Act LAB

Art Lab : ห้องทดลองศิลป์

Dot easterner

iLAW

KNACK กลุ่มสนับสนุนสังคมประชาธิปไตยที่เป็นธรรมและเท่าเทียม

Korat movement 

LANDERS แลนเด้อ

NU Movement

Projek Sama Sama

R2S

Support of people (SOP)

The Coalition of Innovation for Thai Youth (CITY)

The Patani

We volunteer 

WeWatch

Youth integration for community employment (YICE)

เครือข่ายแรงงานหญิง

เครือข่ายคนพิการเข้าถึงการเลือกตั้ง

เครือข่ายความหลากหลายทางเพศภาคอีสาน(IGDN)

เครือข่ายชาติพันธุ์เมืองเชียงราย

เครือข่ายชายฝั่งทะเลบูรพา๕จังหวัดภาคตะวันออก

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network)

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่

เครือข่ายประชาชล (Prachachol)

เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)

เครือข่ายสลัม4ภาค

เฟมินิสต์ปลดแอกอีสาน 

แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม 

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่

กรองข่าวแกง

กลุ่มโกงกาง ม.บูรพา

กลุ่มคนเหล่าไฮงามไม่เอาเหมืองแร่ (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองทรายแก้ว ต.เหล่าไฮงาม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์)

กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด (คัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตช) อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

กลุ่มฅราม

กลุ่มนครเสรีเพื่อประชาธิปไตย

กลุ่มนอนไบนารี่แห่งประเทศไทย (non-binary thailand)

กลุ่มนักศึกษาเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม(ดาวดิน)

กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา

กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ภาคตะวันออก

กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินทราย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร)

กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)

กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)

กลุ่มสิงห์น้ำตาลอาสา

กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำเหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู)

กอผือรื้อเผด็จการ 

ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยPDMT

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)

ขบวนการอีสานใหม่ 

ขอนแก่นพอกันที

คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนตะวันออก(กป.อพช.ตะวันออก)

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.พอช.ภาคเหนือ)

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

คณะก่อการล้านนาใหม่

คณะราษฎรนครนายก

คนพัทยาปลดแอก

คบเพลิง

ชมรมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ(CAN)

ทะลุฟ้า

นิติซ้าย

พรรคคนธรรมศาสตร์

พิราบขาวเพื่อมวลชน

ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.)

ภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคีพลเมืองสังเกตการเลือกตั้ง

ภูเก็ตปลดแอก

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

ราษฎรภูเก็ต

ราษฏรลพบุรี

ลำพูนปลดแอก

ศิลปะปลดแอก

ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)

สโมสรนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ วิทยาเขตปัตตานี

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่

สโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันสังคมประชาธิปไตย

สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

สมัชชาคนจน

สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา (คัดค้านการทำเหมืองหินปูน ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา)

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.) 

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

สหภาพคนทำงาน

สำนักข่าวLanner

สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน

อุบลปลดแอก